เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน



มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง         4801
ตำแหน่งประเภท ทั่วไป
สายงาน ปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน
ลักษณะงาน โดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานทางการพัฒนาชุมชน ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ เกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษาและสันทนาการ การอนามัยและสุขาภิบาล การปกครอง ท้องถิ่น และความเจริญด้านอื่น ๆ โดยเป็นผู้ประสานงานระหว่างส่วนราชการและองค์การอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลือประชาชนในท้องถิ่นทุกด้าน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ชื่อตำแหน่งในสายงาน และระดับตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้
เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน ระดับปฏิบัติงาน
เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน ระดับชำนาญงาน
เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน ระดับอาวุโส


ก.จ. กำหนดเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558
--------------------------------------------------------------------------------------------------

ตำแหน่งประเภท ทั่วไป
ชื่อสายงาน ปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน
ชื่อตำแหน่งในสายงาน เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน
ระดับตำแหน่ง ระดับปฏิบัติงาน
หน้า ที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านพัฒนาชุมชน ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้ การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1สำรวจข้อมูลเบื้องต้นเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน ตลอดจนส่งเสริม พัฒนาประสานงาน ติดตามและสนับสนุนการจัดเก็บข้อมูลในการพัฒนาชุมชน เพื่อการวางแผนพัฒนาชุมชน และสนับสนุนการดำเนินงานของท้องถิ่นได้ตรงตามความต้องการและสถานการณ์ของชุมชน
1.2ส่งเสริมและกระตุ้นให้ชุมชนมีความเข้าใจ และมีความคิดริเริ่ม เพื่อเข้ามามีส่วน ร่วมในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นของตนโดยมุ่งพึ่งพาตนเองเป็นหลักและยึดคนในชุมชนเป็นศูนย์กลาง ในการพัฒนา
1.3ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มของประชาชน เพื่อสร้างพลังชุมชนให้เป็น ฐานการพัฒนาชุมชนอย่างถูกต้องเข้มแข็ง ตลอดจนแสวงหาและพัฒนาผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่ม /องค์กร และ เครือข่ายองค์กรประชาชน ในการเป็นที่ปรึกษากลุ่ม/องค์กร และเครือข่ายองค์กรประชาชน
1.4ส่งเสริม สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน กระบวนการกลุ่ม รวมทั้งกระบวนการชุมชนในรูปแบบต่างๆ ให้ประชาชนในชุมชนสามารถคิดค้น วิเคราะห์ ตัดสินใจ วางแผนและดำเนินการแก้ไขปัญหาตามความต้องการของตนเองและชุมชน เพื่อให้ สามาร ถบริหาร จัดการชุมชนและท้องถิ่นของตนเองสู่การเป็นชุมชนเข้มแข็ง
1.5ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ให้คำปรึกษา แนะนำด้านวิชาการและปฏิบัติงาน ด้านเศรษฐกิจชุมชนระดับฐานราก ตลอดจนสนับสนุนการบริหารจัดการกองทุนต่างๆ แก่กลุ่มองค์กร เครือข่าย องค์กรประชาชน และชุมชนในระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ ในทางเศรษฐกิจ และเศรษฐกิจฐานราก มีความเข้มแข็ง สมดุล และมั่นคง

1.6ให้ความรู้เบื้องต้นแก่ประชาชนในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน ตลอดจนดำเนินการและเอื้ออำนวยให้เกิดเวทีประชาคม หรือเวทีชุมชนในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ ประชาชนได้ แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1.7เป็นผู้นำและเป็นที่ปรึกษากลุ่มในการพัฒนาท้องถิ่น ดูแลส่งเสริมประชาชนให้มี ความสนใจ เข้าใจและเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง
1.8ร่วมจัดทำโครงการต่างๆ ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ เช่น โครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการชุมชนพอเพียง โครงการ S M L เป็นต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนในพื้นที่และ เสริมสร้างให้เป็นชุมชนที่เข้มเข็ง
1.9ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาชุมชน และงานบรรเทาทุกข์แก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ และเด็กและเยาวชนที่ ด้อยโอกาส เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.10ปฏิบัติงาน และสนับสนุนงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อสนับสนุนให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นที่สังกัดบรรลุภารกิจที่กำหนดไว้
2. ด้านการบริการ
2.1ติดตามผลการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน ดังกล่าว เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการหาข้อบกพร่องและหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขในการปฏิบัติงานคราวต่อไป 2.2ตอบปัญหาและชี้แจงการปฏิบัติงานเบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนแก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความร่วมมือและความเข้าใจที่ดีต่อกันทุกฝ่าย
2.3ติดต่อประสานงานหน่วยงานองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อบริการช่วยเหลือ บำบัด แก้ไขปัญหาแก่ชุมชน ประชาชนในทุกด้าน
2.4เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานการดำเนินงาน วิธีการ งานพัฒนาชุมชน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและกระตุ้นปลูกฝังให้ประชาชนมีความสนใจให้ความร่วมมือ มีส่วนร่วมในการ พัฒนาชุมชน และมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร ต่อชุมชน
2.5ให้คำแนะนำตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบให้แก่หน่วยงาน ราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้สนใจได้รับทราบข้อมูลและให้ความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณ วุฒิ อย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ทุกสาขาวิชาที่ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. รับรอง
2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ทุกสาขาวิชาที่ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. รับรอง
3. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิ อย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ทุกสาขาวิชาที่ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. รับรอง
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจสายงาน ประกอบด้วย
1.1ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.2ความรู้เรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดาริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 1
1.3ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 1
1.4ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 1
1.5ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 1
1.6 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 1
2. ทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
2.1ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 1
2.2ทักษะการประสานงาน ระดับ 1
2.3ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 1
2.4ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 1
2.5ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และการถ่ายทอดความรู้ ระดับ 1
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย

3.1สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 1
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 1
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 1
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ ระดับ 1
3.1.5    การทำงานเป็นทีม ระดับ 1
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การยึดมั่นในหลักเกณฑ์   ระดับ 1
3.2.2    การสั่งสมความรู้และความเชี่ยวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 1
3.2.3    การให้ความรู้และการสร้างสัมพันธ์ ระดับ 1
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 1
3.2.5    ศิลปะการโน้มน้าวจูงใจ   ระดับ 1

 --------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตำแหน่งประเภท ทั่วไป
ชื่อสายงาน ปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน
ชื่อตำแหน่งในสายงาน เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญงาน
หน้า ที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึงไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา โดยต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามา รถ ประสบการณ์และความชำนาญงานด้านพัฒนาชุมชน ปฏิบัติงานทีต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ ค่อนข้างยาก และปฏิบัติงานอื่นตามทีได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานทีมีประสบการณ์ซึงไม่จำเป็น ต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญา โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานด้านพัฒนาชุมชน ปฏิบัติงานทีต้อง ตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหาทีค่อนข้างยาก และปฏิบัติงานอื่นตามทีได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานทีปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1ส่งเสริมและกระตุ้นให้ชุมชนมีความเข้าใจ และมีความคิดริเริม เพื่อเข้ามามีส่วน ร่วมในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นของตนโดยมุ่งพึงพาตนเองเป็นหลักและยึดคนในชุมชนเป็นศูนย์กลางในการ พัฒนา
1.2ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มของประชาชน เพื่อสร้างพลังชุมชนให้เป็น ฐานการพัฒนาชุมชนอย่างถูกต้องเข้มแข็ง ตลอดจนแสวงหาและพัฒนาผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่ม /องค์กร และ เครือข่ายองค์กรประชาชน ในการเป็นทีปรึกษากลุ่ม/องค์กร และเครือข่ายองค์กรประชาชน
1.3ส่งเสริม สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน กระบวนการกลุ่ม รวมทั้งกระบวนการชุมชนในรูปแบบต่างๆ ให้ประชาชนในชุมชนสามารถคิดค้นวิเคราะห์ ตัดสินใจ วางแผนและดำเนินการแก้ไขปัญหาตามความต้องการของตนเองและชุมชน เพื่อให้สามารถบริหาร จัดการชุมชนและท้องถิ่นของตนเองสู่การเป็นชุมชนเข้มแข็ง
1.4ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ให้คำปรึกษา แนะนำด้านวิชาการและปฏิบัติงาน ด้านเศรษฐกิจชุมชนระดับฐานราก ตลอดจนสนับสนุนการบริหารจัดการกองทุนต่างๆ แก่กลุ่มองค์กรเครือข่าย องค์กรประชาชน และชุมชนในระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึงตนเองได้ ในทาง เศรษฐกิจและเศรษฐกิจฐานรากมีความเข้มแข็ง สมดุล และมันคง
1.5สำรวจข้อมูลเบื้องต้นของชุมชน เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน ตลอดจน ส่งเสริม พัฒนา ประสานงาน ติดตามและสนับสนุนการจัดเก็บข้อมูลในการพัฒนาชุมชนเพื่อการวางแผนพัฒนา ชุมชน และสนับสนุนการดำเนินงานของท้องถิ่นได้ตรงตามความต้องการและสถานการณ์ของชุมชน
1.6ให้ความรู้แก่ประชาชนในด้านต่างๆ ทีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนตลอดจน ดำเนินการและเอื้ออำนวยให้เกิดเวทีประชาคม หรือเวทีชุมชนในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้แสดงความ คิดเห็นและมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1.7ให้คำแนะนำ ถ่ายทอด พัฒนาทักษะในเรืองกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม แก่ประชาชนตามหลักการและวิธีการพัฒนาชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นผู้นำและเป็นที่ ปรึกษากลุ่มในการพัฒนาท้องถิ่น ดูแลส่งเสริมประชาชนให้มีความสนใจ เข้าใจและเข้ามามีส่วนร่วมในการ พัฒนาชุมชนของตนเอง
1.8จัดฝึกอบรมประชาชน ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ถึงโทษของยาเสพติดประเภท ต่างๆ พร้อมทั้งจัดตั้งอาสาสมัครชุมชนในการเฝ้าระวังการคุกคามของยาเสพติดโดยร่วมกับหน่วยงานอื่นๆเช่น ตำรวจ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เป็นต้น เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดไปจากพื้นที่
1.9ร่วมจัดทำโครงการต่างๆ ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ เช่น โครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการชุมชนพอเพียง โครงการ S M L เป็นต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนในพื้นที่และ เสริมสร้างให้เป็นชุมชนที่เข้มเข็ง
1.10ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาชุมชน และงานบรรเทาทุกข์แก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ และเด็กและเยาวชนที่ ด้อยโอกาส เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2. ด้านการกำกับดูแล
ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานพัฒนาชุมชนระดับรองๆ ลงไป ตลอดจน สอนงาน ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้ เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าทีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ด้านการบริการ
3.1ติดตามผลการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน ดังกล่าวเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการ หาข้อบกพร่องและหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขในการปฏิบัติงานคราวต่อไป 3.2 ตอบปัญหาและชี้แจงการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนแก่หน่วยงานทีเกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความร่วมมือและความเข้าใจทีดีต่อกันทุกฝ่าย
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน ระดับปฏิบัติงาน และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน และปฏิบัติงานด้าน พัฒนาชุมชน หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี กำหนดเวลา 6 ปี ให้ลดเป็น 5 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน ระดับปฏิบัติงาน ข้อ 2 และให้ลดเป็น 4ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานพัฒนา ชุมชน ระดับปฏิบัติงาน ข้อ 3 หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านพัฒนาชุมชน หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จาเป็นประจาสายงาน ประกอบด้วย
1.1ความรู้ที่จาเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.2ความรู้เรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดาริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 2
1.3ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.4ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 2
1.5ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 2
1.6 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 2
2. ทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
2.1ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 2
2.2ทักษะการประสานงาน ระดับ 2
2.3ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 2
2.4ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 2
2.5ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และการถ่ายทอดความรู้ ระดับ 2
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 2
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 2
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 2
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 2
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 2
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การยึดมั่นในหลักเกณฑ์   ระดับ 2
3.2.2    การสั่งสมความรู้และความเชี่ยวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 2
3.2.3    การให้ความรู้และการสร้างสัมพันธ์ ระดับ 2
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 2
3.2.5    ศิลปะการโน้มน้าวจูงใจ   ระดับ 2

 ---------------------------------------------------------------------------------------------------

ตำแหน่งประเภท ทั่วไป
ชื่อสายงาน ปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน
ชื่อตำแหน่งในสายงาน เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน
ระดับตำแหน่ง ระดับอาวุโส
หน้า ที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา โดยต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมงาน ปฏิบัติงานโดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานด้านการพัฒนาชุมชน มีงานในความรับผิดชอบที่หลากหลาย ปฏิบัติงานที่ ต้องตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหาในงานทีค่อนข้างยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามทีได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานทีปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1ส่งเสริมและกระตุ้นให้ชุมชนมีความเข้าใจ และมีความคิดริเริม เพื่อเข้ามามีส่วน ร่วมในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นของตนโดยมุ่งพึงพาตนเองเป็นหลักและยึดคนในชุมชนเป็นศูนย์กลางในการ พัฒนา
1.2ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มของประชาชน เพื่อสร้างพลังชุมชนให้เป็นฐาน การพัฒนาชุมชนอย่างถูกต้องเข้มแข็ง ตลอดจนแสวงหาและพัฒนาผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่ม/องค์กร และเครือข่าย องค์กรประชาชน ในการเป็นทีปรึกษากลุ่ม/องค์กร และเครือข่ายองค์กรประชาชน
1.3ส่งเสริม สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน กระบวนการกลุ่ม รวมทั้งกระบวนการชุมชนในรูปแบบต่างๆ ให้ประชาชนในชุมชนสามารถคิดค้นวิเคราะห์ ตัดสินใจ วางแผนและดำเนินการแก้ไขปัญหาตามความต้องการของตนเองและชุมชน เพื่อให้สามารถบริหาร จัดการชุมชนและท้องถิ่นของตนเองสู่การเป็นชุมชนเข้มแข็ง
1.4ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ให้คำปรึกษา แนะนำด้านวิชาการและปฏิบัติงานด้าน เศรษฐกิจชุมชนระดับฐานราก ตลอดจนสนับสนุนการบริหารจัดการกองทุนต่างๆ แก่กลุ่มองค์กรเครือข่าย องค์กรประชาชน และชุมชนในระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึงตนเองได้ ในทางเศรษฐกิจ และเศรษฐกิจฐานรากมีความเข้มแข็ง สมดุล และมันคง
1.5สำรวจข้อมูลเบื้องต้นของชุมชน เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน ตลอดจน ส่งเสริม พัฒนา ประสานงาน ติดตามและสนับสนุนการจัดเก็บข้อมูลในการพัฒนาชุมชนเพื่อการวางแผนพัฒนา ชุมชน และสนับสนุนการดำเนินงานของท้องถิ่นได้ตรงตามความต้องการและสถานการณ์ของชุมชน

1.6ให้ความรู้แก่ประชาชนในด้านต่างๆ ทีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนตลอดจน ดำเนินการและเอื้ออำนวยให้เกิดเวทีประชาคม หรือเวทีชุมชนในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้แสดงความ คิดเห็นและมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1.7ให้คำแนะนำ ถ่ายทอด พัฒนาทักษะในเรืองกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม แก่ประชาชนตามหลักการและวิธีการพัฒนาชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน
1.8เป็นผู้นำและเป็นที่ปรึกษากลุ่มในการพัฒนาท้องถิ่น ดูแลส่งเสริมประชาชนให้มี ความสนใจ เข้าใจและเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง
1.9กำกับดูแล การฝึกอบรมประชาชน ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ถึงโทษของยา เสพติดประเภทต่างๆ พร้อมทั้งจัดตั้งอาสาสมัครชุมชนในการเฝ้าระวังการคุกคามของยาเสพติดโดยร่วมกับ หน่วยงานอื่นๆเช่น ตำรวจ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เป็นต้น เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดไปจากพื้น
1.10กำกับดูแลโครงการต่างๆ ที่ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ เช่น โครงการกองทุน หมู่บ้าน โครงการชุมชนพอเพียง โครงการ S M L เป็นต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนในพื้นที่และ เสริมสร้างให้เป็นชุมชนที่เข้มเข็ง
1.11ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาชุมชน และงานบรรเทาทุกข์แก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ และเด็กและเยาวชนที่ด้อย โอกาส เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2. ด้านการกำกับดูแล
ควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานพัฒนาชุมชนระดับรองๆ ลงไป ตลอดจนสอน งาน ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้ เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าทีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ด้านการบริการ
3.1ติดตามผลการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน ดังกล่าว เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการ หาข้อบกพร่องและหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขในการปฏิบัติงานคราว ต่อไป
3.2ตอบปัญหาและชี้ แจงการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนแก่หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความร่วมมือและความเข้าใจทีดีต่อกันทุกฝ่าย
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน ระดับปฏิบัติงาน และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน และปฏิบัติงาน ด้านพัฒนาชุมชน หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 6ปี หรือ ดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านพัฒนาชุมชน หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ค วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงานประกอบด้วย
1.1      ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.2      ความรู้เรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระดับ 2 
1.3      ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ    ระดับ 2
1.4      ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน    ระดับ 3
1.5      ความรู้เรื่องการจัดการความรู้       ระดับ 2
1.6      ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ       ระดับ 3
2. ทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
2.1ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 2
2.2ทักษะการประสานงาน ระดับ 2
2.3ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 2
2.4ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 2
2.5ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และการถ่ายทอดความรู้ ระดับ 2
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 3
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 3
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 3
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 3
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 3
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การยึดมั่นในหลักเกณฑ์   ระดับ 2
3.2.2    การสั่งสมความรู้และความเชี่ยวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 2
3.2.3    การให้ความรู้และการสร้างสัมพันธ์ ระดับ 2
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 2
3.2.5    ศิลปะการโน้มน้าวจูงใจ   ระดับ 2
 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สันทนาการ

ช่างศิลป์

เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว