เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์

มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง

สายงาน เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์

ลักษณะงานโดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานทางชันสูตรโรคและชันสูตรสาธารณสุข ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ทดสอบหาสารต่าง ๆ เพาะ เลี้ยง ทดสอบหาชนิดและความไวของเชื้อโรค ตรวจชันสูตรสภาพของเนื้อเยื่อ หรือเซลล์ ซึ่งเป็นสาเหตุอาการแห่งโรคหรือปัญหาสาธารณสุข ช่วยหรือร่วมมือกับแพทย์ หรือนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่อื่น ปฏิบัติงานวิเคราะห์วิจัยต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

ชื่อและระดับของตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้ คือ
เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2 ระดับ 2 ประเภทตำแหน่ง ทั่วไป
เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3 ระดับ 3 ประเภทตำแหน่ง ทั่วไป
เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 4 ระดับ 4 ประเภทตำแหน่ง ทั่วไป
เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 5 ระดับ 5 ประเภทตำแหน่ง ทั่วไป
เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 6 ระดับ 6 ประเภทตำแหน่ง ทั่วไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ชื่อตำแหน่ง เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2

ตำแหน่งประเภท ทั่วไป

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานขั้นต้นเกี่ยวกับงานชันสูตรโรคและชันสูตรสาธารณสุข ภายใต้การกำกับตรวจสอบโดยทั่วไป หรือตามคำสั่งหรือแบบ หรือแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่อย่างกว้าง ๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
เป็นเจ้าหน้าที่ชั้นต้นปฏิบัติงานที่ค่อนข้างยากเกี่ยวกับการชันสูตรโรคและชันสูตรสาธารณสุข โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น เตรียมวัตถุที่จะชันสูตรหาจุลินทรีย์ หาสารบางชนิดหรือสภาพของเนื้อเยื่อหรือเซลล์ซึ่งเป็นสาเหตุอาการของโรค หรือปัญหาสาธารณสุข เตรียมและช่วยเลี้ยงเซลล์เพื่อใช้ในการชันสูตรโรคบางชนิด ช่วยปฏิบัติงานตรวจวิเคราะห์เซรุ่มผู้ป่วย ตัดชิ้นเนื้อ ตรวจชิ้นเนื้อ ช่วยเลี้ยงสัตว์ทดลอง สังเกตอาการสัตว์ทดลอง ช่วยผ่าตัดอวัยวะต่าง ๆ ของสัตว์ทดลอง ช่วยหรือร่วมมือกับแพทย์หรือนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่อื่นปฏิบัติงานวิเคราะห์วิจัยต่าง ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ควบคุมดูแลวัสดุและความสะอาดของเครื่องมือ และห้องปฏิบัติการ จดบันทึกและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับผลการชันสูตรโรค หรือการวิเคราะห์ทดสอบทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. ได้รับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เซลล์วิทยา ประกาศนียบัตรเซลล์วิทยา ซึ่งมีระยะเวลาศึกษาต่อจากประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายที่ศึกษาวิชาสามัญหรือเทียบเท่าไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ
2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรืออนุปริญญาหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เซลล์วิทยา ซึ่งมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 3 ปี ต่อจากมัธยมศึกษาตอนปลายที่ศึกษาวิชาสามัญหรือเทียบเท่าหรือทางอื่นที่ ก.ท. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งนี้ได้

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. มีความรู้เกี่ยวกับงานทางวิทยาศาสตร์การแพทย์โดยทั่วไปอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
2. มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายว่าด้วยกฎหมายเทศบาล กฎหมายว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่
3. มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานธุรการ และงานสารบรรณอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
4. มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
5. มีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความละเอียดแม่นยำ
6. มีความสามารถในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ชื่อตำแหน่ง เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3

ตำแหน่งประเภท ทั่วไป

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานชันสูตรโรค และชันสูตรสาธารณสุขที่ยากพอสมควรภายใต้การกำกับตรวจสอบบ้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ยากพอสมควรเกี่ยวกับการชันสูตรโรคและชันสูตรสาธารณสุข โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น ชันสูตรวัตถุตัวอย่างเพื่อหาจุลินทรีย์ หาสารบางชนิด หรือตรวจวิเคราะห์สภาพของเนื้อเยื่อหรือเซลล์ ซึ่งเป็นสาเหตุอาการแห่งโรคหรือปัญหาสาธารณสุขทางจุลชีววิทยา ทางพยาธิวิทยาคลินิก ฯลฯ ผลิตแอนติเจน แอนติเซรุ่ม หรือแผ่นยาปฏิชีวนะ เพื่อใช้
ในการชันสูตรโรค เลี้ยงเซลล์ เลี้ยงเชื้อเลี้ยงสัตว์ทดลอง ทดสอบการชันสูตรสาธารณสุข โดยกรรมวิธีต่าง ๆ ช่วยเหลือร่วมมือกับแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่อื่นๆ ปฏิบัติงานวิเคราะห์ วิจัยต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เป็นต้น ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 2 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานชันสูตรโรค และชันสูตรสาธารณสุข หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี กำหนดเวลา 2 ปี ให้เพิ่มเป็น 3 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2 ข้อ 1

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2 แล้วจะต้อง
1. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศไทย
2. มีความสามารถในการศึกษาหาข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาและสรุปเหตุผล

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ชื่อตำแหน่ง เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 4

ตำแหน่งประเภท ทั่วไป

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานชันสูตรโรคและชันสูตรสาธารณสุขที่ค่อนข้างยากมาก โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้กำกับตรวจสอบ หรือภายใต้การกำกับตรวจสอบบ้าง หรือปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับแผนก ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูง หรือในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน รับผิดชอบงานชันสูตรโรคและชันสูตรสาธารณสุขโดยควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หรือปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนหนึ่ง และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ค่อนข้างยากมากเกี่ยวกับงานชันสูตรโรดคและชันสูตรสาธารณสุข หรืองานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น ชันสูตรวัตถุตัวอย่างเพื่อหาจุลินทรีย์ หาสารบางชนิด หรือตรวจวิเคราะห์สารพิษของเนื้อเยื่อหรือเซลล์ซึ่งเป็นสาเหตุอาการแห่งโรคหรือปัญหาสาธารณสุขทางจุลชีววิทยา ทางพยาธิวิทยาคลีนิค หรือทางเคมีคัลคลีนิค ฯลฯ ซึ่งมีวิธีการพิเศษในการปฏิบัติงาน หรือต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ และใช้ความชำนาญในการอ่านผลผลิตแอนติเจน แอนติเซรุ่ม หรือแผ่นยาปฏิชีวนะเพื่อใช้ในการชันสูตรโรค ควบคุมการเลี้ยงเซลล์ อาหารเลี้ยงเชื้อ การเลี้ยงสัตว์ทดลอง ช่วยผ่าตัดอวัยวะสัตว์ทดลอง ทดสอบการชันสูตรโรคและชันสูตรสาธารณสุขโดยกรรมวิธีต่าง ๆ ช่วยเหลือร่วมมือกับแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์หรือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ปฏิบัติงานวิเคราะห์ วิจัยต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เป็นต้น ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ในฐานะหัวหน้าหน่วยงานนอกจากอาจปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว ยังทำหน้าที่ติดต่อประสานงาน วางแผน มอบหมายงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผลและแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วย
ในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ทำหน้าที่ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2 และได้
ดำรงตำแหน่งในระดับ 3 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานชันสูตรโรคและชันสูตรสาธารณสุข หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 2 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานชันสูตรโรคและชันสูตรสาธารณสุข หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี กำหนดเวลา 4 ปี ให้เพิ่มเป็น 5 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2 ข้อ 1

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3 แล้ว จะต้อง
1. มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายและแผนงานด้านต่าง ๆ ของส่วนราชการที่สังกัด
2. มีความสามารถในการจัดทำแผนงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ
และเสนอแนะวิธีการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ
3. มีความสามารถในการปกครองบังคับบัญชา
4. มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ชื่อตำแหน่ง เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 5

ตำแหน่งประเภท ทั่วไป

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับแผนก ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมาก หรือในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน รับผิดชอบงานชันสูตรโรคและชันสูตรสาธารณสุข โดยควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หรือปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนพอสมควร หรือปฏิบัติงานชันสูตรโรคและชันสูตรสาธารณสุขที่ยากมาก โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้กำกับตรวจสอบและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับ
มอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ยากมากเกี่ยวกับงานชันสูตรโรคและชันสูตรสาธารณสุข โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น ชันสูตรวัตถุตัวอย่าง เพื่อหาจุลินทรีย์ สารบางชนิดหรือตรวจวิเคราะห์สภาพเนื้อเยื่อหรือเซลล์ ซึ่งเป็นสาเหตุอาการแห่งโรค หรือปัญหาสาธารณสุขซึ่งมีวิธีการพิเศษ หรือต้องใช้เครื่องมือที่ทันสมัยที่มีเทคนิคการใช้ที่ยุ่งยาก หรือต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ และความชำนาญเป็นพิเศษในการชันสูตรวิเคราะห์และอ่านผลควบคุมการผลิตแอนติเจน แอนติเซรุ่ม แผ่นยาปฏิชีวนะ หรืออาหาร
เลี้ยงเชื้อ ควบคุมการชันสูตรโรคและชันสูตรสาธารณสุขให้ได้ผลตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ช่วยหรือร่วมมือกับแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่อื่นปฏิบัติงาน วิเคราะห์ วิจัยต่าง ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประเมินผลการปฏิบัติงาน ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่และปฏิบัติ

หน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว ยังทำหน้าที่
ติดต่อประสานงาน วางแผน มอบหมายงานควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผลและแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วย
ในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ทำหน้าที่ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 4 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานชันสูตรโรคและชันสูตรสาธารณสุขหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 3 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานชันสูตรโรคและชันสูตรสาธารณสุข หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 4 แล้ว จะต้อง
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารงานบุคคล
2. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ชื่อตำแหน่ง เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 6

ตำแหน่งประเภท ทั่วไป

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับฝ่ายหรือกอง ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมาก หรือในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงานซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน รับผิดชอบงานชันสูตรและหลักสูตรสาธารณสุข โดยควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ หรือปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนพอสมควร หรือปฏิบัติงานชันสูตรโรคและชันสูตรสาธารณสุขที่ยากมาก ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ความสามารถและ
ความชำนาญสูงมาก โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้กำกับตรวจสอบและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ยากมากเกี่ยวกับงานชันสูตรโรคและชันสูตรสาธารณสุข โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น ชันสูตรวัสดุตัวอย่างเพื่อหาจุลินทรีย์ สารบางชนิด หรือตรวจวิเคราะห์สภาพเนื้อเยื่อหรือเซลล์ ซึ่งเป็นสาเหตุอาการแห่งโรค หรือปัญหาสาธารณสุขซึ่งมีวิธีการพิเศษ หรือต้องใช้เครื่องมือที่ทันสมัยที่มีเทคนิคการใช้ที่ยุ่งยาก หรือต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ และความชำนาญเป็นพิเศษในการชันสูตรวิเคราะห์และอ่านผลควบคุมการผลิตแอนติเจน แอนติเซรุ่ม หรืออาหารเลี้ยงเชื้อ ควบคุม
การชันสูตรโรคและชันสูตรสาธารณสุขให้ได้ผลตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ช่วยหรือร่วมมือกับแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่อื่นปฏิบัติงาน วิเคราะห์ วิจัยต่าง ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประเมินผลการปฏิบัติงาน ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ พิจารณา ศึกษา วิเคราะห์ ทำความเห็น สรุปรายงานเสนอแนะและดำเนินการปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความชำนาญเกี่ยวกับงานชันสูตรโรคและชันสูตรสาธารณสุข เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง เข้าร่วมประชุมกำหนดนโยบายและแผนงานของส่วนราชการที่สังกัด ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว ยังทำหน้าที่ติดต่อประสานงาน วางแผน มอบหมายงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผลและแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วย
ในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ทำหน้าที่ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 5 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานชันสูตรโรคและชันสูตรสาธารณสุข หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 4 หรือที่ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานชันสูตรโรคและชันสูตรสาธารณสุข หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 5 แล้ว จะต้อง
1. มีความสามารถในการบริหารงานและจัดระบบงาน
2. มีความสามารถในการริเริ่ม ปรับปรุงนโยบายและแผนงาน
3. มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ในการทำแผ่นตารางทำการ (Spread Sheet)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สันทนาการ

เจ้าพนักงานทะเบียน

เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว