นักวิชาการสุขาภิบาล
มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
สายงาน วิชาการสุขาภิบาล
ลักษณะงานโดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานทางวิชาการสุขาภิบาล ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ และวินิจฉัยปัญหาทางวิชาการสุขาภิบาล และอนามัยสิ่งแวดล้อมกำหนดนโยบายวางแผนงานและดำเนินงานวิชาการสุขาภิบาลตามแผน วัดและประเมินผลการดำเนินงานสุขาภิบาล การจัดการของเสียและสิ่งปฏิกูลอย่างระบบเบ็ดเสร็จ ในด้านการรวบรวม การขนส่ง การแปรสภาพวัสดุเหลือใช้และการกำจัด กำหนดระบบและวิธีการด้านนิเทศ นิเทศ ควบคุมติดตามผลและประเมินผลงานสุขาภิบาล และงานวิชาการสุขาภิบาล ศึกษาค้นคว้า วิจัยด้านวิชาการสุขาภิบาล จัดสอน สอน และอบรมด้านการสุขาภิบาล จัดการประชุมและดำเนินการด้านเผยแพร่กิจการทางวิชาการสุขาภิบาล ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะและแนะแนวทางวิชาการสุขาภิบาล กำหนด จรรโลง และสร้างมาตรฐานงานสุขาภิบาล อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาล งานวิชาการควบคุมโรคเพื่อประโยชน์ในการยกระดับมาตรฐานการสาธารณสุข ของชุมชนและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ชื่อและระดับตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้ คือ
นักวิชาการสุขาภิบาล 3 ระดับ 3 ตำแหน่งประเภททั่วไป
นักวิชาการสุขาภิบาล 4 ระดับ 4 ตำแหน่งประเภททั่วไป
นักวิชาการสุขาภิบาล 5 ระดับ 5 ตำแหน่งประเภททั่วไป
นักวิชาการสุขาภิบาล 6 ระดับ 6 ตำแหน่งประเภททั่วไป
นักวิชาการสุขาภิบาล 7 ระดับ 7 ตำแหน่งประเภททั่วไป
นักวิชาการสุขาภิบาล 8 ระดับ 8 ตำแหน่งประเภททั่วไป
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อตำแหน่ง นักวิชาการสุขาภิบาล 3
ตำแหน่งประเภท ทั่วไป
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานขั้นต้นเกี่ยวกับวิชาการสุขาภิบาลภายใต้การกำกับตรวจสอบโดยใกล้ชิด อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาล งานวิชาการส่งเสริมสุขภาพ งานวิชาการควบคุมโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
เป็นเจ้าหน้าที่ขั้นต้นปฏิบัติงานที่ยากพอสมควรเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาล โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการสุขาภิบาล ซึ่งหมายความรวมถึงการอนามัยที่เกี่ยวข้องกับสภาวะของสิ่งแวดล้อมทั่ว ๆ ไป อันมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อสนับสนุนงานสาธารณสุขขั้นมูลฐานของชุมชน เช่น ร่วมศึกษา ค้นคว้าเพื่อการวิเคราะห์ วิจัย วางแผนงานวิชาการสุขาภิบาล เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับปัญหาและวิธีแก้ไข รวมทั้งการกำหนดมาตรฐานงานสุขาภิบาล ปฏิบัติงานทางด้านสุขาภิบาลโดยให้คำแนะนำ ตรวจสอบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านสุขาภิบาล เช่น การจัดการน้ำเสีย การจัดการขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล อย่างเป็นระบบเบ็ดเสร็จ การจัดสุขาภิบาลอาหารการจัดอาคารสถานที่และการปรับปรุงแก้ไขสิ่งแวดล้อมทั่วไปและเหตุรำคาญอื่น ๆ แนะนำและควบคุมการดำเนินงานของสถานที่จำหน่ายอาหาร เครื่องดื่มและน้ำแข็ง ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ตลอดจนการเผยแพร่อบรมกิจกรรมสุขาภิบาลแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและประชาชน อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาล งานวิชาการส่งเสริมสุขภาพ งานวิชาการควบคุมโรค เช่น การตรวจชันสูตรโรค การบำบัดรักษาผู้ป่วย โรค ทางเดินอาหาร การส่งเสริมภาวะโภชนาการ การทำลายแหล่งแพร่เชื้อ พาหะนำโรค การควบคุมแมลงนำโรค การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคเพื่อประโยชน์ในการยกระดับมาตรฐานการสาธารณสุขของชุมชนและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรี หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาศาสตร์เน้นวิทยาศาสตร์สุขาภิบาล วิทยาศาสตร์สาธารณสุข วิทยาศาสตร์อนามัยและสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมศาสตร์เน้นทางวิศวกรรมสุขาภิบาล วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม หรือทางอื่นที่ ก.อบต.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. มีความรู้ในวิชาการสุขาภิบาล และอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
2. มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายว่าด้วยเทศบาล กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ สิ่งแวดล้อม และการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย กฎหมายว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับอื่น ๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่
3. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศไทย
4. มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
5. มีความสามารถในการศึกษา หาข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา และสรุปเหตุผล
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อตำแหน่ง นักวิชาการสุขาภิบาล 4
ตำแหน่งประเภท ทั่วไป
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิชาการสุขาภิบาลมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงโดยไม่จำเป็นต้องมีผู้กำกับตรวจสอบหรือภายใต้การกำกับตรวจสอบบ้าง หรือปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับแผนก ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบสูง หรือในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน รับผิดชอบงานวิชาการสุขาภิบาลโดยควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หรือปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนหนึ่ง อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาล งานวิชาการส่งเสริมสุขภาพ งานวิชาการควบคุมโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ค่อนข้างยากมากเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาล โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อส่งเสริมและพัฒนางานสุขาภิบาลซึ่งหมายความรวมถึงการอนามัยที่เกี่ยวข้องกับสภาวะของสิ่งแวดล้อมทั่ว ๆ ไป อันมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อสนับสนุนงานสาธารณสุขขั้นมูลฐานของชุมชน เช่น ศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาล เช่น ศึกษา วิเคราะห์อุปสรรคและปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานด้านสุขาภิบาลและการกำหนดมาตรฐานงานสุขาภิบาล เช่น การจัดการขยะมูลฝอย อุจจาระ การจัดการน้ำเสีย การควบคุมพาหะนำโรค การจัดหา น้ำดื่ม น้ำใช้ การสุขาภิบาลอาหาร อาคารสถานที่ การสุขาภิบาลทั่วไป สิ่งแวดล้อมทั่วไป และเหตุรำคาญอื่น ๆ ตลอดจนการอบรมส่งเสริมละเผยแพร่กิจกรรมทางสุขาภิบาล เป็นต้น ร่วมปฏิบัติงานในโครงการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับการสุขาภิบาล เพื่อปรับปรุงมาตรฐานสุขาภิบาลที่มีความยุ่งยากมาก ควบคุมการ จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน ให้คำปรึกษา แนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาล งานวิชาการส่งเสริมสุขภาพ งานวิชาการควบคุมโรค เช่น การตรวจชันสูตรโรค การตรวจบำบัดและรักษาผู้ป่วยโรคทางเดินอาหาร การส่งเสริมภาวะโภชนาการ การทำลายแหล่งแพร่เชื้อ กำจัดแมลงนำโรค การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว ยังทำหน้าที่ ติดต่อประสานงาน วางแผน ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผล และแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วย
ในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ทำหน้าที่ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล 3 และได้ดำรงตำแหน่ง
ในระดับ 3หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาลหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี กำหนด 2 ปี ให้ลดเป็น 1 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติตามข้อ 2 หรือ
2. ได้รับปริญญาโท หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางสาธารณสุขศาสตร์ ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านสาธารณสุขและอนามัย ทางวิศวกรรมศาสตร์เน้นทางวิศวกรรมสุขาภิบาล วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมหรือทางอื่นที่ ก.ท. กำหนดว่า ใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับนักวิชาการสุขาภิบาล 3 แล้ว จะต้อง
1. มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายและแผนงานด้านต่าง ๆ ของส่วนราชการที่สังกัด
2. มีความสามารถในการจัดทำแผน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ หรือเสนอแนะวิธีการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ
3. มีความสามารถในการปกครองบังคับบัญชา
4. มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อตำแหน่ง นักวิชาการสุขาภิบาล 5
ตำแหน่งประเภท ทั่วไป
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับแผนก ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมาก หรือในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงานซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน รับผิดชอบงานวิชาการสุขาภิบาล โดยควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หรือปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนพอสมควร หรือปฏิบัติงานวิชาการสุขาภิบาลที่ยากมาก โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้กำกับตรวจสอบ อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาล งานวิชาการส่งเสริมสุขภาพ งานวิชาการควบคุมโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ยากมากเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาล โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการสุขาภิบาล ซึ่งหมายความถึงการอนามัยที่เกี่ยวข้องกับสภาวะของสิ่งแวดล้อมทั่ว ๆ ไป อันมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อสนับสนุนงานสาธารณสุขขั้นมูลฐานของชุมชน เช่น วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับการจัดหา ปรับปรุงและควบคุมคุณภาพน้ำที่ใช้ในการอุปโภคและบริโภค วิเคราะห์ วิจัย เกี่ยวกับการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์แมลง พาหะนำโรค การกำจัดอุจจาระ
การจัดการน้ำเสีย การจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การสุขาภิบาลอาหาร การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทั่วไป และเหตุรำคาญอื่น ๆ เป็นต้น กำหนดมาตรฐานและการตรวจสอบคุณภาพของงานสุขาภิบาลด้านต่าง ๆ ควบคุมการเผยแพร่กิจกรรมทางด้านสุขาภิบาล ดำเนินการและปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์วิจัยงานสุขาภิบาล ฝึกอบรม และให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาล งานวิชาการส่งเสริมสุขภาพ
งานวิชาการควบคุมโรค เช่น การตรวจชันสูตรโรค การตรวจรักษาโรคทางเดินอาหาร การส่งเสริมภาวะโภชนาการ การควบคุมพาหะนำโรค การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว ยังทำหน้าที่ติดต่อประสานงาน วางแผน มอบหมายงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผลและแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วย
ในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ทำหน้าที่ช่วยหัวหน้าหน่วยงานปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล 3 หรือนักวิชาการสุขาภิบาล 4
ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 4 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาลหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล 3 หรือและได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 3 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาล หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี กำหนด 4 ปี ให้ลดเป็น 3 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติ เฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล 4 ข้อ 2
3. ได้รับปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้านสาธารณสุขศาสตร์และอนามัย หรือทางอื่นที่ กท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งได้
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับนักวิชาการสุขาภิบาล 4 แล้ว จะต้อง
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารงานบุคคล
2. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อตำแหน่ง นักวิชาการสุขาภิบาล 6
ตำแหน่งประเภท ทั่วไป
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับกอง ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงหรือในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงานซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน รับผิดชอบงานวิชาการสุขาภิบาล โดยควบคุมหน่วยงานหลายหน่วย และปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนมากพอสมควร หรือปฏิบัติงานวิชาการสุขาภิบาลในลักษณะผู้ชำนาญการ หรือผู้มีความรู้ความสามารถและความชำนาญงานเทียบได้ระดับเดียวกัน อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาลงานวิชาการส่งเสริมสุขภาพ งานวิชาการควบคุมโรคและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความชำนาญเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาล โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการสุขาภิบาล ซึ่งหมายความรวมถึงการอนามัยที่เกี่ยวข้องกับสภาวะของสิ่งแวดล้อมทั่ว ๆ ไป อันมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อสนับสนุนงานสาธารณสุขขั้นมูลฐานของชุมชน เช่น ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับปัญหาและวิธีการแก้ไข รวมทั้งการกำหนดมาตรฐานงานสุขาภิบาลขั้นมูลฐาน เช่น การจัดการมูลฝอย การจัดการน้ำเสีย การควบคุมพาหะนำโรค การจัดหาน้ำดื่มน้ำใช้ การสุขาภิบาลอาคารสถานที่เสนอแนะปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับงานสุขาภิบาลด้านต่าง ๆ วางแผนและดำเนินงานตามโครงการเกี่ยวกับการสุขาภิบาล เช่น โครงการสุขาภิบาลอาหาร สุขาภิบาลฉุกเฉิน เป็นต้น อบรม เผยแพร่กิจกรรมทางสุขาภิบาล เพื่อประโยชน์ในการยกระดับมาตรฐานการสาธารณสุขชุมชน ดำเนินการและแก้ปัญหาขัดข้องต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์ วิจัยและส่งเสริมงานสุขาภิบาล เป็นต้น ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่
ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้งเข้าร่วมประชุมในการกำหนดนโยบายและแผนงานของส่วนราชการที่สังกัด อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาลงานวิชาการส่งเสริมสุขภาพ งานวิชาการควบคุมโรค เช่น การดำเนินการตรวจ ชันสูตรโรค การตรวจรักษาผู้ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากความบกพร่องของระบบการสุขาภิบาล การส่งเสริมภาวะโภชนาการ การควบคุมแมลงนำโรค การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว ยังทำหน้าที่กำหนดนโยบายการปฏิบัติงาน พิจารณาวางอัตรากำลังเจ้าหน้าที่และงบประมาณของหน่วยงานที่รับผิดชอบติดต่อประสานงาน วางแผน มอบหมายงาน วินิจฉัย สั่งการ ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา แนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผลและแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วย
ในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ทำหน้าที่ช่วยหัวหน้าหน่วยงานปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล 3 หรือนักวิชาการสุขาภิบาล 4 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 5 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการ เกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาลหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล 3 หรือนักวิชาการสุขาภิบาล 4 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 4 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาลหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับนักวิชาการสุขาภิบาล 5 แล้ว จะต้อง
1. มีความสามารถในการบริหารงานและจัดระบบงาน
2. มีความสามารถในการริเริ่ม ปรับปรุงนโยบายและแผนงาน
3. มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ในการทำแผ่นตารางทำการ (Spread Sheet)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อตำแหน่ง นักวิชาการสุขาภิบาล 7
ตำแหน่งประเภท ทั่วไป
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับกอง ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมาก รับผิดชอบงานวิชาการสุขาภิบาล โดยควบคุมหน่วยงานหลายหน่วย และปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนมาก หรือปฏิบัติงานวิชาการสุขาภิบาลในลักษณะผู้ชำนาญการพิเศษ หรือผู้มีความสามารถและความชำนาญงานเทียบได้ระดับเดียวกัน อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาล งานวิชาการส่งเสริมสุขภาพ งานวิชาการควบคุมโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาล โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการสุขาภิบาล ซึ่งหมายความรวมถึงการอนามัยที่เกี่ยวข้องกับสภาวะของสิ่งแวดล้อมทั่ว ๆ ไป อันมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อสนับสนุนงานสาธารณสุขขั้นมูลฐานของชุมชน เช่น ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับปัญหาและวิธีการแก้ไขรวมทั้งการกำหนดมาตรฐานงานสุขาภิบาลขั้นมูลฐาน วางแผนและดำเนินงานตามโครงการเกี่ยวกับการ
สุขาภิบาล เช่น โครงการสุขาภิบาลอาหารสุขาภิบาลฉุกเฉิน เป็นต้น ควบคุมการดำเนินงานสุขาภิบาล ด้านต่าง ๆ เช่น สุขาภิบาลเรื่องน้ำ การควบคุมพาหะนำโรคสิ่งปฏิกูล อาคารสถานที่ การจัดการมูลฝอย การจัดการน้ำเสีย และสุขาภิบาลทั่วไป เป็นต้น อบรมเผยแพร่กิจกรรมทางสุขาภิบาลเพื่อประโยชน์ใน การยกระดับมาตรฐานการสาธารณสุขชุมชน เป็นต้น ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงาน แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ เข้าร่วมประชุม คณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง เข้าร่วมประชุมในการกำหนดนโยบายและแผนงานของส่วนราชการที่สังกัด อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาลงานวิชาการส่งเสริมสุขภาพ งานวิชาการควบคุมโรค เช่น การควบคุมดำเนินการตรวจชันสูตรโรค การตรวจรักษาผู้ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากความบกพร่องของระบบการสุขาภิบาล การส่งเสริมภาวะโภชนาการ การควบคุมแมลงนำโรคการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว ยังทำหน้าที่กำหนดนโยบายการปฏิบัติงาน พิจารณาวางอัตรากำลังเจ้าหน้าที่และงบประมาณของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ติดต่อประสานงาน วางแผน มอบหมายงาน วินิจฉัย สั่งการ ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา แนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผลแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วย
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล 3 หรือนักวิชาการสุขาภิบาล 4 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งระดับ 6 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานการสุขาภิบาลหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล 3 หรือนักวิชาการสุขาภิบาล 4 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 5 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาลหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับนักวิชาการสุขาภิบาล 6 แล้ว จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในนโยบายการบริหารงานของรัฐบาล และปัญหาด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อตำแหน่ง นักวิชาการสุขาภิบาล 8
ตำแหน่งประเภท ทั่วไป
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับกอง ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมาก รับผิดชอบงานวิชาการสุขาภิบาล โดยควบคุมหน่วยงานหลายหน่วย และปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนมาก หรือปฏิบัติงานวิชาการสุขาภิบาลในลักษณะผู้ชำนาญการพิเศษ หรือผู้มีความสามารถและความชำนาญงานเทียบได้ระดับเดียวกัน อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาล งานวิชาการส่งเสริมสุขภาพ งานวิชาการควบคุมโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาล โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการสุขาภิบาล ซึ่งหมายความรวมถึงการอนามัยที่เกี่ยวข้องกับสภาวะของสิ่งแวดล้อมทั่ว ๆ ไป อันมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อสนับสนุนงานสาธารณสุขขั้นมูลฐานของชุมชน เช่น ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับปัญหาและวิธีการแก้ไขรวมทั้งการกำหนดมาตรฐานงานสุขาภิบาลขั้นมูลฐาน วางแผนและดำเนินงานตามโครงการเกี่ยวกับการ
สุขาภิบาล เช่น โครงการสุขาภิบาลอาหารสุขาภิบาลฉุกเฉิน เป็นต้น ควบคุมการดำเนินงานสุขาภิบาล ด้านต่าง ๆ เช่น สุขาภิบาลเรื่องน้ำ การควบคุมพาหะนำโรคสิ่งปฏิกูล อาคารสถานที่ การจัดการมูลฝอย การจัดการน้ำเสีย และสุขาภิบาลทั่วไป เป็นต้น อบรมเผยแพร่กิจกรรมทางสุขาภิบาลเพื่อประโยชน์ใน การยกระดับมาตรฐานการสาธารณสุขชุมชน เป็นต้น ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงาน แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง เข้าร่วมประชุมในการกำหนดนโยบายและแผนงานของส่วนราชการที่สังกัด อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาลงานวิชาการส่งเสริมสุขภาพ งานวิชาการควบคุมโรค เช่น การควบคุมดำเนินการตรวจชันสูตรโรค การตรวจรักษาผู้ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากความบกพร่องของระบบการสุขาภิบาล การส่งเสริมภาวะโภชนาการ การควบคุมแมลงนำโรคการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ เกี่ยวข้อง
ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว ยังทำหน้าที่กำหนดนโยบายการปฏิบัติงาน พิจารณาวางอัตรากำลังเจ้าหน้าที่และงบประมาณของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ติดต่อประสานงาน วางแผน มอบหมายงาน วินิจฉัย สั่งการ ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา แนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผลแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วย
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล 3 หรือนักวิชาการสุขาภิบาล 4 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งระดับ 7 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานการสุขาภิบาลหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล 3 หรือนักวิชาการสุขาภิบาล 4 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 6 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาลหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับนักวิชาการสุขาภิบาล 7 แล้ว และมีความ
เชี่ยวชาญงานในหน้าที่ โดยมีผลงานอันมีคุณค่าเป็นที่ยอมรับได้ในด้านวิชาการสุขาภิบาล
สายงาน วิชาการสุขาภิบาล
ลักษณะงานโดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานทางวิชาการสุขาภิบาล ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ และวินิจฉัยปัญหาทางวิชาการสุขาภิบาล และอนามัยสิ่งแวดล้อมกำหนดนโยบายวางแผนงานและดำเนินงานวิชาการสุขาภิบาลตามแผน วัดและประเมินผลการดำเนินงานสุขาภิบาล การจัดการของเสียและสิ่งปฏิกูลอย่างระบบเบ็ดเสร็จ ในด้านการรวบรวม การขนส่ง การแปรสภาพวัสดุเหลือใช้และการกำจัด กำหนดระบบและวิธีการด้านนิเทศ นิเทศ ควบคุมติดตามผลและประเมินผลงานสุขาภิบาล และงานวิชาการสุขาภิบาล ศึกษาค้นคว้า วิจัยด้านวิชาการสุขาภิบาล จัดสอน สอน และอบรมด้านการสุขาภิบาล จัดการประชุมและดำเนินการด้านเผยแพร่กิจการทางวิชาการสุขาภิบาล ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะและแนะแนวทางวิชาการสุขาภิบาล กำหนด จรรโลง และสร้างมาตรฐานงานสุขาภิบาล อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาล งานวิชาการควบคุมโรคเพื่อประโยชน์ในการยกระดับมาตรฐานการสาธารณสุข ของชุมชนและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ชื่อและระดับตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้ คือ
นักวิชาการสุขาภิบาล 3 ระดับ 3 ตำแหน่งประเภททั่วไป
นักวิชาการสุขาภิบาล 4 ระดับ 4 ตำแหน่งประเภททั่วไป
นักวิชาการสุขาภิบาล 5 ระดับ 5 ตำแหน่งประเภททั่วไป
นักวิชาการสุขาภิบาล 6 ระดับ 6 ตำแหน่งประเภททั่วไป
นักวิชาการสุขาภิบาล 7 ระดับ 7 ตำแหน่งประเภททั่วไป
นักวิชาการสุขาภิบาล 8 ระดับ 8 ตำแหน่งประเภททั่วไป
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อตำแหน่ง นักวิชาการสุขาภิบาล 3
ตำแหน่งประเภท ทั่วไป
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานขั้นต้นเกี่ยวกับวิชาการสุขาภิบาลภายใต้การกำกับตรวจสอบโดยใกล้ชิด อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาล งานวิชาการส่งเสริมสุขภาพ งานวิชาการควบคุมโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
เป็นเจ้าหน้าที่ขั้นต้นปฏิบัติงานที่ยากพอสมควรเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาล โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการสุขาภิบาล ซึ่งหมายความรวมถึงการอนามัยที่เกี่ยวข้องกับสภาวะของสิ่งแวดล้อมทั่ว ๆ ไป อันมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อสนับสนุนงานสาธารณสุขขั้นมูลฐานของชุมชน เช่น ร่วมศึกษา ค้นคว้าเพื่อการวิเคราะห์ วิจัย วางแผนงานวิชาการสุขาภิบาล เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับปัญหาและวิธีแก้ไข รวมทั้งการกำหนดมาตรฐานงานสุขาภิบาล ปฏิบัติงานทางด้านสุขาภิบาลโดยให้คำแนะนำ ตรวจสอบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านสุขาภิบาล เช่น การจัดการน้ำเสีย การจัดการขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล อย่างเป็นระบบเบ็ดเสร็จ การจัดสุขาภิบาลอาหารการจัดอาคารสถานที่และการปรับปรุงแก้ไขสิ่งแวดล้อมทั่วไปและเหตุรำคาญอื่น ๆ แนะนำและควบคุมการดำเนินงานของสถานที่จำหน่ายอาหาร เครื่องดื่มและน้ำแข็ง ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ตลอดจนการเผยแพร่อบรมกิจกรรมสุขาภิบาลแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและประชาชน อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาล งานวิชาการส่งเสริมสุขภาพ งานวิชาการควบคุมโรค เช่น การตรวจชันสูตรโรค การบำบัดรักษาผู้ป่วย โรค ทางเดินอาหาร การส่งเสริมภาวะโภชนาการ การทำลายแหล่งแพร่เชื้อ พาหะนำโรค การควบคุมแมลงนำโรค การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคเพื่อประโยชน์ในการยกระดับมาตรฐานการสาธารณสุขของชุมชนและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรี หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาศาสตร์เน้นวิทยาศาสตร์สุขาภิบาล วิทยาศาสตร์สาธารณสุข วิทยาศาสตร์อนามัยและสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมศาสตร์เน้นทางวิศวกรรมสุขาภิบาล วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม หรือทางอื่นที่ ก.อบต.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. มีความรู้ในวิชาการสุขาภิบาล และอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
2. มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายว่าด้วยเทศบาล กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ สิ่งแวดล้อม และการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย กฎหมายว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับอื่น ๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่
3. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศไทย
4. มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
5. มีความสามารถในการศึกษา หาข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา และสรุปเหตุผล
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อตำแหน่ง นักวิชาการสุขาภิบาล 4
ตำแหน่งประเภท ทั่วไป
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิชาการสุขาภิบาลมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงโดยไม่จำเป็นต้องมีผู้กำกับตรวจสอบหรือภายใต้การกำกับตรวจสอบบ้าง หรือปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับแผนก ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบสูง หรือในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน รับผิดชอบงานวิชาการสุขาภิบาลโดยควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หรือปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนหนึ่ง อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาล งานวิชาการส่งเสริมสุขภาพ งานวิชาการควบคุมโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ค่อนข้างยากมากเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาล โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อส่งเสริมและพัฒนางานสุขาภิบาลซึ่งหมายความรวมถึงการอนามัยที่เกี่ยวข้องกับสภาวะของสิ่งแวดล้อมทั่ว ๆ ไป อันมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อสนับสนุนงานสาธารณสุขขั้นมูลฐานของชุมชน เช่น ศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาล เช่น ศึกษา วิเคราะห์อุปสรรคและปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานด้านสุขาภิบาลและการกำหนดมาตรฐานงานสุขาภิบาล เช่น การจัดการขยะมูลฝอย อุจจาระ การจัดการน้ำเสีย การควบคุมพาหะนำโรค การจัดหา น้ำดื่ม น้ำใช้ การสุขาภิบาลอาหาร อาคารสถานที่ การสุขาภิบาลทั่วไป สิ่งแวดล้อมทั่วไป และเหตุรำคาญอื่น ๆ ตลอดจนการอบรมส่งเสริมละเผยแพร่กิจกรรมทางสุขาภิบาล เป็นต้น ร่วมปฏิบัติงานในโครงการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับการสุขาภิบาล เพื่อปรับปรุงมาตรฐานสุขาภิบาลที่มีความยุ่งยากมาก ควบคุมการ จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน ให้คำปรึกษา แนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาล งานวิชาการส่งเสริมสุขภาพ งานวิชาการควบคุมโรค เช่น การตรวจชันสูตรโรค การตรวจบำบัดและรักษาผู้ป่วยโรคทางเดินอาหาร การส่งเสริมภาวะโภชนาการ การทำลายแหล่งแพร่เชื้อ กำจัดแมลงนำโรค การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว ยังทำหน้าที่ ติดต่อประสานงาน วางแผน ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผล และแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วย
ในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ทำหน้าที่ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล 3 และได้ดำรงตำแหน่ง
ในระดับ 3หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาลหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี กำหนด 2 ปี ให้ลดเป็น 1 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติตามข้อ 2 หรือ
2. ได้รับปริญญาโท หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางสาธารณสุขศาสตร์ ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านสาธารณสุขและอนามัย ทางวิศวกรรมศาสตร์เน้นทางวิศวกรรมสุขาภิบาล วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมหรือทางอื่นที่ ก.ท. กำหนดว่า ใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับนักวิชาการสุขาภิบาล 3 แล้ว จะต้อง
1. มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายและแผนงานด้านต่าง ๆ ของส่วนราชการที่สังกัด
2. มีความสามารถในการจัดทำแผน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ หรือเสนอแนะวิธีการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ
3. มีความสามารถในการปกครองบังคับบัญชา
4. มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อตำแหน่ง นักวิชาการสุขาภิบาล 5
ตำแหน่งประเภท ทั่วไป
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับแผนก ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมาก หรือในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงานซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน รับผิดชอบงานวิชาการสุขาภิบาล โดยควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หรือปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนพอสมควร หรือปฏิบัติงานวิชาการสุขาภิบาลที่ยากมาก โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้กำกับตรวจสอบ อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาล งานวิชาการส่งเสริมสุขภาพ งานวิชาการควบคุมโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ยากมากเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาล โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการสุขาภิบาล ซึ่งหมายความถึงการอนามัยที่เกี่ยวข้องกับสภาวะของสิ่งแวดล้อมทั่ว ๆ ไป อันมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อสนับสนุนงานสาธารณสุขขั้นมูลฐานของชุมชน เช่น วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับการจัดหา ปรับปรุงและควบคุมคุณภาพน้ำที่ใช้ในการอุปโภคและบริโภค วิเคราะห์ วิจัย เกี่ยวกับการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์แมลง พาหะนำโรค การกำจัดอุจจาระ
การจัดการน้ำเสีย การจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การสุขาภิบาลอาหาร การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทั่วไป และเหตุรำคาญอื่น ๆ เป็นต้น กำหนดมาตรฐานและการตรวจสอบคุณภาพของงานสุขาภิบาลด้านต่าง ๆ ควบคุมการเผยแพร่กิจกรรมทางด้านสุขาภิบาล ดำเนินการและปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์วิจัยงานสุขาภิบาล ฝึกอบรม และให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาล งานวิชาการส่งเสริมสุขภาพ
งานวิชาการควบคุมโรค เช่น การตรวจชันสูตรโรค การตรวจรักษาโรคทางเดินอาหาร การส่งเสริมภาวะโภชนาการ การควบคุมพาหะนำโรค การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว ยังทำหน้าที่ติดต่อประสานงาน วางแผน มอบหมายงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผลและแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วย
ในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ทำหน้าที่ช่วยหัวหน้าหน่วยงานปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล 3 หรือนักวิชาการสุขาภิบาล 4
ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 4 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาลหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล 3 หรือและได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 3 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาล หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี กำหนด 4 ปี ให้ลดเป็น 3 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติ เฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล 4 ข้อ 2
3. ได้รับปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้านสาธารณสุขศาสตร์และอนามัย หรือทางอื่นที่ กท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งได้
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับนักวิชาการสุขาภิบาล 4 แล้ว จะต้อง
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารงานบุคคล
2. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อตำแหน่ง นักวิชาการสุขาภิบาล 6
ตำแหน่งประเภท ทั่วไป
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับกอง ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงหรือในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงานซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน รับผิดชอบงานวิชาการสุขาภิบาล โดยควบคุมหน่วยงานหลายหน่วย และปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนมากพอสมควร หรือปฏิบัติงานวิชาการสุขาภิบาลในลักษณะผู้ชำนาญการ หรือผู้มีความรู้ความสามารถและความชำนาญงานเทียบได้ระดับเดียวกัน อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาลงานวิชาการส่งเสริมสุขภาพ งานวิชาการควบคุมโรคและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความชำนาญเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาล โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการสุขาภิบาล ซึ่งหมายความรวมถึงการอนามัยที่เกี่ยวข้องกับสภาวะของสิ่งแวดล้อมทั่ว ๆ ไป อันมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อสนับสนุนงานสาธารณสุขขั้นมูลฐานของชุมชน เช่น ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับปัญหาและวิธีการแก้ไข รวมทั้งการกำหนดมาตรฐานงานสุขาภิบาลขั้นมูลฐาน เช่น การจัดการมูลฝอย การจัดการน้ำเสีย การควบคุมพาหะนำโรค การจัดหาน้ำดื่มน้ำใช้ การสุขาภิบาลอาคารสถานที่เสนอแนะปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับงานสุขาภิบาลด้านต่าง ๆ วางแผนและดำเนินงานตามโครงการเกี่ยวกับการสุขาภิบาล เช่น โครงการสุขาภิบาลอาหาร สุขาภิบาลฉุกเฉิน เป็นต้น อบรม เผยแพร่กิจกรรมทางสุขาภิบาล เพื่อประโยชน์ในการยกระดับมาตรฐานการสาธารณสุขชุมชน ดำเนินการและแก้ปัญหาขัดข้องต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์ วิจัยและส่งเสริมงานสุขาภิบาล เป็นต้น ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่
ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้งเข้าร่วมประชุมในการกำหนดนโยบายและแผนงานของส่วนราชการที่สังกัด อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาลงานวิชาการส่งเสริมสุขภาพ งานวิชาการควบคุมโรค เช่น การดำเนินการตรวจ ชันสูตรโรค การตรวจรักษาผู้ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากความบกพร่องของระบบการสุขาภิบาล การส่งเสริมภาวะโภชนาการ การควบคุมแมลงนำโรค การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว ยังทำหน้าที่กำหนดนโยบายการปฏิบัติงาน พิจารณาวางอัตรากำลังเจ้าหน้าที่และงบประมาณของหน่วยงานที่รับผิดชอบติดต่อประสานงาน วางแผน มอบหมายงาน วินิจฉัย สั่งการ ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา แนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผลและแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วย
ในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ทำหน้าที่ช่วยหัวหน้าหน่วยงานปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล 3 หรือนักวิชาการสุขาภิบาล 4 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 5 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการ เกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาลหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล 3 หรือนักวิชาการสุขาภิบาล 4 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 4 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาลหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับนักวิชาการสุขาภิบาล 5 แล้ว จะต้อง
1. มีความสามารถในการบริหารงานและจัดระบบงาน
2. มีความสามารถในการริเริ่ม ปรับปรุงนโยบายและแผนงาน
3. มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ในการทำแผ่นตารางทำการ (Spread Sheet)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อตำแหน่ง นักวิชาการสุขาภิบาล 7
ตำแหน่งประเภท ทั่วไป
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับกอง ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมาก รับผิดชอบงานวิชาการสุขาภิบาล โดยควบคุมหน่วยงานหลายหน่วย และปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนมาก หรือปฏิบัติงานวิชาการสุขาภิบาลในลักษณะผู้ชำนาญการพิเศษ หรือผู้มีความสามารถและความชำนาญงานเทียบได้ระดับเดียวกัน อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาล งานวิชาการส่งเสริมสุขภาพ งานวิชาการควบคุมโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาล โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการสุขาภิบาล ซึ่งหมายความรวมถึงการอนามัยที่เกี่ยวข้องกับสภาวะของสิ่งแวดล้อมทั่ว ๆ ไป อันมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อสนับสนุนงานสาธารณสุขขั้นมูลฐานของชุมชน เช่น ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับปัญหาและวิธีการแก้ไขรวมทั้งการกำหนดมาตรฐานงานสุขาภิบาลขั้นมูลฐาน วางแผนและดำเนินงานตามโครงการเกี่ยวกับการ
สุขาภิบาล เช่น โครงการสุขาภิบาลอาหารสุขาภิบาลฉุกเฉิน เป็นต้น ควบคุมการดำเนินงานสุขาภิบาล ด้านต่าง ๆ เช่น สุขาภิบาลเรื่องน้ำ การควบคุมพาหะนำโรคสิ่งปฏิกูล อาคารสถานที่ การจัดการมูลฝอย การจัดการน้ำเสีย และสุขาภิบาลทั่วไป เป็นต้น อบรมเผยแพร่กิจกรรมทางสุขาภิบาลเพื่อประโยชน์ใน การยกระดับมาตรฐานการสาธารณสุขชุมชน เป็นต้น ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงาน แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ เข้าร่วมประชุม คณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง เข้าร่วมประชุมในการกำหนดนโยบายและแผนงานของส่วนราชการที่สังกัด อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาลงานวิชาการส่งเสริมสุขภาพ งานวิชาการควบคุมโรค เช่น การควบคุมดำเนินการตรวจชันสูตรโรค การตรวจรักษาผู้ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากความบกพร่องของระบบการสุขาภิบาล การส่งเสริมภาวะโภชนาการ การควบคุมแมลงนำโรคการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว ยังทำหน้าที่กำหนดนโยบายการปฏิบัติงาน พิจารณาวางอัตรากำลังเจ้าหน้าที่และงบประมาณของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ติดต่อประสานงาน วางแผน มอบหมายงาน วินิจฉัย สั่งการ ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา แนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผลแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วย
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล 3 หรือนักวิชาการสุขาภิบาล 4 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งระดับ 6 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานการสุขาภิบาลหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล 3 หรือนักวิชาการสุขาภิบาล 4 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 5 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาลหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับนักวิชาการสุขาภิบาล 6 แล้ว จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในนโยบายการบริหารงานของรัฐบาล และปัญหาด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อตำแหน่ง นักวิชาการสุขาภิบาล 8
ตำแหน่งประเภท ทั่วไป
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับกอง ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมาก รับผิดชอบงานวิชาการสุขาภิบาล โดยควบคุมหน่วยงานหลายหน่วย และปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนมาก หรือปฏิบัติงานวิชาการสุขาภิบาลในลักษณะผู้ชำนาญการพิเศษ หรือผู้มีความสามารถและความชำนาญงานเทียบได้ระดับเดียวกัน อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาล งานวิชาการส่งเสริมสุขภาพ งานวิชาการควบคุมโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาล โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการสุขาภิบาล ซึ่งหมายความรวมถึงการอนามัยที่เกี่ยวข้องกับสภาวะของสิ่งแวดล้อมทั่ว ๆ ไป อันมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อสนับสนุนงานสาธารณสุขขั้นมูลฐานของชุมชน เช่น ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับปัญหาและวิธีการแก้ไขรวมทั้งการกำหนดมาตรฐานงานสุขาภิบาลขั้นมูลฐาน วางแผนและดำเนินงานตามโครงการเกี่ยวกับการ
สุขาภิบาล เช่น โครงการสุขาภิบาลอาหารสุขาภิบาลฉุกเฉิน เป็นต้น ควบคุมการดำเนินงานสุขาภิบาล ด้านต่าง ๆ เช่น สุขาภิบาลเรื่องน้ำ การควบคุมพาหะนำโรคสิ่งปฏิกูล อาคารสถานที่ การจัดการมูลฝอย การจัดการน้ำเสีย และสุขาภิบาลทั่วไป เป็นต้น อบรมเผยแพร่กิจกรรมทางสุขาภิบาลเพื่อประโยชน์ใน การยกระดับมาตรฐานการสาธารณสุขชุมชน เป็นต้น ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงาน แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง เข้าร่วมประชุมในการกำหนดนโยบายและแผนงานของส่วนราชการที่สังกัด อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาลงานวิชาการส่งเสริมสุขภาพ งานวิชาการควบคุมโรค เช่น การควบคุมดำเนินการตรวจชันสูตรโรค การตรวจรักษาผู้ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากความบกพร่องของระบบการสุขาภิบาล การส่งเสริมภาวะโภชนาการ การควบคุมแมลงนำโรคการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ เกี่ยวข้อง
ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว ยังทำหน้าที่กำหนดนโยบายการปฏิบัติงาน พิจารณาวางอัตรากำลังเจ้าหน้าที่และงบประมาณของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ติดต่อประสานงาน วางแผน มอบหมายงาน วินิจฉัย สั่งการ ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา แนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผลแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วย
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล 3 หรือนักวิชาการสุขาภิบาล 4 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งระดับ 7 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานการสุขาภิบาลหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล 3 หรือนักวิชาการสุขาภิบาล 4 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 6 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานวิชาการสุขาภิบาลหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับนักวิชาการสุขาภิบาล 7 แล้ว และมีความ
เชี่ยวชาญงานในหน้าที่ โดยมีผลงานอันมีคุณค่าเป็นที่ยอมรับได้ในด้านวิชาการสุขาภิบาล
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น