นักวิชาการประมง



มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 3402
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
สายงาน วิชาการประมง
ลักษณะงาน โดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานทางวิชาการประมง ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ เกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับสัตว์น้ำและพืช เพื่อวางมาตรการในการอนุรักษ์ทรัพยากรการ พัฒนาและบริหารการประมงให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ค้นคว้า ทดลอง เกี่ยวกับการผสมเทียม เพาะเลี้ยงและ คัดเลือกพันธุ์ เพื่อปรับปรุงให้คุณลักษณะดีขึ้น ค้นคว้าวิจัยคุณค่าทางอาหาร โรคพยาธิและศัตรูอื่นของสัตว์น้ำ เทคนิคต่างๆ ในการเลี้ยงสัตว์น้ำ ตลอดจนการสำรวจแหล่งประมงทั้งภายในประเทศและในน่านน้ำสากล และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

ชื่อตำแหน่งในสายงาน และระดับตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้
นักวิชาการประมง ระดับปฏิบัติการ
นักวิชาการประมง ระดับชำนาญการ
นักวิชาการประมง ระดับชำนาญการพิเศษ
นักวิชาการประมง ระดับเชี่ยวชาญ
                                                               ก.จ. กำหนดเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558
---------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน วิชาการประมง
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักวิชาการประมง
ระดับตำแหน่ง ระดับปฏิบัติการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานด้านวิชาการประมง ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ในสาขาประมงทุกด้านที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำและแหล่งน้ำตาม พระราชบัญญัติประมง รวมทั้งระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนางานและอาชีพประมงให้มี ประสิทธิภาพ
1.2 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และประเมินเทคโนโลยีด้านการประมง เพื่อกำหนดระบบ และรูปแบบของการผลิตสัตว์น้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มคุณภาพผลิตผลที่ได้จากการเพาะเลี้ยง
1.3 สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เกี่ยวกับทรัพยากรสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อมใน ระบบนิเวศทางทะเลชายฝั่ง วิเคราะห์คุณสมบัติของน้ำ อาหารธรรมชาติของปลา ตลอดจนสภาพแวดล้อมของ แหล่งน้ำในด้านนิเวศวิทยาของปลา เพื่อปรับปรุงแหล่งน้ำ และเพิ่มผลผลิต หรือผสมเทียมสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทาง เศรษฐกิจ ทดลองการผสมและให้อาหารสัตว์น้ำให้ได้สัดส่วนถูกต้อง
1.4 ตรวจรับรองกระบวนการผลิตสัตว์น้ำและตรวจสอบผลผลิตจากการทำการประมง ให้ได้มาตรฐานด้านความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและผู้ผลิตตลอดจนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
1.5 ดำเนินการตามแผนการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อม
1.6 ดำเนินการและแก้ปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานด้านการประมงเพื่อให้งาน และอาชีพการประมงมีความยั่งยืนและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
1.7 สำรวจและรวบรวมข้อมูลด้านงานประมง จัดทำทะเบียนชาวประมง ตลอดจน การจัดเขตพื้นที่แหล่งน้ำ เพื่อการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรประมงและเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในพื้นที่ให้ ครอบคลุมอย่างทั่วถึง
1.8 สรุปรายงานเสนอแนะแนวทางการดำเนินงาน การศึกษาวิเคราะห์ วิจัย และ ตรวจสอบแก้ปัญหาด้านประมงเพื่อพัฒนาคุณภาพงานให้สูงสุด ถ่ายทอดความรู้ด้านประมงแก่เจ้าหน้าที่ระดับ รองลงมา เช่น ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน วางแผนโครงการกำหนดหลักสูตรและฝึกอบรม จัดทำคู่มือ ประจำสำหรับการฝึกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ใน การปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อบังคับที่กำหนด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้ เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
3.2 ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานประมงในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชนหรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบข้อมูล และความรู้เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาและเพื่อให้การบริการเกิดความสะดวก มีความรวดเร็วและโปร่งใส
4.2 จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบ สารสนเทศที่เกี่ยวกับงานประมง เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการ พิจารณา กำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรฐานต่างๆ
4.3 เสนอแนะเกี่ยวกับการวางมาตรการอนุรักษ์สัตว์น้ำ เผยแพร่ความรู้และสาธิต เทคนิคการเลี้ยงปลาและสัตว์น้ำอื่น ให้แก่ผู้ประกอบอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและประชาชนทั่วไป
4.4 พัฒนาเอกสารวิชาการ คู่มือเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานในหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง เกษตรศาสตร์ การประมง การจัดการประมง ชีววิทยาประมง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ วิทยาศาสตร์ทางทะเล เคมี ชีววิทยา วิทยาศาสตร์การประมง หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก. อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
2. ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง เกษตรศาสตร์ การประมง การจัดการประมง ชีววิทยาประมง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ วิทยาศาสตร์ทางทะเล เคมี ชีววิทยา วิทยาศาสตร์การประมง หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก. อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
3. ได้รับปริญญาเอกหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง เกษตรศาสตร์ การประมง การจัดการประมง ชีววิทยาประมง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ วิทยาศาสตร์ทางทะเล เคมี ชีววิทยา วิทยาศาสตร์การประมง หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก. อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1.       ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
          1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัระดับ 1
          1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 1
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 1
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 1
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 1
1.8 ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ ระดับ 1
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 1
2.ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 1
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 1
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 1
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 1
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอและถ่ายทอดความรู้ ระดับ 1
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 1
2.7 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 1
3.สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย  
          3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ  
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 1
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 1
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 1
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 1
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 1
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน     
3.2.1    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 1
3.2.2    การวางแผนและการจัดการ        ระดับ 1
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 1
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 1
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 1
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน วิชาการประมง
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักวิชาการประมง
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูงในงานวิชาการประมง ปฏิบัติงาน ที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูงในงานวิชาการประมง ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ในสาขาประมงทุกด้านที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำและแหล่งน้ำ พระราชบัญญัติประมง รวมทั้งระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความซับซ้อนต้องอาศัยความรู้ทาง วิชาการ หรือประสบการณ์สูง เพื่อพัฒนางานประมงให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
1.2 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และประเมินเทคโนโลยีด้านการประมง เพื่อกำหนดระบบ และรูปแบบของการผลิตสัตว์น้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มคุณภาพผลิตผลที่ได้จากการเพาะเลี้ยง
1.3 สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เกี่ยวกับทรัพยากรสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อมในระบบ นิเวศทางทะเลชายฝั่งในรายละเอียดที่มีความซับซ้อนต้องอาศัยความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์สูง
1.4 วิเคราะห์จัดทำแผนงานและดำเนินการการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อม
1.5 ควบคุม กำกับดูแลการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นไปตามพ.ร.บ.ประมง รวมทั้งระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการปฏิบัติงาน
1.6 ตรวจสอบ ติดตามและควบคุมกระบวนการผลิตให้ถูกสุขลักษณะมาตรฐานที่กำหนด
1.7 สำรวจและรวบรวมข้อมูลด้านงานประมง จัดทำทะเบียนชาวประมง ตลอดจน
การจัดเขตพื้นที่แหล่งน้ำ เพื่อการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรประมงและเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในพื้นที่ให้ ครอบคลุมอย่างทั่วถึง
1.8 กำหนด/เสนอแนะ แนวทางหรือวิธีการวิเคราะห์วิจัย ประมวลรายงานการ วิเคราะห์วิจัยจากหลายๆ โครงการ เพื่อจัดทำรายงานขั้นสุดท้าย ถ่ายทอดความรู้ด้านงานประมงแก่เจ้าหน้าที่ ระดับรองลงมา เช่น ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฝึกอบรม จัดทำ คู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็น ประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อบังคับที่กำหนด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานตามแผนงานหรือโครงการของหน่วยงาน ระดับสำนักหรือกอง และแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่ กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันโดยมีบทบาทในการให้ความเห็นและคำแนะนำ เบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือหน่วยงานอื่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ให้ข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำเบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือบุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
4.1 เผยแพร่ ให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการและสาธิตเทคนิคเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำ ให้ผู้ประกอบอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และประชาชนทั่วไปทราบวิธีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ให้ผล ผลิตและประสิทธิภาพสูงสุด
4.2 พัฒนาเอกสารวิชาการ คู่มือเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบ
4.3 เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการต่างๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง เพื่อให้การดำเนินการ ต่างๆมีประสิทธิภาพสูงสุด
4.4 ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับงานในหน้าที่
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการประมง ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และปฏิบัติงาน ด้านวิชาการประมง หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี กำหนดเวลา 6 ปี ให้ลดเป็น 4 ปี สำหรับผู้มีคุณ สมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง นักวิชาการประมง ระดับปฏิบัติการ ข้อ 2 และให้ลดเป็น 2 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการประมง ระดับปฏิบัติการ ข้อ 3 หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านวิชาการประมง หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ค วามรู้ค วามสามารถที่ต้องการ
1.       ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
          1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 3
          1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 2
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 2
1.8 ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ ระดับ 2
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 2
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 2
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 2
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 2
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 2
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอและถ่ายทอดความรู้ ระดับ 2
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 2
 2.7 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 2
3.สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย  
          3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ  
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 2
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 2
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 2
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 2
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 2
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน     
3.2.1    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 2
3.2.2    การวางแผนและการจัดการ        ระดับ 2
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 2
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 2
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 2
--------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน วิชาการประมง
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักวิชาการประมง
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญการพิเศษ
หน้าที่และความรับผิด ชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในงานวิชาการประมง ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญในงานสูงมากในงานวิชาการประมง ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ในสาขาประมงทุกด้านที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำและแหล่งน้ำ พระราชบัญญัติประมง รวมทั้งระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องที่ยากและมีความซับซ้อนที่ต้องอาศัย ความรู้ทางวิชาการ หรือประสบการณ์สูง และมีการค้นคว้าอ้างอิงหรือใช้ข้อมูลจากภายนอก เพื่อพัฒนา วิชาการประมงของไทยให้ก้าวหน้าทัดเทียมกับต่างประเทศ
1.2 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของทรัพยากรสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อม ในระบบนิเวศทางทะเลชายฝั่งที่ต้องรวบรวมองค์ความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์ทั่วประเทศ
1.3 ควบคุม กำกับดูแลการปฏิบัติงานประมง ให้เป็นไปตามระเบียบและกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์ มติ ครม. และเพื่อความสะดวกในการติดตามผลการแก้ไขปัญหาต่างๆ 1.4 พิจารณา สรุป รายงาน และดำเนินการปฏิบัติงานที่ต้องมีความชำนาญพิเศษ
เกี่ยวกับงานประมง เพื่อประโยชน์ต่อการวางแผนแนวทาง หรือมาตรการของหน่วยงาน
1.5 ดำเนินการแก้ปัญหาข้อขัดข้องต่างๆ ในการปฏิบัติงานวิเคราะห์ วิจัยด้านวิชาการ ประมง เพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมาในการปฏิบัติงาน
1.6 วางแนวทาง ทิศทางการศึกษา หรือวิธีการวิเคราะห์วิจัย ประมวลรายงานการ วิเคราะห์วิจัยจากหลายๆ โครงการต่อผู้ใต้บังคับบัญชาของตน เพื่อจัดทำรายงานขั้นสุดท้าย วิจัยเฉพาะเรื่อง
1.7 ประเมินผลการดำเนินงานในโครงการต่างๆ หรือการดำเนินการค้นคว้าทาง วิชาการประมงของกอง/สำนัก เพื่อเสนอผู้บริหารระดับสูง
1.8 ประสานงานในระดับกองหรือสูงกว่ากอง กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือ ประชาชนทั่วไป เพื่อขอความร่วมมือในงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้และประสบการณ์ที่จะนำไปสู่ การแก้ปัญหาแบบบูรณาการ ทำให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน
1.9 ถ่ายทอดความรู้ด้านงานประมงแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำปรึกษา แนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฝึกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรม และวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตาม มาตรฐานและข้อบังคับที่กำหนด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนงาน โครงการของหน่วยงานระดับสำนักหรือกอง มอบหมายงาน แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานและติดตามประเมินผลเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่ กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานสัมพันธ์กับสมาชิกในทีมงานโดยมีบทบาทในการชี้แนะ จูงใจ ทีมงานหรือ หน่วยงานอื่นในระดับกองหรือสำนักเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ชี้แจง ให้ข้อคิดเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการหรือคณะทำงานต่างๆ เพื่อเป็น ประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
4. ด้านการบริการ
4.1 ฝึกอบรมเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและวิธีการของงาน ใน ความรับผิดชอบ และสาธิตเทคนิคการประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแก่ชาวประมง และประชาชนทั่วไป เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านเทคนิคการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในหมู่ประชาชน
4.2 พัฒนาเอกสารวิชาการ คู่มือเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบ เพื่อให้ความรู้แก่ เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมาในการปฏิบัติงานวิชาการประมง
4.3 ให้คำแนะนำในการกำหนดนโยบายและแผนงานด้านวิชาการประมงเพื่อ ประกอบการตัดสินใจและการกำหนดนโยบายด้านงานประมงของผู้บริหารและเพื่อตอบปัญหาชี้แจงเกี่ยวกับ งานในหน้าที่
4.4 ให้คำปรึกษา และประเมินผลการศึกษาวิจัย เกี่ยวกับทรัพยากรสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อม
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการประมง ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และปฏิบัติงาน ด้านวิชาการประมง หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วน้อยกว่า 4 ปี หรือ ดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงานด้าน วิชาการประมง หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1      ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.2      ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ)   ระดับ 3
1.3      ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว      ระดับ 4
1.4      ความรู้เรื่องการจัดการความรู้       ระดับ 3
1.5      ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร          ระดับ 2
1.6      ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ    ระดับ 2
          1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 3
1.8 ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ ระดับ 2
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 3
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 3
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 3
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 3
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 3
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอและถ่ายทอดความรู้ ระดับ 3
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 3
2.7 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 3
3.สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย  
          3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ  
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 3
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 3
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 3
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 3
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 3
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน     
3.2.1    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 3
3.2.2    การวางแผนและการจัดการ        ระดับ 3
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 3
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 3
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 3
 -------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน วิชาการประมง
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักวิชาการประมง
ระดับตำแหน่ง ระดับเชี่ยวชาญ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการประมง ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการ ที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
          ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการประมง ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการ ที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ในสาขาประมงทุกด้านที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำและแหล่งน้ำ พระราชบัญญัติประมง รวมทั้งระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องที่ยากและมีความซับซ้อนที่ต้องอาศัย ความเชี่ยวชาญทางวิชาการ หรือประสบการณ์สูง เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง
1.2 ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ และวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการประมงและความ เปลี่ยนแปลงของผลผลิตสัตว์น้ำ ศึกษาแนวทางการพัฒนาการประมงให้ถูกต้องตามหลักวิชาการประมงเพื่อให้ ผลผลิตยังคงสมบูรณ์และมีกำลังผลิตตลอดไป
1.3 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของทรัพยากรสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อม ในระบบนิเวศทางทะเลชายฝั่งที่ต้องรวบรวมองค์ความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์สูงทั่วประเทศ และ ต่างประเทศ
1.4 วิเคราะห์เพื่อกำหนดแผนนโยบายและแผนการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อม
1.5 วางแนวทางในภาพกว้างของงานศึกษาวิจัยด้านวิชาการประมง เพื่อเป็นแนวทาง
ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาในการศึกษา วิเคราะห์ หรือวิจัยในลำดับต่อไป
1.6 เสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง และความ หลากหลายทางชีวภาพ
1.7 ควบคุมการตรวจสอบ ดูแลมาตรฐานและคุณภาพของแผนงานและนโยบายของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านวิชาการประมงเพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชาการ
1.8 ติดตามประเมินผลการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในโครงการต่างๆ หรือการดำเนินการค้นคว้าทางวิชาการ
1.9 เสนอแนะรูปแบบและเทคนิคการประมง วินิจฉัยปัญหา และเสนอแนะแนวทางใน การแก้ไขปัญหาที่สำคัญทางการประมง เพื่อพัฒนาการประมงที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการพัฒนาองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดและประเทศ
2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผน โดยเชื่อมโยงหรือบูรณาการแผนงาน โครงการใน ระดับกลยุทธ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มอบหมายงานแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานติดตาม ประเมินผล เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานโครงการต่างๆ กับบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรอื่น โดยมี บทบาทในการจูงใจ โน้มน้าวเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ให้ข้อคิดเห็น และคำแนะนำแก่หน่วยงานระดับกอง หรือสำนักรวมทั้งที่ประชุม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำปรึกษาแนะนำในการกำหนดนโยบาย และแผนงานด้านวิชาการประมง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย แผนงาน และงบประมาณ ในการตัดสินใจของผู้บริหาร รวมทั้ง เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการศึกษา วิจัย การทำธุรกิจเพื่อการส่งออก
4.2 ให้คำปรึกษา และแนะนำในด้านการประเมินผลการศึกษาวิจัย เกี่ยวกับ ทรัพยากรสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อม
4.3 อำนวยการถ่ายทอดฝึกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้แก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูล ความรู้ต่างๆ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการประมง ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ และ ปฏิบัติงานด้านวิชาการประมง หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วน้อยกว่า 2 ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้อง ปฏิบัติงานด้านวิชาการประมง หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1      ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 4
1.2      ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ)   ระดับ 3
1.3      ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว      ระดับ 5
1.4      ความรู้เรื่องการจัดการความรู้       ระดับ 3
1.5      ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร          ระดับ 2
1.6      ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ    ระดับ 2
1.7      ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน    ระดับ 3
1.8      ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์     ระดับ 2
1.9      ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ       ระดับ 3
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 3
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 3
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 3
2.4 ทักษะการบริหารโครงกา รระดับ 4
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอและถ่ายทอดความรู้ ระดับ 4
 2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 3
2.7 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 3
3.สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย  
          3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ  
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 4
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 4
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 4
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 4
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 4
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน     
3.2.1    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 4
3.2.2    การวางแผนและการจัดการ        ระดับ 4
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 4
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 4
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 4

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สันทนาการ

ช่างศิลป์

เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว