นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
3607
ตำแหน่งประเภท
วิชาการ
สายงาน
วิชาการสิ่งแวดล้อม
ลักษณะงาน
โดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง
ๆ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิชาการสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีลักษณะงานที่ ปฏิบัติเกี่ยวกับการสำรวจ
เก็บรวบรวมข้อมูล การศึกษา วิจัย และเสนอแนว ทางการปรับปรุงรักษาสภาวะ แวดล้อม เพื่อใช้ในการพิจารณาปรับปรุง
และกำหนดนโยบายและแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนให้ คำปรึกษาแนะนำและส่งเสริมเผยแพร่
การป้องกันและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ เกี่ยวข้อง
ชื่อตำแหน่งในสายงาน
และระดับตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้
นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
ระดับปฏิบัติการ
นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
ระดับชำนาญการ
นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
ระดับชำนาญการพิเศษ
นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
ระดับเชี่ยวชาญ
ก.จ. กำหนดเมื่อ
26 พฤศจิกายน 2558
-------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท
วิชาการ
ชื่อสายงาน
วิชาการสิ่งแวดล้อม
ชื่อตำแหน่งในสายงาน
นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
ระดับตำแหน่ง
ระดับปฏิบัติการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น
ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม
ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง
ๆ ดังนี้
1.
ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ช่วยปฏิบัติการเกี่ยวกับการสำรวจ
รวบรวมข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ประเมินผลข้อมูลและการดำเนินงาน ติดตามตรวจสอบ
สภาวะแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดและ ปรับปรุง นโยบาย แผน มาตรฐาน มาตรการ แนวทาง
หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบ เงื่อนไข กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างจิตสำนึกและส่งเสริม
การมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม
1.2 ช่วยติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
วิเคราะห์รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม และเสนอความเห็นเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม
และวินิจฉัยข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับปัญหา สิ่งแวดล้อม
1.3 ร่วมพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ในการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อม
1.4 ร่วมศึกษา ประสานการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคีและกำหนดมาตรฐานคุณภาพ
สิ่งแวดล้อม เช่น มาตรฐานคุณภาพน้ำ มาตรฐานคุณภาพอากาศ ฯลฯ เป็นต้น เพื่อนำไปใช้เป็นมาตรฐานในพื้นที่ที่
รับผิดชอบ
1.5 ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับมลภาวะ
นิเวศวิทยา และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ เพื่อประกอบการจัดทำข้อเสนอในแก้ปัญหา
ปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมใน พื้นที่ซึ่งรับผิดชอบ
1.6 สนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชน
เครือข่ายประชาชน อาสาสมัคร องค์กรเอกชน ต่างๆ มีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่
เพื่อให้ท้องถิ่นซึ่งรับผิดชอบมีสิ่งแวดล้อมที่ดีตาม เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนดไว้
1.7 วินิจฉัยข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม
รวมถึงตรวจเหตุเดือดร้อน รำคาญอันเนื่องมาจากมลภาวะ เพื่อนำเสนอแนวทางทางแก้ไขและสร้างความพึงพอใจให้ประชาชนผู้เสียหาย
1.8 ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ
กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.9 ปฏิบัติงาน และสนับสนุนงานอื่นๆ
ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงาน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบรรลุภารกิจที่กำหนดไว้
2.
ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ
โครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3.
ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน
เพื่อให้ เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล
ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4.
ด้านการบริการ
4.1 ให้คำแนะนำ ชี้แจงและตอบปัญหาเกี่ยวกับงานวิชาการสิ่งแวดล้อม
แก่ส่วนราชการ หน่วยงานเอกชนและประชาชนทั่วไป เพื่อให้ได้ความรู้และข้อมูลที่ต้องการ
4.2 จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น
จัดทำสถิติ รายงาน หรือฐานข้อมูลระบบสารสนเทศ เกี่ยวกับงานวิชาการสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สนับสนุนภารกิจของส่วนราชการ
และประโยชน์ในการ พิจารณา กำหนดและปรับปรุง นโยบาย แผน มาตรฐาน มาตรการ หลักเกณฑ์ กฎ
ระเบียบ เงื่อนไข และกฎหมายที่ เกี่ยวกับงานวิชาการสิ่งแวดล้อม
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1.
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง
เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ ประชากรศาสตร์ สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา ภูมิศาสตร์ การบริหารการศึกษา
สถิติ โบราณคดี สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง การเกษตร วนศาสตร์ การประมง เคมี ชีววิทยา
ฟิสิกส์ ธรณีวิทยา วิทยาศาสตร์ทางทะเล สุขาภิบาล อาชีวอนามัย วิทยาศาสตร์การแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์
หรือ สิ่งแวดล้อม หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ
ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับ ตำแหน่งนี้ได้
2.
ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง
เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ ประชากรศาสตร์ สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา ภูมิศาสตร์ การบริหารการศึกษา
สถิติ โบราณคดี สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง การเกษตร วนศาสตร์ การประมง เคมี ชีววิทยา
ฟิสิกส์ ธรณีวิทยา วิทยาศาสตร์ทางทะเล สุขาภิบาล อาชีวอนามัย วิทยาศาสตร์การแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์
หรือ สิ่งแวดล้อม หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ
ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับ ตำแหน่งนี้ได้
3.
ได้รับปริญญาเอกหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง
เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ ประชากรศาสตร์ สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา ภูมิศาส ตร์ การบริหารการศึกษา
สถิติ โบราณคดี สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง การเกษตร วนศาสตร์ การประมง เคมี ชีววิทยา
ฟิสิกส์ ธรณีวิทยา วิทยาศาสตร์ทางทะเล สุขาภิบาล อาชีวอนามัย วิทยาศาสตร์การแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์
หรือ สิ่งแวดล้อม หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ
ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับ ตำแหน่งนี้ได้
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1.
ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน
(ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย
(ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ระดับ 1
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้
ระดับ 1
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร
ระดับ 1
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ
ระดับ 1
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน
ระดับ 1
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ
เช่น การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA)
ฯลฯ ระดับ 1
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ
ระดับ 1
2.
ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล
ระดับ 1
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
ระดับ 1
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ
1
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ
ระดับ 1
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ
และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 1
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน
ระดับ 1
2.7 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์
ระดับ 1
3.
สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 1
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 1
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 1
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 1
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 1
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ ระดับ 1
3.2.2 การคิดวิเคราะห์ ระดับ 1
3.2.3 การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ ระดับ 1
3.2.4 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 1
3.2.5 จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ระดับ 1
----------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท
วิชาการ
ชื่อสายงาน
วิชาการสิ่งแวดล้อม
ชื่อตำแหน่งในสายงาน
นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
ระดับตำแหน่ง
ระดับชำนาญการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ
แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์
และความชำ นาญสูงในงานวิชาการ สิ่งแวดล้อม ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก
และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์
โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูงในงานวิชาการ สิ่งแวดล้อม ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก
และปฏิบัติงาน อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง
ๆ ดังนี้
1.
ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการกำหนดและจัดทำ
นโยบาย แผนหลัก มาตรฐาน มาตรการ แนวทาง หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบ เงื่อนไข กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งการพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน สิ่งแวดล้อม สร้างจิตสำนึกและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้การ ดำเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
1.2 ศึกษาและพัฒนางานจัดการสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ
เช่น การพัฒนาระบบ รูปแบบ และวิธีการที่เหมาะสม และประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ
เหมาะสม กับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศ
1.3 วิเคราะห์ปัญหา เสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงานจัดการสิ่งแวดล้อม
งานวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม งานติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและเรื่องราวร้องทุกข์
เสนอความเห็นเพื่อให้ เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม และถูกต้องตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ
และเงื่อนไขที่กำหนด รวมทั้ง จัดทำรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม
1.4 ควบคุม ติดตาม และดูแลการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
วิเคราะห์รายงาน ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และเสนอความเห็นเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์
หรือเงื่อนไขคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ กำหนดขึ้นในพื้นที่
1.5 ควบคุม วางแผน ศึกษา
ประสานการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคีและกำหนด มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมเช่น มาตรฐานคุณภาพน้ำ
มาตรฐานคุณภาพอากาศ ฯลฯ เป็นต้น เพื่อนำไปใช้เป็น มาตรฐานในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
1.6 ควบคุม ติดตาม และดูแลศึกษาปัญหาเกี่ยวกับมลภาวะ
นิเวศน์วิทยา และการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ เพื่อประกอบการจัดทำข้อเสนอในแก้ปัญหา
ปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือส่งเสริมการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ซึ่งรับผิดชอบ
1.7 วางแผน สนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชน
เครือข่ายประชาชน อาสาสมัคร องค์กร เอกชนต่างๆ มีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่
เพื่อให้ท้องถิ่นซึ่งรับผิดชอบมีสิ่งแวดล้อม ที่ดีตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนดไว้
1.8 วินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม
รวมถึงตรวจเหตุเดือดร้อนรำคาญอัน เนื่องมาจากมลภาวะ เพื่อนำเสนอแนวทางทางแก้ไขและสร้างความพึงพอใจให้ประชาชนผู้เสียหาย
1.9 ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
และแก้ไขปัญหา ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแก่เจ้าหน้าที่ในระดับรองลงมาในสายงาน ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การ ดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด
1.10 ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ
กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.
ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานตามแผนงานหรือโครงการของหน่วยงาน
ระดับสำนักหรือกอง และแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่
กำหนด
3.
ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันโดยมีบทบาทในการให้ความเห็นและคำแนะนำ
เบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือหน่วยงานอื่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ให้ข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำเบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือบุคคลหรือหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4.
ด้านการบริการ
4.1 ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา
และชี้แจงในเรื่องเกี่ยวกับงานจัดการสิ่งแวดล้อมในส่วนที่ รับผิดชอบในระดับที่ซับซ้อน
หรืออำนวยการการฝึกอบรม หรือถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป
เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.2 พัฒนาฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานจัดการสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้ สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน รวมทั้งใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย
แผนงาน หลักเกณฑ์และมาตรการต่างๆ
4.3 ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงาน
งานด้านวิชาการสิ่งแวดล้อมแก่เจ้าหน้าที่ ระดับรองลงมา เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1.
มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสิ่งแวดล้อม ระดับปฏิบัติการ
และ
2.
ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และปฏิบัติงาน
ด้านวิชาการสิ่งแวดล้อมหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี กำหนดเวลา
6 ปี ให้ลดเป็น 4 ปีสำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสิ่งแวดล้อม
ระดับปฏิบัติการ ข้อ 2 และให้ลดเป็น 2 ปี
สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสิ่งแวดล้อม ระดับปฏิบัติการ ข้อ
3 หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ.,
ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1.
ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน
(ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย
(ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ระดับ 2
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้
ระดับ 2
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร
ระดับ 2
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ
ระดับ 2
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน
ระดับ 2
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ
เช่น การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA)
ฯลฯ ระดับ 2
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ
ระดับ 2
2.
ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล
ระดับ 2
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
ระดับ 2
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ
2
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ
ระดับ 2
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ
และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 2
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน
ระดับ 2
2.7 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์
ระดับ 2
3.
สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 2
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 2
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 2
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 2
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 2
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ ระดับ 2
3.2.2 การคิดวิเคราะห์ ระดับ 2
3.2.3 การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ ระดับ 2
3.2.4 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 2
3.2.5 จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ระดับ 2
---------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท
วิชาการ
ชื่อสายงาน
วิชาการสิ่งแวดล้อม
ชื่อตำแหน่งในสายงาน
นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
ระดับตำแหน่ง
ระดับชำนาญการพิเศษ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ
แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์
และความชำนาญงานสูงมากในงานวิชาการ สิ่งแวดล้อม ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก
และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์
โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญในงานสูงมากในงานวิชาการ สิ่งแวดล้อม
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง
ๆ ดังนี้
1.
ด้านการปฏิบัติการ
1.1 กำกับดูแลการปฏิบัติงานการจัดการสิ่งแวดล้อมต่างๆ
ของทางราชการ เช่น การ กำหนดนโยบาย แผน มาตรฐาน มาตรการ แนวทาง หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบ
เงื่อนไข กฎหมายที่เกี่ยวข้อง การ สื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างจิตสำนึกและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนใน
การจัดการสิ่งแวดล้อม การประเมินผลการดำเนินงาน การวิเคราะห์วิจัยเกี่ยวกับปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อม
เสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่ งแวดล้อม
และการ ติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและเรื่องราวร้องทุกข์ เป็นต้น เพื่อให้งานจัดการสิ่งแวดล้อมของราชการ
ดำเนินไปตามเป้าหมายและถูกต้องตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และเงื่อนไขที่กำหนด
1.2 วางแนวทางการศึกษาและพัฒนางานจัดการสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ
เช่น การ พัฒนาระบบ รูปแบบ และวิธีการที่เหมาะสม และประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มี
ประสิทธิภาพ เหมาะสมกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศ
1.3 พิจารณาและให้ความเห็นเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมของพื้นที่
และ สถานการณ์สิ่งแวดล้อมระหว่างพื้นที่
1.4 วางแผน ควบคุม ดูแลและติดตามการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
วิเคราะห์ รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม และเสนอความเห็นเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์
หรือเงื่อนไขคุณภาพ สิ่งแวดล้อมที่กำหนดขึ้นในพื้นที่
1.5 สร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคีและกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมเช่น
มาตรฐานคุณภาพน้ำ มาตรฐานคุณภาพอากาศ ฯลฯ เป็นต้น เพื่อนำไปใช้เป็นมาตรฐานในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
1.6 ควบคุมดูแลและติดตามการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับมลภาวะ
นิเวศน์วิทยา และการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ เพื่อประกอบการจัดทำข้อเสนอในแก้ปัญหา
ปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือส่งเสริม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ซึ่งรับผิดชอบ
1.7 วางแผน สนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชน
เครือข่ายประชาชน อาสาสมัคร องค์กร เอกชนต่างๆ มีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่
เพื่อให้ท้องถิ่นซึ่งรับผิดชอบมีสิ่งแวดล้อม ที่ดีตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนดไว้
1.8 วางแผน ควบคุมดูแลและติดตามการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม
รวมถึงตรวจเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องมาจากมลภาวะ เพื่อนำเสนอแนวทางทางแก้ไขและสร้างความพึงพอใจให้
ประชาชนผู้เสียหาย
1.9 จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานด้านงานสิ่งแวดล้อม
เพื่อใช้เป็นแนวทำงในการ ปฏิบัติงานให้ถูกต้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งองค์กร
รวมทั้งสอดคล้องตามระบบการควบคุมภายในที่ดี
1.10 ตรวจสอบ ประเมินผล และแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการปฏิบัติงานอื่นๆ
เพื่อให้ การปฏิบัติงานของหน่วยงานถูกต้องตามหลักเกณฑ์ มาตรฐาน และวิธีการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.11 พัฒนาและปรับปรุงระบบงานด้านสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าระบบงาน ที่ตั้งไว้สามารถสนับสนุนส่วนงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นและสภาวการณ์ปัจจุบัน
1.12 สอนงาน ถ่ายทอดความรู้
หรือถ่ายทอดฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ในระดับรองลงมา ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และถ่ายทอดหลักการทำงานภายในองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
1.13 ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
และแก้ไขปัญหา ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแก่เจ้าหน้าที่ในระดับรองลงมาในสายงาน ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด
1.14 ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ
กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับงานสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.
ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนงาน
โครงการของหน่วยงานระดับสำนักหรือกอง มอบหมายงาน แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานและติดตามประเมินผลเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3.
ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานสัมพันธ์กับสมาชิกในทีมงานโดยมีบทบาทในการชี้แนะ
จูงใจ ทีมงานหรือ หน่วยงานอื่นในระดับกองหรือสำนักเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ชี้แจง ให้ข้อคิดเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการหรือคณะทำงานต่าง
ๆ เพื่อเป็น ประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
4.
ด้านการบริการ
4.1 ให้คำปรึกษาแนะนำ ตอบปัญหา
และชี้แจงในเรื่องเกี่ยวกับงานจัดการ สิ่งแวดล้อม ในส่วนที่รับผิดชอบ หรืออำนวยการในการฝึกอบรม
หรือถ่ายทอดองค์ความรู้แก่หน่วยงาน ราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.2 กำหนดแนวทางการพัฒนาและจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานจัดการ
สิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย
แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรฐาน และมาตรการต่างๆ
4.3 ให้คำปรึกษาแนะนำ ในงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมแก่เจ้าหน้าที่ระดับ
รองลงมา เช่น ให้คำปรึกษาแนะนำ ในการปฏิบัติงาน วางโครงการ จัดทำคู่มือหรือแนวทางการปฏิบัติงาน
และ วิธีใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน
และข้อกำหนด
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1.
มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสิ่งแวดล้อม ระดับปฏิบัติการ
และ
2.
ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และปฏิบัติงาน
ด้านวิชาการสิ่งแวดล้อมหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงาน ด้านวิชาการสิ่งแวดล้อมหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1.
ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ระดับ 3
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ
3
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ
2
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ
2
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 2
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ
เช่น การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA)
ฯลฯระดับ 3
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ
3
2.
ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 3
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 3
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 3
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ
3
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 3
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ
3
2.7 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 3
3.
สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 3
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 3
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 3
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 3
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 3
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ ระดับ 3
3.2.2 การคิดวิเคราะห์ ระดับ 3
3.2.3 การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ ระดับ 3
3.2.4 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 3
3.2.5 จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ระดับ 3
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท
วิชาการ
ชื่อสายงาน
วิชาการสิ่งแวดล้อม
ชื่อตำแหน่งในสายงาน
นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
ระดับตำแหน่ง
ระดับเชี่ยวชาญ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงาน
โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทาง
วิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการ
ซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการ สิ่งแวดล้อม ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทาง
วิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง
ๆ ดังนี้
1.
ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับงานวิชาการสิ่งแวดล้อม
และเสนอ แนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานต่างๆ เช่น การกำหนดนโยบาย แผน
มาตรฐาน มาตรการ แนวทาง หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบ เงื่อนไข กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสื่อสารองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
เพื่อสร้างจิตสำนึกและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม การประเมินผล
วิเคราะห์ ปัญหา และเสนอแนะแนวทางปฏิบัติงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
การ ติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและเรื่องราวร้องทุกข์ เป็นต้น เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย
แผนงาน และแนวทางปฏิบัติของหน่วยงาน
1.2 พัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมในการศึกษา
วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการ จัดการสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ และเสนอแนวคิดการบริหารงานจัดการสิ่งแวดล้อมภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ
เหมาะสมกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศ และระหว่างประเทศ
1.3 ให้คำปรึกษา กำหนดแนวทาง
ควบคุมดูแลและติดตามการตรวจสอบคุณภาพ สิ่งแวดล้อม วิเคราะห์รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และเสนอความเห็นเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่กำหนดขึ้นในพื้นที่
1.4 สร้างการมีส่วน ร่วมของเครือข่ายภำคีและกำห
น ดมาตรฐานคุณ ภำพ สิ่งแวดล้อมเช่น มาตรฐานคุณภาพน้ำ มาตรฐานคุณภาพอากาศ ฯลฯ เป็นต้น
เพื่อนำไปใช้เป็นมาตรฐาน ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
1.5 ให้คำปรึกษา กำหนดแนวทาง
ควบคุมดูแลและติดตามการศึกษาปัญหา เกี่ยวกับมลภาวะ นิเวศน์วิทยา และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ
เพื่อประกอบการจัดทำข้อเสนอใน แก้ปัญหา ปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ซึ่งรับผิ
ดชอบ
1.6 วิจัยหรือจัดทำผลงานด้านวิชาการสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้นวัตกรรมที่ได้รับการ ยอมรับในระดับประเทศหรือระดับนานาชาติ
1.7 ประยุกต์ใช้แนวทางปฏิบัติที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล (Best Practices) ในการกำหนดกลไก กระบวนการ หรือมาตรการการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อม
เพื่อ มาปรับ ใช้ในการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบ
1.8 ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ใต้บังคับบัญชา
เพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์ ความรู้อย่างต่อเนื่องและให้สามารถปฏิบัติงานได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กร
และมี ประสิทธิภาพสูงสุด
1.9 วางกรอบการจัดทำเอกสารวิชาการ
ตำรา ข้อสอบ ทางวิชาการสิ่งแวดล้อม เพื่อประกอบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้อง
2.
ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผน โดยเชื่อมโยงหรือบูรณาการแผนงาน
โครงการใน ระดับกลยุทธ์ของส่วนราชการระดับกรม มอบหมายงานแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานติดตาม
ประเมินผล เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3.
ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานโครงการต่าง
ๆ กับบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรอื่น โดยมี บทบาทในการจูงใจ โน้มน้าวเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ให้ข้อคิดเห็นและคำแนะนำ
แก่หน่วยงานระดับกองหรือสำนัก รวมทั้งที่ประชุมทั้ง ในและต่างประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
4.
ด้านการบริการ
4.1 ให้คำปรึกษาแนะนำ วินิจฉัย
ชี้แจง และตอบปัญหาที่สำคัญด้านการจัดการ สิ่งแวดล้อม อำนวยการฝึกอบรมหรือถ่ายทอดองค์ความรู้
แก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.2 กำกับดูแล ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาและจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบ
สารสนเทศด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการ พิจารณากำหนดนโยบาย
แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรฐาน และมาตรการต่างๆ
4.3 ฝึกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้
หรือนิเทศงานให้แก่พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ใน หน่วยงาน พร้อมทั้งเผยแพร่ความรู้ในระดับกรม
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานได้อย่าง ถูกต้องสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1.
มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสิ่งแวดล้อม ระดับปฏิบัติการ
และ
2.
ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ และ
ปฏิบัติงานด้านวิชาการสิ่งแวดล้อมหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านวิชาการสิ่งแวดล้อมหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1.
ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน
(ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 4
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย
(ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ระดับ 3
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้
ระดับ 3
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร
ระดับ 2
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ
ระดับ 2
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน
ระดับ 2
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ
เช่น การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA)
ฯลฯ ระดับ 4
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ
ระดับ 3
2.
ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล
ระดับ 3
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
ระดับ 3
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ
3
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ
ระดับ 3
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ
และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 3
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน
ระดับ 3
2.7 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์
ระดับ 4
3.
สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 4
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 4
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 3
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 4
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 4
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ ระดับ 4
3.2.2 การคิดวิเคราะห์ ระดับ 4
3.2.3 การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ ระดับ 4
3.2.4 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 4
3.2.5 จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ระดับ 4
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น