โภชนากร
มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 4605
ตำแหน่งประเภท ทั่วไป
สายงาน ปฏิบัติงานโภชนาการ
ลักษณะงาน โดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานทางโภชนาการ ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ เกี่ยวกับ การส่งเสริมและปรับปรุงภาวะโภชนาการของประชาชน ศึกษาปัญหาโภชนาการและคุณค่าของ อาหาร ชนิดต่างๆ ให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่ประชาชน ส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตและการใช้อาหารที่มีคุณค่า ทางโภชนาการ กำหนดรายการอาหารที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายและความต้องการของผู้บริโภค และ ปฏิบัติ หน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ชื่อตำแหน่งในสายงานและระดับตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้
โภชนากร ระดับปฏิบัติงาน
โภชนากร ระดับชำนาญงาน
โภชนากร ระดับอาวุโส
ก.จ. กำหนดเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท ทั่วไป
ชื่อสายงานปฏิบัติงานโภชนาการ
ชื่อตำแหน่งในสายงาน โภชนากร
ระดับตำแหน่ง ระดับปฏิบัติงาน
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึงไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านโภชนาการตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอนและวิธีการทีชัดเจนภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามทีได้รับมอบหมายโดยมีลักษณะงานทีปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ให้บริการอาหาร สาธิตการประกอบอาหารทั่วไปและอาหารเฉพาะโรค การ ถนอมอาหาร กำหนดรายการอาหาร ตามหลักโภชนาการ โภชนาบำบัด เพื่อให้ประชาชนได้รับสารอาหารที่ ครบถ้วน และปลอดภัย
1.2 ควบคุมดูแล การบริการอาหาร การประกอบอาหารแก่ผู้ป่วย ตามคำสั่งแพทย์ ควบคุมการปฏิบัติงานภายในโรงอาหาร และนำรายการอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อให้ถูกสุขอนามัย และหลักโภชนาการ
1.3 ศึกษา ค้นคว้า ทดลองตำรับอาหารใหม่ตามหลักโภชนาการ โดยให้สอดคล้องกับ ภาวะทางเศรษฐกิจและความนิยมของผู้บริโภคในแต่ละท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาด ถูกสุขอนามัย และหลักโภชนาการ
1.4 จัดเตรียม ดูแล บำรุงรักษา เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ เพื่อให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ งานและเป็นไปตามมาตรฐาน
1.5 เก็บรวบรวมข้อมูลด้านโภชนาการ เพื่อจัดทำรายงาน และนำเสนอเจ้าหน้าที
ระดับสูงขึ้นไป
2. ด้านบริการ
2.1 ให้คำแนะนำ ส่งเสริม เผยแพร่ ด้านโภชนาศึกษาแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่
สาธารณสุข เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้
2.2 ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและมี
ประสิทธิภาพ
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชา หรือทางคหกรรมศาสตร์ อาหารและโภชนาการ หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ. , ก.ท.และ ก.อบต. กำหนดว่าใช้ เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันเทียบใน สาขาวิชาหรือทางคหกรรมศาสตร์ อาหารและโภชนาการ หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ. , ก.ท.หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
3. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันใน สาขาวิชาหรือทางคหกรรมศาสตร์ อาหารและโภชนาการ หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ. , ก.ท.หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
ค วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.2 ความรู้เรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 1
1.3 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 1
1.4 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 1
1.5 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 1
1.6 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 1
2. ทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 1
2.2 ทักษะการประสานงาน ระดับ 1
2.3 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 1
2.4 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 1
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และการถ่ายทอดความรู้ ระดับ 1
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 1
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 1
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 1
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 1
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 1
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การยึดมั่นในหลักเกณฑ์ ระดับ 1
3.2.2 การสั่งสมความรู้และความเชี่ยวชาญในสายอาชีพ ระดับ 1
3.2.3 การให้ความรู้และการสร้างความสัมพันธ์ ระดับ 1
3.2.4 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 1
3.2.5 จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ระดับ 1
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท ทั่วไป
ชื่อสาย งาน ปฏิบัติงานโภชนาการ
ชื่อตำแหน่งในสายงาน โภชนากร
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญงาน
หน้า ที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างานซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา โดยต้อง กำกับแนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และ ความชำนาญงานด้านโภชนาการ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ค่อนข้างยาก และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญา โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานด้านโภชนาการ ปฏิบัติงานที่ต้อง ตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหาที่ค่อนข้างยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติใน ด้านต่างๆ ดังนี้
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ให้บริการอาหารตามหลักโภชนาการ โภชนาบำบัด ประยุกต์การปฏิบัติงาน วิธีการ ทำงาน ตัดสินใจแก้ไขปัญหา เพื่อพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
1.2 ศึกษา ค้นคว้า ให้คำแนะเบื้องต้นในการประกอบอาหารตำรับใหม่ ที่ถูกต้องตาม หลักวิชาการ และสอดคล้องกับภาวะการครองชีพของผู้บริโภค
1.3 วางแผนด้านโภชนาการ เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
1.4 ส่งเสริมการผลิตอาหารที่จำเป็นแก่การปรับปรุงภาวะโภชนาการ
1.5 ควบคุม ตรวจสอบการกำหนดรายการอาหาร การประกอบอาหารทั่วไปและอาหารเฉพาะโรค
1.6 ควบคุม ตรวจสอบ จัดเตรียม ดูแล บำรุงรักษา เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ เพื่อให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและเป็นไปตามมาตรฐาน
1.7 ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ จัดทำรายงานข้อมูลทางด้านโภชนาการ โภชนบำบัด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงขึ้นไปนำไปใช้ประกอบการวางแผน และการพัฒนาคุณภาพงานได้อย่าง เหมาะสม
2. ด้านกำกับดูแล
2.1 กำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงานในระดับรองลงมา เพื่อให้สามารถ ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง
2.2 วางระบบและแผนการปฏิบัติงานของตนเอง เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
3. ด้านบริการ
3.1 ให้คำแนะนำด้านโภชนาศึกษาแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อให้ สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้
3.2 ให้ความรู้ แนะนำ ประชาสัมพันธ์ในงานด้านโภชนาการ โภชนาบำบัด แก่ภาคี เครือข่าย เพื่อให้มีความรู้ แนะนำแก่ผู้อื่นได้
3.3 ประสานงานกับหน่วยงานราชการ เอกชน ประชาชนทั่วไป เพื่อสร้างความร่วมมือ และการสนับสนุนในการบริการด้านโภชนาการ โภชนาบำบัด ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งโภชนาการ ระดับปฏิบัติงาน และ
2. ดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งโภชนาการ ระดับปฏิบัติงาน และปฏิบัติงานโภชนาการ หรือ งานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี กำหนดเวลา 6 ปี ให้ลด
เป็น 5 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งโภชนาการ ระดับปฏิบัติงาน ข้อ 2 และให้ลดเป็น 4 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งโภชนาการ ระดับปฏิบัติงาน ข้อ 3 หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ โดยจะต้องปฏิบัติงานโภชนาการ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตาม ระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.2 ความรู้เรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 2
1.3 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.4 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 2
1.5 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 2
1.6 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 2
2. ทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 2
2.2 ทักษะการประสานงาน ระดับ 2
2.3 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 2
2.4 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 2
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และการถ่ายทอดความรู้ ระดับ 2
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 2
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 2
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 2
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 2
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 2
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การยึดมั่นในหลักเกณฑ์ ระดับ 2
3.2.2 การสั่งสมความรู้และความเชี่ยวชาญในสายอาชีพ ระดับ 2
3.2.3 การให้ความรู้และการสร้างความสัมพันธ์ ระดับ 2
3.2.4 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 2
3.2.5 จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ระดับ 2
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภททั่วไป
ชื่อสาย งานปฏิบัติงานโภชนาการ
ชื่อตำแหน่งในสายงาน โภชนากร
ระดับตำแหน่ง ระดับอาวุโส
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา โดยต้อง กำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และ ความชำนาญงานด้านโภชนาการ ค่อนข้างสูง มีงานในความรับผิดชอบที่หลากหลาย ปฏิบัติงานที่ ต้องตัดสินใจ หรือแก้ปัญหาในงานที่ค่อนข้างยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานด้านโภชนาการ ค่อนข้างสูง ปฏิบัติงานต้องตัดสินใจ หรือ แก้ปัญหาในงานที่ค่อนข้างยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ให้บริการอาหารตามหลักโภชนาการ โภชนาบำบัดที่ซับซ้อน แก่ผู้ใช้บริการที่ต้อง ดูแลเป็นพิเศษ ประยุกต์การปฏิบัติงาน วิธีการทำงาน จัดทำคู่มือ ตัดสินใจแก้ไขปัญหา เพื่อพัฒนาการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
1.2 ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย จัดทำรายงานข้อมูลทางด้านโภชนาการ โภชนาบำบัด เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนปรับปรุงระบบงานให้มีประสิทธิภาพ
1.3 กำหนดคุณลักษณะของเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ
1.4 กำกับดูแลการประกอบอาหารแก่ผู้ป่วยประเภทต่างๆ ควบคุมรายการอาหารเฉพาะโรคแก่คนไข้ตามคำสั่งแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและสามารถฟื้นฟูสภาพร่างกายได้อย่างรวดเร็ว
1.5 ศึกษา ค้นคว้า และทดลองในการประกอบอาหารตำรับใหม่ที่ถูกต้องตามหลัก วิชา และสอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพของประชาชน ภาวะทางเศรษฐกิจ และความนิยมของผู้บริโภคในแต่ ละท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาด ถูกสุขอนามัยตามหลักโภชนาการ
2. ด้านกำกับดูแล
2.1 ควบคุม กำกับ ดูแลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้การปฏิบัติงาน บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
2.2 ควบคุม กำกับ ดูแลโครงการขนาดเล็กที่มีขั้นตอนการดำเนินงานไม่ซับซ้อน เพื่อให้ การบริหารจัดการบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
3. ด้านบริการ
3.1 ให้ความรู้ คำแนะนำ ประชาสัมพันธ์ในงานด้านโภชนาการ โภชนาบำบัด แก่ ผู้ใช้บริการ ประชาชน เพื่อให้มีความรู้ นำไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
3.2 ร่วมประชุม ตอบปัญหา เสนอความเห็นเกี่ยวกับงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็น ตาม เป้าหมายของหน่วยงาน
3.3 ประสานงานกับหน่วยงานราชการ เอกชน ประชาชนทั่วไป ในเรื่องที่มีความ ซับซ้อน ละเอียดอ่อน เพื่อสร้างความร่วมมือและการสนับสนุนในการบริการด้านโภชนาการ โภชนา บำบัด ที่ เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งโภชนาการ ระดับปฏิบัติงาน และ
2. ดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งโภชนาการ ระดับชำนาญงาน และปฏิบัติงานงานโภชนาการ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ โดยจะต้องปฏิบัติงานงานโภชนาการ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตาม ระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ค วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.2 ความรู้เรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 2
1.3 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.4 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 2
1.5 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 2
1.6 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 2
2. ทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 2
2.2 ทักษะการประสานงาน ระดับ 2
2.3 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 2
2.4 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 2
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และการถ่ายทอดความรู้ ระดับ 2
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 3
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 3
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 3
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 3
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 3
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การยึดมั่นในหลักเกณฑ์ ระดับ 2
3.2.2 การสั่งสมความรู้และความเชี่ยวชาญในสายอาชีพ ระดับ 2
3.2.3 การให้ความรู้และการสร้างความสัมพันธ์ ระดับ 2
3.2.4 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 2
3.2.5 จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ระดับ 2
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น