นักบริหารงานช่างสุขาภิบาล



มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 2108
ตำแหน่งประเภท อำนวยการท้องถิ่น
สายงาน บริหารงานช่างสุขาภิบาล
ลักษณะงาน โดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่างๆ ที่ปฏิบัติงานทางด้านบริหารงานช่างสุขาภิบาล ซึ่งมีลักษณะ งานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการวางโครงการ การรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ในการออกแบบและคำนวณด้าน วิศวกรรมสุขาภิบาล การควบคุม การก่อสร้าง บำรุง รักษา ซ่อมแซม และติดตามผลวิจัยทางด้านวิศวกรรม สุขาภิบาล ควบคุม การวางระบบ ปรับปรุงระบบระบายน้ำ กำจัดน้ำเสียและจัด การสิ่งแวดล้อมทั่วไปรวมถึง เหตุสำคัญอื่นๆ ซึ่งจะทำให้สภาวะแวดล้อมในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นพิษ การประเมินราคา ตรวจ รับงานงวดเพื่อเบิกจ่ายให้บริการตรวจสอบและเป็นที่ปรึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระบบงานช่าง สุขาภิบาล และบริการงานทั่วไปของหน่วยงาน ซึ่งตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้ มีลักษณะขนาดหรืออยู่ในประเภท ตามที่กำหนดไว้สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมและปฏิบัติ หน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องในการบริหารงานช่างสุขาภิบาล ซึ่งจำเป็นต้องให้ผู้มีความรู้ความชำนาญในวิชาช่าง สุขาภิบาล วิชาการทางวิศวกรรมสุขาภิบาลหรือประกอบอาชีพวิศวกรรม ควบคุมสาขาวิศวกรรมสุขาภิบาล
ชื่อตำแหน่งในสายงาน และระดับตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้
นักบริหารงานช่างสุขาภิบาล ระดับต้น
นักบริหารงานช่างสุขาภิบาล ระดับกลาง
นักบริหารงานช่างสุขาภิบาล ระดับสูง

ก.จ. กำหนดเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท อำนวยการท้องถิ่น
ชื่อสายงาน บริหารงานช่างสุขาภิบาล
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักบริหารงานช่างสุขาภิบาล
ระดับตำแหน่ง ระดับต้น
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับกองหรือตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย ที่มีลักษณะงาน เกี่ยวกับการวางแผน บริหารจัดการ จัดระบบงาน อำนวยการ สั่งราชการ มอบหมาย กำกับ แนะนำ ตรวจสอบ ประเมินผลงาน ตัดสินใจ แก้ปัญหาในงานสิ่งแวดล้อมและงานสุขาภิบาลของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งลักษณะ หน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงาน ที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านแผนงาน
1.1 ร่วมวางแผนงาน โครงการ หรือแผนการปฏิบัติงาน รวมทั้งเป้าหมายและ ผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานด้านงานสิ่งแวดล้อมและงานสุขาภิบาล งานระบบระบายน้ำ งานจัดการสิ่งแวดล้อมหรือ งานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแบบแผนในการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สูงสุด
1.2 ร่วมติดตาม เร่งรัด การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้เป็นไปตามแผนงาน/โครงการ หรือแผนการปฏิบัติงาน ตลอดจนประเมินผลและรายงานการดำเนินงาน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและ ผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานตามที่กำหนดไว้
1.3 วางแนวทางการศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนวทางพัฒนาการปฏิบัติงานหรือ ระบบงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ภายใต้ข้อจำกัด ทางด้านงบประมาณ บุคลากร และเวลา
1.4 ค้นคว้าประยุกต์เทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานในภารกิจ ของหน่วยงานในภาพรวมเพื่อนำมาปรับปรุงให้การปฏิบัติงาน ระบบงาน หรือกระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมาก ขึ้น
2. ด้านการบริหารงาน
2.1 จัดระบบงาน และวิธีการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน เพื่อเป็นแนวทางการ ปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
2.2 มอบหมาย กำกับดูแล ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ในเรื่อง ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้ 2.3 พิจารณาอนุมัติ อนุญาตการดำเนินการต่างๆ ตามภารกิจที่หน่วยงานรับผิดชอบ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
2.4 ศึกษา วิเคราะห์ ทำความเห็น สรุปรายงานและให้แนวทางงานวิจัยเกี่ยวกับด้าน งานวิศวกรรมสุขาภิบาลหรือช่างสุขาภิบาล เช่น กิจการประปาที่มีกำลังผลิตสูง ระบบการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่เป็น ของแข็งหรือของเหลว เป็นต้น เพื่อให้เกิดการพัฒนารูปแบบ กระบวนการหรือวิธีการเชิงวิชาการที่เหมาะสม เป็นมาตรฐานและเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่ที่รับผิดชอบ
2.5 มอบหมาย ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข และควบคุมการ จัดการสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการหรือประชาชน เช่นการจัดการกับระบบการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่เป็นของแข็ง หรือของเหลวสำหรับบริเวณที่พักอาศัยหรือสำหรับชุมชนหนาแน่น การจัดระบบการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่เป็น ของแข็ง ของเหลว ก๊าซไอ เขม่าควัน รังสี หรือ ฝุ่น สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายแก่ สุขภาพและอนามัยของคนในท้องถิ่น เพื่อคุ้มครองให้ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาวะที่ดี ไม่มีความ เสียหายแก่ ทรัพย์สิน หรือมีเหตุรำคาญในชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม
2.6 มอบหมาย ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข และควบคุมดูแลการ สำรวจออกแบบวิเคราะห์ข้อมูลทางวิศวกรรมสุขาภิบาลที่เกี่ยวกับการระบบประปา ระบบระบายน้ำโสโครก ระบบน้ำทิ้ง ระบบน้ำร้อนหรือระบบการใช้น้ำ หมุนเวียนสำหรับอาคารชุด อาคารพาณิชย์ สถานบริการหรือ โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้องตามมาตรฐานและมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.7 ควบคุมการใช้บำรุงรักษาเครื่องจักร ยานพาหนะ เครื่องมือ เครื่องใช้ของ หน่วยงานวิศวกรรมหรือช่างสุขาภิบาล เพื่อให้สามารถใช้งานตามความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ตามหลักวิชาการ
2.8 ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐ เอกชน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อเกิดความร่วมมือหรือบูรณาการงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้รับบริการ
2.9 ชี้แจงข้อเท็จจริง พิจารณาให้ความเห็น ข้อเสนอแนะในที่ประชุมคณะกรรมการ และคณะทำงานต่างๆ ที่ได้รับแต่งตั้ง หรือเวทีเจรจาต่างๆ ในฐานะผู้แทนหน่วยงานหรือส่วนราชการ เพื่อรักษา ผลประโยชน์ของราชการและประเทศชาติ
3. ด้านการบริหารงานทรัพยากรบุคคล
3.1 จัดระบบงานและอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานให้สอดคล้องกับภารกิจ เพื่อให้ ปฏิบัติราชการเกิดประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า
3.2 ติดตามและประเมินผลงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับบัญชา เพื่อให้การปฏิบัติงาน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงานและบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.3 ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับ บัญชา ให้มีความสามารถและสมรรถนะที่เหมาะสมงานที่ปฏิบัติ
4. ด้านบริหารทรัพยากรและงบประมาณ
4.1 วางแผนการใช้ทรัพยากรและงบประมาณของหน่วยงาน เพื่อให้สอดคล้องกับ นโยบาย พันธกิจ และเป็นไปตามเป้าหมายของส่วนราชการ
4.2 ร่วมหรือวางแผนและประสานกิจกรรมให้มีการใช้ทรัพยากรของหน่วยงานที่ รับผิดชอบ ทั้งด้านงบประมาณ อาคารสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพ คุ้มค่า และบรรลุเป้าหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สังกัด โดยอาจพิจารณานำงบประมาณที่ได้รับ จัดสรรมาดำเนินการและใช้จ่ายร่วมกัน
4.3 ติดตาม ตรวจสอบการใช้ทรัพยากรและงบประมาณ ให้เกิดประสิทธิภาพ ความ คุ้มค่า และเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. ได้รับคุณวุฒิการศึกษา ดังนี้
1.1 ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นเทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือ ทางวิศวกรรมศาสตร์ หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะ สำหรับตำแหน่งนี้ได้
1.2 ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นเทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือ ทางวิศวกรรมศาสตร์ หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะ สำหรับตำแหน่งนี้ได้
1.3 ได้รับปริญญาเอกหรือคุณวุฒิอย่างอื่นเทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือ ทางวิศวกรรมศาสตร์ หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะ สำหรับตำแหน่งนี้ได้
2. คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในฐานะผู้อำนวยการกอง (นักบริหารงานช่างสุขาภิบาล
ระดับต้น)
2.1 มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักบริหารงานช่างสุขาภิบาล ระดับต้น ข้อ 1
2.2 ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย (นักบริหารงานช่างสุขาภิบาล
ระดับต้น) ตามข้อ 3 หรือที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติงาน ด้านช่างสุขาภิบาลหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
3. คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในฐานะหัวหน้าฝ่าย (นักบริหารงานช่างสุขาภิบาล ระดับต้น)
3.1 มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักบริหารงานช่างสุขาภิบาลระดับต้น ข้อ 1
3.2 ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี
(2) ประเภททั่วไป ระดับอาวุโส มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี
(3) ประเภททั่วไป ไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญงาน มาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี
3.3 ปฏิบัติงานด้านช่างสุขาภิบาล หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1.     ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 1
1.2.     ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์     ระดับ 2
1.3.     ความรู้เรื่องการติดตามและประเมินผล      ระดับ 2
1.4.     ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร          ระดับ 2
1.5.     ความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยง   ระดับ 2
1.6.     ความรู้เรื่องการพัฒนาบุคลากร     ระดับ 2
1.7.     ความรู้เรื่องสถานการณ์ภายนอกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมพื้นที่     ระดับ 2
1.8. ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่นการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA),การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA)ฯลฯระดับ 2
1.9.ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ   ระดับ 1
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 1
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 2
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 2
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 1
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 1
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 1
2.7 ทักษะการเขียนหนังสือราชการระดับ 2
3.สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย  
          3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ  
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 1
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 1
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 1
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 1
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 1
3.2 สมรรถนะประจำผู้บริหาร 4 สมรรถนะ
3.2.1    การเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง    ระดับ 1
3.2.2    ความสามารถในการเป็นผู้นำ       ระดับ 1
3.2.3    ความสามารถในการพัฒนาคน      ระดับ 1
3.2.4    การคิดเชิงกลยุทธ์          ระดับ 1
3.3 สมรรถนะประจำสายงาน     
3.3.1    การแก้ไชปัญหาและดำเนินการเชิงรุก       ระดับ 2
3.3.2    การวางแผนและการจัดการ        ระดับ 2
3.3.3    การสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน   ระดับ 2
3.3.4    ความเข้าใจพื้นที่และการเมืองท้องถิ่น        ระดับ 2
3.3.5    สร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น         ระดับ 2
----------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท อำนวยการท้องถิ่น
ชื่อสายงาน บริหารงานช่างสุขาภิบาล
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักบริหารงานช่างสุขาภิบาล
ระดับตำแหน่ง ระดับกลาง
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับกอง หรือตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานอื่นที่เทียบเท่า กอง ซึ่งมีลักษณะงานเกี่ยวกับการวางแผน บริหารจัดการ จัดระบบงาน อำนวยการ สั่งราชการ มอบหมาย กำกับ แนะนำ ตรวจสอบ ประเมินผลงาน ตัดสินใจ แก้ปัญหาในงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งลักษณะ หน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมี ลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านแผนงาน
1.1 วางแผนงาน โครงการ หรือแผนการปฏิบัติงาน รวมทั้งเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ ของหน่วยงานด้านงานสิ่งแวดล้อมและงานสุขาภิบาล งานระบบระบายน้ำ งานจัดการสิ่งแวดล้อมหรือ งานที่ เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแบบแผนในการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.2 ติดตาม เร่งรัด การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ หรือ แผนการปฏิบัติงาน ตลอดจนประเมินผลและรายงานการดำเนินงาน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ ของหน่วยงานตามที่กำหนดไว้
1.3 วางแนวทางการศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนวทางพัฒนาการปฏิบัติงานหรือ ระบบงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ภายใต้ข้อจำกัด ทางด้านงบประมาณ บุคลากร และเวลา
1.4 ค้นคว้าประยุกต์เทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานในภารกิจของ หน่วยงานในภาพรวมเพื่อนำมาปรับปรุงให้การปฏิบัติงาน ระบบงาน หรือกระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ด้านบริหารงาน
2.1 จัดระบบงาน และวิธีการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน เพื่อเป็นแนวทางการ ปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
2.2 มอบหมาย กำกับดูแล ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ในเรื่อง ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้ 2.3 พิจารณาอนุมัติ อนุญาตการดำเนินการต่างๆ ตามภารกิจที่หน่วยงานรับผิดชอบ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
2.4 ชี้แจงข้อเท็จจริง พิจารณาให้ความเห็น ข้อเสนอแนะในที่ประชุมคณะกรรมการ และคณะทำงานต่างๆ ที่ได้รับแต่งตั้ง หรือเวทีเจรจาต่างๆ ในระดับหน่วยงานหรือองค์กรทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ ในฐานะผู้แทนหน่วยงานหรือส่วนราชการ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของราชการและประเทศชาติ
2.5 ศึกษา วิเคราะห์ ทำความเห็น สรุปรายงานและให้แนวทางงานวิจัยเกี่ยวกับด้าน งานวิศวกรรมสุขาภิบาลหรือช่างสุขาภิบาล เช่น กิจการประปาที่มีกำลังผลิตสูง ระบบการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่เป็น ของแข็งหรือของเหลว เป็นต้น เพื่อให้เกิดการพัฒนารูปแบบ กระบวนการหรือวิธีการเชิงวิชาการที่เหมาะสม เป็นมาตรฐานและเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่ที่รับผิดชอบ
2.6 มอบหมาย ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข และควบคุมการ จัดการสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการหรือประชาชน เช่น การจัดการกับระบบการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่เป็นของแข็ง หรือของเหลวสำหรับบริเวณที่พักอาศัยหรือสำหรับชุมชนหนาแน่น การจัดระบบการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่เป็น ของแข็ง ของเหลว ก๊าซไอ เขม่าควัน รังสี หรือ ฝุ่น สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายแก่ สุขภาพและอนามัยของคนในท้องถิ่น เพื่อคุ้มครองให้ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาวะที่ดี ไม่มีความเสียหายแก่ ทรัพย์สิน หรือมีเหตุรำคาญในชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม
2.7 มอบหมาย ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข และควบคุมดูแลการ สำรวจออกแบบวิเคราะห์ข้อมูลทางวิศวกรรมสุขาภิบาลที่เกี่ยวกับการระบบประปา ระบบระบายน้ำโสโครก ระบบน้ำทิ้ง ระบบน้ำร้อนหรือระบบการใช้น้ำ หมุนเวียนสำหรับอาคารชุด อาคารพาณิชย์ สถานบริการหรือ โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้องตามมาตรฐานและมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.8 ควบคุมการใช้บำรุงรักษาเครื่องจักร ยานพาหนะ เครื่องมือ เครื่องใช้ของหน่วยงาน วิศวกรรมหรือช่างสุขาภิบาล เพื่อให้สามารถใช้งานตามความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตามหลักวิชาการ
2.9 กำหนด พัฒนา ปรับปรุง หรือแก้ไขแนวทาง คู่มือ กลไก กระบวนการ หรือ มาตรฐานในการปฏิบัติงานด้านงานช่างสุขาภิบาล งานวิศวกรรมสุขาภิบาล หรืองานระบบระบายน้ำ เพื่อให้ การทำงานในงานที่รับผิดชอบเป็นไปอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด
2.10 ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐ เอกชน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อเกิดความร่วมมือหรือบูรณาการงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้รับบริการ
2.11 ชี้แจงข้อเท็จจริง พิจารณาให้ความเห็น ข้อเสนอแนะในที่ประชุมคณะกรรมการ และคณะทำงานต่างๆ ที่ได้รับแต่งตั้ง หรือเวทีเจรจาต่างๆ ในฐานะผู้แทนหน่วยงานหรือส่วนราชการ เพื่อรักษา ผลประโยชน์ของราชการและประเทศชาติ
3. ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
3.1 จัดระบบงานและอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานให้สอดคล้องกับภารกิจ เพื่อให้ ปฏิบัติราชการเกิดประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า
3.2 ติดตามและประเมินผลงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับบัญชา เพื่อให้การปฏิบัติงาน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงานและบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.3 ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับ บัญชา ให้มีความสามารถและสมรรถนะที่เหมาะสมงานที่ปฏิบัติ
4. ด้านการบริหารทรัพยากรและงบประมาณ
4.1 วางแผนการใช้ทรัพยากรและงบประมาณของหน่วยงาน เพื่อให้สอดคล้องกับ นโยบาย พันธกิจ และเป็นไปตามเป้าหมายของส่วนราชการ
4.2 วางแผนและประสานกิจกรรมให้มีการใช้ทรัพยากรของสำนัก กองหรือหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ ทั้งด้านงบประมาณ อาคารสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพ คุ้มค่า และบรรลุเป้าหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สังกัด โดยอาจพิจารณานำงบประมาณที่ได้รับ จัดสรรมาดำเนินการและใช้จ่ายร่วมกัน
4.3 ติดตาม ตรวจสอบการใช้ทรัพยากรและงบประมาณ ให้เกิดประสิทธิภาพ ความ คุ้มค่า และเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
คุณ สมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในฐานะผู้อำนวยการกองหรือผู้อำนวยการส่วน (นักบริหารงานช่างสุขาภิบาล ระดับกลาง)
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักบริหารงานช่างสุขาภิบาล ระดับต้น ข้อ 1
2. ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งมาแล้วดังต่อไปนี้ โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านช่างสุขาภิบาล
หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
2.1 ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง (นักบริหารงานช่างสุขาภิบาล ระดับต้น) หรือที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ
2.2 ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าหัวหน้าฝ่าย (นักบริหารงานช่าง สุขาภิบาล ระดับต้น) หรือที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี กำหนดเวลา 4 ปี ให้ลดเป็น 3 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพะสำหรับตำแหน่งนักบริหารงานช่างสุขาภิบาลระดับต้น ข้อ 1.2 และข้อ 1.3 หรือ
2.3 ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ หรือที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1.     ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 2
1.2.     ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ระดับ 3
1.3.     ความรู้เรื่องการติดตามและประเมินผล      ระดับ 3
1.4.     ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร          ระดับ 3
1.5.     ความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยง   ระดับ 3
1.6.     ความรู้เรื่องการพัฒนาบุคลากร     ระดับ 3
1.7.     ความรู้เรื่องสถานการณ์ภายนอกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และสังคมพื้นที่    ระดับ 3
1.8. ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่นการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA),การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA)ฯลฯ ระดับ 3
1.9.ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณระดับ 2
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1      ทักษะการบริหารข้อมูล   ระดับ 2
2.2      ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์  ระดับ 2
2.3      ทักษะการประสานงาน    ระดับ 3
2.4      ทักษะการบริหารโครงการ          ระดับ 3
2.5      ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้        ระดับ 2
2.6      ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน    ระดับ 2
2.7      ทักษะการเขียนหนังสือราชการ     ระดับ 3
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 2
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 2
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 2
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 2
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 2
3.2 สมรรถนะประจำผู้บริหาร 4 สมรรถนะ
3.2.1    การเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง    ระดับ 2
3.2.2    ความสามารถในการเป็นผู้นำ       ระดับ 2
3.2.3    ความสามารถในการพัฒนาคน      ระดับ 2
3.2.4    การคิดเชิงกลยุทธ์          ระดับ 2
3.3 สมรรถนะประจำสายงาน
3.3.1    การแก้ไชปัญหาและดำเนินการเชิงรุก       ระดับ 3
3.3.2    การวางแผนและการจัดการ        ระดับ 3
3.3.3    การสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน   ระดับ 3
3.3.4    ความเข้าใจพื้นที่และการเมืองท้องถิ่น        ระดับ 3
3.3.5    สร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น         ระดับ 3
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท อำนวยการท้องถิ่น
ชื่อสายงาน บริหารงานช่างสุขาภิบาล
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักบริหารงานช่างสุขาภิบาล
ระดับตำแหน่ง ระดับสูง
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับสำนัก ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขนาดใหญ่ ที่มีลักษณะงานเกี่ยวกับการวางแผน บริหารจัดการ จัดระบบงาน อำนวยการ สั่งราชการ มอบหมาย กำกับ แนะนำ ตรวจสอบ ประเมินผลงาน ตัดสินใจ แก้ปัญหาเกี่ยวกับงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งลักษณะ หน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงและปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติใน ด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านแผนงาน
1.1 วางแผนงาน โครงการ หรือแผนการปฏิบัติงาน รวมทั้งเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ ของหน่วยงาน ให้สอดคล้องนโยบายและแผนกลยุทธ์ของส่วนราชการที่สังกัด
1.2 ติดตาม เร่งรัด การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่มีความหลากหลาย และความยุ่งยาก ซับซ้อนมาก ให้เป็นไปตามแผนงาน/โครงการ หรือแผนการปฏิบัติงาน ตลอดจนประเมินผลและรายงานการ ดำเนินงาน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานตามที่กำหนดไว้
1.3 บริหารโครงการขนาดใหญ่ โดยมีการบูรณาการแผนงาน กิจกรรม ขั้นตอนสำคัญ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานตามที่กำหนดไว้
