สถาปนิก

มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง

สายงาน สถาปัตยกรรม

ลักษณะงานโดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานทางสถาปัตยกรรมและผังเมือง ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการออกแบบ เขียนแบบ แก้ไขแบบแปลน อาคาร สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ และแบบผังเมือง เป็นต้น และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตำแหน่งต่าง ๆ เหล่านี้มีลักษณะที่จำเป็นต้องใช้ความรู้ความชำนาญในวิชาการสถาปัตยกรรม

ชื่อและระดับของตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้คือ
สถาปนิก 3 ระดับ 3 ตำแหน่งประเภททั่วไป
สถาปนิก 4 ระดับ 4 ตำแหน่งประเภททั่วไป
สถาปนิก 5 ระดับ 5 ตำแหน่งประเภททั่วไป
สถาปนิก 6 ระดับ 6 ตำแหน่งประเภททั่วไป
สถาปนิก 7 ระดับ 7 ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ
สถาปนิก 8 ระดับ 8 ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ
สถาปนิก 9 ระดับ 9 ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ชื่อตำแหน่ง สถาปนิก 3

ตำแหน่งประเภท ทั่วไป

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานชั้นต้นเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมและผังเมือง และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ศึกษารายละเอียดเพื่อคำนวณร่างแบบ ออกแบบ เขียนแบบ และประมาณราคาเกี่ยวกับการก่อสร้างและตกแต่งอาคาร สถานที่ และการผังเมือง ควบคุม ตรวจสอบ แนะนำ แก้ไข การปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการเขียนแบบที่อยู่ในความรับผิดชอบ ควบคุมการก่อสร้างและตกแต่งอาคารให้ถูกต้องตามแบบและหลักสถาปัตยกรรมไทยหรือสากล และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางสถาปัตยกรรม หรือทางอื่นที่ ก.ท. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้ และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม (ก.ส.)

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. มีความรู้ในวิชาการสถาปัตยกรรมอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
2. มีความสามารถในการควบคุมการก่อสร้าง
3. มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายว่าด้วยเทศบาล กฎหมายว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่
4. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศไทย
5. มีความสามารถในการใช้ภาษาอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
6. มีความสามารถในการศึกษาหาข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาและสรุปเหตุผล

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ชื่อตำแหน่ง สถาปนิก 4

ตำแหน่งประเภท ทั่วไป

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานสถาปัตยกรรมและผังเมือง ซึ่งต้องใช้ความรู้และความชำนาญงานค่อนข้างสูงมาก และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานสถาปัตยกรรมและการผังเมือง ซึ่งต้องใช้ความรู้ความชำนาญงานค่อนข้างสูงมาก โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เช่น ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลทางสถาปัตยกรรมเพื่อคำนวณออกแบบ กำหนดรายละเอียด และประมาณราคาเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร หรือการตกแต่ง ต่อเติมอาคาร สถานที่ และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวกับผังเมือง เป็นต้น ทำรูปจำลองอาคารและสิ่งก่อสร้าง ออกแบบ แก้ไข ดัดแปลง อาคารและสิ่งก่อสร้างที่ชำรุดพร้อมสิ่งก่อสร้าง กับทำรูปจำลองผังเมือง ควบคุมและตรวจสอบการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบและหลักสถาปัตยกรรม ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งสถาปนิก 3 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 3 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี กำหนดเวลา 2 ปี ให้ลดเป็น 1 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งสถาปนิก 3 ข้อ 2

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับสถาปนิก 3 แล้ว จะต้อง
1. มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายและแผนงานด้านต่าง ๆ ของส่วนราชการที่สังกัด
2. มีความสามารถในการจัดทำแผนงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ และเสนอแนะวิธีการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ
3. มีความสามารถในการปกครองบังคับบัญชา
4. มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ชื่อตำแหน่ง สถาปนิก 5

ตำแหน่งประเภท ทั่วไป

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างานระดับแผนก ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพ ของงานสูงมาก หรือในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน รับผิดชอบงานสถาปัตยกรรม โดยควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ หรือปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนพอสมควร หรือปฏิบัติงานสถาปัตยกรรมและผังเมือง ซึ่งต้องใช้ความรู้ความชำนาญงานสูงมาก และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมและการผังเมือง ซึ่งต้องใช้ความรู้ความชำนาญงานสูงมาก โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น ควบคุม ตรวจสอบ การออกแบบ เขียนแบบ แก้ไขแบบและออกแบบอาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก อนุสาวรีย์ พระอุโบสถ วิหารและอาราม ต่าง ๆ และการผังเมือง ฯลฯ ศึกษารายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับความต้องการของอาคารและสิ่งก่อสร้างที่จะออกแบบ เช่น ลักษณะพื้นที่ที่จะก่อสร้าง งบประมาณ จุดประสงค์ของการใช้ประโยชน์ กฎหมายเกี่ยวกับการก่อสร้าง เป็นต้น ออกแบบอาคารที่ยาก ๆ ด้วยตนเอง ดำเนินการและแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานทางด้านสถาปัตยกรรมทั้งไทยและสากล ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว ยังทำหน้าที่ติดต่อประสานงาน วางแผน มอบหมายงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุง แก้ไข ติดตามประเมินผล และแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วย
ในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ทำหน้าที่ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งสถาปนิก 3 หรือสถาปนิก 4 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 4 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรม มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งสถาปนิก 3 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 3หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี กำหนดเวลา 4 ปี ให้ลดเป็น 3 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งสถาปนิก 4 ข้อ 2

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับสถาปนิก 4 แล้ว จะต้อง
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารงานบุคคล
2. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และแผนงานของเทศบาล

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ชื่อตำแหน่ง สถาปนิก 6

ตำแหน่งประเภท ทั่วไป

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับกอง ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูง หรือในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน รับผิดชอบงานสถาปัตยกรรมและการผังเมือง โดยควบคุมหน่วยงานหลายหน่วยและปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนมากพอสมควร หรือปฏิบัติงานสถาปัตยกรรมและการผังเมืองในลักษณะผู้ชำนาญการ หรือผู้มีความรู้ความสามารถและความชำนาญงานเทียบได้ระดับเดียวกัน และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานสถาปัตยกรรมและการผังเมืองในลักษณะผู้ชำนาญการ โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใด อย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เช่น ตรวจสอบและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการออกแบบ คำนวณโครงสร้าง และเขียนแบบอาคารเพื่อการก่อสร้างและซ่อมแซม ให้แนวทางแก่สถาปนิกและวิศวกรเพื่อออกแบบอาคารให้เป็นไปตามความเหมาะสม และตามความประสงค์ของแต่ละงาน ตรวจพิจารณาและแก้ไขการออกแบบและการคำนวณโครงสร้าง ตรวจและควบคุมการออกแบบ ตกแต่งภายในอาคาร การประมาณราคาค่าก่อสร้าง เป็นต้น ออกแบบอาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ด้วยตนเองในกรณียุ่งยาก หรือเป็นงานมีที่งบประมาณสูง พิจารณาค้นคว้าเพื่อการออกแบบอาคารให้เหมาะสมตามสภาพต่าง ๆ ตรวจและพิจารณาลงนามรับรองแบบอาคารของหน่วยงานต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เช่น แบบอาคารโรงเรียน โบสถ์มาตรฐาน เป็นต้น ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง เข้าร่วมประชุมในการกำหนดนโยบายและแผนงานของส่วนราชการที่สังกัด และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังทำหน้าที่กำหนดนโยบายการปฏิบัติงาน พิจารณาวางอัตรากำลังเจ้าหน้าที่และงบประมาณของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ติดต่อประสานงาน วางแผน มอบหมายงาน วินิจฉัยสั่งการ ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผล และแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ทำหน้าที่ช่วยหัวหน้าหน่วยงานปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งสถาปนิก 3 หรือสถาปนิก 4 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 5 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งสถาปนิก 3 หรือสถาปนิก 4 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 4 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับสถาปนิก 5 แล้ว จะต้อง
1. มีความสามารถในการบริหารงานและจัดระบบงาน
2. มีความสามารถในการริเริ่ม ปรับปรุงนโยบายและแผนงาน
3. มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ในการทำแผ่นตารางทำการ (Speadsheet)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ชื่อตำแหน่ง สถาปนิก 7

ตำแหน่งประเภท วิชาชีพเฉพาะ

หน้าที่และความรับผิดชอบ
บริหารงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับกอง ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมาก หรือในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงานซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน รับผิดชอบงานสถาปัตยกรรม โดยควบคุมหน่วยงานหลายหน่วย และปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนมาก หรือปฏิบัติงานสถาปัตยกรรมในลักษณะผู้ชำนาญการพิเศษ หรือผู้มีความรู้ความสามารถและความชำนาญงานเทียบได้ระดับเดียวกัน และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรม โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น ให้บริการด้านวางผังและออกแบบหรือด้านวางแผนกำหนดรูปแบบและรายการเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ใช้สอยที่สมบูรณ์สวยงามเข้ากับสภาพสิ่งแวดล้อมตามประเภทลักษณะ รวมถึงการดัดแปลงและซ่อมแซมอาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ด้วยตนเอง ในกรณีที่มีความยุ่งยาก ตรวจพิจารณาให้คำปรึกษาและให้ความเห็นเกี่ยวกับการออกแบบ คำนวณโครงสร้างเพื่อให้เกิดผลดีต่องานสถาปัตยกรรม ศึกษาและพิจารณาเพื่อกำหนดหรือเสนอแนะงานด้านสถาปัตยกรรมให้แผนงานและโครงการนั้นดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ อำนวยการ ควบคุม ตรวจสอบการก่อสร้าง หรือประเมินผลการก่อสร้าง รวมทั้งแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้การก่อสร้างดำเนินไปตามรูปแบบ รายการข้อกำหนด และหลักวิชาการ สำรวจศึกษา วิเคราะห์ การกำหนดรูปแบบและกำหนดรายการการก่อสร้าง การควบคุม การซ่อมแซม หรือบำรุงรักษาโบราณวัตถุ ดำเนินการศึกษาค้นคว้า ปรับปรงหรือประยุกต์งานด้านวิชาการสถาปัตยกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรฐานวิธีการ ทฤษฎีหรือกฎเกณฑ์ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่องานสถาปัตยกรรม เป็นต้น ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง เข้าร่วมประชุมในการกำหนดนโยบายและ แผนงานของส่วนราชการที่สังกัด และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งสถาปนิก 3 หรือสถาปนิก 4 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งระดับ 6 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งสถาปนิก 3 หรือสถาปนิก 4 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 5 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับสถาปนิก 6 แล้ว จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในนโยบายการบริหารงานของรัฐบาล และปัญหาด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และมีความเชียวชาญในหน้าที่

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ชื่อตำแหน่ง สถาปนิก 8

ตำแหน่งประเภท วิชาชีพเฉพาะ

หน้าที่และความรับผิดชอบ
บริหารงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับกอง ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษ รับผิดชอบงานสถาปัตยกรรม โดยควบคุมหน่วยงานหลายหน่วย และปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนมากเป็นพิเศษ หรือปฏิบัติงานวิชาการสถาปัตยกรรมในลักษณะผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้มีความรู้ความสามารถและความชำนาญงานเทียบได้ระดับเดียวกัน และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรม โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น ให้บริการด้านวางผังและออกแบบหรือวางแผนกำหนดรูปแบบและรายการเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ใช้สอยที่สมบูรณ์ สวยงาม เข้ากับสภาพสิ่งแวดล้อม ตามประเภทลักษณะงาน ดัดแปลง ซ่อมแซมอาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ด้วยตนเองในกรณีที่มีความยุ่งยาก ตรวจ พิจารณาให้คำปรึกษาและให้ความเห็นเกี่ยวกับการออกแบบ การคำนวณโครงการสร้าง เพื่อให้เกิดผลดีต่องานสถาปัตยกรรม ศึกษาและพิจารณาเพื่อกำหนดหรือเสนอแนะงานสถาปัตยกรรม ให้แผนงานและโครงการนั้นดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ อำนวยการ ควบคุม ตรวจสอบการก่อสร้าง หรือประเมินผลการก่อสร้างรวมทั้งแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้การก่อสร้างให้เป็นไปตามรูปแบบและรายการ ข้อกำหนดและหลักวิชาการ สำรวจศึกษาวิเคราะห์การกำหนดรูปแบบ และกำหนดรายการก่อสร้าง ควบคุมซ่อมแซมหรือ
บำรุงรักษาโบราณวัตถุ ดำเนินการศึกษาค้นคว้า ปรับปรุง หรือประยุกต์งานด้านวิชาการสถาปัตยกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรฐาน วิธีการ ทฤษฎี หรือกฎเกณฑ์อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่องานสถาปัตยกรรม เป็นต้น ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง เข้าร่วมประชุมในการกำหนดนโยบายและแผนงานส่วนราชการที่สังกัด และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว ยังทำหน้าที่กำหนดนโยบายการปฏิบัติงาน พิจารณาวางอัตรากำลังเจ้าหน้าที่และงบประมาณของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ติดต่อประสานงาน วางแผน มอบหมายงาน วินิจฉัย สั่งการ ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงแก้ไขติดตามประเมินผล และแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงาน
ที่รับผิดชอบด้วย

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งสถาปนิก 3 หรือสถาปนิก 4 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 7 หรือ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งสถาปนิก 3 หรือสถาปนิก 4 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 6 หรือที่ ก.ท. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรม หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
มีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับสถาปนิก 7 และมีความเชี่ยวชาญงานในหน้าที่

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ชื่อตำแหน่ง สถาปนิก 9

ตำแหน่งประเภท วิชาชีพเฉพาะ

หน้าที่และความรับผิดชอบ
บริหารงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับกอง ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษ รับผิดชอบงานสถาปัตยกรรม โดยควบคุมหน่วยงานหลายหน่วย และปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนมากเป็นพิเศษ หรือปฏิบัติงานวิชาการสถาปัตยกรรมในลักษณะผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้มีความรู้ความสามารถและความชำนาญงานเทียบได้ระดับเดียวกัน และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรม โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น ให้บริการด้านวางผังและออกแบบหรือวางแผนกำหนดรูปแบบและรายการเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ใช้สอยที่สมบูรณ์ สวยงาม เข้ากับสภาพสิ่งแวดล้อม ตามประเภทลักษณะงานดัดแปลง ซ่อมแซมอาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ด้วยตนเองในกรณีที่มีความยุ่งยาก ตรวจ พิจารณาให้คำปรึกษาและให้ความเห็นเกี่ยวกับการออกแบบ การคำนวณโครงการสร้าง เพื่อให้เกิดผลดีต่องานสถาปัตยกรรม ศึกษาและพิจารณาเพื่อกำหนดหรือเสนอแนะงานสถาปัตยกรรม ให้แผนงานและโครงการนั้นดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ อำนวยการ ควบคุม ตรวจสอบการก่อสร้าง หรือประเมินผลการก่อสร้างรวมทั้งแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้การก่อสร้างให้เป็นไปตามรูปแบบและรายการ ข้อกำหนดและหลักวิชาการ สำรวจศึกษาวิเคราะห์การกำหนดรูปแบบ และกำหนดรายการก่อสร้าง ควบคุมซ่อมแซม
หรือบำรุงรักษาโบราณวัตถุ ดำเนินการศึกษาค้นคว้า ปรับปรุง หรือประยุกต์งานด้านวิชาการสถาปัตยกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรฐาน วิธีการ ทฤษฎี หรือกฎเกณฑ์อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่องานสถาปัตยกรรม เป็นต้น ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง เข้าร่วมประชุมในการกำหนดนโยบายและแผนงานส่วนราชการที่สังกัด และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว ยังทำหน้าที่กำหนดนโยบายการปฏิบัติงาน พิจารณาวางอัตรากำลังเจ้าหน้าที่และงบประมาณของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ติดต่อประสานงาน วางแผน มอบหมายงาน วินิจฉัย สั่งการ ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงแก้ไขติดตามประเมินผล และแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงาน
ที่รับผิดชอบด้วย

ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติงานโดยผู้มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงและมีความเชี่ยวชาญและผลงานเป็นที่ยอมรับในวงการด้านสถาปัตยกรรม

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งสถาปนิก 3 หรือสถาปนิก 4 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 8 หรือ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งสถาปนิก 3 หรือสถาปนิก 4 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 7 หรือที่ ก.ท. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรม หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
มีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับสถาปนิก 8 และมีความเชี่ยวชาญงานในหน้าที่

ความคิดเห็น

  1. jirat s ได้ฝากความคิดเห็นไว้ที่บทความของคุณ "สถาปนิก":

    ดิฉันเห็นว่าไปได้ยากมากค่ะสายงานนี้ หาคนมาประเมินขึ้นระดับในวิชาชีพไม่ค่อยจะมี แถมจะเปลี่ยนสายงานต้องมาถูกกำหนดให้อยู่ในสายงานในระดับ 7 ไม่น้อยกว่า 4 ปี ไปเป็นหัวหน้าฝ่าย หรือผอ.กองช่าง ต้องเป็นซี 8 อีก 6 ปี ถึงจะไปสอบคัดเลือกขึ้นได้ค่ะ จริงอยู่ว่าในระดับ 7 8 วช จะได้เงินค่าตำแหน่งเมื่อต้องการก้าวหน้าในระดับเดียว เดิมก็ลำบากต้องมีผลงานมีผู้มาประเมินผลงานหายากมีน้อย ย้ายไปไหนก็ลำบากมาก เหมือนจะตันยันแก่เลยค่ะ ไม่เข้าใจว่านักบริหารงานช่างกำหนดคุณสมบัติคุณวุฒิเทียบอื่นมากมาย และบางสายงานไม่มีใบประกอบวิชาชีพอีก ค่อยข้างจะไม่เป็นธรรมกับวิชาชีพเฉพาะ เคยเจอเคยถามมาว่าสายนายช่างไปเรียนเพิ่มป.ตรีวุฒิเทียบมาไปสอบเป็นหัวหน้าง่ายมาก ข้ามสายงานและจะรู้เรื่องไหมในการสั่งการ พิจารณาตรวจสอบงาน ประเมินผลงงาน เข้าใจสายงานวิชาชีพที่มีระดับชั้นภาคี สามัญ และวุฒิ ซึ่งต่อไปก็ขึ้นเป็น ผอ.กองซึ่งสูงสุดในสายงานช่างอีก ขอให้ช่วยทบทวนและแก้ไขให้ความเป็นธรรมกับสายงานนี้บ้าง มีน้อยค่ะที่หลงมาทำงานในท้องถิ่น แต่ตอนนี้จะขอย้ายแล้ว เพราะรับไม่ได้ในสายงานที่ให้โอกาศคนที่ไปเรียนเพิ่มมาไม่มีประสบการณ์ในวุฒิที่เรียนแต่นำมาประกอบว่ามีวุฒิตามคุณสมบัติเพื่อนำไปขอสอบไปเป็นหัวหน้าได้ง่ายๆ แต่คนที่จบป.ตรีมาแต่ต้นทำงานมาตลอดมีประสบการณ์ผลงาน รู้ทั้งระเบียบ วิธีทำงานระบบกับดูเหมือนไม่มีโอกาศ มีแต่ก็ถูกกีดกั้นหรือลดเคดิต

    ตอบลบ
  2. เห็นดวยครับ สายวิชาชีพเฉพาะค่อยข้างจะเสียเปรียบเป็นสายงานที่ต้องตั้งหน้าทำงาน ทำผลงานมากมาย มีการประเมินผลงานย้อนหลัง ปริมาณงานมีการคณะกรรมการมาประเมินก่อนว่าได้หรือไม่ได้ ในท้องถิ่นแต่ละที่ก็ต่างกันไปไปอยู่ที่เล็ก รายได้น้อยก็โตลำบาก และที่สำคํญย้ายลำบากถ้าซีสูงแล้ว ผิดกัยสายบริหารยังว่างอีกและตั้งกรอบโครงสร้างกันตามใจ เมื่อพิจารณาแล้วไม่ค่อยเป็นธรรมกับสายเฉพาะที่ต้องฝ่าฝันสอบระดับชั้นความสามารถตามที่สภาสถาปนิก หรือสภาวิศวกร เลื่อนระดับนั้นยากมาก ท้องถิ่นของเราควรให้วัดค่าความยากของสายงานนี้บ้าง ถึงอาจจะถุกมองว่าแข่งกับตัวเอง ก็ยังดีไปทำวิสัยทัศน์ที่ใช้สอบในระดับบริหารเพราะเชื่อว่าวัดค่าไม่ได้และไม่ได้ทำด้วยเมื่อมาเป็นสายบริหาร เพราะขึ้นอยู่กับปลัดและนายก ที่เป็นคนกำหนดนโยบาย แต่สายวิชาชีพนะได้ทำจริงแน่ รับผิดแน่ๆ ให้โอกาศสายงานนี้ก้าวไปในตำปหน่งที่เขาควรจะเลือกได้บ้างในการเปลี่ยนสาย ไม่ควรกีดกั้น ระบบเวลา ที่สอบเปลี่ยน เพราะเป็นสายงานวิชาชีพเฉพาะ ปัจจุบันนี้กับไปคิดรวมๆกับสายงานอื่นที่เป็นระบบเอกสาร ธุรการ ข้อมูล ที่เป็นงานรูทีน ซ้ำๆ และสายวิชาชีพมีเรื่องให้ลองวิชาตลอดไม่ค่อยซ้ำ จาก สถาปนิก 6

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สันทนาการ

เจ้าพนักงานทะเบียน

เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว