นายสัตวแพทย์



มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 3614
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
สายงาน นายสัตวแพทย์
ลักษณะงาน โดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานทางวิชาการสัตวแพทย์ ซึ่งมีลักษณะงานที่ ปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจและรักษาพยาบาลสัตว์ การศึกษา วิเคราะห์ ชันสูตรและวิจัยโรคสัตว์การสำรวจโรค การกำจัด ควบคุม และป้องกันโรคระบาดสัตว์ การส่งเสริมและพัฒนาความรู้ทางด้านสุขภาพสัตว์ การ สุขาภิบาลสัตว์ การค้นคว้าทดลองในการผลิตชีวภัณฑ์ รวมถึงการปรับปรุงแก้ไขวิธีการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูง เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและกำจัดโรคสัตว์ การศึกษาวิเคราะห์ วิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพการปศุสัตว์ เทคโนโลยีทางด้านวิทยาการสืบพันธุ์ของสัตว์เพื่อให้ได้วิธีการผลิตสัตว์ เศรษฐกิจที่มีคุณภาพและได้ปริมาณ ตามเป้าหมายการผลิต การศึกษาและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ชื่อตำแหน่งในสายงานและระดับตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้
นายสัตวแพทย์ ระดับปฏิบัติการ
นายสัตวแพทย์ ระดับชำนาญการ
นายสัตวแพทย์ ระดับชำนาญการพิเศษ
นายสัตวแพทย์ ระดับเชี่ยวชาญ
                                                                     ก.จ. กำหนดเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน นายสัตวแพทย์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นายสัตวแพทย์
ระดับตำแหน่ง ระดับปฏิบัติการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานสัตวแพทย์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับ โรคสัตว์ โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน ด้านห้องปฏิบัติการ ด้านการชันสูตรโรคสัตว์ ด้านการผลิตการทดสอบชีวภัณฑ์สัตว์ ด้านสัตว์ทดลอง ด้านสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค ด้านป้องกัน ควบคุม กำจัดโรคสัตว์ รวมทั้งพัฒนาระบบการจัดการ ด้านสุขภาพสัตว์ ด้านสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย เพื่อให้สัตว์มีสุขภาพดีและให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัย
1.2 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เกี่ยวกับการขยายพันธุ์สัตว์ด้วยวิธีการผสมเทียมและด้าน การผลิตสัตว์โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ด้านข้อมูลสารสนเทศด้านการผสมเทียม ด้านการผลิต การปรับปรุงพันธุ์ การทดสอบพ่อพันธุ์ ด้านความสมบูรณ์พันธุ์ ด้านการผลิตและควบคุมคุณภาพการผลิตน้ำเชื้อสัตว์พ่อพันธุ์และ ตัวอ่อนตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ เพื่อผลิต พัฒนาพันธุ์และขยายพันธุ์ปศุสัตว์ที่มีพันธุกรรมดี
1.3 ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนามาตรฐาน ด้านการกักกันสัตว์ ด้านการเลี้ยงสัตว์ปลอด โรค ด้านการชันสูตรโรคสัตว์ ด้านการผลิต เช่น ฟาร์มมาตรฐาน โรงงาน โรงฆ่าสัตว์ โรงงานแปรรูป โรงงาน อาหารสัตว์ เป็นต้น ด้านการตรวจสอบ รับรองคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ อาหารสัตว์ ยาสัตว์ ชีววัตถุสำหรับสัตว์ วัตถุอันตรายสำหรับสัตว์ ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการสัตวแพทย์สาธารณสุขด้านห้องปฏิบัติการ ตรวจสอบ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ และยกระดับมาตรฐานให้เป็นสากล
1.4ดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพและให้การรับรองคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ ชีวภัณฑ์สัตว์ การชันสูตรโรคสัตว์ การควบคุมป้องกันโรคระบาด และสิ่งแวดล้อมการปศุสัตว์ที่มีผลกระทบต่อ สุขภาพสัตว์และการสาธารณสุข
1.5ดำเนินการตรวจสอบและรับรองคุณภาพและความปลอดภัยของปศุสัตว์ สินค้า ปศุสัตว์ อาหารสัตว์ ยาสัตว์ ชีววัตถุ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ สถานที่เลี้ยงสัตว์ และสิ่งแวดล้อมปศุสัตว์ ณ สถาน ประกอบการ ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
1.6 กำกับ ดูแลงานและดำเนินการควบคุมป้องกันโรคระบาดให้แก่สัตว์ ควบคุม เคลื่อนย้ายและกักกันสัตว์ ซากสัตว์ ผลิตภัณฑ์สัตว์ ผลิตและขยายพันธุ์สัตว์
1.7 รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพสัตว์ การผลิตสัตว์ ตลอดจนการสืบย้อน ข้อมูล เพื่อการวางแผนและดำเนินการในการควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ ขยายพันธุ์สัตว์ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสัตว์และแก้ไขปัญหาระบบสืบพันธุ์
1.8รวบรวมข้อมูลระบบตรวจสอบย้อนกลับด้านการปศุสัตว์ เพื่อควบคุม ตรวจสอบ เรียกคืนผลผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน และหาสาเหตุข้อบกพร่องในการผลิต
1.9ตรวจและรักษาพยาบาลสัตว์ทางด้านอายุรกรรม ศัลยกรรม และสูติกรรม ศึกษา วิเคราะห์ ชันสูตรโรคสัตว์ ซึ่งเกิดจากเชื้อประเภทต่าง ๆ รวมถึงตรวจควบคุมการนำเข้า ส่งออกนอกประเทศ ซึ่งสัตว์และซากสัตว์
1.10สำรวจและเฝ้าระวังโรคสัตว์ โรคติดต่อจากสัตว์ไปสู่คน โรคติดต่อจากสัตว์ไปสู่ สัตว์ และโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเฝ้าระวัง และป้องกันมิให้โรคต่างๆ เกิดการแพร่ระบาดทั้งในคนและในสัตว์ เฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคระบาดต่างๆ เพื่อควบคุม และป้องกันโรคระบาดอันจะทำให้เกิดความ เสียหายแก่เศรษฐกิจและการเกษตรและสามารถเตรียมวางแผนการป้องกันโรคให้มีประสิทธิภาพ
1.11 รับผิดชอบ และดูแลการฆ่า และการจำหน่ายเนื้อสัตว์ในพื้นที่ที่รับผิดชอบให้ได้ มาตรฐาน คุณภาพ และเกิดความถูกต้องตาม พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่กำหนดไว้ เพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคได้บริโภคเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัยและดำเนินงานตรวจสอบเนื้อสัตว์จาก โรงฆ่าสัตว์ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ เพื่อนำมาตรวจสอบคุณภาพของเนื้อให้ถูกต้องตามมาตรฐาน และให้ประชาชน บริโภคเนื้อสัตว์ได้อย่างปลอดภัย
1.12 จัดทำข้อมูล เอกสาร และรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้านสัตวแพทย์ เพื่อเป็นข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุง และพัฒนางานด้านสัตวแพทย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ด้านการวางแผน
2.1วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
2.2ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
2.3ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
3. ด้านการบริการ
3.1 ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจง จัดทำสื่อสารสนเทศ เผยแพร่ข้อมูล ถ่ายทอด เทคโนโลยี เกี่ยวกับหลักวิชาการสัตวแพทย์และงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ ถูกต้อง
3.2ให้บริการในหน้าที่ที่รับผิดชอบ เป็นไปอย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาในสาขาวิชาหรือทางสัตวแพทย์ศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบ วิชาชีพการสัตวแพทย์จากสัตวแพทยสภา หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต.กำหนดว่าใช้ เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.3ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 1
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 1
1.5ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 1
1.6ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 1
1.7ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 1
1.8ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯ ระดับ 1
1.9ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 1
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 1
2.2ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 1
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 1
2.4ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 1
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 1
2.6ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 1
2.7ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 1
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 1
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 1
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 1
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 1
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 1
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ      ระดับ 1
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 1
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 1
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 1
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 1
 ---------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน นายสัตวแพทย์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นายสัตวแพทย์
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูงในงานวิชาการสัตวแพทย์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูงในงานวิชาการสัตวแพทย์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1ดำเนินงานที่เกี่ยวกับวิชาชีพสัตวแพทย์ในฐานะผู้ชำนาญการเพื่อให้การปฏิบัติงาน ที่มีความซับซ้อนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพ
1.2 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาเกี่ยวกับโรคสัตว์ โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนด้าน ห้องปฏิบัติการ ด้านการชันสูตรโรคสัตว์ ด้านการผลิตการทดสอบชีวภัณฑ์สัตว์ ด้านสัตว์ทดลอง ด้านสาเหตุ และปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค ด้านควบคุม ป้องกัน กำจัดโรคสัตว์ รวมทั้งพัฒนาระบบการจัดการด้านสุขภาพสัตว์ ด้าน สุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย เพื่อให้สัตว์มีสุขภาพดีและให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัย
1.3 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาเกี่ยวกับขยายพันธุ์สัตว์ด้วยวิธีการผสมเทียมและด้าน การผลิตสัตว์โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ด้านข้อมูลสารสนเทศด้านการผสมเทียม ด้านการผลิต การปรับปรุงพันธุ์ และการทดสอบพ่อพันธุ์ ด้านความสมบูรณ์พันธุ์ ด้านการผลิตและควบคุมคุณภาพการผลิตน้ำเชื้อสัตว์พ่อพันธุ์ และตัวอ่อนตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ เพื่อผลิต พัฒนาพันธุ์และขยายพันธุ์ปศุสัตว์ ที่มีพันธุกรรมดี
1.4 ศึกษา วิเคราะห์ เกี่ยวกับทางเลือกในการควบคุม ป้องกัน กำจัดโรคระบาดสัตว์ที่ เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และมีประสิทธิภาพ รวมถึงการสำรวจศึกษาและเฝ้าระวังโรคที่ไม่เคยมีในประเทศไทย เพื่อติดตามและทำการแก้ไขได้ทันท่วงที
1.5 ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนามาตรฐาน ด้านการกักกันสัตว์ ด้านการเลี้ยงสัตว์ปลอด โรค ด้านการชันสูตรโรคสัตว์ ด้านการผลิต เช่น ฟาร์มมาตรฐาน โรงงาน โรงฆ่าสัตว์ โรงงานแปรรูป โรงงานอาหาร สัตว์ เป็นต้น ด้านการตรวจสอบ รับรองคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ อาหารสัตว์ ยาสัตว์ ชีววัตถุสำหรับสัตว์ วัตถุ อันตรายสำหรับสัตว์ ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการสัตวแพทย์สาธารณสุข ด้านห้องปฏิบัติการตรวจ สอบ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ และยกระดับมาตรฐานให้เป็นสากล
1.6ดำเนินการพัฒนาระบบประกันคุณภาพและให้การรับรองคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ ชีว ภัณฑ์สัตว์ การชันสูตรโรคสัตว์ การควบคุมป้องกันโรคระบาด และสิ่งแวดล้อมการปศุสัตว์ที่มีผลกระทบต่อ สุขภาพสัตว์และการสาธารณสุข
1.7 ดำเนินการตรวจสอบและรับรองคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าปศุสัตว์ อาหารสัตว์ ยาสัตว์ ชีววัตถุ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ สถานที่เลี้ยงสัตว์ และสิ่งแวดล้อมปศุสัตว์ ณ สถานประกอบการ ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
1.8พิจารณาปัญหาทางด้านสุขภาพสัตว์ที่ผิดปกติ ด้านสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง ตามหลักวิชาการ และป้องกันโรคระบาดอันจะทำให้เกิดความ เสียหายแก่เศรษฐกิจและการเกษตร
1.9 รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพสัตว์ ผลิตสัตว์ ตลอดจนการสืบย้อนข้อมูล เพื่อการวางแผนและดำเนินการในการควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ วางแผนการขยายพันธุ์สัตว์ เพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตสัตว์และแก้ไขปัญหาระบบสืบพันธุ์
1.10 กำกับ ดูแลงานและดำเนินการควบคุมป้องกันโรคระบาดให้แก่สัตว์ ควบคุม เคลื่อนย้ายและกักกันสัตว์-ซากสัตว์ ผลิตภัณฑ์สัตว์ เพื่อป้องกันโรคระบาดอันจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ เศรษฐกิจและการเกษตร ดำเนินการผลิตและขยายพันธุ์สัตว์โดยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาพันธุ์และขยายพันธุ์ปศุสัตว์ที่มีพันธุกรรมดีและปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
1.11 ควบคุม และดูแลการตรวจ การวินิจฉัย และการรักษาโรคสัตว์ โรคติดต่อจากสัตว์ ไปสู่คน และโรคติดต่อจากสัตว์ไปสู่สัตว์ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคไข้หวัดนก และโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น เพื่อรักษาและแก้ไขโรคต่างๆ มิให้เกิดการแพร่ระบาดทั้งในคนและในสัตว์ อันจะส่งผลให้คนและสัตว์อยู่ร่วมกัน ได้อย่างปกติสุข และสามารถเตรียมวางแผนการป้องกันโรคให้มีประสิทธิภาพ
1.12 ควบคุม และดูแลการฆ่า และการจำหน่ายเนื้อสัตว์ในพื้นที่ที่รับผิดชอบให้ได้ มาตรฐาน คุณภาพ และเกิดความถูกต้องตาม พรบ. ควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่กำหนดไว้ เพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคได้บริโภคเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพ สะอาด และปลอดภัย และดูแลการดำเนินงาน ตรวจสอบเนื้อสัตว์จากโรงฆ่าสัตว์ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ เพื่อนำมาตรวจสอบคุณภาพของเนื้อให้ถูกต้องตาม มาตรฐาน และให้ประชาชนบริโภคเนื้อสัตว์ได้อย่างปลอดภัย
1.13 ควบคุม และดูแลการศึกษา การรวบรวม การวิเคราะห์ และการจัดทำแผนปฏิบัติ งาน แผนปฏิบัติการ และแผนงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานสัตวแพทย์ เพื่อให้สามารถให้บริการ รักษา ควบคุม และป้องกันโรคสัตว์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้องตามแผนงาน เป้าหมาย และนโยบายของหน่วยงานที่ กำหนดไว้เพื่อปรับปรุง และพัฒนางานด้านสัตวแพทย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานตามแผนงานหรือโครงการของหน่วยงาน ระดับสำนักหรือกอง และแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่ กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1ประสานการทำงานร่วมกันโดยมีบทบาทในการให้ความเห็นและคำแนะนำ เบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือหน่วยงานอื่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2ให้ข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำเบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือบุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำปรึกษา ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ เพื่อสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติงาน
4.2 ให้คำแนะนำ จัดทำสื่อสารสนเทศ เผยแพร่ข้อมูล ถ่ายทอดเทคโนโลยี เกี่ยวกับ หลักวิชาการสัตวแพทย์และงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
4.3 จัดเก็บข้อมูล ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่ เกี่ยวกับงานสัตวแพทย์ เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณา กำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ และมาตรการต่างๆ
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนายสัตวแพทย์ ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และปฏิบัติงาน ด้านวิชาการสัตวแพทย์หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงาน ด้านวิชาการสัตวแพทย์หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1      ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.2      ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ)   ระดับ 2
1.3      ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัระดับ 2
1.4      ความรู้เรื่องการจัดการความรู้       ระดับ 2
1.5      ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร          ระดับ 2
1.6      ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ    ระดับ 2
1.7      ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน    ระดับ 2
1.8ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯระดับ 2
1.9ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ    ระดับ 2
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1      ทักษะการบริหารข้อมูล   ระดับ 2
2.2      ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์  ระดับ 2
2.3      ทักษะการประสานงาน    ระดับ 2
2.4      ทักษะการบริหารโครงการ          ระดับ 2
2.5      ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้        ระดับ 2
2.6      ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน    ระดับ 2
2.7      ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์  ระดับ 2
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 2
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 2
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 2
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 2
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 2
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ      ระดับ 2
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 2
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 2
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 2
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 2
 ----------------------------------------------------------------------------------------------


ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน นายสัตวแพทย์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นายสัตวแพทย์
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญการพิเศษ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในงานวิชาการสัตวแพทย์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญในงานสูงมากในงานวิชาการสัตวแพทย์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับวิชาชีพการสัตวแพทย์ ในฐานะผู้ชำนาญการพิเศษ เพื่อให้ การปฏิบัติงานที่มีความซับซ้อนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพ
1.2 ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแผน และพัฒนา การปฏิบัติงานตลอดจนบริหารจัดการในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
1.3 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนามาตรฐานด้านปศุสัตว์ การชันสูตรโรค การกัก
ตรวจทดสอบโรคสัตว์ การรักษาสัตว์ การผลิตและการตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ อาหารสัตว์ ยาสัตว์ ชีววัตถุสำหรับสัตว์ วัตถุอันตรายสำหรับสัตว์ การผลิตและทดสอบชีวภัณฑ์สัตว์ บริหารจัดการสัตว์ทดลอง น้ำเชื้อและตัวอ่อน ระบบฐานข้อมูลการผลิตสัตว์ ความสมบูรณ์พันธุ์ การผลิตและขยายพันธุ์สัตว์ ตลอดจน ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการปศุสัตว์ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ
1.4 ควบคุม ปรับปรุง ให้คำปรึกษา แนะนำ และถ่ายทอดเทคโนโลยี ด้านวิชาชีพการ สัตวแพทย์แก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้องในงานที่รับผิดชอบ
1.5 ศึกษา ค้นคว้า วิจัย วิชาการสัตวแพทย์ สุขอนามัยและสุขศาสตร์สัตว์ ในสายงาน ที่รับผิดชอบ ที่สามารถนำไปพัฒนางานเพื่อให้เกิดการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ให้ได้ผลผลิตสูงสุด ให้ผลผลิตมี คุณภาพได้มาตรฐานสำหรับผู้บริโภค
1.6 ติดตาม ประเมินผล และควบคุมการดำเนินงานด้านสุขภาพสัตว์และสุขอนามัยใน พื้นที่เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง
1.7 พัฒนา กำกับดูแล ให้คำแนะนำ กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
1.8 ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการทดลอง การวิเคราะห์ และการชันสูตรโรคสัตว์ โรคติดต่อจากสัตว์ไปสู่คน โรคติดต่อจากสัตว์ไปสู่สัตว์ และโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถดำเนินรักษา ควบคุม ป้องกันโรคได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม และป้องกันโรคระบาดอันจะทำ ให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจและการเกษตร
1.9 ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการการควบคุมการฆ่า และการ จำหน่ายเนื้อสัตว์ในพื้นที่ที่รับผิดชอบให้ได้มาตรฐาน คุณภาพ และเกิดความถูกต้องตาม พรบ. ควบคุมการฆ่า สัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่กำหนดไว้ เพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคได้บริโภคเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพ สะอาด และ ปลอดภัย
1.10 ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการศึกษา การวิเคราะห์ และการวิจัย เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และชีวภัณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับสัตว์ เช่น วัคซีน ยาเวชภัณฑ์ ชุดตรวจวิเคราะห์ เป็นต้น เพื่อเป็นเครื่องมือในการปรับปรุง และพัฒนาวิธีปฏิบัติงานทางด้านสัตวแพทย์ให้เกิดประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผลมากขึ้น
1.11 ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือ ที่ใช้ในการปฏิบัติงานด้านสัตวแพทย์ เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งาน และให้สามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือ และอุปกรณ์ได้อย่างเต็มที่
1.12 ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน และแก้ไขปัญหา ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแก่บุคลากรในระดับรองลงมาในสายงาน ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การ ดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด
2. ด้านการวางแผน
2.1วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนงาน โครงการของหน่วยงานระดับสำนักหรือ กอง มอบหมายงาน แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานและติดตามประเมินผลเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ ที่กำหนด
2.2 วางแผนจัดทำและพัฒนา เครื่องมือ อุปกรณ์ และวิธีการต่างๆ ในงานสัตวแพทย์ เพื่อให้สามารถวินิจฉัยและให้การรักษาโรคได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และเป็นการช่วยประหยัดงบประมาณใน การสั่งซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์จากต่างประเทศ
2.3ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีงานสัตวแพทย์ต่างๆ ผ่านการค้นคว้าจากสื่อ หนังสือ หรือ เอกสารต่างๆ เพื่อนำมาพัฒนา เสนอแนะ และออกแบบนโยบาย แผนการ แนวทาง หลักเกณฑ์ และมาตรการ ต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการและสภาพปัญหาในปัจจุบัน
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานสัมพันธ์กับสมาชิกในทีมงานโดยมีบทบาทในการชี้แนะ จูงใจ ทีมงานหรือ หน่วยงานอื่นในระดับกองหรือสำนักงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ชี้แจง ให้ข้อคิดเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการหรือคณะทำงานต่างเพื่อเป็น ประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำปรึกษา แนะนำ ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางสัตวแพทย์ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ ความเข้าใจ และเพื่อให้การดำเนินการสามารถดำเนินการหรือปฏิบัติงานได้ตามสภาวการณ์จริงและอย่างถูกต้อง
4.2ถ่ายทอดความรู้ด้านสัตวแพทย์แก่บุคลากรระดับรองลงมา นักศึกษา ประชาชน และหน่วยงานต่างๆ เช่น ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการ กำหนดหลักสูตรและฝึกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็น ประโยชน์ในการปฏิบัติงานด้านสัตวแพทย์ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
4.3 พัฒนา และปรับปรุงการจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานสัตว แพทย์ เพื่อให้มีความทันสมัย เป็นปัจจุบัน และสามารถสนับสนุนภารกิจด้านสัตวแพทย์ของหน่วยงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
4.4 จัดทำเอกสารวิชาการ ตำรา และคู่มือทางสัตวแพทย์ เพื่อประกอบการเรียนการ สอน และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนายสัตวแพทย์ ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และปฏิบัติงาน ด้านวิชาการสัตวแพทย์หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงาน ด้านวิชาการสัตวแพทย์หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1      ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.2      ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ)   ระดับ 3
1.3      ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระดับ 3
1.4      ความรู้เรื่องการจัดการความรู้       ระดับ 3
1.5      ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร          ระดับ 2
1.6      ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ    ระดับ 2
1.7      ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน    ระดับ 2
1.8ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯ ระดับ 3
1.9ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ    ระดับ 3
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1      ทักษะการบริหารข้อมูล   ระดับ 3
2.2      ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์  ระดับ 3
2.3      ทักษะการประสานงาน    ระดับ 3
2.4      ทักษะการบริหารโครงการ          ระดับ 3
2.5      ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้        ระดับ 3
2.6      ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน    ระดับ 3
2.7      ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์  ระดับ 3
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 3
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 3
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 3
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 3
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 3
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ      ระดับ 3
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 3
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 3
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 3
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 3
-----------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน นายสัตวแพทย์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นายสัตวแพทย์
ระดับตำแหน่ง ระดับเชี่ยวชาญ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการสัตวแพทย์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทาง
วิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการ ซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการสัตวแพทย์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหำในทาง วิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1พัฒนารูปแบบและนโยบาย การวิจัยด้านสุขภาพสัตว์ ด้านการควบคุมโรคสัตว์ และโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติช้ำซ้อน โรคต่างถิ่น และโรคที่เกิดจากสารพิษ การผลิตสัตว์ การควบคุม การตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ อาหารสัตว์ ยาสัตว์ วัตถุอันตรายสำหรับสัตว์ ชีวภัณฑ์สัตว์ ชีววัตถุสำหรับสัตว์ สิ่งแวดล้อม สุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยตามวิชาชีพการสัตวแพทย์ การผลิต สัตว์และขยายพันธุ์สัตว์ที่เกี่ยวกับการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถนำผลงานวิจัย มาใช้ประโยชน์ได้
1.2 ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนา การผลิตสัตว์และขยายพันธุ์สัตว์ที่ เกี่ยวกับการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพที่เกี่ยวข้อง ความสมบูรณ์พันธุ์ น้ำเชื้อและตัวอ่อน การผลิต การบริหารจัดการปศุสัตว์ และวิธีการถ่ายทอดเทคโนโลยีปศุสัตว์ เพื่อพัฒนาพันธุ์สัตว์และขยายพันธุ์ปศุสัตว์ที่ มีพันธุกรรมดี
1.3 ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาการชันสูตรด้านโรคที่เกิดในสัตว์ใหญ่ สัตว์ เล็ก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน โรคอุบัติใหม่และอุบัติช้ำซ้อน โรคต่างถิ่น และ โรคที่เกิดจากสารพิษ เพื่อให้การตรวจวินิจฉัยโรคมีประสิทธิภาพและทันสมัย
1.4 ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพสัตว์ที่เกิดจากสารพิษ การ เปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สัตว์มีสุขภาพดีและผู้บริโภคมีความปลอดภัย
1.5 ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาด้านการตรวจสอบคุณภาพเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์สัตว์ น้ำนมและผลิตภัณฑ์นม อาหารสัตว์ ยาสัตว์ วัตถุอันตรายสำหรับสัตว์ ชีววัตถุสำหรับสัตว์ทาง ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ได้วิธีการตรวจสอบที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ และสากล
1.6 ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย การพัฒนาปรับปรุงชีวภัณฑ์สัตว์ การผลิตชีวภัณฑ์ สัตว์ และการทดสอบชีวภัณฑ์สัตว์ เพื่อพัฒนาชีวภัณฑ์สัตว์ที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงขึ้น ลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งให้ได้ชีวภัณฑ์ชนิดใหม่ที่เหมาะสม
1.7 ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาด้านควบคุม ป้องกัน กำจัดโรคระบาดสัตว์ โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน รวมทั้งระบบงานระบาดวิทยา เพื่อให้มาตรการควบคุม ป้องกัน กำจัดโรคระบาด สัตว์ โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน มีประสิทธิภาพ
1.8 ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาด้านมาตรฐานระบบการผลิต ด้าน มาตรฐานสินค้า ด้านการตรวจสอบ ด้านการรับรอง ด้านกฎหมาย ด้านสุขอนามัยในสินค้าปศุสัตว์ อาหารสัตว์ ยาสัตว์ วัตถุอันตรายสำหรับสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของ ผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
1.9 ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาด้านบำบัด รักษาโรคสัตว์ เพื่อเป็นมาตรฐาน อ้างอิงในการรักษาสัตว์ของประเทศ ด้านควบคุม เคลื่อนย้ายและกักกันสัตว์และซากสัตว์ รวมทั้งระบบ ตรวจสอบย้อนกลับที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย นำเข้า ส่งออกสัตว์และซากสัตว์
1.10กำหนดมาตรการในการเฝ้าระวังโรค การป้องกันและควบคุมโรคระบาดสัตว์ ระบบการฆ่าสัตว์ การผลิต การนำเข้าและขาย การขนส่ง และสินค้าปศุสัตว์ประเภทต่าง ๆ
1.11บริหารงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญ หรือเทียบเท่า ซึ่งมีหน้าที่และรับผิดชอบในการ ควบคุมและบริหารงานทุกด้านของงานสัตวแพทย์ที่รับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพและตอบสนองกับนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.12กำหนดผลสัมฤทธิ์ทั้งด้านผลผลิต และผลลัพธ์ที่จะได้จากการดำเนินงานด้าน สัตวแพทย์ เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างตรงตามวัตถุประสงค์ อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.13 เสนอแนะ ให้แนวทาง ประยุกต์ และพัฒนาองค์ความรู้ วิชาการ และเทคโนโลยี ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานสัตวแพทย์ เพื่อให้ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานด้านสัตวแพทย์ให้มี ประสิทธิภาพ คุณภาพ และมาตรฐานที่สูงขึ้น
1.14ศึกษาความรู้เทคนิคใหม่ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในงานและวิเคราะห์ถึงปัญหา และข้อบกพร่องในการดำเนินการเพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาและวางกลยุทธ์การปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ ทันกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และสามารถรองรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
1.15กำหนดแนวทางการพัฒนา การปรับปรุง และการจัดทำฐานข้อมูลและระบบ สารสนเทศที่เกี่ยวกับงานสัตวแพทย์ เพื่อให้มีความทันสมัย เป็นปัจจุบัน และสามารถสนับสนุนภารกิจด้าน สัตวแพทย์ของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผน โดยเชื่อมโยงหรือบูรณาการแผนงาน โครงการใน ระดับกลยุทธ์ของส่วนราชการระดับกรม มอบหมายงานแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานติดตาม ประเมินผล เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานโครงการต่างๆกับบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรอื่น โดยมี บทบาทในการจูงใจ โน้มน้าวเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ให้ข้อคิดเห็น และคำแนะนำแก่ทีมงาน บุคคลหน่วยงานระดับกอง หรือสำนัก รวมทั้งที่ประชุมทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
3.3ประสานงานด้านสัตวแพทย์กับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการ ดำเนินงานด้านสัตวแพทย์ให้มีความสะดวก เรียบร้อย และราบรื่น
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำปรึกษา แนะนำและ/หรือเป็นวิทยากรในการฝึกอบรม ทั้งในเชิงทักษะ เฉพาะด้าน และทักษะทั่วไปในการดูแลด้านสุขภาพสัตว์ การผลิตสัตว์และเทคโนโลยีชีวภาพ การควบคุม ตรวจสอบ รับรองคุณภาพคุณภาพเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์สัตว์ น้ำนมและผลิตภัณฑ์นม อาหารสัตว์ ยาสัตว์ วัตถุ อันตรายสำหรับสัตว์ ชีววัตถุสำหรับสัตว์ การวิจัย การผลิต การทดสอบชีวภัณฑ์สัตว์ สุขศาสตร์สัตว์และ สุขอนามัยตามวิชาชีพการสัตวแพทย์ การพัฒนาคุณภาพ แก่บุคลากรในสายงาน เพื่อให้สอดคล้องกับความ ต้องการในการปฏิบัติหน้าที่
4.2 ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเกี่ยวกับงานสัตวแพทย์ภายใต้ความ รับผิดชอบในระดับที่ซับซ้อน เพื่อให้ประชาชนที่สนใจทั่วไปและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ทราบข้อมูลและ ความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม
4.3 เป็นที่ปรึกษา และถ่ายทอดความรู้ด้านสัตวแพทย์แก่บุคลากรระดับรองลงมา นักศึกษา และหน่วยงานต่างๆ เช่น ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการ กำหนดหลักสูตรและ ฝึกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอด ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานด้านสัตวแพทย์ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
4.4 จัดทำเอกสารวิชาการ ตำรา และคู่มือทางสัตวแพทย์ เพื่อประกอบการเรียน การสอน และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนายสัตวแพทย์ ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ และ ปฏิบัติงานด้านสัตวแพทย์หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้อง ปฏิบัติงานด้านวิชาการสัตวแพทย์หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ค วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1      ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 4
1.2      ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ)   ระดับ 3
1.3      ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระดับ 3
1.4      ความรู้เรื่องการจัดการความรู้       ระดับ 3
1.5      ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร          ระดับ 2
1.6      ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ    ระดับ 2
1.7      ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน    ระดับ 2
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯ ระดับ 3
1.9ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ    ระดับ 3
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 3
2.2ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 3
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 3
2.4ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 3
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 3
2.6ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 3
2.7ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 4
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 4
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 4
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 3
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 4
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 4
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ      ระดับ 4
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 4
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 4
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 4
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 4

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สันทนาการ

ช่างศิลป์

เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว