นักวิทยาศาสตร์
มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
3501
ตำแหน่งประเภท
วิชาการ
สายงาน
วิทยาศาสตร์
ลักษณะงาน
โดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่างๆที่ปฏิบัติงานทางวิเคราะห์
วิจัย และทดสอบทางวิทยาศาสตร์ และทางเทคโนโลยี ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการทดสอบ
วิเคราะห์ และวิจัยทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี สาขาต่างๆ เช่น การวิเคราะห์วัตถุดิบ
แร่ธาตุ อาหาร และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพื่อรับรองหรือ ควบคุมคุณภาพให้เป็นตามกฎหมาย
หรือเพื่อใช้ประโยชน์ในการอุตสาหกรรม การค้า การเก็บภาษี การดำเนินการทางคดี หรือเพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน
การวิจัยทรัพยากรธรรมชาติ ผลิตผลและผลิตผล พลอยได้จากอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม เพื่อนำมาใช้ประโยชน์
การวิจัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพของผลิภัณฑ์ สินค้า การวิจัยเรื่องการถนอมอาหาร เป็นต้น
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือการสอนวิชา วิทยาศาสตร์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ชื่อตำแหน่งในสายงาน
และระดับตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้
นักวิทยาศาสตร์
ระดับปฏิบัติการ
นักวิทยาศาสตร์
ระดับชำนาญการ
นักวิทยาศาสตร์
ระดับชำนาญการพิเศษ
นักวิทยาศาสตร์
ระดับเชี่ยวชาญ
ก.จ. กำหนดเมื่อ
26 พฤศจิกายน 2558
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท
วิชาการ
ชื่อสายงาน
วิทยาศาสตร์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน
นักวิทยาศาสตร์
ระดับตำแหน่ง
ระดับปฏิบัติการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น
ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับ งานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภายใต้การกำกับ แนะนำตรวจสอบ และ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง
ๆ ดังนี้
1.
ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์ข้อมูล
และร่วมดำเนินการวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี เพื่อสร้างองค์ความรู้
1.2 วิเคราะห์ทดสอบ ตรวจสอบ
ตรวจวัด ตรวจพิสูจน์ วินิจฉัย ทางวิทยาศาสตร์ของ วัตถุตัวอย่าง สอบเทียบเครื่องมือ
อุปกรณ์วัด เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.3 ร่วมปฏิบัติงานด้านการรับรองระบบงาน
การบริหารจัดการทดสอบความชำนาญ จัดทำฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการ ส่งเสริมพัฒนาห้องปฏิบัติการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทาง
การค้า
1.4 ร่วมศึกษาวิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้ และร่วม ดำเนินการ จัดฝึกอบรม เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและทันต่อความก้าวหน้าขอ
งวิทยาการด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.5 ศึกษา ค้นคว้า ติดตามความรู้
และพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี เพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง
1.6 ร่วมดำเนินงานระบบประกันคุณภาพ
เพื่อให้ผลการทดสอบเป็นที่น่าเชื่อถือ
1.7 ตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำประเภทต่างๆ
เช่น สถานประกอบการ แหล่งน้ำ ธรรมชาติ แหล่งน้ำต่างๆ เป็นต้น และการบำบัดน้ำเสีย เพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพน้ำและ
กระบวนการบำบัดของเสียให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
1.8 ศึกษา รวบรวม และจัดทำข้อมูลสถิติรายงานด้านคุณภาพน้ำ
(ทั้งปริมาณและ คุณภาพน้ำ) สถิติข้อมูลสถานประกอบการที่ต้องตรวจสอบ และสถิติข้อมูลต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีข้อมูลและ รายงานที่ถูกต้องในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน
1.9 ศึกษาค้นคว้าวิจัยงานวิชาการในด้านต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลที่จะ เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงคุณภาพแหล่งน้ำและการบำบัดสิ่งปฏิกูลในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
1.10 ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ
กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับงานวิเคราะห์ วิจัย และทดสอบทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาต่างๆ
เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.
ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ
โครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3.
ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน
เพื่อให้ เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดได้
3.2 ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล
ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4.
ด้านการบริการ
4.1 ให้ คำป รึกษำแน ะนำเบื้ องต้น ทำงด้ำน วิท ยาศาส ตร์และเท คโน โลยีแก่ ผู้ประกอบการ
ส่วนราชการ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป
4.2 เผยแพร่ ถ่ายทอดความรู้
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4.3 ดำเนินการทดลอง เก็บข้อมูล
วิเคราะห์ และจัดทำรายงาน การวิจัย และการ ทดลองตามที่มีการร้องขอจากประชาชน หรือหน่วยงานต่างๆ
เพื่อให้บริการประชาชน และเป็นแหล่งข้อมูล สำหรับอ้างอิงในเรื่องการกำหนดเกณฑ์หรือมาตรการต่างๆ
4.4 จัดฝึกอบรม บรรยาย และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์
เช่น การบำบัด น้ำเสีย การตรวจสอบคุณภาพน้ำ และการปรับปรุงคุณภาพน้ำ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ประกอบการ
และผู้ที่สนใจทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมทั้งเป็นการรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อม
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1.
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง
เคมี เคมีเทคนิค ชีวเคมี เภสัชศาสตร์ ธรณีวิทยา วิศวกรรมเคมี ปฐพีวิทยา เคมีคัลฟิสิกล์
ฟิลิกคัล วิทยาศาสตร์ กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิศวกรรมศาสตร์ หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่
ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
2.
ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง
เคมี เคมีเทคนิค ชีวเคมี เภสัชศาสตร์ ธรณีวิทยา วิศวกรรมเคมี ปฐพีวิทยา เคมีคัลฟิสิกล์
ฟิลิกคัล วิทยาศาสตร์ กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิศวกรรมศาสตร์ หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่
ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
3.
ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง
เคมี เคมีเทคนิค ชีวเคมี เภสัชศาสตร์ ธรณีวิทยา วิศวกรรมเคมี ปฐพีวิทยา เคมีคัลฟิสิกล์
ฟิลิกคัล วิทยาศาสตร์ กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิศวกรรมศาสตร์ หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่
ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1.
ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน
(ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย
(ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ระดับ 1
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้
ระดับ 1
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร
ระดับ 1
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ
ระดับ 1
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน
ระดับ 1
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ
เช่น การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม(EIA),การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA)ฯลฯ ระดับ 2
1.9 ความรู้เรื่องการบริหารจัดการฮาร์ดแวร์(Hardware)ซอฟต์แวร์(Software) และเน็ตเวิร์ก(Network) ระดับ 1
2.
ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล
ระดับ 1
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
ระดับ 1
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ
1
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ
ระดับ 1
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอและถ่ายทอดความรู้
ระดับ 1
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน
ระดับ 1
2.7 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ
ระดับ 1
2.8 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์
ระดับ 2
3.
สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 1
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 1
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 1
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 1
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 1
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การคิดวิเคราะห์ ระดับ 1
3.2.2 การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ ระดับ 1
3.2.3 ความคิดสร้างสรรค์ ระดับ 1
3.2.4 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 1
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท
วิชาการ
ชื่อสายงาน
วิทยาศาสตร์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน
นักวิทยาศาสตร์
ระดับตำแหน่ง
ระดับชำนาญการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ
แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์
และความชำนาญสูงในงานวิชาการวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก
และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์
โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูงในงานวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง
ๆ ดังนี้
1.
ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ศึกษา วิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เพื่อสร้างองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสานพัฒนาแนวคิดทางเทคนิควิชาการ
1.2 วิเคราะห์ทดสอบ ตรวจสอบ
ตรวจวัด ตรวจพิสูจน์ วินิจฉัย ทางวิทยาศาสตร์ ของ วัตถุตัวอย่าง สอบเทียบเครื่องมือ
อุปกรณ์วัด ที่ต้องใช้เทคนิคและประสบการณ์ ช่วยแก้ปัญหา เพื่อนำข้อมูลไป ใช้ประโยชน์
ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.3 ปฏิบัติงานด้านการรับรองระบบงาน
การบริหารจัดการทดสอบความชำนาญ จัดทำ ฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาห้องปฏิบัติการ
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า
1.4 ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ดำเนินการจัดฝึกอบรมและ ถ่ายทอดความรู้ ผลิตสื่อการฝึกอบรม รักษาระบบบริหารงานคุณภาพ
เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและ ทันต่อความก้าวหน้าของวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.5 ส่งเสริม สนับสนุนการการศึกษาค้นคว้าเพื่อนำสารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาวิจัย พัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรม
1.6 วิเคราะห์และทดสอบเพื่อหาองค์ประกอบหรือคุณสมบัติทางด้านเคมี
ฟิสิกส์ ธรณีวิทยาและชีววิทยา
1.7 วิจัยผลิตผลและผลิตผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมเพื่อนำมาใช้ให้
เป็นประโยชน์ วิจัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์สินค้า วิจัยเรื่องการถนอมอาหาร
วิจัยเพื่อพัฒนา อุตสาหกรรมต่าง ๆ
1.8 ร่วมกำหนดหลักเกณฑ์ และมาตรฐานคุณภาพน้ำ
และจัดทำข้อบัญญัติต่างๆ ที่ เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นมาตรฐานที่ถูกต้องตามข้อบังคับ กฎระเบียบ
และกฎหมายที่กำหนดไว้
1.9 ควบคุม และดูแลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำประเภทต่างๆ
เช่น สถานประกอบการ แหล่งน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำต่างๆ เป็นต้น และการบำบัดน้ำเสีย
เพื่อตรวจสอบ และ วิเคราะห์คุณภาพน้ำและกระบวนการบำบัดของเสียให้เป็นไปตามมาตรฐานที่
กำหนดไว้
2.
ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานตามแผนงานหรือโครงการของหน่วยงาน
ระดับสำนักหรือกอง และแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่
กำหนด
3.
ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันโดยมีบทบาทในการให้ความเห็นและคำแนะนำ
เบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือหน่วยงานอื่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ให้ข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำเบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือบุคคลหรือหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
3.3 เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการต่างๆ
เพื่อร่วมในการกำหนดนโยบายและแผนงานของหน่วยงานที่สังกัด
4.
ด้านการบริการ
4.1 ให้คำปรึกษาแนะนำทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ค่อนข้างยากแก่
ผู้ประกอบการ ส่วนราชการ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป
4.2 เผยแพร่ ถ่ายทอดความรู้
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1.
มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ ระดับปฏิบัติการ และ
2.
ดำรงตำแหน่งหรือเคยดดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และปฏิบัติงาน
ด้านวิทยาศาสตร์หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ
ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี กำหนดเวลา 6 ปี ให้ลดเป็น 4 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์
ระดับปฏิบัติการ ข้อ 2 และให้ลดเป็น 2 ปี
สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ ระดับปฏิบัติการ ข้อ 3 หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงาน ด้านวิทยาศาสตร์หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1.
ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน
(ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย
(ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ระดับ 2
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้
ระดับ 2
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร
ระดับ 2
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ
ระดับ 2
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน
ระดับ 2
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ
เช่น การประเมินผลกระทบ
1.9 สิ่งแวดล้อม(EIA),การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA)ฯลฯ ระดับ 3
1.10 ความรู้เรื่องการบริหารจัดการฮาร์ดแวร์(Hardware)ซอฟต์แวร์(Software) และเน็ตเวิร์ก(Network) ระดับ 2
2.
ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล
ระดับ 2
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
ระดับ 2
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ
2
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ
ระดับ 2
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอและถ่ายทอดความรู้
ระดับ 2
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน
ระดับ 2
2.7 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ
ระดับ 2
2.8 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์
ระดับ 3
3.
สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 2
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 2
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 2
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 2
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 2
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การคิดวิเคราะห์ ระดับ 2
3.2.2 การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ ระดับ 2
3.2.3 ความคิดสร้างสรรค์ ระดับ 2
3.2.4 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 2
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท
วิชาการ
ชื่อสายงาน
วิทยาศาสตร์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน
นักวิทยาศาสตร์
ระดับตำแหน่ง
ระดับชำนาญการพิเศษ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ
แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์
และความชำนาญงานสูงมากในงานวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก
และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์
โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญในงานสูงมากในงานวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือ แก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง
ๆ ดังนี้
1.
ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ศึกษา วิจัย และพัฒนาเชิงลึกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เพื่อสร้างองค์ ให้ข้อมูลหรือแก้ปัญหาข้อขัดข้องทางวิชาการ
1.2 วิเคราะห์ทดสอบ ตรวจสอบ
ตรวจวัด ตรวจพิสูจน์ วินิจฉัย ทางวิทยาศาสตร์ ของ วัตถุตัวอย่าง สอบเทียบเครื่องมือ
อุปกรณ์วัด ที่ต้องใช้เทคนิค ประสบการณ์ และความชำนาญ ประยุกต์วิธี วิเคราะห์ทดสอบ
วิธีดำเนินการ ช่วยแก้ปัญหา เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.3 วางแผนการดำเนินงานด้านการวิเคราะห์
วิจัย และทดสอบทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีในสาขาต่างๆ มี่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานมีประสิทธิภาพ
และสอดคล้องตาม แผนงาน เป้าหมาย และนโยบายที่กำหนดไว้
1.4 ศึกษา วิเคราะห์ และทดสอบงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ซึ่งมีลักษณะ แปลกใหม่และมีปัญหา วิจัยเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ วิจัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพของอาหารและ
เครื่องดื่มสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม
1.5 กำหนดหลักเกณฑ์ และมาตรฐานคุณภาพน้ำ
และจัดทำข้อบัญญัติต่างๆ ที่ เกี่ยวข้อง เพื่อเป็น มาตรฐานที่ถูกต้องตามข้อบังคับ กฎระเบียบ
และกฎหมายที่กำหนดไว้
1.6 ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำจาก แหล่งน้ำ ประเภทต่างๆ เช่น สถานประกอบการ
แหล่งน้ำ ธรรมชาติ แหล่งน้ำต่างๆ เป็นต้น และการ บำบัดน้ำ เสีย เพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพน้ำและกระบวนการบำบัดของเสียให้เป็นไปตาม
มาตรฐานที่กำหนดไว้ 1.7 กำกับ ดูแล ตรวจสอบ ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
ควบคุม รักษาระบบงาน และปฏิบัติงานด้านการรับรอง การบริหารจัดการทดสอบความชำนาญ จัดทำฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการ
ส่งเสริม
พัฒนาห้องปฏิบัติการที่ยุ่งยากซับซ้อน
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า
1.8 พัฒนาและกำหนดแนวทางการถ่ายทอดความรู้และนิเทศงาน
ผลิตสื่อการ ฝึกอบรมติดตามและประเมินผลการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.9 ศึกษาวิจัย พัฒนาการเพิ่มศักยภาพการเข้าถึงสารสนเทศวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี จัดทำสารสนเทศพร้อมใช้ จัดทำฐานข้อมูลเฉพาะทาง และจัดการทรัพยากรสารสนเทศด้าน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2.
ด้านการวางแผน
2.1 วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนงาน
โครงการของหน่วยงานระดับสำนักหรือ กอง มอบหมายงาน แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานและติดตามประเมินผลเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์
ที่กำหนด
2.2 ส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการจัดการคุณภาพน้ำและการ
บำบัดสิ่งปฏิกูล จากสถานประกอบการ และสถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน
2.3 กำหนดแผนงาน วัตถุประสงค์
กิจกรรมหลัก ขั้นตอนการดำเนินงาน และ ระยะเวลาในการบริหารโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิเคราะห์
วิจัย และทดสอบทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีในสาขาต่างๆ เพื่อให้การทำงานเป็นไปตามเป้าหมายหรือแผนที่ตั้งไว้
3.
ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานสัมพันธ์กับสมาชิกในทีมงานโดยมีบทบาทในการชี้แนะ
จูงใจ ทีมงานหรือ หน่วยงานอื่นในระดับกองหรือสำนักเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ชี้แจง ให้ข้อคิดเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการหรือคณะทำงานต่างเพื่อเป็น
ประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
4.
ด้านการบริการ
4.1 ให้คำปรึกษาแนะนำทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยุ่งยาก
ซับซ้อนแก่ ผู้ประกอบการ ส่วนราชการ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป เพื่อให้มีการจัดการได้อย่างถูกต้อง
และมี ประสิทธิภาพ
4.2 เผยแพร่ ถ่ายทอดความรู้
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิจัย และทดสอบทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาต่างๆ
เพื่อพัฒนาและให้ความรู้ที่ถูกต้อง และมีประโยชน์อย่างสูงสุดแก่ ผู้ประกอบการ ประชาชนที่สนใจทั่วไป
และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1.
มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ ระดับปฏิบัติการ และ
2.
ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และ ปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง
ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ.,
ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้อง ปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1.
ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1. ความรู้ที่จำเป็นในงาน
(ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.2. ความรู้เรื่องกฎหมาย
(ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.3. ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ระดับ 3
1.4. ความรู้เรื่องการจัดการความรู้
ระดับ 3
1.5. ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร
ระดับ 2
1.6. ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ
ระดับ 2
1.7. ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน
ระดับ 2
1.8. ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ
เช่น การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม(EIA),การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA)ฯลฯ ระดับ 4
1.9. ความรู้เรื่องการบริหารจัดการฮาร์ดแวร์(Hardware)ซอฟต์แวร์(Software) และเน็ตเวิร์ก(Network) ระดับ 3
2.
ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล
ระดับ 3
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
ระดับ 3
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ
3
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ
ระดับ 3
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอและถ่ายทอดความรู้
ระดับ 3
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน
ระดับ 3
2.7 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ
ระดับ 3
2.8 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์
ระดับ 4
3.
สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 3
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 3
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 3
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 3
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 3
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การคิดวิเคราะห์ ระดับ 3
3.2.2 การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ ระดับ 3
3.2.3 ความคิดสร้างสรรค์ ระดับ 3
3.2.4 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 3
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท
วิชาการ
ชื่อสายงาน
วิทยาศาสตร์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน
นักวิทยาศาสตร์
ระดับตำแหน่ง
ระดับเชี่ยวชาญ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงาน
โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือ แก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง
และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการ
ซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือ แก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง
และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง
ๆ ดังนี้
1.
ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาเชิงลึกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้าง
องค์ความรู้ให้ข้อมูล หรือแก้ปัญหาข้อขัดข้องทางวิชาการ
1.2 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนา กำหนดแนวทาง มาตรการ วิธีการปฏิบัติงานทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ
1.3 ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการเพื่อกำหนดแนวทางให้ข้อคิดเห็น
ข้อเสนอแนะ ลงมติเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ กฎเกณฑ์ทางวิชาการแก่องค์การระหว่างประเทศด้านการรับรองห้องปฏิบัติการในฐานะ
สมาชิก การบริหารจัดการทดสอบความชำนาญระดับระหว่างประเทศ
1.4 ให้คำปรึกษาแนะนำทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เพื่อเสนอแนะเกี่ยวกับ การจัดระบบสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ
ทางวิทยาศาสตร์
1.5 วางแผนงาน กำหนดหลักเกณฑ์
ขั้นตอน และแนวทางการปฏิบัติงานด้าน วิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างมาตรฐานในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ
และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
1.6 เสนอแนะแนวทางการปรับปรุง
แก้ไขปัญหาข้อขัดข้อง อุปสรรค และความ ผิดพลาดต่างๆ รวมทั้งแนวทางในการป้องกันปัญหาต่างๆ
ที่อาจจะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการวิเคราะห์
วิจัย และทดสอบทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใน สาขาต่างๆ ให้มากขึ้นและสอดคล้องกับเป้าหมาย
และนโยบายที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดไว้
1.7 กำหนดขอบเขต และหลักเกณฑ์การตรวจสอบ
การประเมินผล การประเมิน ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงสุด
และมีประโยชน์อย่าง สูงสุดให้แก่ประชาชน และสังคม
1.8 วางแผน และจัดอัตรากำลังของหน่วยงาน
รวมทั้งมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ ให้เหมาะสมกับบุคลากรทั้งหมดภายในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
เพื่อให้บุคลากรแต่ละคนได้รับลักษณะงานและ ปริมาณงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ
และศักยภาพ และเกิดความเป็นธรรมในการปฏิบัติงาน
1.9 สอนงาน ถ่ายทอดความรู้
หรือถ่ายทอดฝึกอบรมแก่บุคลากรในระดับรองลงมา ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และถ่ายทอดหลักการทำงานภายในหน่วยงาน และสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
1.10 ศึกษาความรู้เทคนิคใหม่ๆ
เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในงานและวิเคราะห์ถึงปัญหา และข้อบกพร่องในการดำเนินการเพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาและวางกลยุทธ์การปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ
ทัน กับสถานการณ์ในปัจจุบัน และสามารถรองรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
2.
ด้านการวางแผน
2.1 วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผน
โดยเชื่อมโยงหรือบูรณาการ แผนงาน โครงการในระดับกลยุทธ์ของส่วนราชการระดับกรม มอบหมายงานแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานติดตาม
ประเมินผล เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
2.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำเทคโนโลยี
นวัตกรรม และองค์ความรู้สมัยใหม่ มาใช้ในการจัดการคุณภาพน้ำและการบำบัดสิ่งปฏิกูลจากสถานประกอบการต่างๆ
เพื่อเพิ่มศักยภาพใน การ ปฏิบัติงาน และสร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชน ชุมชน และสังคมอย่างสูงสุด
2.3 กำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย
และยุทธศาสตร์ในการบริหารโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิทยาศาสตร์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปตามเป้าหมาย
นโยบาย และแผนที่กำหนดไว้
3.
ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานโครงการต่างๆ
กับบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรอื่น โดยมี บทบาทในการจูงใจ โน้มน้าวเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ให้ข้อคิดเห็น และคำแนะนำแก่หน่วยงานระดับกอง
หรือสำนักรวมทั้งที่ประชุม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
4.
ด้านการบริการ
4.1 ให้คำปรึกษาแนะนำทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยุ่งยาก
ซับซ้อนแก่ส่วน ราชการ หน่วยงานต่าง ๆ และประชาชนทั่วไป
4.2 เผยแพร่ ถ่ายทอดความรู้
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสามารถนำไป ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
4.3 ฝึกอบรม สัมมนาทางวิชาการ
ถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับงานวิเคราะห์ วิจัย และทดสอบทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาต่างๆ
เพื่อพัฒนาและให้ความรู้ที่ ถูกต้อง และมีประโยชน์อย่างสูงสุดแก่ผู้ประกอบการ ประชาชนที่สนใจทั่วไป
และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1.
มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ ระดับปฏิบัติการ และ
2.
ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ และ
ปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้อง ปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1.
ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1. ความรู้ที่จำเป็นในงาน
(ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 4
1.2. ความรู้เรื่องกฎหมาย
(ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.3. ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ระดับ 3
1.4. ความรู้เรื่องการจัดการความรู้
ระดับ 3
1.5. ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร
ระดับ 2
1.6. ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ
ระดับ 2
1.7. ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน
ระดับ 2
1.8. ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ
เช่น การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม(EIA),การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA)ฯลฯ ระดับ 5
1.9. ความรู้เรื่องการบริหารจัดการฮาร์ดแวร์(Hardware)ซอฟต์แวร์(Software) และเน็ตเวิร์ก(Network) ระดับ 3
2.
ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล
ระดับ 3
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
ระดับ 3
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ
3
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ
ระดับ 3
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอและถ่ายทอดความรู้
ระดับ 4
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน
ระดับ 3
2.7 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ
ระดับ 3
2.8 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์
ระดับ 4
3.
สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 4
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 3
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 3
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 4
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 4
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การคิดวิเคราะห์ ระดับ 4
3.2.2 การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ ระดับ 4
3.2.3 ความคิดสร้างสรรค์ ระดับ 4
3.2.4 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 4
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น