นักรังสีการแพทย์
มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 3611
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
สายงาน รังสีการแพทย์
ลักษณะงาน โดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานทางวิชาการรังสีการแพทย์ ซึ่งมีลักษณะงานที่ ปฏิบัติเกี่ยวกับงานรังสีวินิจฉัย รังสีรักษา เวชศาสตร์นิวเคลียร์และรังสีฟิสิกส์ เช่น การถ่ายและบันทึกภาพส่วน ต่างๆ ของร่างกายผู้ป่วยด้วยเครื่องรังสีเอ็กซ์ โดยใช้กรรมวิธีพิเศษที่มีเทคนิคการใช้ที่ยุ่งยาก การฉายรังสีเพื่อ บำบัดรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง เนื้องอก ก้อนทูม ด้วยเครื่องโคบอลต์ 60 และเครื่องมือทางรังสี เทคนิคอื่นๆ การใช้สารกัมมันตภาพรังสีและเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์แก่ผู้ป่วย การคำนวณปริมาณรังสี และการกำหนดระยะเวลาที่จะให้รังสีแก่ผู้ป่วยตามปริมาณที่ต้องการ เพื่อช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยและ บำบัดรักษาโรค การใช้เครื่องวัดปริมาณรังสีจากเครื่องกำเนิดรังสี การสอบเทียบมาตรฐานของเครื่องมือและ อุปกรณ์ที่ใช้ในทางรังสีการแพทย์ การป้องกันอันตรายจากรังสีด้วยวิธีการทางรังสีฟิสิกส์ การดูแลรักษา เครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงาน ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยและใช้งานได้ ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยทาง รังสีการแพทย์ รวมทั้งปรับปรุงและค้นคว้าวิธีการหรือเทคนิคใหม่ๆ ทำรายงานการปฏิบัติงาน สถิติผลงาน และ ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ชื่อตำแหน่งในสายงาน และระดับตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้
นักรังสีการแพทย์ ระดับปฏิบัติการ
นักรังสีการแพทย์ ระดับชำนาญการ
นักรังสีการแพทย์ ระดับชำนาญการพิเศษ
นักรังสีการแพทย์ ระดับเชี่ยวชาญ
ก.จ. กำหนดเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558
-------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน รังสีการแพทย์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักรังสีการแพทย์
ระดับตำแหน่ง ระดับปฏิบัติการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานวิชาชีพรังสีการแพทย์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ปฏิบัติงานด้านรังสีการแพทย์ขั้นพื้นฐานในการตรวจวินิจฉัย หรือการรักษาทาง รังสีวิทยา และตรวจสอบคุณภาพของงานตามมาตรฐานวิชาชีพรังสีเทคนิค
1.2 ช่วยปฏิบัติงาน จัดระบบบริหารงานด้านเทคนิคและเครื่องมือด้านใดด้านหนึ่งทาง รังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ตามบทบาทรังสีเทคนิค
1.3 ช่วยปฏิบัติงาน ปรับปรุงและพัฒนาเทคนิคการตรวจวินิจฉัยและการรักษา ทางด้านใดด้านหนึ่งทางรังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์
1.4 ดำเนินการด้านเทคนิคในการป้องกันอันตรายจากรังสี และการกำจัดกาก
กัมมันตรังสี
1.5 ร่วมศึกษาวิเคราะห์ดำเนินการจัดทำอุปกรณ์ร่วมประกอบการถ่ายภาพ และฉาย
รังสีในงานด้านใดด้านหนึ่งทางรังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์
1.6 จัดเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์และเครื่องอีเลคโทรนิคทางด้านรังสีวินิจฉัย รังสีรักษา เวชศาสตร์นิวเคลียร์ หรือรังสีฟิสิกส์ จัดท่าผู้ป่วย ถ่ายและบันทึกภาพส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วย เครื่องรังสีเอ๊กซ์ ในกรณีที่ต้องใช้เทคนิคหรือกรรมวิธีพิเศษที่ยุ่งยาก
1.7 ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานของภาพที่ได้ หาและตรวจสอบตำแหน่งของโรค เพื่อกำหนดขอบข่ายในการรักษา คำนวณปริมาณรังสีและแร่รังสี รวมทั้งกำหนดระยะเวลาที่จะให้รังสีแก่ผู้ป่วย ตามปริมาณที่ต้องการ คำนวณความหนาและออกแบบแท่งตะกั่ว เพื่อใช้ป้องกันอวัยวะส่วนสำคัญให้ได้รับรังสี ในปริมาณที่ปลอดภัย ฉายรังสีเพื่อบำบัดรักษาผู้ป่วย
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้ เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้ข้อมูลเชิงวิชาการเบื้องต้น แก่ผู้ป่วย และผู้สนใจ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง กับการใช้ และการป้องกันอันตรายจากรังสี เพื่อความปลอดภัยแก่ตัวผู้ป่วยเอง และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
4.2 จัดเก็บข้อมูลและให้บริการข้อมูลเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยที่เข้ารับการบริการทางรังสี การแพทย์ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วย
4.3 ส่งเสริม หรือประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรทางรังสีการแพทย์นำมาตรฐานวิชาชีพรังสี เทคนิคไปใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ประชาชน
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง วิทยาศาสตร์การแพทย์ รังสีเทคนิค ฟิสิกส์การแพทย์ ชีวฟิสิกส์ และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ สาขารังสีเทคนิค หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะ สำหรับตำแหน่งนี้ได้
2. ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง วิทยาศาสตร์การแพทย์ รังสีเทคนิค ฟิสิกส์การแพทย์ ชีวฟิสิกส์ และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ สาขารังสีเทคนิค หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะ สำหรับตำแหน่งนี้ได้
3. ได้รับปริญญาเอกหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง วิทยาศาสตร์การแพทย์ รังสีเทคนิค ฟิสิกส์การแพทย์ ชีวฟิสิกส์ และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ สาขารังสีเทคนิค หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะ สำหรับตำแหน่งนี้ได้
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระดับ 1
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 1
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 1
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 1
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 1
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯระดับ 1
1.9ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 1
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 1
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 1
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 1
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 1
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 1
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 1
2.7 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 1
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 1
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 1
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 1
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 1
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 1
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ ระดับ 1
3.2.2 การคิดวิเคราะห์ ระดับ 1
3.2.3 การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ ระดับ 1
3.2.4 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 1
3.2.5 จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ระดับ 1
-------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน รังสีการแพทย์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักรังสีการแพทย์
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูงในงานวิชาชีพรังสีการแพทย์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูงในงานวิชาชีพรังสีการแพทย์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงาน อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ปฏิบัติงานด้านเทคนิคชั้นสูงในการตรวจวินิจฉัย หรือการรักษาทางรังสีวิทยา และ ตรวจสอบคุณภาพของงานตามมาตรฐานวิชาชีพ
1.2 จัดทำคู่มือการเตรียมและตรวจสอบเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับการตรวจวินิจฉัย หรือการรักษา ด้านใดด้านหนึ่งทาง รังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์
1.3 จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานด้านเทคนิคการตรวจวินิจฉัย หรือการรักษา ด้านใดด้าน หนึ่งทาง รังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์
1.4 สร้างและพัฒนาระบบบริหารงานด้านเทคนิคและเครื่องมือด้านใดด้านหนึ่งทาง รังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ตามบทบาทรังสีเทคนิค
1.5 ศึกษา วิเคราะห์ ปรับปรุงและพัฒนาเทคนิคการตรวจวินิจฉัย และการรักษาทาง ด้านใดด้านหนึ่งทางรังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์
1.6 ให้คำแนะนำและดำเนินการด้านเทคนิคในการป้องกันอันตรายจากรังสี และการ
กำจัดกากกมมันตรังสี
1.7 ให้คำแนะนำหรือดำเนินการจัดทำอุปกรณ์ร่วมประกอบการถ่ายภาพ และฉายรังสี
ในงานด้านใดด้านหนึ่งทางรังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์
1.8 ควบคุมและรับผิดชอบเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์และเครื่องอิเลคทรอนิค ทางด้านรังสีวินิจฉัย รังสีรักษา เวชศาสตร์นิวเคลียร์ หรือรังสีฟิสิกส์ การถ่ายและบันทึกภาพส่วนต่าง ๆ ของ ร่างกายผู้ป่วยด้วยเครื่องรังสีเอ๊กซ์ ในกรณีที่ต้องใช้เทคนิคหรือกรรมวิธีพิเศษที่ยุ่งยาก การฉายรังสีเพื่อ บำบัดรักษาผู้ป่วย ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยคุณภาพของสารกัมมันตภาพรังสี และรังสีจากเครื่องกำเนิดรังสี ชนิดต่าง ๆ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการใช้รักษาผู้ป่วยให้ได้ผลดียิ่งขึ้น การหาเทคนิคใหม่ ๆ เพื่อแก้ไขปรับปรุง งานทางด้านรังสีการแพทย์ให้ดียิ่งขึ้น
2. ด้านการวางแผน
2.1 วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานตามแผนงานหรือโครงการของ หน่วยงานระดับสำนักหรือกอง และแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
2.2 วางแผน กำหนดตำแหน่งและมาตรฐานของห้องที่ใช้งานทางด้านรังสี ตลอดจน กำหนดลักษณะการติดตั้งเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ทางด้านรังสีให้เพื่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันโดยมีบทบาทในการให้ความเห็นและคำแนะนำ เบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือหน่วยงานอื่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ให้ข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำเบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือบุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำแนะนำแก่ผู้ใช้บริการในการปฏิบัติตัว สำหรับการตรวจพิเศษ และรักษาทาง รังสีวิทยา เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นและผู้ใช้บริการมีความรู้สามารถดูแลตนเองได้
4.2 ให้คำปรึกษา แนะนำ ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา และ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อเป็นการเสริมความรู้และทักษะ เกิดการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในสังกัด
4.3 จัดทำข้อมูลและเอกสารเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ด้านรังสีการแพทย์ แก่ ผู้สนใจและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในงานรังสีการแพทย์
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักรังสีการแพทย์ ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และปฏิบัติงาน ด้านรังสีการแพทย์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี กำหนดเวลา 6 ปี ให้ลดเป็น 4 ปี สำหรับผู้มีคุณ สมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนัก รังสีการแพทย์ ระดับปฏิบัติการ ข้อ 2 และให้ลดเป็น 2 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักรังสีการแพทย์ ระดับปฏิบัติการ ข้อ 3 หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านรังสีการแพทย์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระดับ 2
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 2
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 2
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯ ระดับ 2
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 2
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 2
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 2
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 2
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 2
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 2
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 2
2.7 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 2
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 2
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 2
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 2
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 2
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 2
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ ระดับ 2
3.2.2 การคิดวิเคราะห์ ระดับ 2
3.2.3 การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ ระดับ 2
3.2.4 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 2
3.2.5 จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ระดับ 2
-------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน รังสีการแพทย์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักรังสีการแพทย์
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญการพิเศษ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในงานวิชาชีพรังสี การแพทย์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายหรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญในงานสูงมากในงานวิชาชีพรังสีการแพทย์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ปฏิบัติงานด้านเทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนในการตรวจวินิจฉัย หรือการรักษาทางรังสี วิทยา และตรวจสอบคุณภาพของงานตามมาตรฐานวิชาชีพ
1.2 ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ ความชำนาญงาน และประสบการณ์ ในวิชาชีพรังสีการแพทย์สูงมากเป็นพิเศษ โดยต้องริเริ่มพัฒนาแนวทางและใช้วิชาชีพรังสีการแพทย์เพื่อหาวิธี ใหม่ ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงาน
1.3 ศึกษาวิเคราะห์กำหนดคุณลักษณะเฉพาะของครุภัณฑ์ที่จะนำมาใช้งานในด้านใด ด้านหนึ่งทางรังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์
1.4 ให้คำปรึกษา หรือเป็นวิทยากรด้านเทคนิคการตรวจวินิจฉัยหรือ การรักษาในด้าน ใดด้านหนึ่งทางรังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์
1.5 สร้างและพัฒนางานด้านเทคนิคและเครื่องมือด้านใดด้านหนึ่งทางรังสีวินิจฉัย รังสี รักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ตามบทบาทนักรังสีการแพทย์
1.6 ปรับปรุงและพัฒนาเทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนในการตรวจวินิจฉัย หรือการรักษา ด้านใดด้านหนึ่งทางรังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์
1.7 ให้คำปรึกษาแนะนำการดำเนินการและ บริหารด้านเทคนิคในการป้องกัน อันตรายจากรังสี และการกำจัดกากกัมมันตรังสี
1.8 ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย เกี่ยวกับสารกัมมันตภาพรังสี รังสีจากเครื่องกำเนิดรังสี ชนิดต่าง ๆ เครื่องมือ อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการทำงาน เกี่ยวกับรังสีการแพทย์
2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนงาน โครงการของหน่วยงานระดับสำนักหรือกอง มอบหมายงาน แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานและติดตามประเมินผลเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่ กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานสัมพันธ์กับสมาชิกในทีมงานโดยมีบทบาทในการชี้แนะ จูงใจ ทีมงานหรือ หน่วยงานอื่นในระดับกองหรือสำนักงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ชี้แจง ให้ข้อคิดเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการหรือคณะทำงานต่างๆเพื่อเป็น ประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำปรึกษา แนะนำ ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมาและ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อเป็นการเสริมความรู้และทักษะ เกิดการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในสังกัด
4.2 ให้คำปรึกษา ในการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาภายใต้ความรับผิดชอบ เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพแก่บุคลากรในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
4.3 เสนอแนะ/วางแนวทางเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ด้านรังสีเทคนิคหรือฟิสิกส์ การแพทย์ แก่ผู้สนใจและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในงาน รังสีการแพทย์
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักรังสีการแพทย์ ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และปฏิบัติงาน ด้านรังสีการแพทย์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงาน ด้านรังสีการแพทย์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระดับ 3
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 3
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 2
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบระดับ 3
1.9 สิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ
ระดับ 3
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 3
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 3
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 3
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 3
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 3
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 3
2.7 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 3
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 3
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 3
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 3
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 3
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 3
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ ระดับ 3
3.2.2 การคิดวิเคราะห์ ระดับ 3
3.2.3 การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ ระดับ 3
3.2.4 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 3
3.2.5 จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ระดับ 3
-----------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน รังสีการแพทย์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักรังสีการแพทย์
ระดับตำแหน่ง ระดับเชี่ยวชาญ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาชีพรังสีการแพทย์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทาง วิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการขนาดใหญ่ ซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาชีพรังสีการแพทย์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือ แก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้างและปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ปฏิบัติงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีการแพทย์พัฒนาและประยุกต์ใช้ความรู้ วิธีการเทคนิคต่างๆเพื่อคิดค้นการให้บริการและส่งเสริมประสิทธิภาพที่ดีแก่ประชาชน
1.2 ศึกษา ค้นคว้า วิจัยองค์ความรู้ใหม่ จัดทำเอกสารวิชาการและเผยแพร่ผลงานทาง
วิชาการรังสีเทคนิค
1.3 เสนอหลักเกณฑ์และวิธีการควบคุมหรือจัดการระบบสารสนเทศทางรังสีเทคนิค
ระดับตามมาตรฐานสากล
1.4 เสนอความเห็นร่วมประเมินเทคโนโลยี,กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การจัดหา เครื่องมือที่มีเทคโนโลยีระดับสูงที่ใช้กับเทคนิคการวินิจฉัยและการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อน
1.5 ให้คำปรึกษา หรือเป็นวิทยากรด้านรังสีการแพทย์ระดับกองหรือสูงกว่า
1.6 เสนอความเห็น ร่วมกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับกรมหรือสูงกว่ากอง
1.7 ประยุกต์ใช้เครื่องมือในงานวิจัยการประดิษฐ์และสร้างเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับงาน
ทางรังสีวิทยา
1.8 ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย เกี่ยวกับสารกัมมันตภาพรังสี รังสีจากเครื่องกำเนิดรังสี
ชนิดต่าง ๆ เครื่องมือ อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการทำงาน โดยต้องริเริ่มพั ฒนาแนวทางและใช้วิชาชีพรังสี การแพทย์เพื่อหาวิธีใหม่ ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงาน
2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผน โดยเชื่อมโยงหรือบูรณาการแผนงาน โครงการใน ระดับกลยุทธ์ของส่วนราชการระดับกรม มอบหมายงานแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานติดตาม ประเมินผล เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานโครงการต่างๆกับบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรอื่น โดยมี บทบาทในการจูงใจ โน้มน้าวเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ให้ข้อคิดเห็น และคำแนะนำแก่หน่วยงานระดับกอง หรือสำนักรวมทั้งที่ประชุมทั้ง ในและต่างประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
4. ด้านการบริการ
4.1 ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำ (ระดับเทคนิคชั้นสูง) ในการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมาและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอกเพื่อเป็นการเสริมความรู้และทักษะ เกิด การพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในสังกัดและในวิชาชีพ
4.2 ให้คำปรึกษาหรืออำนวยการในการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาภายใต้ความ รับผิดชอบ เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพแก่บุคลากรในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
4.3 ให้คำปรึกษาแนะนำหรือ อำนวยการโครงการวิจัย หรือถ่ายทอดองค์ความรู้ แก่บุคลากรทางรังสีเทคนิค และประชาชนทั่วไป
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักรังสีการแพทย์ ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ และ ปฏิบัติงานด้านรังสีการแพทย์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้อง ปฏิบัติงานด้านรังสีการแพทย์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 4
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระดับ 3
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 3
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 2
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบระดับ 3
1.9 สิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะระดับ 3
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 3
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 3
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 3
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 3
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 3
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 3
2.7 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 4
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 4
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 4
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 3
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 4
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 4
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ ระดับ 4
3.2.2 การคิดวิเคราะห์ ระดับ 4
3.2.3 การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ ระดับ 4
3.2.4 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 4
3.2.5 จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ระดับ 4
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น