นักบริหารงานการศึกษา
มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
2107
ตำแหน่งประเภท
อำนวยการท้องถิ่น
สายงาน
บริหารงานการศึกษา
ลักษณะงาน
โดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานในกอง
สำนักการศึกษาหรือในส่วนราชการอื่นที่ กฎหมายกำหนดสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการการศึกษา
การพัฒนางานวิชาการและระบบสารสนเทศ การประกันคุณภาพการศึกษา การบริหารงานบุคคล การบริหาร
การเงินและงบประมาณ การประสานงาน การกำกับ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล ตลอดจนการพัฒนา
กิจกรรมเด็กและเยาวชน การส่งเสริมทำนุบำรุงศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาในฐานะหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการ
ทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในตำแหน่งหัวหน้ากอง หัวหน้าฝ่าย ผู้อำนวยการกองการศึกษา
รองผู้อำนวยการสำนักการศึกษา และผู้อำนวยการสำนักการศึกษา
ชื่อตำแหน่งในสายงาน
และระดับตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้
นักบริหารงานการศึกษา
ระดับต้น
นักบริหารงานการศึกษา
ระดับกลาง
นักบริหารงานการศึกษา
ระดับสูง
ก.จ. กำหนดเมื่อ
26 พฤศจิกายน 2558
---------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท
อำนวยการท้องถิ่น
ชื่อสายงาน
บริหารงานการศึกษา
ชื่อตำแหน่งในสายงาน
นักบริหารงานการศึกษา
ระดับตำแหน่ง
ระดับต้น
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับกองในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ขนาดเล็ก หรือ ในฐานะหัวหน้าฝ่าย ที่มีลักษณะงานเกี่ยวกับการวางแผน บริหารจัดการจัดระบบงาน
อำนวยการ สั่งราชการ มอบหมาย กำกับ แนะนำ ตรวจสอบ ประเมินผลงาน ตัดสินใจแก้ปัญหาในงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ซึ่งมีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆดังนี้
1.
ด้านแผนงาน
1.1 ร่วมวางแผน โครงการ หรือแผนปฏิบัติงานด้านการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ
นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย งานส่งเสริมกีฬา นันทนาการ งานพัฒนากิจกรรมเด็กและเยาวชน
ส่งเสริมศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาคุณภาพเด็ก
เยาวชน และประชาชนในท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนกลยุทธ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.2 ร่วมบูรณาการแผนงาน โครงการ
กิจกรรม ด้านการจัดการศึกษาเพื่อให้เป็นไป ตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานตามที่กำหนด
1.3 ติดตาม เร่งรัด การดำเนินกิจกรรมต่าง
ๆ ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ หรือ แผนการปฏิบัติงานการศึกษา ตลอดจนประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงาน
เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานตามที่กำหนด
1.4 ร่วมวางแนวทางการศึกษา
วิเคราะห์ และเสนอแนวทางพัฒนาการปฏิบัติงานหรือ ระบบงานของหน่วยงานด้านงานการศึกษาที่สังกัดที่รับผิดชอบ
เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ภายใต้ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ
บุคลากร และเวลา
2.
ด้านบริหารงาน
2.1 จัดระบบงาน และปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาการสงเสริมพัฒนา
คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาให้เป็นไปตามความตองการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และหลักเกณฑ์ มาตรฐานที่รัฐกำหนดทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาเพื่อคน พิการ ผูดอยโอกาสและผู้มีความสามารถพิเศษ หน่วยงาน
เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ใน หน่วยงานที่รับผิดชอบ
2.2 วางแผนและศึกษารวบรวมสถิติข้อมูลทางการศึกษาในพื้นที่
เพื่อนำไปกำหนด นโยบายด้านการศึกษาของหน่วยงานต่อไป
2.3 ควบคุมดูแล นิเทศและ
ติดตามงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่ออำนวยการให้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความเจริญก้าวหน้าและสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
2.4 ควบคุมการจัดกิจกรรมทางด้านศาสนา
วัฒนธรรมประเพณี ความพอเพียงและ เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาของท้องถิ่น เพื่อสร้างให้เกิดองค์ความรู้ที่ถูกต้องของประชาชนในพื้นที่
2.5 ริเริ่ม พัฒนาแผนงานและโครงการเชิงรุกในการพัฒนาท้องถิ่นและนวัตกรรมที่มี
ความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อตอบสนองความต้องการทางศึกษาของพื้นที่
2.6 ควบคุมดูแลการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการวางแผน
ในหน่วยงานที่รับผิดชอบให้เป็นมาตรฐานและมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.7 ควบคุมดูแล ตรวจสอบ ให้คำแนะนำและศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ การจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ตัวชี้วัดตามเป้าหมายเป็นไปอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ตรงตามเวลาที่
กำหนดไว้
2.8 ควบคุมการจัดกิจกรรมทางด้านกีฬาให้กับประชาชนได้ออกกำลังกาย
เพื่อส่งเสริม สุขภาพที่ดีของประชาชนในพื้นที่
2.9 นิเทศการศึกษาและตรวจโรงเรียน
เพื่อประเมินผลและนำเสนอการปรับปรุง โรงเรียนและระบบต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
2.10 มอบหมาย กำกับดูแล ตรวจสอบ
ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ในเรื่อง ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน
เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
2.11 พิจารณาอนุมัติ อนุญาตการดำเนินการต่างๆ
ตามภารกิจที่หน่วยงานรับผิดชอบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
2.12 ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐ
เอกชน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความร่วมมือ หรือบูรณาการงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้รับบริการ
2.13 ชี้แจงข้อเท็จจริง พิจารณาให้ความเห็น
ข้อเสนอแนะในที่ประชุมคณะกรรมการ และคณะทำงานต่าง ๆ ที่ได้รับแต่งตั้ง หรือเวทีเจรจาต่าง
ๆ ในฐานะผู้แทนหน่วยงาน เพื่อรักษาผลประโยชน์ ของราชการ
3.
ด้านการบริหารงานทรัพยากรบุคคล
3.1 ร่วมจัดระบบงานและอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานให้สอดคล้องกับภารกิจ
เพื่อให้การปฏิบัติราชการเกิดประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า
3.2 ร่วมติดตามและประเมินผลงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับบัญชา
เพื่อให้การ ปฏิบัติงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงานและบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
3.3 ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับ
บัญชาเพื่อให้เกิดความสามารถและสมรรถนะที่เหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติ
4.
ด้านบริหารทรัพยากรและงบประมาณ
4.1 ร่วมวางแผนการใช้ทรัพยากรและงบประมาณของหน่วยงาน
เพื่อให้สอดคล้องกับ นโยบาย พันธกิจ และเป็นไปตามเป้าหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.2 ร่วมติดตาม ตรวจสอบการใช้ทรัพยากรและงบประมาณ
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1.
ได้รับคุณวุฒิการศึกษา ดังนี้
1.1 ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นเทียบได้ในระดับเดียวกัน
ในสาขาวิชาหรือทางการศึกษา ศึกษาศาสตร์ หรือในสาขาหรือทางอื่นที่ ก .จ. ก.ท. และ ก.อบต.
กำหนดว่าใช้เป็น คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
1.2 ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นเทียบได้ในระดับเดียวกัน
ในสาขาวิชาหรือ ทางการศึกษา ศึกษาศาสตร์ หรือในสาขาหรือทางอื่นที่ ก .จ. ก.ท. และ ก.อบต.
กำหนดว่าใช้เป็น คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
1.3 ได้รับปริญญาเอกหรือคุณวุฒิอย่างอื่นเทียบได้ในระดับเดียวกัน
ในสาขาวิชาหรือ ทางการศึกษา ศึกษาศาสตร์ หรือในสาขาหรือทางอื่นที่ ก .จ. ก.ท. และ ก.อบต.
กำหนดว่าใช้เป็น คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
2.
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในฐานะผู้อำนวยการกอง (นักบริหารงานการศึกษา
ระดับต้น)
2.1 มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักบริหารงานการศึกษา
ระดับต้น ข้อ 1
2.2 ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย
(นักบริหารงานการศึกษา ระดับต้น)
ตามข้อ
3 หรือที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า
2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติงานด้าน การศึกษา หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง
มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
3.
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในฐานะหัวหน้าฝ่าย (นักบริหารงานการศึกษา
ระดับต้น)
3.1 มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักบริหารงานการศึกษาระดับต้น
ข้อ 1
3.2 ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(1) ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี
(2) ประเภททั่วไป ระดับอาวุโส มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี
(3) ประเภททั่วไป ไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญงาน มาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี
3.3 ปฏิบัติงานด้านการศึกษา
หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1.
ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1. ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ระดับ 2
1.2. ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์
ระดับ 2
1.3. ความรู้เรื่องการติดตามและประเมินผล
ระดับ 2
1.4. ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร
ระดับ 2
1.5. ความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยง
ระดับ 1
1.6. ความรู้เรื่องการพัฒนาบุคลากร
ระดับ 2
1.7. ความรู้เรื่องสถานการณ์ภายนอกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมพื้นที่
ระดับ 1
1.8. ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน
ระดับ 1
1.9. ความรู้เรื่องการจัดการความรู้
ระดับ 2
1.10. ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ
ระดับ 2
2.ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล
ระดับ 1
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
ระดับ 1
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ
2
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ
ระดับ 2
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ
และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 1
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน
ระดับ 1
2.7 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ
ระดับ 2
3.
สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 1
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 1
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 1
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 1
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 1
3.2 สมรรถนะประจำผู้บริหาร
4 สมรรถนะ
3.2.1 การเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง ระดับ 1
3.2.2 ความสามารถในการเป็นผู้นำ ระดับ 1
3.2.3 ความสามารถในการพัฒนาคน ระดับ 1
3.2.4 การคิดเชิงกลยุทธ์ ระดับ 1
3.3 สมรรถนะประจำสายงาน
3.3.1 การแก้ไชปัญหาและดำเนินการเชิงรุก ระดับ 2
3.3.2 การวางแผนและการจัดการ ระดับ 2
3.3.3 การสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ระดับ 2
3.3.4 ความเข้าใจพื้นที่และการเมืองท้องถิ่น ระดับ 2
3.3.5 สร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น ระดับ 2
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท
อำนวยการท้องถิ่น
ชื่อสายงาน
บริหารงานการศึกษา
ชื่อตำแหน่งในสายงาน
นักบริหารงานการศึกษา
ระดับตำแหน่ง
ระดับกลาง
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับกองในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หรือตำแหน่ง หัวหน้าหน่วยงานอื่น ที่มีลักษณะงานเกี่ยวกับการวางแผน บริหารจัดการจัดระบบงาน
อำนวยการ สั่งราชการ มอบหมาย กำกับ แนะนำ ตรวจสอบ ประเมินผลงาน ตัดสินใจแก้ปัญหาในงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ซึ่งมี ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆดังนี้
1.
ด้านแผนงาน
1.1 วางแผน โครงการ หรือแผนการปฏิบัติงานด้านการศึกษา
ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย งานส่งเสริมกีฬา นันทนาการ งานพัฒนากิจกรรมเด็กและเยาวชน
ส่งเสริม ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กเยาวชน
และ ประชาชนในท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนกลยุทธ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.2 บูรณาการแผนงาน โครงการ
กิจกรรมด้านการศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กำหนด
1.3 ติดตาม เร่งรัด การดำเนินกิจกรรมต่าง
ๆ ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ หรือ แผนการปฏิบัติงาน ตลอดจนประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงาน
เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและ ผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานตามที่กำหนด
1.4 วางแนวทางการศึกษา วิเคราะห์
และเสนอแนวทางพัฒนาการปฏิบัติงานหรือ ระบบงานของหน่วยงานด้านงานการศึกษาที่สังกัดที่รับผิดชอบ
เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ภายใต้ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ
บุคลากร และเวลา
1.5 ค้นคว้าประยุกต์เทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ใหม่
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานในภารกิจ ของหน่วยงานในภาพรวมเพื่อนำมาปรับปรุงให้การปฏิบัติงาน
ระบบงาน หรือกระบวนการทำงานมี ประสิทธิภาพมากขึ้น
2.
ด้านบริหารงาน
2.1 จัดระบบงาน และปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาการสงเสริมพัฒนา
คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาให้เป็นไปตามความตองการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และหลักเกณฑ์ มาตรฐานที่รัฐกำหนดทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาเพื่อคน พิการ ผูดอยโอกาสและผู้มีความสามารถพิเศษ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติ ราชการของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
2.2 ควบคุมดูแลการวางแผนและศึกษารวบรวมสถิติข้อมูลทางการศึกษาในพื้นที่
เพื่อ นำไปกำหนดนโยบายด้านการศึกษาของหน่วยงานต่อไป
2.3 ควบคุมดูแล นิเทศและ
ติดตามงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่ออำนวยการให้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความเจริญก้าวหน้าและสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
2.4 ควบคุมการจัดกิจกรรมทางด้านศาสนา
วัฒนธรรมประเพณี ความพอเพียงและ เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาของท้องถิ่น เพื่อสร้างให้เกิดองค์ความรู้ที่ถูกต้องของประชาชนในพื้นที่
2.5 ริเริ่ม พัฒนาแผนงานและโครงการเชิงรุกในการพัฒนาท้องถิ่นและนวัตกรรมที่มี
ความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อตอบสนองความต้องการทางศึกษาของพื้นที่
2.6 ควบคุมดูแลการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการวางแผน
ในหน่วยงานที่รับผิดชอบให้เป็นมาตรฐานและมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.7 ควบคุมการจัดกิจกรรมทางด้านกีฬาให้กับประชาชนได้ออกกำลังกาย
เพื่อส่งเสริม สุขภาพที่ดีของประชาชนในพื้นที่
2.8 นิเทศการศึกษาและตรวจโรงเรียน
เพื่อประเมินผลและนำเสนอการปรับปรุง โรงเรียนและระบบต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
2.9 มอบหมาย กำกับดูแล ตรวจสอบ
ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ในเรื่อง ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน
เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
2.10 กำหนด พัฒนา ปรับปรุง
หรือแก้ไขแนวทาง คู่มือ กลไก กระบวนการ หรือ มาตรฐานในการปฏิบัติงานด้านงานการศึกษา
เพื่อให้การทำงานในงานที่รับผิดชอบเป็นไปอย่างถูกต้อง มี ประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด
2.11 พิจารณาอนุมัติ อนุญาตการดำเนินการต่างๆ
ตามภารกิจที่หน่วยงานรับผิดชอบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
2.12 ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐ
เอกชน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความร่วมมือ หรือบูรณาการงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้รับบริการ
2.13 ชี้แจงข้อเท็จจริง พิจารณาให้ความเห็น
ข้อเสนอแนะในที่ประชุมคณะกรรมการ และคณะทำงานต่าง ๆ ที่ได้รับแต่งตั้ง หรือเวทีเจรจาต่าง
ในฐานะผู้แทนหน่วยงานหรือส่วนราชการ เพื่อรักษา ผลประโยชน์ของราชการและประเทศชาติ
3.
ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
3.1 จัดระบบงานและอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานให้สอดคล้องกับภารกิจ
เพื่อให้ การปฏิบัติราชการเกิดประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า
3.2 ติดตามและประเมินผลงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับบัญชา
เพื่อให้การปฏิบัติงาน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงานและบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
3.3 ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับ
บัญชาเพื่อให้เกิดความสามารถและสมรรถนะที่เหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติ
4.
ด้านการบริหารทรัพยากรและงบประมาณ
4.1 วางแผนการใช้ทรัพยากรและงบประมาณของหน่วยงาน
เพื่อให้สอดคล้องกับ นโยบาย พันธกิจ และเป็นไปตามเป้าหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.2 ติดตาม ตรวจสอบการใช้ทรัพยากรและงบประมาณ
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
คุณ
สมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในฐานะผู้อำนวยการกองหรือผู้อำนวยกา รส่วน (นักบริหารงานการศึกษา
ระดับกลาง)
1.
มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักบริหารงานการศึกษา ระดับต้น ข้อ 1
2.
ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งมาแล้วดังต่อไปนี้ โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านการศึกษา
หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
2.1 ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง
(นักบริหารงานการศึกษา ระดับต้น) หรือที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต.
เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ
2.2 ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าหัวหน้าฝ่าย
(นักบริหารงานการศึกษา ระดับต้น) หรือที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต.
เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี กำหนดเวลา 4 ปี ให้ลดเป็น 3 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพะสำหรับตำแหน่งนักบริหารงานการศึกษา
ระดับต้น ข้อ 1.2 และข้อ 1.3 หรือ
2.3 ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการพิเศษ หรือที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบเท่า
มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1.
ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1. ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ระดับ 3
1.2. ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์
ระดับ 3
1.3. ความรู้เรื่องการติดตามและประเมินผล
ระดับ 3
1.4. ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร
ระดับ 3
1.5. ความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยง
ระดับ 2
1.6. ความรู้เรื่องการพัฒนาบุคลากร
ระดับ 3
1.7. ความรู้เรื่องสถานการณ์ภายนอกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมพื้นที่
ระดับ 2
1.8. ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน
ระดับ 2
1.9. ความรู้เรื่องการจัดการความรู้
ระดับ 3
1.10. ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ
ระดับ 3
2.
ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 2
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 2
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 3
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ
3
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 2
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ
2
2.7 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ
3
3.
สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 2
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 2
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 2
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 2
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 2
3.2 สมรรถนะประจำผู้บริหาร
4 สมรรถนะ
3.2.1 การเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง ระดับ 2
3.2.2 ความสามารถในการเป็นผู้นำ ระดับ 2
3.2.3 ความสามารถในการพัฒนาคน ระดับ 2
3.2.4 การคิดเชิงกลยุทธ์ ระดับ 2
3.3 สมรรถนะประจำสายงาน
3.3.1 การแก้ไชปัญหาและดำเนินการเชิงรุก ระดับ 3
3.3.2 การวางแผนและการจัดการ ระดับ 3
3.3.3 การสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ระดับ 3
3.3.4 ความเข้าใจพื้นที่และการเมืองท้องถิ่น ระดับ 3
3.3.5 สร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น ระดับ 3
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท
อำนวยการท้องถิ่น
ชื่อสายงาน
บริหารงานการศึกษา
ชื่อตำแหน่งในสายงาน
นักบริหารงานการศึกษา
ระดับตำแหน่ง
ระดับสูง
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับสำนัก
ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขนาดใหญ่ ที่มีลักษณะงานเกี่ยวกับการวางแผน บริหารจัดการ
จัดระบบงาน อำนวยการ สั่งราชการ มอบหมาย กำกับ แนะนำ ตรวจสอบ ประเมินผลงานตัดสินใจ
แก้ปัญหาเกี่ยวกับงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งมีลักษณะ หน้าที่ความรับผิดชอบ ความยากและคุณภาพของงานซับซ้อนมากและสูงมากเป็นพิเศษ
โดยปกครอง ผู้ใต้บังคับบัญชาจำนวนมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆดังนี้
1.