1.4 ค้นคว้าประยุกต์เทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานในภารกิจของ หน่วยงานในภาพรวมเพื่อนำมาปรับปรุงให้การปฏิบัติงาน ระบบงาน หรือกระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ด้านบริหารงาน
2.1 กำหนดกลยุทธ์ ระบบงาน และวิธีการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน เพื่อเป็นแนว ทางการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
2.2 มอบหมาย กำกับดูแล ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ในเรื่อง ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจที่หลากหลายและเบ็ดเสร็จของหน่วยงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
2.3 มอบหมาย ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข และควบคุมดูแลการ ออกแบบและวางระบบการจัดการด้านวิศวกรรมหรือช่างสุขาภิบาลในท้องถิ่นขนาดใหญ่และมีความซับซ้อน มากทั้งเชิงความหลากหลายและจำนวนประชากร เพื่อให้ได้ผลผลิตตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
2.4 ศึกษา วิเคราะห์ ทำความเห็น สรุปรายงานและให้แนวทางงานวิจัยเกี่ยวกับด้าน งานวิศวกรรมสุขาภิบาลหรือช่างสุขาภิบาล เช่น กิจการประปาที่มีกำลังผลิตสูง ระบบการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่เป็น ของแข็งหรือของเหลว เป็นต้น เพื่อให้เกิดการพัฒนารูปแบบ กระบวนการหรือวิธีการเชิงวิชาการที่เหมาะสม เป็นมาตรฐานและเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่ที่รับผิดชอบ
2.5 มอบหมาย ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข และควบคุมการ จัดการสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการหรือประชาชนในท้องถิ่นขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมากทั้งเชิงความ หลากหลายและจำนวนประชากร เช่นการจัดการกับระบบการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่เป็นของแข็งหรือของเหลว สำหรับบริเวณที่พักอาศัยหรือสำหรับชุมชนหนาแน่น การจัดระบบการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่เป็นของแข็ง ของเหลว ก๊าซไอ เขม่าควัน รังสี หรือ ฝุ่น สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพและอนามัย ของคนในท้องถิ่น เพื่อคุ้มครองให้ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาวะที่ดี ไม่มีความเสียหายแก่ทรัพย์สิน หรือมีเหตุ รำคาญในชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม
2.6 มอบหมาย ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข และควบคุมดูแลการ สำรวจออกแบบวิเคราะห์ข้อมูลทางวิศวกรรมสุขาภิบาลในท้องถิ่นขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมากที่เกี่ยวกับ การระบบประปา ระบบระบายน้ำโสโครก ระบบน้ำทิ้ง ระบบน้ำร้อนหรือระบบการใช้น้ำ หมุนเวียนสำหรับ อาคารชุด อาคารพาณิชย์ สถานบริการหรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่าง ถูกต้องตามมาตรฐานและมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.7 ควบคุมการใช้บำรุงรักษาเครื่องจักร ยานพาหนะ เครื่องมือ เครื่องใช้ของ หน่วยงานวิศวกรรมหรือช่างสุขาภิบาล เพื่อให้สามารถใช้งานตามความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ตามหลักวิชาการ
2.8 กำหนด พัฒนา ปรับปรุง หรือแก้ไขแนวทาง คู่มือ กลไก กระบวนการ หรือ มาตรฐานในการปฏิบัติงานด้านงานช่างสุขาภิบาล งานวิศวกรรมสุขาภิบาล หรืองานระบบระบายน้ำ เพื่อให้ การทำงานในงานที่รับผิดชอบเป็นไปอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด
2.9 พิจารณาอนุมัติ อนุญาตการดำเนินการต่างๆ ตามภารกิจที่หน่วยงานรับผิดชอบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
2.10 วินิจฉัย สั่งการเรื่องที่มีขอบเขตผลกระทบในวงกว้าง หรือมีความซับซ้อนของ ประเด็นปัญหา ซึ่งต้องพิจารณาอนุมัติ อนุญาตการดำเนินการต่างๆ ตามภารกิจที่หน่วยงานรับผิดชอบ เพื่อให้ บรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
2.11 ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐ เอกชน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อเกิดความร่วมมือหรือบูรณาการงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้รับบริการ
2.12 ชี้แจงข้อเท็จจริง พิจารณาให้ความเห็น ข้อเสนอแนะในที่ประชุมคณะกรรมการ และคณะทำงานต่างๆ ที่ได้รับแต่งตั้ง หรือเวทีเจรจาต่างๆ ในระดับหน่วยงานหรือองค์กรทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ ในฐานะเป็นผู้มีบทบาทหลัก เพื่อรักษาผลประโยชน์ของราชการและประเทศชาติ
3. ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
3.1 จัดระบบงานและอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่มีความหลากหลายทั้งในเชิง ปริมาณและคุณภาพให้สอดคล้องกับภารกิจ เพื่อให้ปฏิบัติราชการเกิดประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า
3.2 ติดตามและประเมินผลงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับบัญชา เพื่อให้การปฏิบัติงาน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงานและบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.3 ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับ บัญชา ให้มีความสามารถและสมรรถนะที่เหมาะสมงานที่ปฏิบัติ
3.4 ปรับปรุงหรือหาแนวทางวิธีการใหม่ๆ หรือกลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากรบุคคลใน การพัฒนา กระตุ้น เร่งเร้าเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติในการผลิตผลงาน การบริการ หรือผลการดำเนินงานที่มีคุณภาพที่ดีขึ้น
4. ด้านการบริหารทรัพยากรและงบประมาณ
4.1 วางแผนการใช้ทรัพยากรและงบประมาณของหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบสูง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย พันธกิจ และเป็นไปตามเป้าหมายของส่วนราชการ
4.2 วางแผนและประสานกิจกรรมให้มีการใช้ทรัพยากรของสำนัก กองหรือหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ ทั้งด้านงบประมาณ อาคารสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพ คุ้มค่า และบรรลุเป้าหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สังกัด โดยอาจพิจารณานำงบประมาณที่ได้รับ จัดสรรมาดำเนินการและใช้จ่ายร่วมกัน
4.3 ติดตาม ตรวจสอบการใช้ทรัพยากรและงบประมาณในจำนวนที่สูงมาก ให้เกิด ประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในฐานะผู้อำนวยการสำนัก (นักบริหารงานช่างสุขาภิบาล ระดับสูง) 1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักบริหารงานช่างสุขาภิบาล ระดับต้น ข้อ 1
2. ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ดังต่อไปนี้ โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านการช่างสุขาภิบาล หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
2.1 ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง (นักบริหารงานช่าง สุขาภิบาล ระดับกลาง) หรือที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต.เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือ
2.2 ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ หรือที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า 8 ปี
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1.     ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 3
1.2.     ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์     ระดับ 3
1.3.     ความรู้เรื่องการติดตามและประเมินผล      ระดับ 3
1.4.     ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร          ระดับ 3
1.5.     ความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยง   ระดับ 3
1.6.     ความรู้เรื่องการพัฒนาบุคลากร     ระดับ 4
1.7.     ความรู้เรื่องสถานการณ์ภายนอกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมพื้นที่     ระดับ 3
1.8. ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่นการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA),การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA)ฯลฯระดับ 3
1.9.ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะระดับ 2
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1      ทักษะการบริหารข้อมูล   ระดับ 2
2.2      ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์  ระดับ 2
2.3      ทักษะการประสานงาน    ระดับ 4
2.4      ทักษะการบริหารโครงการ          ระดับ 4
          2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ระดับ 3
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงานระดับ 3
2.7 ทักษะการเขียนหนังสือราชการระดับ 3
3.สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย  
          3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ  
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 3
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 3
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 3
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 3
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 3
3.2 สมรรถนะประจำผู้บริหาร 4 สมรรถนะ
3.2.1    การเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง    ระดับ 3
3.2.2    ความสามารถในการเป็นผู้นำ       ระดับ 3
3.2.3    ความสามารถในการพัฒนาคน      ระดับ 3
3.2.4    การคิดเชิงกลยุทธ์          ระดับ 3
3.3 สมรรถนะประจำสายงาน     
3.3.1    การแก้ไชปัญหาและดำเนินการเชิงรุก       ระดับ 4
3.3.2    การวางแผนและการจัดการ        ระดับ 4
3.3.3    การสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน   ระดับ 4
3.3.4    ความเข้าใจพื้นที่และการเมืองท้องถิ่น        ระดับ 4
3.3.5    สร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น         ระดับ 4

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สันทนาการ

ช่างศิลป์

เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว