สัตวแพทย์
มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 4610
ตำแหน่งประเภท ทั่วไป
สายงาน สัตวแพทย์
ลักษณะงาน โดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานทางสัตวแพทย์ ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ เกี่ยวกับ การป้องกันและกำจัดโรคสัตว์ เช่น การฉีดวัคซีน การตรวจและรักษาพยาบาลสัตว์ การกักสัตว์ การออก ใบอนุญาตในการเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ภายในประเทศ การให้คำแนะนำปรึกษาในด้านการ เลี้ยง และรักษาสัตว์ การเพาะเลี้ยงเชื้อเพื่อผลิตชีวภัณฑ์ ตลอดจนช่วยดูแลอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ และ ปฏิบัติการในห้องทดลอง เป็นต้น และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ชื่อตำแหน่งในสายงานและระดับตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้
สัตวแพทย์ ระดับปฏิบัติงาน
สัตวแพทย์ ระดับชำนาญงาน
สัตวแพทย์ ระดับอาวุโส
ก.จ. กำหนดเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อตำแหน่งในสายงาน สัตวแพทย์
ระดับตำแหน่ง ระดับปฏิบัติงาน
หน้าที่และความรับ ผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานทางสัตวแพทย์ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามทีได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ตรวจ วินิจฉัย รักษาพยาบาลสัตว์ ดูแลการกักสัตว์โดยตรวจจำนวนสัตว์ การประทับตรา และตั๋วพิมพ์ รูปพรรณ ตรวจใบอนุญาต
1.2 ควบคุมการป้องกันโรคระบาดสัตว์ ฉีดวัคซีน ชันสูตรโรคสัตว์ และกำจัดโรคติดต่อ ระหว่างสัตว์และคน เพื่อลดการสูญเสียของเกษตรกร และเพื่อลดปัญหาด้านสาธารณสุขและสุขภาพของ ประชาชน
1.3 ให้บริการด้านวิชาการ เช่น การผสมเทียม ทำหมันสัตว์ แก่สัตว์เลี้ยงของเกษตรกร เพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้แก่เกษตรกร
1.4 สำรวจ จัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านปศุสัตว์ ประวัติการเกิดโรคระบาดสัตว์ในพื้นที่ ความต้องการใช้วัคซีน เป็นต้น เพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรคระบาดสัตว์
1.5 ควบคุมและดำเนินงานเกี่ยวกับการควบคุมการฆ่าและจำหน่ายเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์ สัตว์ อาหารสัตว์ ยาสัตว์ ชีววัตถุสำหรับสัตว์ วัตถุอันตรายสำหรับสัตว์ ตามกฎ ระเบียบ และ พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.6 ดำเนินงานเกี่ยวกับการผลิต ทดสอบ ช่วยวิจัย และพัฒนาการผลิตชีวภัณฑ์สัตว์ใน ระดับโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงการจัดเก็บรักษาและการขนส่งชีวภัณฑ์สัตว์
1.7 ช่วยดำเนินงานเกี่ยวกับการผลิตและควบคุมคุณภาพน้ำเชื้อ การทดสอบพ่อพันธุ์ และการใช้เทคโนโลยีชีวภาพทีเกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการปรับปรุง ขยายพันธุ์ และอนุรักษ์พันธุ์สัตว์
1.8 ดำเนินการเกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มและพัฒนาคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ สุขศาสตร์ สัตว์และสุขอนามัย ด้านสิ่งแวดล้อม
1.9 ปฏิบัติงานการป้องกันการติดเชื้อ การแพร่กระจายของเชื้อในการเลี้ยงสัตว์เพื่องาน
ทางวิทยาศาสตร์
1.10 ช่วยการปฏิบัติงานของนายสัตวแพทย์ในการศึกษาเกี่ยวกับการควบคุม ป้องกัน
ชันสูตรโรคสัตว์ และกำจัดโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน เพื่อให้การวางแผนดำเนินการควบคุมป้องกันโรค
1.11 ตรวจรับ เก็บรักษา จัดส่ง ควบคุมบัญชีเบิกจ่ายชีวภัณฑ์และเวชภัณฑ์สัตว์เพื่อให้มีความถูกต้อง
2. ด้านการบริการ
2.1 ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเกี่ยวกับความรู้ทางเทคโนโลยีด้านปศุสัตว์ ชีวภัณฑ์สัตว์เบื้องต้นแก่เจ้าหน้าทีและเกษตรกร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ปรับปรุงและขยายพันธุ์สัตว์
2.2 ประสานงานกับหน่วยงานราชการ เอกชน ประชาชนทั่วไป หรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานทางสัตวแพทย์ และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาสัตวแพทย์หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ. ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
ค วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1.ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.2 ความรู้เรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระดับ 1
1.3 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณระดับ 1
1.4 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชนระดับ 1
1.5 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ระดับ 1
1.6 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 1
2. ทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ระดับ 1
2.2 ทักษะการประสานงาน ระดับ 1
2.3 ทักษะการเขียนหนังสือราชการระดับ 1
2.4 ทักษะการบริหารข้อมูลระดับ 1
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และการถ่ายทอดความรู้ สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย ระดับ 1
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 1
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 1
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 1
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 1
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 1
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การยึดมั่นในหลักเกณฑ์ ระดับ 1
3.2.2 การสั่งสมความรู้และความเชี่ยวชาญในสายอาชีพ ระดับ 1
3.2.3 การให้ความรู้และการสร้างความสัมพันธ์ ระดับ 1
3.2.4 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 1
3.2.5 จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ระดับ 1
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อตำแหน่งในสายงาน สัตวแพทย์
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญงาน
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา โดยต้อง กำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และ ความชำนาญงานทางสัตวแพทย์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ค่อนข้างยาก และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย หรือปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญา โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานทางสัตวแพทย์ ปฏิบัติงานที่ ต้อง ตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหาที่ค่อนข้างยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติใน ด้านต่าง ๆ ดังนี้
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ควบคุมตรวจ วินิจฉัย รักษาพยาบาลสัตว์ ดูแลการกักสัตว์โดยตรวจจำนวนสัตว์ การประทับตราและตั๋วพิมพ์ รูปพรรณ ตรวจใบอนุญาต
1.2 ควบคุมการป้องกันโรคระบาดสัตว์ ฉีดวัคซีน ชันสูตรโรคสัตว์ และกำจัด โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน เพื่อลดการสูญเสียของเกษตรกร และเพื่อลดปัญหาด้านสาธารณสุขและสุขภาพ ของประชาชน
1.3 ควบคุมให้บริการด้านวิชาการ เช่น การผสมเทียม ทำหมันสัตว์ แก่สัตว์เลี้ยงของ เกษตรกรเพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้แก่เกษตรกร
1.4 ควบคุมการจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านปศุสัตว์ ประวัติการเกิดโรคระบาดสัตว์ใน พื้นที่ความต้องการใช้วัคซีน เป็นต้น เพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรคระบาดสัตว์
1.5 ควบคุมและดำเนินงานเกี่ยวกับการควบคุมการฆ่าและจำหน่ายเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์ สัตว์ อาหารสัตว์ ยาสัตว์ ชีววัตถุสำหรับสัตว์ วัตถุอันตรายสำหรับสัตว์ ตามกฎ ระเบียบ และพระราชบัญญัติ ควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.6 ควบคุมการดำเนินงานเกี่ยวกับการผลิต ทดสอบ ช่วยวิจัย และพัฒนาการผลิต ชีวภัณฑ์สัตว์ในระดับโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงการจัดเก็บรักษาและการขนส่งชีวภัณฑ์สัตว์
1.7 ควบคุมการดำเนินงานเกี่ยวกับการผลิตและควบคุมคุณภาพน้ำเชื้อ การทดสอบ พ่อพันธุ์ และการใช้เทคโนโลยีชีวภาพทีเกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการปรับปรุง ขยายพันธุ์ และอนุรักษ์พันธุ์สัตว์
1.8 วิเคราะห์ ดำเนินการเกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มและพัฒนาคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ สุข ศาสตร์ สัตว์และสุขอนามัย ด้านสิ่งแวดล้อม
1.9 ควบคุมปฏิบัติงานการป้องกันการติดเชื้อ การแพร่กระจายของเชื้อในการเลี้ยง สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
1.10 ช่วยการปฏิบัติงานของนายสัตวแพทย์ในการศึกษาเกี่ยวกับการควบคุม ป้องกัน ชันสูตรโรคสัตว์ และกำจัดโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน เพื่อให้การวางแผนดำเนินการควบคุมป้องกันโรค
1.11 ควบคุมคุมบัญชีเบิกจ่ายชีวภัณฑ์และเวชภัณฑ์สัตว์อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ด้านการกำกับดูแล
2.1 กำกับ ดูแล และตรวจสอบการปฏิบัติงานทางสัตวแพทย์ของเจ้าหน้าที่ หรือ ปกครอง ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
2.2 วางแผน ประเมินผลให้คำแนะนำปรึกษา และแก้ไขปัญหาขัดข้อง ในการ ปฏิบัติงาน ทางสัตวแพทย์ของผู้ใต้บังคับบัญชาในหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานที่ รับผิดชอบเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3. ด้านการบริการ
3.1 ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจง เกี่ยวกับงานทางสัตวแพทย์ที่ซับซ้อน เช่น การเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ การเก็บตัวอย่างเพื่อชันสูตรโรคสัตว์ การป้องกันโรคระบาดสัตว์ การผลิต เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์สัตว์ อาหารสัตว์ ชีวผลิตภัณฑ์สัตว์ ยาสัตว์ ชีววัตถุสำหรับสัตว์ วัตถุอันตรายสำหรับ สัตว์ ฯลฯ เป็นต้น แก่ ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน เกษตรกร หรือ ประชาชนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญ ด้านงานทางสัตวแพทย์แก่ผู้ที่สนใจ
3.2 ถ่ายทอดความรู้ทางเทคโนโลยีด้านปศุสัตว์แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ เพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ปรับปรุงและขยายพันธุ์สัตว์
3.3 ประสานงานและบูรณาการงานในระดับกอง กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือ ประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานทางสัตวแพทย์ และแลกเปลี่ยนความรู้ความ เชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน
3.4 ควบคุม ดูแลการตรวจรับ เก็บรักษา จัดส่ง ควบคุมบัญชีเบิกจ่ายชีวภัณฑ์และเวชภัณฑ์
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งสัตวแพทย์ ระดับปฏิบัติงาน และ
2. ดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งสัตวแพทย์ ระดับปฏิบัติงาน หรือที่ ก.จ. ก.ท. หรือ ก.อบต.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานสัตวแพทย์หรืองานอื่นที่ เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ค วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.2 ความรู้เรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระดับ 2
1.3ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.4 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 2
1.5 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 2
1.6 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 2
2.ทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ระดับ 2
2.2 ทักษะการประสานงานระดับ 2
2.3 ทักษะการเขียนหนังสือราชการระดับ 2
2.4 ทักษะการบริหารข้อมูลระดับ 2
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และการถ่ายทอดความรู้ ระดับ 2
3.สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 2
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 2
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 2
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 2
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 2
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การยึดมั่นในหลักเกณฑ์ ระดับ 2
3.2.2 การสั่งสมความรู้และความเชี่ยวชาญในสายอาชีพ ระดับ 2
3.2.3 การให้ความรู้และการสร้างความสัมพันธ์ ระดับ 2
3.2.4 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 2
3.2.5 จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ระดับ 2
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท ทั่วไป
ชื่อสายงาน สัตวแพทย์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน สัตวแพทย์
ระดับตำแหน่ง ระดับอาวุโส
หน้าที่และความรับ ผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึงไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา โดยต้อง กำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และ ความชำนาญงานทางสัตวแพทย์ค่อนข้างสูงมีงานในความรับผิดชอบทีหลากหลาย ปฏิบัติงานทีต้องตัดสินใจหรือ แก้ปัญหาในงานทีค่อนข้างยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามทีได้รับมอบหมาย
ปฏิบัติงานทีมีประสบการณ์ซึงไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานทางสัตวแพทย์ ค่อนข้างสูง ปฏิบัติงานต้องตัดสินใจหรือ แก้ปัญหาในงานทีค่อนข้างยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามทีได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 วิเคราะห์ วางแผนการตรวจ วินิจฉัย รักษาพยาบาลสัตว์ ดูแลการกักสัตว์โดย ตรวจจำนวนสัตว์ การประทับตราและตั๋วพิมพ์ รูปพรรณ ตรวจใบอนุญาต
1.2 วิเคราะห์ วางแผนการป้องกันโรคระบาดสัตว์ และกำจัดโรคติดต่อระหว่างสัตว์ และคน เพื่อลดการสูญเสียของเกษตรกร และเพื่อลดปัญหาด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน
1.3 วิเคราะห์ กำหนดแนวทางการให้บริการการผสมเทียม ทำหมันสัตว์ ฯลฯ แก่สัตว์ เลี้ยงของเกษตรกร เพื่อเพิ่มผลผลิต ปรับปรุง ขยายพันธุ์สัตว์และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร
1.4 วางระบบป้องกันโรคระบาดสัตว์ และกำจัดโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน เพื่อลด ปัญหาด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน
1.5 เฝ้าระวัง ติดตามการเกิดโรคสัตว์ในพื้นที และทำการประเมิน สรุปผล และรายงาน
1.6 ตรวจ ติดตาม วางแผน ประเมินผล กำหนดแนวทาง และสรุปผลงานการควบคุม
การฆ่าและจำหน่ายเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ อาหารสัตว์ ยาสัตว์ ชีววัตถุสำหรับสัตว์ วัตถุอันตราย สำหรับสัตว์ การนำเข้า-ส่งออกสัตว์ ซากสัตว์ ผลิตภัณฑ์สัตว์ การเคลื่อนย้ายสัตว์ และซากสัตว์ การผลิต ทดสอบวิจัยและพัฒนาการผลิตชีวภัณฑ์สัตว์ในระดับโรงงานอุตสาหกรรม การผลิตและควบคุมคุณภาพน้ำเชื้อ การทดสอบพ่อพันธุ์ และการใช้เทคโนโลยีชีวภาพทีเกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการปรับปรุงและขยายพันธุ์สัตว์สุขภาพ ช้าง สัตว์อนุรักษ์อื่นๆ และมาตรฐานฟาร์มและพัฒนาคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ โรคสัตว์ และกำจัดโรคติดต่อ ระหว่างสัตว์และคน เพื่อให้การวางแผนดำเนินการควบคุมป้องกันโรค
1.7 ควบคุมคุมบัญชีเบิกจ่ายชีวภัณฑ์และเวชภัณฑ์สัตว์ เพื่อให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
1.8 ตรวจ ติดตาม การควบคุมป้องกันการติดเชื้อ การแพร่กระจายของเชื้อ การ ควบคุมสภาพแวดล้อม ในการเลี้ยงและการใช้สัตว์ เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
1.9 ให้ข้อคิดเห็นทีเป็นประโยชน์แก่ผู้บังคับบัญชา ในการศึกษาเกี่ยวกับการควบคุม ป้องกัน ชันสูตรโรคสัตว์ และกำจัดโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน เพื่อให้การวางแผนดำเนินการควบคุมป้องกัน โรคมีประสิทธิภาพ
2. ด้านการกำกับดูแล
2.1 กำกับตรวจสอบการปฏิบัติงานทางสัตวแพทย์ของเจ้าหน้าที หรือปกครอง ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานทีรับผิดชอบเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
2.2 วางแผน ประเมินผลให้คำแนะนำปรึกษา และแก้ไขปัญหาข้อขัดข้อง ในการ ปฏิบัติงานทางสัตวแพทย์ของผู้ใต้บังคับบัญชาในหน่วยงานทีรับผิดชอบ เพื่อให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานที รับผิดชอบเป็นไปอย่างต่อเนือง มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
3. ด้านการบริการ
3.1 ให้คำแนะนำ ข้อเสนอ ตอบปัญหา และชี้แจง เกี่ยวกับงานทางสัตวแพทย์ที ซับซ้อน เช่น การเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ การเก็บตัวอย่างเพื่อชันสูตรโรคสัตว์ การป้องกันโรคระบาดสัตว์ การผลิตเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์สัตว์ อาหารสัตว์ ชีวผลิตภัณฑ์สัตว์ ยาสัตว์ ชีววัตถุสำหรับสัตว์ วัตถุอันตราย สำหรับสัตว์ เป็นต้น แก่ใต้บังคับบัญชา หรือเจ้าหน้าทีระดับรองลงมา หน่วยงานราชการเอกชนเกษตรกร ผู้ประกอบการหรือประชาชนทั่ว ไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญ ด้านงานทางสัตวแพทย์แก่ผู้ที่สนใจ
3.2 วางแนวทางการถ่ายทอดความรู้ทางเทคโนโลยี ด้านปศุสัตว์ ชีวภัณฑ์สัตว์แก่เจ้า หน้าทีเกษตรกรและผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ปรับปรุง และขยายพันธุ์สัตว์
3.3 ประสานงานและบูรณาการงานในระดับกอง หรือหน่วยงานทีสูงกว่า กับ หน่วยงานราชการ เอกชน ผู้ประกอบการหรือประชาชนทั่ว ไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานทาง สัตวแพทย์ และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชียวชาญทีเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน
3.4 กำกับ ดูแล ตรวจสอบ การตรวจรับ เก็บรักษา จัดส่ง ควบคุมบัญชีเบิกจ่ายชีว
ภัณฑ์และเวชภัณฑ์
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งสัตวแพทย์ ระดับปฏิบัติงาน และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งสัตวแพทย์ ระดับชำนาญงาน หรือที่ ก.จ. ก.ท. หรือ ก.อบต.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานสัตวแพทย์หรืองานอื่นที่ เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ค วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.2 ความรู้เรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระดับ 2
1.3 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.4 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 2
1.5 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 2
1.6 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 2
2.ทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ระดับ 2
2.2 ทักษะการประสานงานระดับ 2
2.3 ทักษะการเขียนหนังสือราชการระดับ 2
2.4 ทักษะการบริหารข้อมูลระดับ 2
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และการถ่ายทอดความรู้ ระดับ 2
3.สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 3
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 3
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 3
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 3
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 3
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การยึดมั่นในหลักเกณฑ์ ระดับ 2
3.2.2 การสั่งสมความรู้และความเชี่ยวชาญในสายอาชีพ ระดับ 2
3.2.3 การให้ความรู้และการสร้างความสัมพันธ์ ระดับ 2
3.2.4 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 2
3.2.5 จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ระดับ 2
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น