นักสังคมสงเคราะห์
มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 3802
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
สายงาน สังคมสงเคราะห์
ลักษณะงาน โดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่างๆ ที่ปฏิบัติงานทางสังคมสงเคราะห์ ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ เกี่ยวกับการศึกษา การสำรวจ การสัมภาษณ์ การสอบประวัติ และการวิเคราะห์ข้อมูล ปัญหา ข้อเท็จจริง และ สาเหตุต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งดำเนินการให้คำปรึกษา คำแนะนำ ความรู้ การบริการ ความช่วยเหลือ การ แก้ไขปัญหา และดำเนินการสังคมสงเคราะห์ในด้านต่างๆ ที่ถูกต้อง และเหมาะสมตามหลักการสังคมสงเคราะห์ แก่ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม หรือผู้มีปัญหาทางสังคมต่างๆ เช่น เด็ก วัยรุ่น คนชรา คนขอทาน โสเภณี ผู้ต้องขัง ผู้ป่วย คนพิการและทุพพลภาพ และประชาชนทั่วไปที่ไม่สามารถจะแก้ไขปัญหาของตัวเองและครอบครัว ผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือผู้ตกทุกข์ได้ยากในกรณีต่างๆ อันจะมีผลกระทบกระเทือนต่อชุมชน และ สังคมโดยส่วนรวม เพื่อให้ผู้รับการสงเคราะห์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถพึ่งตนเองในสังคมได้อย่างมี ความสุข และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ชื่อตำแหน่งในสายงาน และระดับตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้
นักสังคมสงเคราะห์ ระดับปฏิบัติการ
นักสังคมสงเคราะห์ ระดับชำนาญการ
นักสังคมสงเคราะห์ ระดับชำนาญการพิเศษ
นักสังคมสงเคราะห์ ระดับเชี่ยวชาญ
ก.จ. กำหนดเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน สังคมสงเคราะห์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักสังคมสงเคราะห์
ระดับตำแหน่ง ระดับปฏิบัติการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ค้นหาข้อเท็จจริง สัมภาษณ์ สอบประวัติ เยี่ยมบ้าน ติดตาม สืบเสาะหาข้อเท็จจริง รวมทั้งศึกษาชุมชน และประเมินสภาวะทางสังคมเบื้องต้นเพื่อวินิจฉัย ประกอบการพิจารณา ให้การสงเคราะห์ ช่วยเหลือ และให้บริการทางสังคมแก่กลุ่มเป้าหมายในระดับบุคคล ครอบครัว กลุ่ม และชุมชน
1.2 ให้บริการการปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ บำบัด ฟื้นฟู ป้องกัน ปกป้อง คุ้มครอง และพัฒนากลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขได้
1.3 ให้คำปรึกษา คำแนะนำ ความรู้ การบริการ ความช่วยเหลือ การแก้ไขปัญหา และดำเนินการสังคมสงเคราะห์ในด้านต่างๆ ที่ถูกต้อง เหมาะสม และสอดคล้องกับปัญหาและตรงตามความ ต้องการของผู้รับการสงเคราะห์ เพื่อให้ผู้รับการสงเคราะห์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ และอยู่ ในสังคมได้อย่างมีความสุข
1.4 รวบรวม ประมวล สรุป จัดลำดับความสำคัญและความรุนแรงของปัญหา รวมทั้ง วิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบของปัญหา เพื่อประกอบการวางแผนให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา พิทักษ์ สิทธิ และพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเป้าหมาย
1.5 สำรวจ รวบรวม ศึกษา สรุปจัดทำรายงาน รวมทั้งประมวล และวิเคราะห์ข้อมูล ทางวิชาการ สถานการณ์และปัญหาด้านสังคม เพื่อประกอบการวิจัย การจัดทำฐานข้อมูล การวางแผน การจัดทำหลักเกณฑ์มาตรฐานและการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์
1.6 ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาคุณภาพชีวิต และจัดสวัสดิการต่างๆ แก่ผู้รับการ สงเคราะห์ เพื่อให้ผู้รับการสงเคราะห์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ได้รับสวัสดิการที่เหมาะสม สามารถพึ่งพาตนเองได้ และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
1.7 รวบรวม จัดเก็บข้อมูล สถิติเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสังคมสงเคราะห์ เพื่อประกอบการจัดทำเครื่องมือทางสังคมสงเคราะห์ คู่มือ แนวทางปฏิบัติ เอกสารวิชาการ สื่อเพื่อนำไปใช้ใน การดำเนินงานด้านสังคมสงเคราะห์
1.8 จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์และปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อประกอบการ พัฒนาและวางแผนด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.9 ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2. ด้านการวางแผน
2.1 วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
2.2 เสนอแนะข้อมูล แนวทาง และวิธีการต่างๆ ประกอบการวางแผนงานด้านการ สังคมสงเคราะห์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนงาน การกำหนดแผนการ แนวทาง หลักเกณฑ์ หรือ มาตรการต่างๆ ของหน่วยงาน
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำแนะนำและให้บริการทางวิชาการแก่บุคคล หน่วยงานและองค์กรต่างๆ เกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินงานด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ เพื่อพัฒนาความรู้ เทคนิค ทักษะ ในการดำเนินงานและพัฒนาบริการด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์
4.2 ให้บริการข้อมูล เอกสาร ตำรา สื่อ และคู่มือในรูปแบบต่าง ๆ เกี่ยวกับการ สวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์แก่ครอบครัว กลุ่ม ชุมชน องค์กร หน่วยงานภาครัฐ เอกชน เครือข่าย ประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และเพื่อประโยชน์ในการจัดบริการทางสังคมและ การให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเป้าหมายอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
4.3 ร่วมจัดการฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้แก่บุคลากรภายในหน่วยงาน ครอบครัว กลุ่ม ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ เอกชน เครือข่ายและประชาชนทั่วไปเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความ ต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ สังคมวิทยา รัฐศาสตร์ สังคมวิทยาและ มานุษยวิทยา จิตวิทยา หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็น คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
2. ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ สังคมวิทยา รัฐศาสตร์ สังคมวิทยาและ มานุษยวิทยา จิตวิทยา หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็น คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
3. ได้รับปริญญาเอกหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ สังคม วิทยา รัฐศาสตร์ สังคมวิทยาและ มานุษยวิทยา จิตวิทยา หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็น คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 1
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 1
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 1
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 1
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 1
1.8 ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ ระดับ 1
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 2
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 1
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 1
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 1
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 1
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 1
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 1
2.7 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 1
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 1
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 1
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 1
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 1
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 1
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การคิดวิเคราะห์ ระดับ 1
3.2.2 การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ ระดับ 1
3.2.3 การให้ความรู้และสร้างสัมพันธ์ ระดับ 1
3.2.4 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 1
3.2.5 ศิลปะการโน้มน้าวจูงใจ ระดับ 1
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน สังคมสงเคราะห์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักสังคมสงเคราะห์
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูงในงานวิชาการสังคมสงเคราะห์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูงในงานวิชาการสังคมสงเคราะห์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ค้นหาข้อเท็จจริง สัมภาษณ์ สอบประวัติ เยี่ยมบ้าน ติดตาม สืบเสาะหา ข้อเท็จจริง ประเมิน วิเคราะห์ และวินิจฉัยทางสังคม รวมทั้งวางแผน และการจัดการรายกรณี เพื่อให้ กลุ่มเป้าหมายในระดับบุคคล ครอบครัว กลุ่ม ชุมชนได้รับบริการที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพ
1.2 ให้บริการการปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ บำบัด ฟื้นฟู ป้องกัน ปกป้อง คุ้มครอง และพัฒนากลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้สามารถป้องกันตนเองจากความเสี่ยง รวมทั้งพัฒนาและพึ่งตนเองและอยู่ใน สังคมอย่างมีความสุขได้
1.3 ศึกษา วิเคราะห์ปัญหา ระดับความรุนแรง และปัจจัยที่เป็นสาเหตุของปัญหา รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อวางแผนให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา พิทักษ์สิทธิและพัฒนาคุณภาพชีวิต กลุ่มเป้าหมายอย่างสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการ
1.4 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำรายงานและฐานข้อมูล รวมทั้งประมวลข้อมูลทาง วิชาการ สถานการณ์ และปัญหาด้านสังคม เพื่อวางแผน จัดทำหลักเกณฑ์มาตรฐาน การปรับปรุงให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น และการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์
1.5 ควบคุม และดูแลการส่งเสริม การสนับสนุน การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการจัด สวัสดิการต่างๆ แก่ผู้รับการสงเคราะห์ เพื่อให้ผู้รับการสงเคราะห์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ได้รับสวัสดิการที่ เหมาะสม สามารถพึ่งพาตนเองได้ และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
1.6 ร่วมพัฒนาเนื้อหาองค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทำงานด้านสังคมสงเคราะห์เพื่อ ประกอบการสร้างและพัฒนาเครื่องมือทางสังคมสงเคราะห์ คู่มือ แนวทางปฏิบัติ เอกสารวิชาการและสื่อใน การดำเนินงานด้านสังคมสงเคราะห์ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.7 ประมวล วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์และปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย และเสนอ ความเห็น เพื่อวางแผนด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
1.8 กำกับ ติดตาม ดูแลการประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรม และ การจัดบริการทางสังคมของหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกเพื่อให้ทราบผลการดำเนินงานและนำมาปรับปรุง ระบบงานและการให้บริการด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตาม มาตรฐานหรือเป้าหมายที่กำหนด
1.9 ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน และแก้ไขปัญหา ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแก่บุคลากรในระดับรองลงมาในสายงาน ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การ ดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด
1.10 ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2. ด้านการวางแผน
2.1 วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานตามแผนงานหรือโครงการของ หน่วยงาน และแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
2.2 พัฒนาและวางแผนมาตรฐานงานบริการสังคมสงเคราะห์ให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดแผนงาน แนวทาง นโยบาย หลักเกณฑ์ หรือมาตรการต่างๆ ของ หน่วยงาน
2.3 เสนอแนะวิธีการแก้ไขและปรับปรุงงานสังคมสงเคราะห์ เพื่อให้สามารถฟื้นฟู ช่วยเหลือ และให้บริการแก่ผู้รับการสงเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
2.4 ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงาน การวางแผนงาน เพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2.5 จัดทำแผนงานงบประมาณ โครงการ แผนการดำเนินงานประจำปี(เทศบัญญัติ
งบประมาณ)
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันโดยมีบทบาทในการให้ความเห็นและคำแนะนำ
เบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือหน่วยงานอื่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ให้ข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำเบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือบุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำแนะนำ ชี้แนะ ช่วยแก้ไขปัญหา และให้บริการทางวิชาการ ในเรื่องที่มี ความซับซ้อนแก่บุคคล หน่วยงานและองค์กรต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้ เทคนิค ทักษะในการดำเนินงานและ พัฒนาการให้บริการและความช่วยเหลือแก่กลุ่มเป้าหมาย
4.2 ให้บริการระบบฐานข้อมูล สถิติ เอกสาร ตำรา สื่อและคู่มือในรูปแบบต่างๆ เกี่ยวกับการสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์แก่ครอบครัว กลุ่ม ชุมชน องค์กร หน่วยงานภาครัฐ เอกชน เครือข่าย ประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และเพื่อประโยชน์ในการจัดบริการและการให้ ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเป้าหมาย ครอบครัวและชุมชนอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
4.3 จัดการฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้ด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์แก่ บุคลากรภายในหน่วยงาน ครอบครัว กลุ่มชุมชน หน่วยงานภาครัฐ เอกชน เครือข่าย และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในการดำเนินงานและสังคมสงเคราะห์ในพื้นที่ และชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพ สอดคล้องกับ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และปฏิบัติงาน ด้านสังคมสงเคราะห์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี กำหนดเวลา 6 ปี ให้ลดเป็น 4 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง นักสังคมสงเคราะห์ ระดับปฏิบัติการ ข้อ 2 และให้ลดเป็น 2 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ ระดับปฏิบัติการ ข้อ 3 หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 2
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 2
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 2
1.8 ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ ระดับ 2
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 3
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 2
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 2
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 2
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 2
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 2
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 2
2.7 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 2
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 2
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 2
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 2
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 2
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 2
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การคิดวิเคราะห์ ระดับ 2
3.2.2 การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ ระดับ 2
3.2.3 การให้ความรู้และสร้างสัมพันธ์ ระดับ 2
3.2.4 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 2
3.2.5 ศิลปะการโน้มน้าวจูงใจ ระดับ 2
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน สังคมสงเคราะห์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักสังคมสงเคราะห์
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญการพิเศษ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในงานวิชาการสังคม สงเคราะห์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญในงานสูงมากในงานวิชาการสังคมสงเคราะห์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 วางแนวทางและดำเนินการค้นหาข้อเท็จจริง สัมภาษณ์ สอบประวัติ เยี่ยมบ้าน ติดตาม สืบเสาะหาข้อเท็จจริง ประเมิน วิเคราะห์ ในกรณีที่มีความรุนแรง หรืออยู่ในภาวะวิกฤต รวมทั้ง วางแผน และการจัดการรายกรณี เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย ในระดับบุคคล ครอบครัว กลุ่ม ชุมชนได้รับบริการที่ เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
1.2 กำกับ ดูแล ติดตาม ให้บริการการปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ บำบัด ฟื้นฟู ป้องกัน ปกป้อง คุ้มครอง และพัฒนากลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองและอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ภาย ใต้ ระบบคุ้มครองทางสังคมที่ดี
1.3 ศึกษา วิเคราะห์ปัญหา ระดับความรุนแรง และปัจจัยที่เป็นสาเหตุของปัญหา รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อวางแนวทางการให้ความช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหา พิทักษ์สิทธิ์และพัฒนา คุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
1.4 ศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนาองค์ความรู้และฐานข้อมูล รวมทั้งกำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์ มาตรฐาน และพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ เพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ให้ตอบสนองกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
1.5 ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการส่งเสริม การสนับสนุน การพัฒนา คุณภาพชีวิต และการจัดสวัสดิการต่างๆ แก่ผู้รับการสงเคราะห์ เพื่อให้ผู้รับการสงเคราะห์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ได้รับสวัสดิการที่เหมาะสม สามารถพึ่งพาตนเองได้ และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
1.6 ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดทำข้อมูล เอกสาร และรายงาน ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้านสังคมสงเคราะห์ เพื่อเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุง และพัฒนางานด้านสังคม สงเคราะห์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
1.7 พัฒนาและปรับปรุงระบบงานด้านสังคมสงเคราะห์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความ มั่นใจว่าระบบงานที่ตั้งไว้สามารถสนับสนุนส่วนงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความ ต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสภาวการณ์ปัจจุบัน
1.8 สร้างและพัฒนาเครื่องมือทางสังคมสงเคราะห์ คู่มือ แนวทางปฏิบัติ เอกสาร วิชาการ สื่อเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงานด้านสังคมสงเคราะห์และนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพสูงสุด
1.9 จัดทำข้อเสนอแผนด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ เพื่อวางแนวทางการ ดำเนินงานด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพและกลุ่มเป้าหมายและประชาชนได้รับ บริการและความช่วยเหลือที่มีคุณภาพสอดคล้องกับสภาพการณ์
1.10 วางแนวทางในการประเมินผล รวมทั้งกำกับ ติดตาม ดูแลการดำเนินงานตาม โครงการและกิจกรรม รวมถึงการจัดบริการทางสังคมของหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกเพื่อให้ทราบผลการ ดำเนินงานและนำมาพัฒนาระบบงานและการให้บริการด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ ให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
1.11 ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน และแก้ไขปัญหา ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแก่บุคลากรในระดับรองลงมาในสายงาน ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การ ดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด
1.12 ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2. ด้านการวางแผน
2.1 วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนงาน โครงการของหน่วยงานระดับสำนักหรือ กอง มอบหมายงาน แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานและติดตามประเมินผลเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ ที่กำหนด
2.2 ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะในการกำหนดนโยบายการพัฒนางานด้านสังคม สงเคราะห์ เพื่อให้สามารถวางแผนการดำเนินโครงการ กิจกรรม และแนวทางการปฏิบัติงานให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด
2.3 กำหนดแนวทางการพัฒนาและวางแผนงานด้านสังคมสงเคราะห์ เพื่อให้มีแนวทาง และแผนงานที่สอดคล้องกับนโยบาย เป้าหมาย และกลยุทธ์ที่องค์กรกำหนดไว้
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานสัมพันธ์กับสมาชิกในทีมงานโดยมีบทบาทในการชี้แนะ จูงใจ ทีมงานหรือ หน่วยงานอื่นในระดับกองหรือสำนักเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ชี้แจง ให้ข้อคิดเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการหรือคณะทำงานต่างๆเพื่อเป็น ประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำปรึกษา แนะนำ และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาสำคัญด้านสวัสดิการ สังคมและสังคมสงเคราะห์แก่หน่วยงาน องค์กร และประชาชน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการให้บริการและการ ให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเป้าหมาย
4.2 วางแนวทางในการให้บริการระบบฐานข้อมูล สถิติ เอกสาร ตำรา สื่อและคู่มือใน รูปแบบต่างๆ เกี่ยวกับการสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์แก่ครอบครัว กลุ่ม ชุมชน องค์กร หน่วยงาน ภาครัฐ เอกชน เครือข่าย ประชาชนทั่วไปและผู้สนใจ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และเพื่อประโยชน์ในการ จัดบริการและการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเป้าหมาย ครอบครัวและชุมชนอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
4.3 วางแนวทาง อำนวยการและเป็นวิทยากรในการฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้ รวมทั้งนิเทศงานด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์แก่บุคลากรภายในหน่วยงาน ครอบครัว กลุ่ม ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ เอกชน เครือข่าย และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และพัฒนาศักยภาพ และขีดความสามารถในการดำเนินงานด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ในพื้นที่และชุมชนอย่างมี ประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และปฏิบัติงาน ด้านสังคมสงเคราะห์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงาน ด้านสังคมสงเคราะห์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ค วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 3
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 3
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 3
1.8 ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ ระดับ 3
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 4
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 3
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 3
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 3
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 3
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 3
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 3
2.7 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 3
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 3
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 3
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 3
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 3
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 3
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การคิดวิเคราะห์ ระดับ
3.2.2 การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ ระดับ
3.2.3 การให้ความรู้และสร้างสัมพันธ์ ระดับ
3.2.4 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ
3.2.5 ศิลปะการโน้มน้าวจูงใจ ระดับ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน สังคมสงเคราะห์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักสังคมสงเคราะห์
ระดับตำแหน่ง ระดับเชี่ยวชาญ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการสังคมสงเคราะห์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทาง วิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการสังคมสงเคราะห์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือ แก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ให้คำปรึกษาแนะนำ และดำเนินการค้นหาข้อเท็จจริง สัมภาษณ์ สอบประวัติ เยี่ยมบ้าน ติดตาม สืบเสาะหาข้อเท็จจริง ประเมิน วิเคราะห์ ในกรณีที่มีความรุนแรง หรืออยู่ในภาวะวิกฤตที่มี ผลกระทบต่อสังคม รวมทั้งวางแผน และการจัดการรายกรณี เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย ในระดับบุคคล ครอบครัว กลุ่ม ชุมชนได้รับบริการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
1.2 กำหนดแนวทางในการให้บริการการปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ บำบัด ฟื้นฟู ป้องกัน ปกป้อง คุ้มครอง และพัฒนากลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองและอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ภายใต้ระบบคุ้มครองทางสังคมที่ดี
1.3 ศึกษา วิเคราะห์ ปัญหาและพยากรณ์แนวโน้มสถานการณ์ทางสังคม เพื่อกำหนด กลยุทธ์แนวทางความช่วยเหลือพิทักษ์สิทธิและพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายในระดับสังคม
1.4 ศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนาองค์ความรู้ สร้างนวัตกรรม รวมทั้ง ให้คำปรึกษา เกี่ยวกับการพัฒนาระบบฐานข้อมูล การกำหนด ทิศทางแนวทาง หลักเกณฑ์ มาตรฐาน และการพัฒนาระบบ สวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ในภาพกว้าง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทุกระดับ เข้าถึงระบบบริการที่มี คุณภาพอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
1.5 กำหนดแนวทางในการสร้างและพัฒนาเครื่องมือทางสังคมสงเคราะห์ คู่มือ แนวทางปฏิบัติ เอกสารวิชาการ สื่อ เพื่อยกระดับคุณภาพการดำเนินงานด้านสังคมสงเคราะห์
1.6 เสนอความเห็นในการกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบาย ด้านสวัสดิการสังคมและ สังคมสงเคราะห์ เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมของประเทศ
1.7 กำหนดแนวทางการประเมินผลการดำเนินงาน รวมทั้ง ให้คำปรึกษาแนะนำการ ดำเนินงาน ตามโครงการและกิจกรรม รวมถึงการจัดบริการทางสังคมของหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการจัดบริการด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ให้สอดคล้องกับความ ต้องการของกลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นองค์รวม
1.8 บริหารงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญ หรือเทียบเท่า ซึ่งมีหน้าที่และรับผิดชอบในการ ควบคุมและบริหารงานทุกด้านของงานสังคมสงเคราะห์ที่รับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองกับนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.9 ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน และแก้ไขปัญหา ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแก่บุคลากรในระดับรองลงมาในสายงาน ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การ ดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด
1.10 ศึกษาความรู้เทคนิคใหม่ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในงานและวิเคราะห์ถึงปัญหา และข้อบกพร่องในการดำเนินการเพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาและวางกลยุทธ์การปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ ทัน กับสถานการณ์ในปัจจุบัน และสามารถรองรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
2. ด้านการวางแผน
2.1 วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผน โดยเชื่อมโยงหรือบูรณาการแผนงาน โครงการในระดับกลยุทธ์ของส่วนราชการระดับกรม มอบหมายงานแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานติดตาม ประเมินผล เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
2.2 วางแผนการใช้งบประมาณ ทรัพยากร และบุคลากรที่อยู่ในความรับผิดชอบ เพื่อให้สามารถใช้งบประมาณ ทรัพยากร และบุคลกรได้อย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
2.3 วางแผนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภายในหน่วยงาน เพื่อให้บุคลากรเกิดการ พัฒนาและมีความชำนาญงานมากขึ้นอันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานด้านสังคมสงเคราะห์ให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานโครงการต่างๆกับบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรอื่น โดยมี บทบาทในการจูงใจ โน้มน้าวเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ให้ข้อคิดเห็น และคำแนะนำแก่หน่วยงานระดับกอง หรือสำนักรวมทั้งที่ประชุมทั้ง ในและต่างประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
4. ด้านการบริการ
4.1 เสนอความเห็น วินิจฉัย ชี้แจงและตอบปัญหาสำคัญด้านสวัสดิการสังคมและ สังคมสงเคราะห์ที่มีความซับซ้อนแก่หน่วยงาน องค์กรและประชาชนเพื่อพัฒนาบริการและการให้ความ ช่วยเหลือแก่กลุ่มเป้าหมาย
4.2 ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้และการจัดทำและพัฒนา ระบบฐานข้อมูล สถิติ เอกสาร ตำรา สื่อและคู่มือในรูปแบบต่างๆ เกี่ยวกับการสวัสดิการสังคมและสังคม สงเคราะห์แก่ครอบครัว กลุ่ม ชุมชน องค์กร หน่วยงานภาครัฐ เอกชน เครือข่าย ประชาชนทั่วไปและผู้สนใจ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และเพื่อประโยชน์ในการจัดบริการและการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเป้าหมาย ครอบครัวและชุมชนอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
4.3 เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำในการจัดการฝึกอบรมและถ่ายทอดองค์ความรู้ และเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ รวมทั้งนิเทศงานด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์แก่บุคลากรภายใน หน่วยงาน ครอบครัว กลุ่มชุมชน หน่วยงานภาครัฐ เอกชน เครือข่าย และประชาชนทั่วไป เพื่อให้เกิดการ พัฒนางานด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ที่เหมาะสมอย่างยั่งยืน
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ และ ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 4
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 3
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 4
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 4
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 4
1.8 ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ ระดับ 3
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 5
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 34
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 3
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 4
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 4
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 3
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 3
2.7 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 3
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 4
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 4
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 4
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 4
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 4
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การคิดวิเคราะห์ ระดับ 4
3.2.2 การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ ระดับ 4
3.2.3 การให้ความรู้และสร้างสัมพันธ์ ระดับ 4
3.2.4 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 4
3.2.5 ศิลปะการโน้มน้าวจูงใจ ระดับ 4
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น