นักวิชาการวัฒนธรรม



มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 3805
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
สายงาน วิชาการวัฒนธรรม
ลักษณะงาน โดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานทางวิชาการวัฒนธรรม ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ เกี่ยวกับศึกษา ค้นคว้า รวบรวม และวิจัยเรื่องที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม เพื่อรักษาไว้ให้เป็นลักษณะเฉพาะของชาติ รวมทั้งจัดทำแผนงานและโครงการเพื่อการส่งเสริม เผยแพร่และปลูกฝังวัฒนธรรม พิจารณาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมด้านต่างๆ ให้เหมาะสมกับกาลสมัย ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ วิธีการปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับวัฒนธรรม ตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การถ่ายทอดองค์ความรู้ วิชาการด้านวัฒนธรรม และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

ชื่อตำแหน่งในสายงาน และระดับตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้
นักวิชาการวัฒนธรรม ระดับปฏิบัติการ
นักวิชาการวัฒนธรรม ระดับชำนาญการ
นักวิชาการวัฒนธรรม ระดับชำนาญการพิเศษ
นักวิชาการวัฒนธรรม ระดับเชี่ยวชาญ


ก.จ. กำหนดเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน วิชาการวัฒนธรรม
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักวิชาการวัฒนธรรม
ระดับตำแหน่ง ระดับปฏิบัติการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการวัฒนธรรม ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 รวบรวมองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อประกอบการพัฒนาและแนวทางการ ถ่ายทอด องค์ความรู้ทางวัฒนธรรม
1.2 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานวัฒนธรรมต่าง ๆ รวมทั้งปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อใช้เป็น ข้อมูลเบื้องต้นประกอบการวิเคราะห์งานวัฒนธรรม
1.3 รวบรวม จัดเก็บ และจัดทำข้อมูล เอกสาร และสรุปรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้าน วัฒนธรรม รวมทั้งฐานข้อมูลด้านวัฒนธรรม เพื่อประกอบการพิจารณาวางแผนการส่งเสริม และสนับสนุนการ ดำเนินงานทางวัฒนธรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
1.4 รวบรวมข้อมูลสภาพปัจจุบันและปัญหาความเบี่ยงเบน เพื่อนำมาเป็นฐานข้อมูล ใน การวางแผนดำเนินการเฝ้าระวัง และสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม
1.5 เผยแพร่และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมท้องถิ่นและวัฒนธรรมชาติกับหน่วยงาน ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความเข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรม
1.6 จัดทำ ออกแบบ และผลิตบทความ ผลงานวิจัย เอกสารวิ ชาการ และสื่อ สร้างสรรค์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านวัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ และ ศิลปวัฒนธรรมของชุมชน และประเทศแก่ประชาชน
1.7 ดำเนินการ และจัดทำโครงการและกิจกรรมต่างๆ ทางด้านวัฒนธรรมตามที่ได้รับ มอบหมาย เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ปลูกฝัง และบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรมของประเทศ
1.8 ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวัฒนธรรม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ หรือกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้ เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
3.2 ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับงานวัฒนธรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจและเผยแพร่ ภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.2 ให้คำปรึกษาแนะนำแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือบุคคลที่สนใจเกี่ยวกับงานทาง วัฒนธรรม เพื่อให้บริการและเผยแพร่ความรู้ทางวัฒนธรรม และช่วยสร้างจิตสำนึกที่ดีเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาติ
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง สังคมศาสตร์ หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับ ตำแหน่งนี้ได้
2. ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง สังคมศาสตร์ หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับ ตำแหน่งนี้ได้
3. ได้รับปริญญาเอกหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง สังคมศาสตร์ หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับ ตำแหน่งนี้ได้
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1      ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.2      ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ)   ระดับ 1
1.3      ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว      ระดับ 1
1.4      ความรู้เรื่องการจัดการความรู้       ระดับ 1
1.5      ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร          ระดับ 1
1.6      ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ    ระดับ 1
1.7      ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน    ระดับ 1
1.8      ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์     ระดับ 1
1.9      ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ       ระดับ 2
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 1
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 1
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 1
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 1
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 1
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 1
2.7 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 1
3.สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย  
          3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ  
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 1
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 1
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 1
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 1
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 1
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน     
3.2.1    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 1
3.2.2    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 1
3.2.3    การให้ความรู้และสร้างสัมพันธ์     ระดับ 1
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 1
3.2.5    ศิลปะการโน้มน้าวจูงใจ   ระดับ 1
 -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน วิชาการวัฒนธรรม
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักวิชาการวัฒนธรรม
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงในด้านวิชาการวัฒนธรรม ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงในด้านวิชาการวัฒนธรรม ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ศึกษา วิเคราะห์องค์ความรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางการ ถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่น และวัฒนธรรมชาติแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจน ประชาชน เพื่อให้เกิดความตระหนักและสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงาม และเหมาะกับลักษณะของพื้นที่และ กลุ่มเป้าหมาย
1.2 ควบคุม และดูแลการรวบรวม การศึกษา และการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัญหา ปัจจุบัน ปัญหาความเบี่ยงเบน และประเด็นปัญหาต่างๆ ทางด้านวัฒนธรรม เพื่อนำมาประกอบการวางแผน การดำเนินการ และการสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรมที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับปัญหาอย่างแท้จริง
1.3 วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับงานวัฒนธรรม และปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อนำเสนอประเด็น หรือแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับงานวัฒนธรรม
1.4 ควบคุม และดูแลการรวบรวม การจัดเก็บ และการจัดทำข้อมูล เอกสาร และการ สรุปรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้านวัฒนธรรม รวมทั้งฐานข้อมูลด้านวัฒนธรรม เพื่อประกอบการพิจารณาวาง แผนการส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานทางวัฒนธรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
1.5 ควบคุม และดูแลการดำเนินการ และการจัดทำโครงการและกิจกรรมต่างๆ ทางด้านวัฒนธรรมตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ปลูกฝัง และบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรมของ ประเทศ
1.6 ประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานทางวัฒนธรรมกับหน่วยงาน ภาครัฐ และเอกชน เช่น การระดมทรัพยากร การจัดกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายทางวัฒนธรรม เพื่อการ ดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิและบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
1.7 ดำเนินการเฝ้าระวัง และสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม โดยประสานงานกับ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาทางวัฒนธรรม
1.8 ควบคุม ดูแล การเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมท้องถิ่นและวัฒนธรรมชาติ กับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกประเทศ เพื่อให้การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ และสามารถกระตุ้นให้ เกิดการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม
1.9 ควบคุม และดูแลการจัดทำ การออกแบบ และการผลิตบทความ ผลงานวิจัย เอกสารวิชาการ และสื่อสร้างสรรค์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านวัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ และศิลปวัฒนธรรมของชุมชน และประเทศแก่ประชาชน
1.10 ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการวิจัยวัฒนธรรมในลักษณะต่างๆ และเสนอแนะ แนวทางการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างนักวิชาการและนักวิจัย เพื่อให้การวิจัยวัฒนธรรมพัฒนาไปในทางที่ สอดคล้องกับนโยบายที่ตั้งไว้และเกิดประโยชน์สูงสุด
1.11 ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวัฒนธรรม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2. ด้านการวางแผน
2.1 วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานตามแผนงานหรือโครงการของ หน่วยงาน และแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
2.2 วางแผนการพัฒนาเครือข่ายต่างๆ ทางด้านวัฒนธรรมในทุกระดับ เพื่อให้เกิดการมี ส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาไทย
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันโดยมีบทบาทในการให้ความเห็นและคำแนะนำ เบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือหน่วยงานอื่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
3.2 ให้ข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำเบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือบุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำแนะนำ และตอบปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานทางวัฒนธรรม รวมทั้งแหล่ง เรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมได้มากยิ่งขึ้น
4.2 จัดทำหนังสือเกี่ยวกับวัฒนธรรม เพื่อใช้เป็นเอกสารหรือคู่มือที่เป็นประโยชน์ใน การเรียนการสอนหรือสำหรับผู้ที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวัฒนธรรม
4.3 พัฒนาฐานข้อมูลการวิจัยวัฒนธรรม และสังเคราะห์องค์ความรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการค้นหา และมีข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง และเป็นปัจจุบันในการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านวัฒนธรรม
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการวัฒนธรรม ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และปฏิบัติงาน ด้านวิชาการวัฒนธรรม หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี กำหนดเวลา 6 ปี ให้ลดเป็น 4 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการวัฒนธรรม ระดับปฏิบัติการ ข้อ 2 และให้ลดเป็น 2 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการวัฒนธรรม ระดับปฏิบัติการ ข้อ 3 หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านวิชาการวัฒนธรรม หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ค วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 2
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 2
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 2
1.8 ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ ระดับ 2
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 3
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 2
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 2
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 2
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 2
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 2
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 2
2.7 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 2
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 2
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 2
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 2
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 2
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 2
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 2
3.2.2    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 2
3.2.3    การให้ความรู้และสร้างสัมพันธ์     ระดับ 2
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 2
3.2.5    ศิลปะการโน้มน้าวจูงใจ   ระดับ 2
 -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน วิชาการวัฒนธรรม
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักวิชาการวัฒนธรรม
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญการพิเศษ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในด้านวิชาการวัฒนธรรม ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในด้านวิชาการวัฒนธรรม ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ควบคุม ดูแลการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อให้การดำเนินงาน มี ประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
1.2 ควบคุมการศึกษา วิเคราะห์ รวมทั้งสังเคราะห์งานวัฒนธรรม เพื่อนำเสนอ แนวทางและรูปแบบ ที่เหมาะสมต่อการดำเนินงานทางวัฒนธรรม
1.3 วางแผน และควบคุมการส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานทางวัฒนธรรม เพื่อให้ เกิดการเผยแพร่ ธำรงรักษา อนุรักษ์ สืบสานศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีทั้งในระดับท้องถิ่นและ ระดับชาติ
1.4 ควบคุมการดำเนินการเฝ้าระวัง และสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรมให้เป็นไปตาม แนวทางป้องกันและแก้ไขที่กำหนด เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.5 ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการศึกษา และการวิเคราะห์ข้อมูล สภาพปัญหาปัจจุบัน ปัญหาความเบี่ยงเบน และประเด็นปัญหาต่างๆ ทางด้านวัฒนธรรม เพื่อนำมา ประกอบการวางแผน การดำเนินการ และการสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรมที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับปัญหา อย่างแท้จริง
1.6 ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดทำ การออกแบบ และการผลิต บทความ ผลงานวิจัย เอกสารวิชาการ และสื่อสร้างสรรค์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านวัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่และ ประชาสัมพันธ์ภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ และศิลปวัฒนธรรมของชุมชน และประเทศแก่ประชาชน
1.7 ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดเก็บ และการจัดทำข้อมู ล เอกสาร และการสรุปรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้านวัฒนธรรม รวมทั้งฐานข้อมูลด้านวัฒนธรรม เพื่อประกอบการ พิจารณาวางแผนการส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานทางวัฒนธรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
1.8 ติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ งานวัฒนธรรม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.9 เสนอแนวทางการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมท้องถิ่นและวัฒนธรรมชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมายและบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
1.10 พัฒนาและปรับปรุงระบบงานด้านวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ระบบงานที่ตั้งไว้สามารถสนับสนุนส่วนงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสภาวการณ์ปัจจุบัน
2. ด้านการวางแผน
2.1 วางระบบและแผนการปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรมของหน่วยงาน รวมทั้ง ประเมินผลและแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 2.2 วางแผนและจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี แผนกลยุทธ์ และแผนงานต่างๆด้านวัฒนธรรม เพื่อกำหนดแผนดำเนินงานด้านวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับเป้าหมาย ทิศทาง และนโยบายของ องค์กร
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันในทีมงาน โดยมีบทบาทในการชี้แนะ จูงใจ ทีมงาน หรือหน่วยงานอื่นในระดับสำนักหรือกอง เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
3.2 ชี้แจง ให้ข้อคิดเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการหรือคณะทำงานต่าง ๆ เพื่อให้เกิด ประโยชน์และความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำปรึกษาแนะนำ และแก้ปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานทางวัฒนธรรมที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 ออกแบบ พัฒนา และปรับปรุงการจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่ เกี่ยวกับงานวัฒนธรรม เพื่อให้มีความทันสมัย เป็นปัจจุบัน และสามารถสนับสนุนภารกิจด้านวัฒนธรรมของ หน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 จัดทำเอกสารวิชาการ ตำรา และคู่มือทางวัฒนธรรม เพื่อประกอบการเรียนการ สอน และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
4.4 สนับสนุนให้ทุกหน่วยงานของสังคมมีส่วนร่วมทางด้านวัฒนธรรม และการจัด กิจกรรมต่างๆทางวัฒนธรรม เพื่อให้การทำงานด้านวัฒนธรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่าง สูงสุด
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการวัฒนธรรม ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และปฏิบัติงาน ด้านวิชาการวัฒนธรรม หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วน้อยกว่า 4 ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงาน ด้านวิชาการวัฒนธรรม หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 3
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 3
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 3
1.8 ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ ระดับ 3
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 4
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 3
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 3
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 3
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 3
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 3
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 3
2.7 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 3
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 3
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 3
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 3
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 3
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 3
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 3
3.2.2    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 3
3.2.3    การให้ความรู้และสร้างสัมพันธ์     ระดับ 3
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 3
3.2.5    ศิลปะการโน้มน้าวจูงใจ   ระดับ 3
 -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน วิชาการวัฒนธรรม
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักวิชาการวัฒนธรรม
ระดับตำแหน่ง ระดับเชี่ยวชาญ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในด้านวิชาการวัฒนธรรม ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทาง วิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการ ซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในด้านวิชาการวัฒนธรรม ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทาง วิชาการที่ยากและซับซ้อนมาก และมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 บริหารงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญ หรือเทียบเท่า ซึ่งมีหน้าที่และรับผิดชอบในการ ควบคุมและบริหารงานทุกด้านของงานด้านวัฒนธรรมที่รับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองกับนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.2 ให้คำปรึกษาและพัฒนารูปแบบและแนวทางการถ่ายทอดองค์ความรู้ทาง วัฒนธรรม เพื่อเป็นต้นแบบและการยอมรับของหน่วยงาน
1.3 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย งานวัฒนธรรมทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก เพื่อนำผลไปใช้ในการ พัฒนางานวัฒนธรรมได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดหรือสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงทางวิชาการได้อย่าง เหมาะสม
1.4 ให้คำปรึกษา พัฒนาแนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานทาง วัฒนธรรม เพื่อให้สามารถนำไปใช้ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของส่วนราชการ
1.5 พัฒนาแนวทาง และประยุกต์แนวปฏิบัติ เพื่อนำไปใช้เป็นดำเนินการเฝ้าระวัง และสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรมโดยให้สอดคล้องกับนโยบายของส่วนราชการ
1.6 ให้คำปรึกษาและพัฒนาแนวทางในการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมท้องถิ่น
และวัฒนธรรมชาติ เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดเป็นนโยบายและแผนงานของส่วนราชการ
1.7 เสนอแนะ พัฒนาระบบ และวิธีการติดตามประเมินผลการวางแผนงาน นโยบาย
โครงการ และกิจกรรมต่างๆ ด้านวัฒนธรรม เพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
1.8 ให้แนวทาง พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ ผลการวิจัย เพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ที่สามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในงานการส่งเสริมการ ดำเนินงานวัฒนธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายที่องค์กรกำหนดไว้
1.9 กำหนดเครื่องมือ แนวทาง คู่มือ กลไก กระบวนการ หรือมาตรฐานในการ ปฏิบัติงานด้าน วัฒนธรรม เพื่อให้การทำงานของหน่วยงานเป็นไปอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเกิด ประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ชุมชน และสังคม
1.10 กำหนดมาตรฐานงาน พัฒนา และปรับปรุงการดำเนินงานด้านวัฒนธรรม เพื่อให้ การปฏิบัติงานวัฒนธรรมมีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด
1.11 ศึกษาความรู้เทคนิคใหม่ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในงานและวิเคราะห์ถึงปัญหา และข้อบกพร่องในการดำเนินการเพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาและวางกลยุทธ์การปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ ทัน กับสถานการณ์ในปัจจุบัน และสามารถรองรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
2. ด้านการวางแผน
2.1 วางแผน บริหารจัดการ และบูรณาการแผนงาน การดำเนินงาน โครงการ และ กิจกรรมต่างๆ ด้านวัฒนธรรม รวมทั้งมอบหมายงาน แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน และติดตามประเมินผล เพื่อให้การดำเนินงานด้านวัฒนธรรมบรรลุตามเป้าหมาย นโยบาย และผลสัมฤทธิ์ที่กำหนดไว้
2.2 กำหนดกรอบและแนวทางในการดำเนินงานวิจัยวัฒนธรรมโดยศึกษาข้อเสนอแนะ จากนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นในการดำเนินงาน วัฒนธรรม
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานโครงการต่าง ๆ กับบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรอื่น โดยมี บทบาทในการจูงใจ โน้มน้าว เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
3.2 ให้ข้อคิดเห็น และคำแนะนำ แก่หน่วยงานระดับสำนักหรือกอง รวมทั้งที่ประชุม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์และความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำปรึกษาแนะนำ เกี่ยวกับรูปแบบ แนวทางการถ่ายทอดและการเผยแพร่องค์ ความรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อให้องค์ความรู้ได้ถูกนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
4.2 สนับสนุนโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เผยแพร่และประยุกต์ใช้งานวิจัยให้ กว้างขวางและมีประสิทธิภาพ เพื่ออำนวยการให้การดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมี ประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
4.3 เป็นวิทยากรอบรมบรรยายและตอบข้อหารือเกี่ยวกับงานและข้อมูลด้าน วัฒนธรรมแก่หน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในประเด็นที่ซับซ้อนหรือยุ่งยาก เพื่อสร้างความเข้าใจและตอบข้อ สงสัยที่ถูกต้อง และเป็นประโยชน์
4.4 กำหนดแนวทางการพัฒนา การปรับปรุง และการจัดทำฐานข้อมูลและระบบ สารสนเทศที่เกี่ยวกับงานวัฒนธรรม เพื่อให้มีความทันสมัย เป็นปัจจุบัน และสามารถสนับสนุนภารกิจด้าน วัฒนธรรมขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการวัฒนธรรม ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ และ ปฏิบัติงานด้านวิชาการวัฒนธรรม หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านวิชาการวัฒนธรรม หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ค วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 4
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 3
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 4
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 4
1.8 ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ ระดับ 3
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 5
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 3
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 3
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 4
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 3
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 4
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 3
2.7 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 3
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 4
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 4
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 4
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 4
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 4
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 4
3.2.2    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 4
3.2.3    การให้ความรู้และสร้างสัมพันธ์     ระดับ 4
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 4
3.2.5    ศิลปะการโน้มน้าวจูงใจ   ระดับ 4

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สันทนาการ

ช่างศิลป์

เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว