นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย



 มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 3810
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
สายงาน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ลักษณะงาน โดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่างๆ ที่ปฏิบัติงานทางการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยซึ่งมี ลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ หาข้อมูลและสถิติต่างๆ วิเคราะห์วิจัย เพื่อวางแผนป้องกัน และระงับอัคคีภัย และสาธารณภัยอื่นๆ การให้คำแนะนำ ควบคุม ตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไข เกี่ยวกับ งานป้องกันและระงับอัคคีภัย รวมทั้งภัยธรรมชาติและสาธารณภัยอื่นๆ เช่น อุทกภัย วาตภัย การป้องกัน ภัยฝ่ายพลเรือนและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

ชื่อตำแหน่งในสายงาน และระดับตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้
นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระดับปฏิบัติการ
นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระดับชำนาญการ
นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระดับชำนาญการพิเศษ
นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระดับเชี่ยวชาญ
 ก.จ. กำหนดเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558
 -------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ระดับตำแหน่ง ระดับปฏิบัติการ
หน้า ที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 วางแผนดำเนินการ และปฏิบัติงานตรวจสอบ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
1.2 ดำเนินการระงับอัคคีภัย และภัยพิบัติอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่รับผิดชอบตามที่ ร้องขอ กู้ภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยได้อย่างรวดเร็ว และเกิดความเสียหาย น้อยที่สุด
1.3 ตรวจตรา ตรวจสอบสภาพอาคารและพื้นที่ที่มีความเสี่ยง เพื่อป้องกันอัคคีภัยและ ภัยพิบัติอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในเขตพื้นที่เพื่อดำเนินการป้องกันเชิงรุกก่อนเกิดเหตุการณ์
1.4 ควบคุม ดูแลและรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ ตลอดจนยานพาหนะต่างๆ เพื่อให้อยู่ใน สภาพพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้ทุกโอกาส
1.5 สำรวจแหล่งน้ำ เส้นทางจราจร แหล่งชุมชนต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการป้องกันและระบบอัคคีภัย
1.6 ตรวจสอบและวิเคราะห์สาเหตุการเกิดสาธารณภัย ในเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่รุนแรง เพื่อสรุปหาสาเหตุ และจัดทำรายงาน
1.7 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยงานด้านวิชาการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อกำหนดกลไก หลักเกณฑ์ และนโยบายต่างๆ ในการดำเนินการป้องกันและระงับอัคคีภัยและภัยพิบัติอื่นๆ
2. ด้านการวางแผน
2.1 วางแผนการดำเนินการ จัดทำแผนแม่บท เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
2.2 วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือส่วนราชการ หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงาน หน่วยงานหรือส่วน ราชการ เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
ให้บริการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแก่ประชาชน หน่วยงานหรือส่วนราชการ หรือเอกชนต่างๆ
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ได้รับปริญญาตรีตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง เคมี กฎหมาย รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม สถาปัตยกรรม ก่อสร้าง เทคโนโลยีอุตสาหกรรม วิศวกรรมความปลอดภัย การจัดการสาธารณภัย หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
2. ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทางเคมี กฎหมาย รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรม โยธา วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม สถาปัตยกรรม ก่อสร้าง เทคโนโลยีอุตสาหกรรม วิศวกรรมความ ปลอดภัย การจัดการสาธารณภัย หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็น คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
3. ได้รับปริญญาเอกหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง เคมี กฎหมาย รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม สถาปัตยกรรม ก่อสร้าง เทคโนโลยีอุตสาหกรรม วิศวกรรมความปลอดภัย การจัดการสาธารณภัย หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1      ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.2      ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ)   ระดับ 1
1.3      ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ    ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ระดับ 1
1.4      ความรู้เรื่องการจัดการความรู้       ระดับ 1
1.5      ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร          ระดับ 1
1.6      ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ    ระดับ 1
1.7      ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน    ระดับ 1
          1.8 ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ ระดับ 1
1.9 ความรู้เรื่องการติดตามและประเมินผล ระดับ 1
1.10 ความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยง ระดับ 1
1.11 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 1
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 1
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 1
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 1
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 1
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอและถ่ายทอดความรู้ ระดับ 1
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 1
2.7 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 1

3.สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย  
          3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ  
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 1
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 1
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 1
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 1
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 1
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน     
3.2.1    การควบคุม จัดการสถานการณ์อย่างสร้างสรรค์      ระดับ 1
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 1
3.2.3    การมุ่งความปลอดภัยและระวังภัย ระดับ 1
3.2.4    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 1
3.2.5    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 1
 -----------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญการ
หน้า ที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างานหรือเทียบเท่า ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของ ผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูง ในงานวิชาการป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากและปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูง ในงานวิชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ ยากและปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 มอบหมายงาน วินิจฉัยสั่งการ ควบคุม ตรวจสอบงานของเจ้าหน้าที่ระดับ รองลงมา เพื่อให้งานต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและให้ผลสัมฤทธิ์ที่ได้คุณภาพและมาตรฐาน
1.2 ดำเนินการระงับอัคคีภัย และภัยพิบัติอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่รับผิดชอบตามที่ ร้องขอกู้ภัย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและช่วยเหลือประชาชนได้อย่างรวดเร็วและเกิดความเสียหายน้ อย ที่สุด
1.3 วางแผนให้การสงเคราะห์และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย เพื่อให้ได้รับ การอำนวยความสะดวกอย่างดีที่สุด
1.4 กำกับ ดูแล การตรวจตราและป้องกันอัคคีภัยและภัยพิบัติอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในเขต พื้นที่เพื่อดำเนินการป้องกันเชิงรุกก่อนเกิดเหตุการณ์
1.5 ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานทุกระดับ
1.6 พัฒนาระบบป้องกันสาธารณภัย รวมทั้งศึกษา วิเคราะห์และวางแผนป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย เพื่อนำไปใช้กำหนดแผน หรือนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.7 กำหนดมาตรการ กำกับ ดูแล การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานและอาสาสมัคร ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน เพื่อให้ปฏิบัติได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานตามแผนงานหรือโครงการของหน่วยงาน ระดับสำนักหรือกอง และแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่ กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันโดยมีบทบาทในการให้ความเห็นและคำแนะนำ เบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงาน หน่วยงานหรือส่วนราชการอื่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่ กำหนดไว้
3.2 ให้ข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำเบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงาน บุคคล หน่วยงานหรือ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
3.3 ประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นหรือหน่วยงานต่าง ๆ ด้านวิชาการและทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง
4. ด้านการบริการ
ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา และบุคคลผู้ที่มีความสนใจทั่วไป
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และปฏิบัติงาน ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่ น้อยกว่า 6 ปี กำหนดเวลา 6 ปี ให้ลดเป็น 4 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย ระดับปฏิบัติการ ข้อ 2 และให้ลดเป็น 2 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระดับปฏิบัติการ ข้อ 3 หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหรืองานอื่นที่ เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ค วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1      ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.2      ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ)   ระดับ 2
1.3      ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว      ระดับ 2
1.4      ความรู้เรื่องการจัดการความรู้       ระดับ 2
1.5      ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร          ระดับ 2
1.6      ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ    ระดับ 2
1.7      ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน    ระดับ 2
1.8      ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์     ระดับ 2
          1.9      ความรู้เรื่องการติดตามและประเมินผล ระดับ 2
1.10 ความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยง ระดับ 2
1.11 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 2
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 2
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 2
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 2
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 2
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอและถ่ายทอดความรู้ ระดับ 2
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 2
2.7 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 2
3.สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย  
          3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ  
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 2
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 2
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 2
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 2
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 2
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน     
3.2.1    การควบคุม จัดการสถานการณ์อย่างสร้างสรรค์      ระดับ 2
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 2
3.2.3    การมุ่งความปลอดภัยและระวังภัย ระดับ 2
3.2.4    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 2
3.2.5    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 2
 ------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญการพิเศษ
หน้า ที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างานหรือเทียบเท่า ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงาน ของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในงานวิชาการ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญในงานสูงมากในงานวิชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือ แก้ปัญหาที่ยากมกา และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 วิเคราะห์ วิจัยข้อมูลด้านการระงับอัคคีภัยและภัยพิบัติต่างๆ เพื่อใช้ในการกำหนด มาตรฐานในการป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.2 นำการดำเนินการระงับอัคคีภัย และภัยพิบัติอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ตามที่ร้องขอกู้ภัย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและช่วยเหลือประชาชนได้อย่างถูกต้อง ตรงเวลาและเกิดความ เสียหายน้อยที่สุด
1.3 วางแผนการดำเนินการ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
1.4 ศึกษา และประยุกต์ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีวิชาการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.5 เสริมสร้างขวัญกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ที่ต้องปฏิบัติงานเสี่ยงภัย
1.6 กำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ด้านการป้องและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อเป็นแผนหลักในการดำเนินการของหน่วยงานหรือส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.7 ทำความเห็น สรุปรายงาน เพื่อให้ข้อแนะนำแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในหลักการและ วิธีการของการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
1.8 กำหนดมาตรการ กำกับ ดูแล การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานและอาสาสมัคร ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน เพื่อให้ปฏิบัติได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
1.9 พัฒนาระบบป้องกันสาธารณภัย รวมทั้งศึกษา วิเคราะห์และวางแผนป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย เพื่อนำไปใช้กำหนดแผนหรือนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนงาน โครงการของหน่วยงานระดับสำนักหรือกอง มอบหมายงาน แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานและติดตามประเมินผล เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่ กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันในทีมงาน โดยมีบทบาทในการชี้แนะจูงใจ ทีมงาน หน่วยงานหรือส่วนราชการอื่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ชี้แจง ให้ข้อคิดเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการหรือคณะทำงานต่างๆ สมาชิกใน ทีมงาน บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
4. ด้านการบริการ
ให้การอบรมและเผยแพร่ความรู้ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและวิธีการของการ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และปฏิบัติงาน ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดมาแล้วไม่ น้อยกว่า 4 ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ.,ก.ท.,หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1. ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.2. ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.3. ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 3
1.4. ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 3
1.5. ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
1.6. ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.7. ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 3
1.8. ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ ระดับ 3
1.9. ความรู้เรื่องการติดตามและประเมินผล ระดับ 2
1.10. ความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยง ระดับ 3
1.11. ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 3
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 3
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 3
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 3
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 3
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอและถ่ายทอดความรู้ ระดับ 3
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 3
2.7 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 3
3.สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย  
          3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ  
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 3
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 3
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 3
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 3
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 3
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน     
3.2.1    การควบคุม จัดการสถานการณ์อย่างสร้างสรรค์      ระดับ 3
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 3
3.2.3    การมุ่งความปลอดภัยและระวังภัย ระดับ 3
3.2.4    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 3
3.2.5    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 3
 ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ระดับตำแหน่ง ระดับเชี่ยวชาญ
หน้ที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างานที่มีความเชี่ยวชาญในงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจ หรือแก้ปัญหาที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษา โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และ ความเชี่ยวชาญในทางวิชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ศึกษา ค้นคว้า ให้คำปรึกษาแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการ และองค์กรเอกชน เกี่ยวกับข้อมูลด้านการระงับอัคคีภัยและภัยพิบัติต่างๆ เพื่อใช้ในการกำหนดมาตรฐานในการ ป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.2 ให้คำปรึกษา ควบคุมดูแลดารดำเนินการระงับอัคคีภัย และภัยพิบัติอื่นๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและช่วยเหลือประชาชนได้อย่างถูกต้อง ตรงเวลาและเกิดความเสียหายน้อยที่สุด
1.3 กำกับดูแลการวางแผนการดำเนินการ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
1.4 ศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีวิชาการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.5 กำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ด้านการป้องและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อ เป็นแผนหลักในการดำเนินการของหน่วยงานหรือส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.6 กำกับ ดูแล การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานและอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพล เรือน เพื่อให้ปฏิบัติได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
1.7 วางแนวทางพัฒนาระบบป้องกันสาธารณภัย รวมทั้งศึกษา วิเคราะห์และวางแผน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อนำไปใช้กำหนดแผนหรือนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนงาน โครงการของหน่วยงานระดับอำเภอหรือจังหวัด มอบหมายงาน แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานและติดตามประเมินผล เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่ กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานโครงการต่างๆ กับบุคคล หน่วยงานหรือองค์กรอื่น โดยมี บทบาทในการจูงใจโน้มน้าว เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ให้ข้อคิดเห็นและคำแนะนำแก่หน่วยงานระดับกองหรือสำนัก รวมทั้งในที่ประชุม เพื่อเป็นประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
4. ด้านการบริการ
4.1 เสนอความเห็น วินิจฉัยเพื่อเสนอแนะแนวทางวิชาการแก่หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายใน ภายนอก เกี่ยวกับการดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
4.2 เผยแพร่ ถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ และ ปฏิบัติงานด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ.,ก.ท.,หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ค วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1.       ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย        
          1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ)      ระดับ 4
          1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ)        ระดับ 4
          1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ระดับ 3
          1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้  ระดับ 3
          1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร     ระดับ 2
          1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ        ระดับ 2
          1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน         ระดับ 3
          1.8 ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ ระดับ 3
          1.9 ความรู้เรื่องการติดตามและประเมินผล  ระดับ 2
          1.10 ความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยง      ระดับ 3
          1.11 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 3
2.       ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย        
          2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล        ระดับ 3
          2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์      ระดับ 3
          2.3 ทักษะการประสานงาน        ระดับ 4
          2.4 ทักษะการบริหารโครงการ     ระดับ 3
          2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอและถ่ายทอดความรู้     ระดับ 4
          2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน         ระดับ 3
          2.7 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ         ระดับ 3
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 4
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 4
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 4
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 4
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 4
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การควบคุม จัดการสถานการณ์อย่างสร้างสรรค์      ระดับ 4
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 4
3.2.3    การมุ่งความปลอดภัยและระวังภัย ระดับ 4
3.2.4    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 4
3.2.5    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 4


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สันทนาการ

ช่างศิลป์

เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว