นักอาชีวบำบัด



มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 3604
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
สายงาน วิชาการอาชีวบำบัด
ลักษณะงาน โดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานทางวิชาการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย โรคจิต โรคประสาท ยาเสพติด บุคคลปัญญาอ่อนและผู้ป่วยที่มีบุคลิกภาพแปรปรวน หรือพิการ ซึ่งมีลักษณะ งานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการนิเทศงาน และฝึกอบรมวิชาอาชีวบำบัด เพื่อพัฒนาข้าราชการผู้ปฏิบัติงานด้าน อาชีวบำบัดในหน่วยงานจิตเวช และหน่วยงานอื่น และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ชื่อตำแหน่งในสายงาน และระดับตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้
นักอาชีวบำบัด ระดับปฏิบัติการ
นักอาชีวบำบัด ระดับชำนาญการ
นักอาชีวบำบัด ระดับชำนาญการพิเศษ

ก.จ. กำหนดเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน วิชาการอาชีวบำบัด
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักอาชีวบำบัด
ระดับตำแหน่ง ปฏิบัติการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานด้านอาชีวบำบัด ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 วิเคราะห์ปัญหา ของประชาชนที่มีความบกพร่อง หรือพิการ ทางด้านร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ และพัฒนาการ เพื่อนำไปวางแผนบำบัด รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
1.2 บำบัด รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพประชาชน ผู้ที่มีความบกพร่อง หรือพิการ ทางด้านร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ และพัฒนาการ เพื่อพัฒนาทักษะในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตและการ ประกอบอาชีพ
1.3 ปรับสภาพที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมของผู้ที่มีความบกพร่อง หรือพิการ ทางด้าน ร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ และพัฒนาการ เพื่อให้บุคคลดำเนินชีวิตได้ตามศักยภาพ สามารถพึ่งพาตนเอง และมี ส่วนร่วมในกิจกรรมของครอบครัว ชุมชนและสังคม
1.4 ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ สำรวจ วิจัย รวบรวมข้อมูลทางวิชาการเบื้องต้นที่ไม่ ซับซ้อนเพื่อพัฒนาคุณภาพงานด้านอาชีวบำบัด
1.5 นิเทศงานอาชีวบำบัด และฝึกอบรมวิชาอาชีวบำบัด เพื่อพัฒนาข้าราชการ ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวบำบัด ตลอดจนวางแผนกำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมวิชาอาชีวบำบัด รวมทั้งจัดทำ เอกสารวิชาการทางด้านอาชีวบำบัดเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เข้าใจถึง คุณประโยชน์ของงานอาชีวบำบัดต่อผู้ป่วยจิตเวช และผู้ป่วยที่มีบุคลิกภาพแปรปรวน และเพื่อเป็นแนวทางใน การปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้ เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำแนะนำเบื้องต้นด้านอาชีวบำบัดแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับการบำบัด รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านอาชีวบำบัด
4.2 จัดทำบทความ เอกสารทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ ให้เข้าใจงานด้านอาชีวบำบัด
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง การเกษตร คหกรรมศาสตร์ อาชีวบำบัด จิตวิทยา วิทยาศาสตร์ หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
2. ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง การเกษตร คหกรรมศาสตร์ อาชีวบำบัด จิตวิทยา วิทยาศาสตร์ หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
3. ได้รับปริญญาเอกหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง การเกษตร คหกรรมศาสตร์ อาชีวบำบัด จิตวิทยา วิทยาศาสตร์ หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1      ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.2      ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ)   ระดับ 1
1.3      ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระดับ 1
1.4      ความรู้เรื่องการจัดการความรู้       ระดับ 1
1.5      ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร          ระดับ 1
1.6      ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ    ระดับ 1
1.7      ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน    ระดับ 1
1.8      ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯ ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ      ระดับ 1
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 1
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1      ทักษะการบริหารข้อมูล   ระดับ 1
2.2      ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์  ระดับ 1
2.3      ทักษะการประสานงาน    ระดับ 1
2.4      ทักษะการบริหารโครงการ          ระดับ 1
2.5      ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้        ระดับ 1
2.6      ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน    ระดับ 1
2.7      ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์  ระดับ 1
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 1
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 1
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 1
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 1
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 1
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ      ระดับ 1
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 1
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 1
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 1
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 1
 ---------------------------------------------------------------------------------------------------


ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน วิชาการอาชีวบำบัด
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักอาชีวบำบัด
ระดับตำแหน่ง ชำนาญการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูงในงานด้านอาชีวบำบัด ปฏิบัติงาน ที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูงในงานด้านอาชีวบำบัด ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 วิเคราะห์ปัญหา ของประชาชนที่มีความบกพร่อง หรือพิการ ทางด้านร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ และพัฒนาการเพื่อนำไปวางแผนบำบัด รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
1.2 ปฏิบัติการ บำบัด รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพประชาชนผู้ที่มีความบกพร่อง หรือ พิการทางด้านร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ และพัฒนาการ เพื่อพัฒนาทักษะในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพ
1.3 ปรับสภาพที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม ของผู้ที่มีความบกพร่อง หรือพิการ ทางด้านร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ และพัฒนาการ เพื่อให้บุคคลดำเนินชีวิตได้ตามศักยภาพ สามารถพึ่งพา ตนเอง และมีส่วนร่วมในกิจกรรมของครอบครัว ชุมชนและสังคมศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ สำรวจ วิจัย รวบรวม ข้อมูลทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนต้องอาศัยความรู้ทางวิชาการระดับสูง เพื่อพัฒนาคุณภาพงานด้านอาชีว บำบัด
1.4 นิเทศงานอาชีวบำบัด และฝึกอบรมวิชาอาชีวบำบัด เพื่อพัฒนาข้าราชการ ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวบำบัดในหน่วยงานจิตเวช และหน่วยงานอื่น ตลอดจนวางแผนกำหนดหลักสูตรการ ฝึกอบรมวิชาอาชีวบำบัด รวมทั้งจัดทำเอกสารวิชาการทางด้านอาชีวบำบัดเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เข้าใจถึงคุณประโยชน์ของงานอาชีวบำบัดต่อผู้ป่วยจิตเวช และผู้ป่วยที่มี บุคลิกภาพแปรปรวน และเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานตามแผนงานหรือโครงการของหน่วยงาน ระดับสำนักหรือกอง และแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่ กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันโดยมีบทบาทในการให้ความเห็นและคำแนะนำ เบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือหน่วยงานอื่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ให้ข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำเบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือบุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
สอน ฝึกอบรม ถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี ด้านอาชีวบำบัดแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา บุคคลที่ เกี่ยวข้องและ ประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการบำบัด รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้าน อาชีวบำบัด
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักอาชีวบำบัด ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และปฏิบัติงาน ด้านวิชาการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี กำหนดเวลา 6 ปี ให้ลดเป็น 4 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง นักอาชีวบำบัด ระดับปฏิบัติการ ข้อ 2 และให้ลดเป็น 2 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง นักอาชีวบำบัด ระดับปฏิบัติการ ข้อ 3 หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านวิชาการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตาม ระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ค วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1      ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.2      ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ)   ระดับ 2
1.3      ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระดับ 2
1.4      ความรู้เรื่องการจัดการความรู้       ระดับ 2
1.5      ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร          ระดับ 2
1.6      ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ    ระดับ 2
1.7      ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน    ระดับ 2
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯ ระดับ 2
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ   ระดับ 2
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 2
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 2
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 2
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 2
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 2
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 2
2.7 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 2
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 2
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 2
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 2
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 2
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 2
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ      ระดับ 2
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 2
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 2
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 2
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 2
 -----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน วิชาการอาชีวบำบัด
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักอาชีวบำบัด
ระดับตำแหน่ง ชำนาญการพิเศษ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในงานด้านอาชีวบำบัด ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญในงานสูงมากในงานด้านอาชีวบำบัด ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 วิเคราะห์ปัญหาของประชาชนที่มีความบกพร่อง หรือพิการ ทางด้านร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ และพัฒนาการ รวมทั้งคาดการณ์ วางแผน ป้องกันปัญหา หรือภาวะเสี่ยงเพื่อนำไปวางแผน พัฒนาการบำบัด รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
1.2 ตรวจสอบ ปฏิบัติการ บำบัด รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพประชาชนผู้ที่มีความ บกพร่อง หรือพิการ ทางด้านร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ และพัฒนาการ รวมทั้งคาดการณ์ วางแผน ป้องกัน ปัญหา หรือภาวะเสี่ยง เพื่อพัฒนาทักษะในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ
1.3 ปรับสภาพที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม ของผู้ที่มีความบกพร่อง หรือพิการ ทางด้านร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ และพัฒนาการ รวมทั้งคาดการณ์ วางแผน ป้องกันปัญหา หรือภาวะเสี่ยง เพื่อให้บุคคลดำเนินชีวิตได้ตามศักยภาพ สามารถพึ่งพาตนเอง และมีส่วนร่วมในกิจกรรมของครอบครัว ชุมชน และสังคม
1.4 ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ สำรวจ วิจัย เรื่องที่ยากเป็นพิเศษ และมีความซับซ้อน ต้องอาศัยความรู้ทางวิชาการหรือประสบการณ์สูงโดยมีการค้นคว้าอ้างอิงหรือใช้ข้อมูลจากภายนอกเพื่อพัฒนา คุณภาพงานด้านอาชีวบำบัด
1.5 วิเคราะห์ ควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติเกี่ยวกับงานวิชาการบำบัดและฟื้นฟู สมรรถภาพผู้ป่วยโรคจิต โรคประสาท ยาเสพติด บุคคลปัญญาอ่อน และผู้ป่วยที่มีบุคลิกภาพแปรปรวน หรือ พิการ
1.6 ควบคุม กำกับนิเทศงานอาชีวบำบัด และฝึกอบรมวิชาอาชีวบำบัด เพื่อพัฒนา ข้าราชการผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวบำบัดในหน่วยงานจิตเวช และหน่วยงานอื่น ตลอดจนวางแผนกำหนด หลักสูตรการฝึกอบรมวิชาอาชีวบำบัด รวมทั้งจัดทำเอกสารวิชาการทางด้านอาชีวบำบัดเผยแพร่แก่ประชาชน ทั่วไป และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เข้าใจถึงคุณประโยชน์ของงานอาชีวบำบัดต่อผู้ป่วยจิตเวช และผู้ป่วยที่ มีบุคลิกภาพแปรปรวน และเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนงาน โครงการของหน่วยงานระดับสำนั กหรือกอง มอบหมายงาน แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานและติดตามประเมินผลเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานสัมพันธ์กับสมาชิกในทีมงานโดยมีบทบาทในการชี้แนะ จูงใจ ทีมงานหรือ หน่วยงานอื่นในระดับกองหรือสำนักเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ชี้แจง ให้ข้อคิดเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการหรือคณะทำงานต่างๆเพื่อเป็น ประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
3.3 ประสานงานการปฏิบัติงานทางวิชาการของหน่วยงานสาธารณสุขให้เป็นไปตาม นโยบายและแผนงานที่กำหนดไว้ เสนอแนะข้อควรปรับปรุงแก้ไขและแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการ ให้บริการสาธารณสุข เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดเป็นนโยบายและแผนงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4. ด้านการบริการ
สอน ฝึกอบรม ถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี นิ เทศงาน ด้านอาชีวบำบัด แก่ ผู้ใต้บังคับบัญชา บุคคลที่เกี่ยวข้องและ ประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการบำบัด รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อ เผยแพร่องค์ความรู้ด้านอาชีวบำบัด
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักอาชีวบำบัด ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และปฏิบัติงาน ด้านวิชาการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านวิชาการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตาม ระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1      ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.2      ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ)   ระดับ 3
1.3      ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระดับ 3
1.4      ความรู้เรื่องการจัดการความรู้       ระดับ 3
1.5      ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร          ระดับ 2
1.6      ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ    ระดับ 2
1.7      ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน    ระดับ 2
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯ ระดับ 3
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ   ระดับ 3
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 3
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 3
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 3
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 3
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 3
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 3
2.7 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 3
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 3
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 3
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 3
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 3
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 3
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ      ระดับ 3
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 3
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 3
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 3
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 3


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สันทนาการ

ช่างศิลป์

เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว