นักวิชาการจัดเก็บรายได้
มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
3203
ตำแหน่งประเภท
วิชาการ
สายงาน
วิชาการจัดเก็บรายได้
ลักษณะงาน
โดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ
ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานวิชาการจัดเก็บรายได้ ซึ่งมีลักษณะ
งานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และเสนอแนะทางการปรับปรุง
การจัดเก็บภาษีต่าง ๆ วิธีการ จัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
และรายได้อื่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การตรวจรับแบบแสดง
รายการคำร้องหรือคำขอของผู้เสียภาษีและค่าธรรมเนียม ปรับปรุงแบบแสดงรายการ คำร้อง
คำขอของ ผู้เสียภาษีให้เหมาะสม รับชำระเงิน เขียนใบเสร็จรับเงินและลงบัญชี
จัดทำทะเบียนและรายการต่าง ๆ เก็บรักษาหลักฐานการเสียภาษี
ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น ๆ ออกหมายเรียกและหนังสือเชิญพบ ตรวจสอบ
และประเมินภาษีการเก็บรักษา และนำส่งเงินเป็นต้น และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
ชื่อตำแหน่งในสายงาน
และระดับตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้
นักวิชาการจัดเก็บรายได้
ระดับปฏิบัติการ
นักวิชาการจัดเก็บรายได้
ระดับชำนาญการ
นักวิชาการจัดเก็บรายได้
ระดับชำนาญการพิเศษ
นักวิชาการจัดเก็บรายได้
ระดับเชี่ยวชาญ
ก.จ.
กำหนดเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท
วิชาการ
ชื่อสายงาน
วิชาการจัดเก็บรายได้
ชื่อตำแหน่งในสายงาน
นักวิชาการจัดเก็บรายได้
ระดับตำแหน่ง
ระดับปฏิบัติการ
หน้า
ที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น
ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานวิชาการภาษี การจัดเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ
และรายได้อื่นๆภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง
ๆ ดังนี้
1.
ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ช่วยรวบรวมข้อมูล
ศึกษา วิเคราะห์ เกี่ยวกับการปกครองเปลี่ยนแปลงของสังคม
โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจเบื้องต้น เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาประกอบการวางมาตรการ
หรือแนวทางการ จัดเก็บ หรือปรับปรุงอัตราภาษี ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่นๆ
ให้มีความเหมาะสม
1.2
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีค่าธรรมเนียมและรายได้อื่นๆของรัฐและ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ทราบว่าการเก็บภาษีค่าธรรมเนียมหรือรายได้อื่นๆ
สามารถทำได้จำนวน เท่าไร
อันจะนำไปสู่การคาดประมาณการรายได้และรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปีงบประมาณ
ถัดไปได้
1.3
ร่วมสำรวจพื้นที่กับกองช่าง กองสาธารณสุขและส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อให้ได้
ข้อมูลของผู้ประกอบกิจการ
หรือผู้ที่อยู่ในข่ายต้องชำระภาษีหรือค่าธรรมเนียมประเภทต่าง ๆ และติดตาม
จัดทำหนังสือเตือนผู้ประกอบการในข่ายชำระภาษีหรือค่าธรรมเนียม
มาชำระเพื่อแจ้งให้ผู้เสียภาษีทราบ
1.4
จัดเก็บและออกใบเสร็จ ภรด. ,ภป., ภบท.,
ใบเสร็จทั่วไปฯ เพื่อใช้เป็นหลักฐานใน การรับเงินของหน่วยงาน
พร้อมเร่งรัด ติดตาม ลูกหนี้และผู้ที่อยู่ในข่ายการชำระภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
เพื่อติดตามลูกหนี้ค้างชำระให้มาชำระภาษีให้ครบถ้วนรวมถึงรับและตรวจแบบแสดงรายการทรัพย์สินและ
เสนอต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อใช้ในการประเมินและคำนวณภาษี
1.5
จัดทำรายงานเกี่ยวกับรายได้ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานจัดเก็บ เพื่อพร้อมที่จะ
ปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้อง ทันสมัย และใช้เป็นข้อมูลทางสถิติในการประมวลผลจากจัดเก็บรายได้
1.6
รวบรวมข้อมูลที่ออกสำรวจลงในข้อมูลแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน เพื่อใช้
เป็นฐานข้อมูลในการนำมาประกอบการจัดเก็บรายได้ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
1.7
ควบคุมการจัดทำคำสั่ง ประกาศเกี่ยวกับทรัพย์สินประเภทต่าง ๆ เพื่อให้
ประชาชนมายื่นแบบชำระภาษีตรงตามกำหนดเวลาและให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมาย
รวมถึงจัดทำ รวบรวม ข้อมูลส่งงานนิติการในการติดตามลูกหนี้ค้างชำระ
เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย
1.8
ส่งเสริมจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ หนังสือประชาสัมพันธ์ ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ
เพื่อให้ประชาชนรับรู้เกี่ยวกับการชำระภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ
1.9
จัดทำระบบฐานข้อมูลและบันทึกข้อมูลทะเบียนทรัพย์สินทั้งหมดที่อยู่ในข่ายชำระ
ภาษีลงในระบบฐานข้อมูล เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดเก็บภาษีและตรวจสอบได้รวดเร็วขึ้น
1.10
รับคำร้องเกี่ยวกับการพิจารณาอุทธรณ์ภาษี เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ชำระ ภาษี
และศึกษาข้อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
เพื่อใช้จัดเก็บภาษีอย่างถูกต้องโปร่งใสและเป็นธรรม
1.11
ช่วยควบคุมการจัดเก็บภาษีอากร ซึ่งได้แก่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุง ท้องที่
ภาษีป้าย ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตควบคุมกิจการค้า ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตควบคุมแผงลอย
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตควบคุมการแต่งผม ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการทำน้ำแข็ง
เพื่อการค้า ค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตตั้งตลาดเอกชน
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำการโฆษณาและใช้เครื่องขยายเสียง ค่าธรรมเนียมตรวจ
รักษาโรคค่าธรรมเนียมเก็บขยะมูลฝอย ค่าธรรมเนียมขนสิ่งปฏิกูล
ค่าธรรมเนียมควบคุมการก่อสร้างอาคาร ค่าธรรมเนียมรับรองสำเนาทะเบียนราษฎร
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตอื่น ๆ ตามเทศบัญญัติ ค่าปรับผู้ละเมิด กฎหมายและเทศบัญญัติ
ค่าอากรการฆ่าสัตว์ ค่าธรรมเนียมโรงพักสัตว์ ค่ารับจ้างฆ่าสัตว์ ค่าเช่าอาคาร
พาณิชย์ ค่าเช่าโรงมหรสพ ค่าเช่าตลาดสด ค่าเช่าแผงลอย ค่าที่วางขายของในสวนสาธารณะ
ดอกเบี้ยเงิน ฝากกองทุนส่งเสริมกิจการองค์การบริหารส่วนตำบลและเงินฝากธนาคาร
ค่าจำหน่วยเวชภัณฑ์ คำร้องต่าง ๆ ค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิ์การเช่า และค่าชดเชยต่าง
ๆ
2.
ด้านการวางแผน
2.1
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน
หรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
2.2
วางแผนการจัดเก็บรายได้ และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เพื่อให้การจัดเก็บรายได้ ครบถ้วน
ถูกต้องและเป็นธรรมแก่ประชาชน
2.3
วางแผนและร่วมดำเนินการในการสำรวจข้อมูลภาคสนาม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือใน
การเก็บภาษีท้องถิ่นและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
2.4
วางแผนและร่วมดำเนินการในการนำเทคโนโลยีสาระสนเทศมาใช้ในการ
ให้บริการจัดเก็บรายได้ เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ชำระภาษี
3.
ด้านการประสานงาน
3.1
ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด
ความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2
ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
3.3
ประสานงานและให้คำแนะนำกับผู้ที่เกี่ยวข้องและ ผู้ชำระภาษี เพื่อให้เกิดความ
ร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
4.
ด้านการบริการ
4.1 ให้คำปรึกษา แนะนำ
สนับสนุนในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้
สามารถดำเนินการด้านภาษีอากรได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
4.2
ตอบปัญหาและชี้แจงข้อซักถามของประชาชนเกี่ยวกับงานจัดเก็บรายได้ เพื่อให้
ประชาชนรับทราบข้อมูล ความรู้ต่างๆและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4.3 จัดทำระบบสารสนเทศ
เพื่อเพิ่มช่องทางในการรับชำระภาษีและจัดเก็บภาษีนอก พื้นที่
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้เสียภาษี
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1.
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน
ในสาขาวิชาหรือทาง บัญชี พาณิชยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การจัดการการคลัง บริหารธุรกิจ
หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต.
กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
2.
ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน
ในสาขาวิชาหรือทาง บัญชี พาณิชยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การจัดการการคลัง บริหารธุรกิจ
หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต.
กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
3.
ได้รับปริญญาเอกหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน
ในสาขาวิชาหรือทาง บัญชี พาณิชยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การจัดการการคลัง บริหารธุรกิจ
หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต.
กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
ค
วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน
ประกอบด้วย
1.1
ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย
(ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ
1
1.3
ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 1
1.4
ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 1
1.5
ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ
1
1.6
ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ
1
1.7
ความรู้เรื่องการทำงบการเงินและงบประมาณ ระดับ
2
1.8 ความรู้เรื่องระบบการบริหารงานการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์(GFMIS) ระดับ 1
1.9
ความรู้เรื่องบัญชีและระบบบัญชี ระดับ
2
1.10
ความรู้เรื่องจัดซื้อจัดจ้างและกฎระเบียบพัสดุ ระดับ
2
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน
ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 1
2.2
ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 1
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 1
2.4
ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 1
2.5 ทักษะในการสื่อสาร
การนำเสนอและถ่ายทอดความรู้ ระดับ 1
2.6
ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ
1
2.7
ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 1
3.
สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 1
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 1
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 1
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 1
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 1
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การคิดวิเคราะห์ ระดับ 1
3.2.2 การบริหารความเสี่ยง ระดับ 1
3.2.3 การยึดมั่นในหลักเกณฑ์ ระดับ 1
3.2.4 การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ ระดับ 1
3.2.5 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 1
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท
วิชาการ
ชื่อสายงาน
วิชาการจัดเก็บรายได้
ชื่อตำแหน่งในสายงาน
นักวิชาการจัดเก็บรายได้
ระดับตำแหน่ง
ระดับชำนาญการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน
ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้
ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูงในงานวิชาการภาษี การจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่นๆปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก
และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์
โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูงในงานวิชาการภาษี
การจัดเก็บค่าธรรมเนียมและรายได้อื่นๆ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือ
แก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง
ๆ ดังนี้
1.
ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ศึกษา วิเคราะห์
วิจัย เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโดยเฉพาะทางด้าน เศรษฐกิจที่มีความซับซ้อน
เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาประกอบการวางมาตรการ หรือแนวทางการจัดเก็บหรือ
ปรับปรุงอัตราภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่นๆ ให้มีความเหมาะสม
1.2 ศึกษา วิเคราะห์
วิจัยเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและรายได้ อื่นๆ
เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของโครงการหรือแนวทางที่เกี่ยวกับระบบภาษีและการจัดเก็บภาษี
ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่นๆ
1.3
ตรวจสอบการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีค่าธรรมเนียมของรัฐที่ได้จาก
เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา
เพื่อให้ทราบว่าการเก็บภาษีหรือค่าธรรมเนียมอื่นๆสามารถทำได้จำนวนเท่าไร อันจะ
นำไปสู่การคาดประมาณรายได้และรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปีงบประมาณถัดไปได้
1.4
ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมาแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการดำเนินการจัดเก็บ ภาษี
ค่าธรรมเนียมหรือรายได้อื่น เพื่อให้การดำเนินการจัดเก็บภาษี
ค่าธรรมเนียมหรือรายได้อื่นๆ สามารถทำได้ อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
1.5 ให้คำแนะนำ ปรึกษา
ให้การปฏิบัติงานและข้อมูลด้านวิชาการแก่เจ้าหน้าที่ ระดับรองลงมา
เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.6 ควบคุม
จัดเก็บและออกใบเสร็จ ภรด. ,ภป., ภบท.,
ใบเสร็จทั่วไปฯ เพื่อใช้เป็น หลักฐานในการรับเงินของหน่วยงาน
พร้อมเร่งรัด ติดตาม ลูกหนี้และผู้ที่อยู่ในข่ายการชำระภาษีและ ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
เพื่อติดตามลูกหนี้ค้างชำระให้มาชำระภาษีให้ครบถ้วนรวมถึงรับและตรวจแบบแสดง
รายการทรัพย์สินและเสนอต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อใช้ในการประเมินและคำนวณภาษี
1.7
ควบคุมจัดทำรายงานเกี่ยวกับรายได้ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานจัดเก็บ เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้อง ทันสมัย และใช้เป็นข้อมูลทางสถิติในการประมวลผลจากจัดเก็บรายได้
1.8
รวบรวมข้อมูลที่ออกสำรวจลงในข้อมูลแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน เพื่อใช้
เป็นฐานข้อมูลในการนำมาประกอบการจัดเก็บรายได้ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
1.9
ควบคุมการจัดทำคำสั่ง ประกาศเกี่ยวกับทรัพย์สินประเภทต่าง ๆ เพื่อให้
ประชาชนมายื่นแบบชำระภาษีตรงตามกำหนดเวลาและให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมาย
รวมถึงจัดทำ รวบรวม ข้อมูลส่งงานนิติการในการติดตามลูกหนี้ค้างชำระ
เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย
1.10 ควบคุม
จัดทำระบบฐานข้อมูลและบันทึกข้อมูลทะเบียนทรัพย์สินทั้งหมดที่อยู่ใน ข่ายชำระภาษีลงในระบบฐานข้อมูล
เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดเก็บภาษีและตรวจสอบได้รวดเร็วขึ้น
1.11
ดำเนินการรับคำร้องเกี่ยวกับการพิจารณาอุทธรณ์ภาษี เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
แก่ผู้ชำระภาษี และศึกษาข้อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
เพื่อใช้จัดเก็บภาษีอย่างถูกต้องโปร่งใสและเป็นธรรม
1.12
ควบคุมตรวจสอบการจัดเก็บภาษีอากร ซึ่งได้แก่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษี
บำรุงท้องที่ ภาษีป้าย ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตควบคุมกิจการค้า
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตควบคุมแผงลอย ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตควบคุมการแต่งผม
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการทำน้ำแข็ง เพื่อการค้า ค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตตั้งตลาดเอกชน
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำการโฆษณาและใช้เครื่องขยายเสียง ค่าธรรมเนียมตรวจ
รักษาโรคค่าธรรมเนียมเก็บขยะมูลฝอย ค่าธรรมเนียมขนสิ่งปฏิกูล
ค่าธรรมเนียมควบคุมการก่อสร้างอาคาร ค่าธรรมเนียมรับรองสำเนาทะเบียนราษฎร
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตอื่น ๆ ตามเทศบัญญัติ ค่าปรับผู้ละเมิด กฎหมายและเทศบัญญัติ
ค่าอากรการฆ่าสัตว์ ค่าธรรมเนียมโรงพักสัตว์ ค่ารับจ้างฆ่าสัตว์ ค่าเช่าอาคาร
พาณิชย์ ค่าเช่าโรงมหรสพ ค่าเช่าตลาดสด ค่าเช่าแผงลอย ค่าที่วางขายของในสวนสาธารณะ
ดอกเบี้ยเงิน ฝากกองทุนส่งเสริมกิจการองค์การบริหารส่วนตำบลและเงินฝากธนาคาร
ค่าจำหน่วยเวชภัณฑ์ คำร้องต่าง ๆ ค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิ์การเช่า และค่าชดเชยต่าง
ๆ
2.
ด้านการวางแผน
2.1
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานตามแผนงานหรือโครงการของ
หน่วยงานระดับสำนักหรือกอง และแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย
ผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
2.2
วางแผนและแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการจัดเก็บรายได้ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
2.3
วางแผนและแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการสำรวจข้อมูลภาคสนาม
เพื่อให้สามารถจัดเก็บข้อมูลครอบคลุมพื้นที่ และถูกต้อง เป็นปัจจุบัน
3.
ด้านการประสานงาน
3.1
ประสานการทำงานร่วมกันโดยมีบทบาทในการให้ความเห็นและคำแนะนำ
เบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือหน่วยงานอื่น
เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2
ให้ข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำเบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือบุคคลหรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
3.3
ให้ความเห็นแก่ประชาชนผู้ชำระภาษีในระเบียบข้อกฎหมาย เพื่อให้ประชาชนเข้าใจ
4.
ด้านการบริการ
4.1 ให้คำปรึกษา แนะนำ
สนับสนุนในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ สามารถดำเนินการด้านภาษีอากรและค่าธรรามเนียมต่างๆได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
4.2 เป็นวิทยากรบรรยาย
เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและ วิธีการของงานในความรับผิดชอบ
4.3 ส่งเสริมสนับสนุน
ให้มีสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการชำระ ภาษีและค่าธรรมเนียมและพัฒนาระบบสารสนเทศ
เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่
ประชาชน
ผู้รับบริการ
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1.
มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการจัดเก็บรายได้
ระดับปฏิบัติการ และ
2.
ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ
และปฏิบัติงาน ด้านวิชาการจัดเก็บรายได้ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ.,
ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 6
ปี กำหนดเวลา 6 ปี ให้ลดเป็น 4 ปี
สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการจัดเก็บรายได้ ระดับปฏิบัติการ
ข้อ 2 และให้ลดเป็น 2 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการจัดเก็บ
รายได้ ระดับปฏิบัติการ ข้อ 3
หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านวิชาการจัดเก็บรายได้
หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน
ประกอบด้วย
1.1
ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย
(ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.3
ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 2
1.4
ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 2
1.5
ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
1.6
ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.7
ความรู้เรื่องการทำงบการเงินและงบประมาณ ระดับ 3
1.8 ความรู้เรื่องระบบการบริหารงานการคลังภาครัฐ
ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์(GFMIS) ระดับ 2
1.9
ความรู้เรื่องบัญชีและระบบบัญชี ระดับ 3
1.10
ความรู้เรื่องจัดซื้อจัดจ้างและกฎระเบียบพัสดุ ระดับ 3
2.ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1
ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 2
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
ระดับ 2
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ
2
2.4
ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 2
2.5 ทักษะในการสื่อสาร
การนำเสนอและถ่ายทอดความรู้ ระดับ 2
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน
ระดับ 2
2.7
ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 2
3.
สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 2
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 2
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 2
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 2
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 2
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การคิดวิเคราะห์ ระดับ 2
3.2.2 การบริหารความเสี่ยง ระดับ 2
3.2.3 การยึดมั่นในหลักเกณฑ์ ระดับ 2
3.2.4 การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ ระดับ 2
3.2.5 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 2
------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท
วิชาการ
ชื่อสายงาน
วิชาการจัดเก็บรายได้
ชื่อตำแหน่งในสายงาน
นักวิชาการจัดเก็บรายได้
ระดับตำแหน่ง
ระดับชำนาญการพิเศษ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน
ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้
ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในงานวิชา การภาษี
การจัดเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ และรายได้อื่นๆ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และ
ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์
โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญในงานสูงมากในงานวิชาการภาษี
การจัดเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ และรายได้อื่นๆ ปฏิบัติงานที่
ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง
ๆ ดังนี้
1.
ด้านการปฏิบัติการ
1.1 กำกับดูแลการศึกษา
วิเคราะห์ วิจัย เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโดยเฉพาะ
ทางด้านเศรษฐกิจที่มีความซับซ้อน เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาประกอบการวางมาตรการ
หรือแนวทางการ จัดเก็บหรือปรับปรุงอัตราภาษีค่าธรรมเนียมให้มีความเหมาะสม
1.2
ให้ข้อแนะนำและดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐาน ระเบียบ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับระบบภาษี การจัดเก็บภาษีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ
และรายได้อื่นๆ เพื่อประกอบการ กำหนดมาตรการ ระเบียบในเรื่องดังกล่าว
1.3
ตรวจสอบการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีค่าธรรมเนียมของรัฐที่ได้จาก
เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เพื่อให้ทราบว่าการเก็บภาษีหรือค่าธรรมเนียมสามารถทำได้จำนวนเท่าไร
อันจะนำไปสู่การ
คาดประมาณการรายได้และรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปีงบประมาณถัดไปได้
1.4 ติดตามประเมินผล
และแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการดำเนินการจัดเก็บภาษี ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่นๆ
เพื่อให้การดำเนินการจัดเก็บภาษีค่าธรรมเนียมและรายได้อื่นๆสามารถทำได้
อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
1.5
วิเคราะห์ประเมินผลความถูกต้องของรายงานเกี่ยวกับรายได้ และอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับงานจัดเก็บ เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้อง ทันสมัย
และใช้เป็นข้อมูลทางสถิติในการ ประมวลผลจากจัดเก็บรายได้
1.6
ควบคุมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ออกสำรวจลงในข้อมูลแผนที่ภาษีและทะเบียน ทรัพย์สิน
เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการนำมาประกอบการจัดเก็บรายได้ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
1.7 ให้คำปรึกษา
แก้ไขปัญหา การเร่งรัด ติดตาม ลูกหนี้และผู้ที่อยู่ในข่ายการชำระ
ภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เพื่อติดตามลูกหนี้ค้างชำระให้มาชำระภาษีให้ครบถ้วน
1.8
ควบคุมการวิเคราะห์ข้อมูลทะเบียนทรัพย์สินทั้งหมดที่อยู่ในข่ายชำระภาษีลงใน
ระบบฐานข้อมูล เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดเก็บภาษีและตรวจสอบได้รวดเร็วขึ้น
1.9
ให้คำปรึกษาและให้ข้อเสนอแนะคำร้องเกี่ยวกับการพิจารณาอุทธรณ์ภาษี เพื่อให้
เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ชำระภาษี รวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับระเบียบ ข้อบังคับ
เพื่อใช้จัดเก็บภาษีอย่างถูกต้อง โปร่งใสและเป็นธรรม
2.
ด้านการวางแผน
2.1
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนงาน โครงการของหน่วยงานระดับสำนักหรือ กอง
มอบหมายงาน
แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานและติดตามประเมินผลเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่
กำหนด
2.2
วางแผนและแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการจัดเก็บรายได้ พร้อมทั้งให้คำปรึกษา
แนะนำตลอดจนการติดตามประเมินผล เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
2.3 ติดตามประเมินผลการสำรวจข้อมูลภาคสนาม
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้
2.4
ติดตามประเมินผลในการนำเทคโนโลยีสาระสนเทศเข้ามาใช้ เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาระบบการชำระภาษีมีความทันสมัยมากขึ้น
3.
ด้านการประสานงาน
3.1
ประสานสัมพันธ์กับสมาชิกในทีมงานโดยมีบทบาทในการชี้แนะ จูงใจ ทีมงานหรือ
หน่วยงานอื่นในระดับกองหรือสำนักเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ชี้แจง
ให้ข้อคิดเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการหรือคณะทำงานต่างเพื่อเป็น
ประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
4.
ด้านการบริการ
4.1 ให้คำปรึกษา แนะนำ
สนับสนุนให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชนและ
ประชาชนเพื่อให้สามารถดำเนินการด้านภาษีและค่าธรรมเนียมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
4.2 เป็นวิทยากรฝึกอบรม
ให้คำแนะนำ ปรึกษา ในงานด้านวิชาการแก่เจ้าหน้าที่ ระดับรองลงมา
เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 กำกับดูแล
ให้เกิดการพัฒนาระบบสารสนเทศ ให้ทันยุค ทันสมัย เพื่อให้มีช่องทาง
ที่หลากหลายในการ ยื่นแบบชำระภาษีผ่านทางระบบสารสนเทศ
การยื่นชำระภาษีทางธนาคารการยื่นคำร้อง
ขอลดหรือยกเว้นภาษีผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือรายการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1.
มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการจัดเก็บรายได้
ระดับปฏิบัติการ และ
2.
ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ
และปฏิบัติงาน ด้านวิชาการจัดเก็บรายได้ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ.,
ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 4
ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ.,ก.ท.,หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้อง
ปฏิบัติงานด้านวิชาการจัดเก็บรายได้
หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน
ประกอบด้วย
1.1
ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย
(ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.3
ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 3
1.4
ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 3
1.5
ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กรระดับ 2
1.6
ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณระดับ 2
1.7
ความรู้เรื่องการทำงบการเงินและงบประมาณ ระดับ 4
1.8
ความรู้เรื่องระบบการบริหารงานการคลังภาครัฐ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์(GFMIS)
ระดับ 3
1.9
ความรู้เรื่องบัญชีและระบบบัญชี ระดับ 4
1.10
ความรู้เรื่องจัดซื้อจัดจ้างและกฎระเบียบพัสดุ ระดับ 4
2.
ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1
ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 3
2.2
ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 3
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ
3
2.4
ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 3
2.5 ทักษะในการสื่อสาร
การนำเสนอและถ่ายทอดความรู้ ระดับ 3
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน
ระดับ 3
2.7
ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 3
3.สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 3
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 3
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 3
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 3
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 3
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การคิดวิเคราะห์ ระดับ 3
3.2.2 การบริหารความเสี่ยง ระดับ 3
3.2.3 การยึดมั่นในหลักเกณฑ์ ระดับ 3
3.2.4 การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ ระดับ 3
3.2.5 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 3
------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท
วิชาการ
ชื่อสายงาน
วิชาการจัดเก็บรายได้
ชื่อตำแหน่งในสายงาน
นักวิชาการจัดเก็บรายได้
ระดับตำแหน่ง
ระดับเชี่ยวชาญ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงาน
โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการภาษี
การจัดเก็บค่าธรรมเนียมหรือรายได้อื่นๆ ปฏิบัติงานที่ ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้างและปฏิบัติงานอื่น
ตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการซึ่งใช้ความรู้
ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการภาษี
การจัดเก็บค่าธรรมเนียมหรือรายได้อื่นๆปฏิบัติงานที่
ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง
และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง
ๆ ดังนี้
1.
ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ศึกษา วิเคราะห์
วิจัย จัดทำความเห็น สรุปรายงาน ให้ข้อแนะนำในหลักการและ
วิธีการจัดเก็บภาษีค่าธรรมเนียมหรือรายได้อื่นๆ
เพื่อให้การดำเนินการจัดเก็บสอดคล้องกับหลักวิชาการ กฎหมาย ระเบียบ
และสภาพความเป็นจริงมากที่สุด
1.2
ตรวจสอบและสรุปรายงานการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี
ค่าธรรมเนียมของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อให้สามารถนำเสนอและชี้แจงต่อองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นได้ครบถ้วน รอบด้าน
อันจะนำไปสู่การคาดประมาณการรายได้และรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นในปีงบประมาณถัดไป
1.3 ติดตามประเมินผล
และแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการดำเนินการจัดเก็บภาษี ค่าธรรมเนียมหรือรายได้อื่นๆ
เพื่อให้การดำเนินการจัดเก็บสามารถทำได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
1.4
ให้ข้อแนะนำผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งระบบงานเกี่ยวกับแผนงานเทคนิคทางงานภาษีอากร
เพื่อให้การปฏิบัติงานดำเนินไปได้อย่างถูกต้อง
1.5
ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินการวิเคราะห์ประเมินผลความถูกต้องของรายงาน
เกี่ยวกับรายได้ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานจัดเก็บ
เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้อง ทันสมัย และใช้
เป็นข้อมูลทางสถิติในการประมวลผลจากจัดเก็บรายได้
1.6 ให้คำปรึกษา
ควบคุมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ออกสำรวจลงในข้อมูลแผนที่ภาษีและ ทะเบียนทรัพย์สิน
เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการนำมาประกอบการจัดเก็บรายได้ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
1.7 ให้คำปรึกษา
แก้ไขปัญหา การเร่งรัด ติดตาม ลูกหนี้และผู้ที่อยู่ในข่ายการชำระ
ภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เพื่อติดตามลูกหนี้ค้างชำระให้มาชำระภาษีให้ครบถ้วน
1.8 ให้คำปรึกษา ควบคุมการวิเคราะห์ข้อมูลทะเบียนทรัพย์สินทั้งหมดที่อยู่ในข่าย
ชำระภาษีลงในระบบฐานข้อมูล
เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดเก็บภาษีและตรวจสอบได้รวดเร็วขึ้น
1.9
ให้คำปรึกษาและให้ข้อเสนอแนะคำร้องเกี่ยวกับการพิจารณาอุทธรณ์ภาษี เพื่อให้
เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ชำระภาษี รวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับระเบียบ ข้อบังคับ
เพื่อใช้จัดเก็บภาษีอย่างถูกต้อง โปร่งใสและเป็นธรรม
2.
ด้านการวางแผน
2.1
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผน โดยเชื่อมโยงหรือบูรณาการแผนงาน
โครงการในระดับกลยุทธ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มอบหมายงานแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานติดตาม ประเมินผล
เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
2.2
วางแผนและแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการจัดเก็บรายได้ พร้อมทั้งให้คำปรึกษา
แนะนำตลอดจนการติดตามประเมินผล เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
3.
ด้านการประสานงาน
3.1
ประสานการทำงานโครงการต่างๆ กับบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรอื่น โดยมี
บทบาทในการจูงใจ โน้มน้าวเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ให้ข้อคิดเห็น
และคำแนะนำแก่หน่วยงานระดับกอง หรือสำนักรวมทั้งที่ประชุม กับหน่วยงานต่าง ๆ
เพื่อเป็นประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
3.3 ชี้แจงรายละเอียดข้อมูลด้านการจัดเก็บรายได้
ตามหลักเกณฑ์ เพื่อเป็นประโยชน์ ในการตรวจสอบจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง
4.
ด้านการบริการ
4.1 ให้คำปรึกษา แนะนำ
สนับสนุนให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชนและ ประชาชน
เพื่อให้สามารถดำเนินการด้านภาษีค่าธรรมเนียมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
4.2
ให้คำปรึกษาแก่ประชาชนผู้ชำระภาษีในระเบียบข้อกฎหมาย เพื่อให้ประชาชน
เต็มใจที่จะชำระภาษีให้แก่ท้องถิ่น
4.3 เป็นวิทยากรฝึกอบรม
ให้คำแนะนำ ปรึกษา ในงานด้านวิชาการแก่เจ้าหน้าที่ ระดับรองลงมา
เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.4
อำนวยการถ่ายทอดความรู้หรือสนับสนุนการพัฒนาความรู้ความสามารถของ
ผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความพร้อมด้านสารสนเทศ
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรับภาษีมากที่สุด
4.5 กำกับดูแล
ให้เกิดการพัฒนาระบบสารสนเทศ ให้ทันยุค ทันสมัย เพื่อให้มีช่องทาง
ที่หลากหลายในการ ยื่นแบบชำระภาษีผ่านทางระบบสารสนเทศ
การยื่นชำระภาษีทางธนาคารการยื่นคำร้องขอ
ลดหรือยกเว้นภาษีผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือรายการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1.
มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการจัดเก็บรายได้
ระดับปฏิบัติการ และ
2.
ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ และ
ปฏิบัติงานด้านวิชาการจัดเก็บรายได้ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ.,
ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 2
ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านวิชาการจัดเก็บรายได้
หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน
ประกอบด้วย
1.1
ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 4
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย
(ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.3
ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระดับ 3
1.4
ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 3
1.5
ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กรระดับ 2
1.6
ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณระดับ 2
1.7
ความรู้เรื่องการทำงบการเงินและงบประมาณระดับ 5
1.8
ความรู้เรื่องระบบการบริหารงานการคลังภาครัฐ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์(GFMIS)
ระดับ 4
1.9
ความรู้เรื่องบัญชีและระบบบัญชี ระดับ 5
1.10
ความรู้เรื่องจัดซื้อจัดจ้างและกฎระเบียบพัสดุ ระดับ 5
2.
ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1
ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 4
2.2
ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 3
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ
3
2.4
ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 3
2.5 ทักษะในการสื่อสาร
การนำเสนอและถ่ายทอดความรู้ ระดับ 3
2.6
ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 3
2.7
ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 3
3.สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 4
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 4
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 4
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 4
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 4
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1 การคิดวิเคราะห์ ระดับ 4
3.2.2 การบริหารความเสี่ยง ระดับ 4
3.2.3 การยึดมั่นในหลักเกณฑ์ ระดับ 4
3.2.4 การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ ระดับ 4
3.2.5 ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน ระดับ 4
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น