ด้านแผนงาน
1.1 วางแผนงาน โครงการ หรือแผนการปฏิบัติงานด้านการศึกษา
ทั้งการศึกษาใน ระบบ นอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย งานส่งเสริมการกีฬา นันทนาการ งานพัฒนากิจกรรมเด็กและ
เยาวชน ส่งเสริมศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อกำหนดเป้าหมาย
และผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงาน ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนกลยุทธ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สังกัด
1.2 บูรณาการแผนงาน โครงการขนาดใหญ่
กิจกรรม ด้านการศึกษา เพื่อให้เป็นไป
ตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กำหนด
1.3 ติดตาม เร่งรัด การดำเนินกิจกรรมต่างๆ
ที่มีความหลากหลาย และความยุ่งยาก ซับซ้อนมาก ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ หรือแผนการปฏิบัติงาน
ตลอดจนประเมินผลและรายงานการ ดำเนินงาน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานตามที่กำหนด
2.
ด้านบริหารงาน
2.1 กำหนดกลยุทธ์ ระบบงาน
และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับ การจัดการศึกษา การสงเสริมพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาให้เปนไปตามความตองการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และหลักเกณฑ์มาตรฐานที่รัฐกำหนดทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาเพื่อคนพิการ ผูดอยโอกาสและผู้มีความสามารถพิเศษ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติราชการของ
เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
2.2 ควบคุมดูแล ให้คำแนะนำ
และตรวจสอบการวิเคราะห์ วิจัยเชิงนโยบาย เพื่อ ทบทวนสถานภาพและเสนอแนวทาง มาตรการและยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพงานการศึกษาในท้องถิ่น
หรือพื้นที่ที่รับผิดชอบซึ่งมีขนาดใหญ่มากและมีประชากร รวมถึงสภาพสังคมและวัฒนธรรมที่หลายหลายและ
จำนวนมาก
2.3 ควบคุมดูแล นิเทศและ
ติดตามงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในท้องถิ่นหรือพื้นที่ที่ รับผิดชอบซึ่งมีขนาดใหญ่มากและมีประชากรรวมถึงสภาพสังคมและวัฒนธรรมที่หลายหลายและจำนวนมาก
เพื่ออำนวยการให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความเจริญก้าวหน้าและสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
2.4 ควบคุมการจัดกิจกรรมทางด้านศาสนา
วัฒนธรรมประเพณี ความพอเพียงและ เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาของท้องถิ่นในท้องถิ่นหรือพื้นที่ที่รับผิดชอบซึ่งมีขนาดใหญ่มากและมีประชากร
รวมถึงสภาพสังคมและวัฒนธรรมที่หลายหลายและจำนวนมาก เพื่อสร้างให้เกิดองค์ความรู้ที่ถูกต้องของ
ประชาชนในพื้นที่
2.5 นิเทศการศึกษาและตรวจโรงเรียนในพื้นที่ซึ่งมีความซับซ้อนสูง
เพื่อประเมินผล และนำเสนอการปรับปรุงโรงเรียนและระบบต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
2.6 ริเริ่ม พัฒนาแผนงานและโครงการเชิงรุกในการพัฒนาด้านงานศึกษาท้องถิ่น
งาน สังคมสงเคราะห์ งานสันทนาการ งานกีฬา งานลูกเสือและยุวกาชาด เพื่อตอบสนองความต้องการทาง
เศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่ และประเทศ
2.7 ควบคุมดูแลการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการวางแผน
ในหน่วยงานที่รับผิดชอบให้เป็นมาตรฐานและมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.8 ควบคุมดูแล ตรวจสอบ ให้คำแนะนำและศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตัวชี้วัดตามเป้าหมายเป็นไปอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ตรงตามเวลาที่
กำหนดไว้
2.9 มอบหมาย กำกับดูแล ตรวจสอบ
ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ในเรื่อง ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจที่หลากหลายและเบ็ดเสร็จของหน่วยงาน
เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
2.10 วินิจฉัย สั่งการ เรื่องที่มีขอบเขตผลกระทบในวงกว้าง
หรือมีความซับซ้อนของ ประเด็นปัญหา ซึ่งต้องพิจารณาอนุมัติ อนุญาต การดำเนินการต่าง
ๆ ตามภารกิจที่หน่วยงานรับผิดชอบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
2.11 ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐ
เอกชน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อความร่วมมือ หรือบูรณาการงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้รับบริการ
2.12 ชี้แจงข้อเท็จจริง พิจารณาให้ความเห็น
ข้อเสนอแนะในที่ประชุมคณะกรรมการ และคณะทำงานต่าง ๆ ที่ได้รับแต่งตั้ง หรือเวทีเจรจาต่าง
ในฐานะเป็นผู้มีบทบาทหลัก เพื่อรักษาผลประโยชน์ ของราชการและประเทศชาติ
3.
ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
3.1 จัดระบบงานและอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่มีความหลากหลายทั้งในเชิง
ปริมาณและคุณภาพให้สอดคล้องกับภารกิจ เพื่อให้การปฏิบัติราชการเกิดประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า
3.2 ติดตามและประเมินผลงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับบัญชา
เพื่อให้การปฏิบัติงาน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงานและบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
3.3 ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับ
บัญชาเพื่อให้เกิดความสามารถ ประสิทธิภาพและสมรรถนะที่เหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติ
3.4 ปรับปรุงหรือหาแนวทางวิธีการใหม่
ๆ หรือกลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติในการผลิตผลงาน
การบริการ หรือผลการดำเนินงานที่มีคุณภาพที่ดีขึ้น
4.
ด้านการบริหารทรัพยากรและงบประมาณ
4.1 วางแผนการใช้ทรัพยากรและงบประมาณของหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบสูง
เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย พันธกิจ และเป็นไปตามเป้าหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.2 ติดตาม ตรวจสอบการใช้ทรัพยากรและงบประมาณจำนวนมาก
เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในฐานะผู้อำนวยการสำนัก
(นักบริหารงานการศึกษา ระดับสูง )
1.
มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักบริหารงานการศึกษา ระดับต้น ข้อ 1
2.
ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ดังต่อไปนี้ โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านการศึกษาหรืองาน
อื่นที่เกี่ยวข้อง มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
2.1 ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง
(นักบริหารงานการศึกษา ระดับกลาง) หรือที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต.เทียบเท่า
มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือ
2.2 ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับเชี่ยวชาญ หรือที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า
8 ปี
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1.
ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1. ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ระดับ 4
1.2. ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์
ระดับ 3
1.3. ความรู้เรื่องการติดตามและประเมินผล
ระดับ 3
1.4. ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร
ระดับ 3
1.5. ความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยง
ระดับ 3
1.6. ความรู้เรื่องการพัฒนาบุคลากร
ระดับ 3
1.7. ความรู้เรื่องสถานการณ์ภายนอกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมพื้นที่
ระดับ 2
1.8. ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน
ระดับ 3
1.9. ความรู้เรื่องการจัดการความรู้
ระดับ 4
1.10. ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ
ระดับ 3
2.
ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 2
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 2
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 4
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ
4
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 3
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ
3
2.7 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ
3
3.
สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 3
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ 3
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ 3
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 3
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 3
3.2 สมรรถนะประจำผู้บริหาร
4 สมรรถนะ
3.2.1 การเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง ระดับ 3
3.2.2 ความสามารถในการเป็นผู้นำ ระดับ 3
3.2.3 ความสามารถในการพัฒนาคน ระดับ 3
3.2.4 การคิดเชิงกลยุทธ์ ระดับ 3
3.3 สมรรถนะประจำสายงาน
3.3.1 การแก้ไชปัญหาและดำเนินการเชิงรุก ระดับ 4
3.3.2 การวางแผนและการจัดการ ระดับ 4
3.3.3 การสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ระดับ 4
3.3.4 ความเข้าใจพื้นที่และการเมืองท้องถิ่น ระดับ 4
3.3.5 สร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น ระดับ 4
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น