นักวิชาการสุขาภิบาล



มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 3606
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
สายงาน วิชาการสุขาภิบาล
ลักษณะงาน โดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานทางวิชาการสุขาภิบาล ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ เกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ และวินิจฉัยปัญหาทางวิชาการสุขาภิบาล และอนามัยสิ่งแวดล้อมกำหนดนโยบาย วางแผนงานและดำเนินงานวิชาการสุขาภิบาลตามแผน วัดและประเมินผลการดำเนินงานสุขาภิบาล การ จัดการของเสียและสิ่งปฏิกูลอย่างระบบเบ็ดเสร็จ ในด้านการรวบรวม การขนส่ง การแปรสภาพวัสดุเหลือใช้ และการกำจัด กำหนดระบบและวิธีการด้านนิเทศ นิเทศ ควบคุมติดตามผลและประเมินผลงานสุขาภิบาล และ งานวิชาการสุขาภิบาล ศึกษาค้นคว้า วิจัยด้านวิชาการสุขาภิบาล จัดสอน สอน และอบรมด้านการสุขาภิบาล จัดการประชุมและดำเนินการด้านเผยแพร่กิจการทางวิชาการสุขาภิบาล ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะและแนะ แนวทางวิชาการสุขาภิบาล กำหนด จรรโลง และสร้างมาตรฐานงานสุขาภิบาล อาจปฏิบัติงานรักษาพยาบาล งานวิชาการควบคุมโรคเพื่อประโยชน์ในการยกระดับมาตรฐานการสาธารณสุขของชุมชนและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

ชื่อตำแหน่งในสายงาน และระดับตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้
นักวิชาการสุขาภิบาล ระดับปฏิบัติการ
นักวิชาการสุขาภิบาล ระดับชำนาญการ
นักวิชาการสุขาภิบาล ระดับชำนาญการพิเศษ
นักวิชาการสุขาภิบาล ระดับเชี่ยวชาญ


ก.จ. กำหนดเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน วิชาการสุขาภิบาล
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักวิชาการสุขาภิบาล
ระดับตำแหน่ง ระดับปฏิบัติการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานงานฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในงาน ทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับด้านวิชาการสุขาภิบาล ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย สำรวจ รวบรวม ข้อมูลทางวิชาการเบื้องต้นที่ ไม่ซับซ้อนเกี่ยวกับงานด้านสุขาภิบาล รวมถึงการอนามัยที่เกี่ยวข้องกับสภาวะสิ่งแวดล้อม อันมีผลกระทบต่อ ชีวิตและสภำพความเป็ นอยู่ของประชาชน เช่น การศึกษาสถานการณ์ สิ่งแวดล้อมการเกิดโรค และการแพร่กระจาย การจัดการน้ำเสีย การจัดการขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูล การจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
การจัดการสุขาภิบาลอาหาร การจัดการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การจัดการอาคารสถานที่และการปรับปรุงแก้ไขสิ่งแวดล้อมทั่วไป และเหตุรำคาญอื่นๆ ควบคุมการดำเนินงาน ของสถานที่จำหน่ายอาหาร และเครื่องดื่มให้เป็นไปตามาตรฐานที่กำหนด เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาระบบ การสุขาภิบาลที่ดี
1.2 สรุปรายงานเกี่ยวกับการดำเนินงาน หรือรายงานการรวบรวมข้อมูลทางวิชาการ สุขาภิบาลเสนอผู้บังคับบัญชา เพื่อประกอบการวางแผนในการปฏิบัติงาน
1.3 ติดตามผลการศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยงานด้านสุขาภิบาล เพื่อนำมาใช้ใน การปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์และความจำเป็นของท้องที่
1.4 พัฒนาเนื้อหา องค์ความรู้ คุณภาพมาตรฐานเกี่ยวกับงานด้านสุขาภิบาล สิ่งแวดล้อมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาเกี่ยวกับงานด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และจัดทำคู่มือ แนวทาง ปฏิบัติ เอกสารทางวิชาการ สิ่งพิมพ์ และอุปกรณ์ต่างๆ ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และมีส่วน ร่วมในการรักษาและจัดการสภาพแวดล้อมอันมีผลกระทบต่อสุขภาพ
1.5 ปฏิบัติการในการแก้ไข ฟื้นฟู รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การตรวนสอบคุณภาพ สิ่งแวดล้อม และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพ ดูแล บำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ ให้พร้อมใช้งาน เพื่อพัฒนามาตรการและปรับปรุงวิธีการดำเนินการและจัดหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการ จัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ
1.6 จัดทำฐานข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เช่น ข้อมูล เกี่ยวกับคุณภาพน้ำ อากาศและเสียง พื้นที่เสี่ยง ประชากร ปริมาณขยะมูลฝอย สถานที่ประกอบกิจ การ ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข เป็นต้น เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ ปรับปรุงและพัฒนาระบบการจัดการ ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
1.7 ประเมินสิ่งแวดล้อมการทำงาน ประเมินสถานประกอบการ สถานบริการ สาธารณะ สถานที่สาธารณะ ทางด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันควบคุม ทำลายแหล่งแพร่เชื้อ และ พาหะนำโรคอันเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
1.8 ปฏิบัติงานส่งเสริม ควบคุม กำกับมาตรฐาน การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการ สาธารณสุข และกฎหมายเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อการคุ้มครองโรค และภัยสุขภาพของประชาชน
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานงานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงานหรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
3.2 ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริงแก่บุคลหรือหน่วยงานหรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ไ ด้รับ มอบหมาย
4. ด้านบริการ
4.1 ตรวจสอบสภาพของเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ให้มีคุณภาพพร้อมนำไปใช้งานอยู่ เสมอ รวมทั้งสนับสนุนงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การบริการ ดังกล่าวเป็นไปอย่างราบรื่น
4.2 สนับสนุนการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการ หรือเทคโนโลยีแก่บุคคลในหน่วยงาน เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานสุชาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ตน รับผิดชอบในระดับเบื้องต้น แก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนในได้ทราบข้อมูล และความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์และสามารถนำไปปฏิบัติให้มีสุขภาพที่ดี
4.4 ให้บริการทางวิชาการ เช่น การจัดทำเอกสาร คู่มือ สื่อเผยแพร่ หรือจัดกิจกรรม ในรูปแบบต่างๆ เพื่อการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจในงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
4.5 ร่วมปฏิบัติการในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กร เพื่อให้ เป็น บุคลากรที่มีความชำนาญ และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง สาธารณสุขศาสตร์ อนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย อาชีวอนามัยและความปลอดภัย สุขาภิบาล สุขาภิบาล สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์เน้นวิทยาศาสตร์สุขาภิบาล วิทยาศาสตร์สาธารณสุข วิทยาศาสตร์อนามัยและ สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมศาสตร์เน้นทางวิศวกรรมสุขาภิบาล วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะ สำหรับตำแหน่งนี้ได้
2. ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง สาธารณสุขศาสตร์ อนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย อาชีวอนามัยและความปลอดภัย สุขาภิบาล สุขาภิบาล สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์เน้นวิทยาศาสตร์สุขาภิบาล วิทยาศาสตร์สาธารณสุข วิทยาศาสตร์อนามัยและ สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมศาสตร์เน้นทางวิศวกรรมสุขาภิบาล วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะ สำหรับตำแหน่งนี้ได้
3. ได้รับปริญญาเอกหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง สาธารณสุขศาสตร์ อนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย อาชีวอนามัยและความปลอดภัย สุขาภิบาล สุขาภิบาล สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์เน้นวิทยาศาสตร์สุขาภิบาล วิทยาศาสตร์สาธารณสุข วิทยาศาสตร์อนามัยและ สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมศาสตร์เน้นทางวิศวกรรมสุขาภิบาล วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะ สำหรับตำแหน่งนี้ได้
ค วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1      ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.2      ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ)   ระดับ 1
1.3      ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว     ระดับ 1
1.4      ความรู้เรื่องการจัดการความรู้       ระดับ 1
1.5      ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร          ระดับ 1
1.6      ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ    ระดับ 1
1.7      ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน    ระดับ 1
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯ ระดับ 1
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ   ระดับ 1
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1      ทักษะการบริหารข้อมูล   ระดับ 1
2.2      ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์  ระดับ 1
2.3      ทักษะการประสานงาน    ระดับ 1
2.4      ทักษะการบริหารโครงการ          ระดับ 1
2.5      ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้        ระดับ 1
2.6      ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน    ระดับ 1
2.7      ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์  ระดับ 1
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 1
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 1
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 1
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 1
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 1
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ      ระดับ 1
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 1
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 1
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 1
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 1
 --------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน วิชาการสุขาภิบาล
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักวิชาการสุขาภิบาล
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างานหรือเทียบเท่า ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงาน ของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และความชำนาญงานสู งในด้านวิชาการ สุขาภิบาล ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ไชปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงในด้านวิชาการสุขาภิบาล ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจห รือแก้ปัญหาที่ยาก และ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านปฏิบัติการ
1.1 ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย รวบรวมข้อมูล เรื่องที่ยากและมีความซับซ้อน ต้องอาศัยความรู้ทางวิชาการด้านสุขาภิบาล รวมถึงการอนามัยที่เกี่ยวข้องกับสภาวะสิ่งแวดล้อม อันมีผลก กระทบต่อชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น สถานการณ์สิ่งแวดล้อมการเกิดโรคและการ แพร่กระจาย การจัดการน้ำเสีย ขยะมูลฝอย ของเสียอันตราย สิ่งปฏิกูล มลพิษทางอากาศและเสียง การจัดการ สุขาภิบาลอาหาร การจัดการกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การจัด อาคารสถานที่และปรับปรุงแก้ไขสิ่งแวดล้อมทั่วไป เหตุรำคาญอื่นๆ ที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยและการดำรงชีวิต ของประชาชน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและพัฒนาระบบสุขาภิบาลให้ดียิ่งขึ้น
1.2 วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน รวมทั้งวิเคราะห์รายงาน เกี่ยวกับการดำเนินงาน หรือรายงานการรวบรวมข้อมูลทางวิชาการด้านสุขาภิบาลและเสนอแนะ เพื่อประกอบการจัดทำมาตรฐานงานสุขาภิบาล
1.3 กำกับ ดูแล การประเมินผลการดำเนินงานในโครงการต่างๆ เพื่อให้ทราบผลการ ดำเนินการและนำมาปรับปรุงระบบงานให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
1.4 กำกับ ดูแลการพัฒนาเนื้อหาองค์ความรู้ คุณภาพมาตรฐานเกี่ยวกับงานด้าน สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญา เกี่ยวกับงานด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และจัดทำ คู่มือ แนวทางปฏิบัติ เอกสารวิชาการ วิ่งพิมพ์ และอุปกรณ์ต่างๆ ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และ มีส่วนร่วมในการรักษาและจัดการสภาพแวดล้อมอันมีผลกระทบต่อสุขภาพ
1.5 กำกับดูแล การปฏิบัติการในการแก้ไข ฟื้นฟู รักษาคุณ ภาพสิ่งแวดล้อม การตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพ ดูแลบำรุงรักษา เครื่องมือและอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน เพื่อพัฒนามาตรฐานและปรับปรุงวิธีการดำเนินการและจัดหาเทคโนโลยี ที่เหมาะสมในการจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ
1.6 วิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อนที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสุขาภิบาล เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับ คุณภาพน้ำ อากาศและเสียง พื้นที่เสี่ยง ประชากร ปริมาณขยะมูลฝอย สถานที่ประกอบกิจการตามกฎหมายว่า ด้วยการสาธารณสุข เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาระบบการจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น
1.7 ให้คำปรึกษา แนะนำ การประเมินสิ่งแวดล้อมการทำงาน ประเมินสถาน ประกอบการ สถานบริการสาธารณะ สถานที่สาธารณะทางด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันควบคุม ตัดวงจรการระบาดของโรค ทำลายเหล่งแพร่เชื้อ และพาหะนำโรคอันเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
1.8 ปฏิบัติงานส่งเสริม ควบคุม กำกับ พัฒนามาตรฐาน การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วย การสาธารณสุข และกฎหมายเกี่ยวกับสุขาภิบาล และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อการคุ้มครองป้องกันโรคและ ภัยสุขภาพของประชาชน
2. ด้านการวางแผน
วางแผน หรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานตามแผนงาน หรือโครงการของ หน่วยงานหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแกปัญหาในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตาม เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานงานการทำงานร่วมกัน โดยมีบทบาทในการให้ความเห็นและคำแนะนำ เบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงาน หรือหน่วยงานหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือแ ละ ผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
3.2 ให้ข้อคิดเห็น หรือคำแนะนำเบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงาน หรือบุคคล หรือ หน่วยงานหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงาน ตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้บริการด้านสุขาภิบาลที่ตนรับผิดชอบ รวบรวมข้อมูล บันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการให้บริการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างอนามัยและสภาวะแวดล้อมที่ดี แก่ประชาชน
4.2 ดำเนินการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการ หรือเทคโนโลยีแก่เจ้าหน้าที่ระดับ รองลงมาในหน่วยงานหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างความรู้และสนับสนุนให้การปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 ให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ ค่อนข้างยาก แก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบข้อมูล และความรู้ ที่เป็นประโยชน์ สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
4.4 ให้บริการทางวิชาการ เช่น การจัดทำเอกสาร คู่มือ สื่อเผยแพร่ หรือจัดกิจกรรม ในรูปแบบต่างๆ เพื่อการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจในงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ วิธีการ หรือประยุกต์เทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในการปฏิบัติงาน
4.5 ปฏิบัติการในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กร เพื่อให้เป็นบุคลกรที่มี ความชำนาญ และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และปฏิบัติงาน ด้านวิชาการสุขาภิบาล หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี กำหนดเวลา 6 ปี ให้ลดเป็น 4 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล ระดับปฏิบัติการ ข้อ 2 และให้ลดเป็น 2 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล ระดับปฏิบัติการ ข้อ 3 หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านวิชาการสุขาภิบาล หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ค วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 2
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 2
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 2
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯ ระดับ 2
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 2
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 2
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 2
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 2
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 2
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 2
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 2
2.7 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 2
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 2
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 2
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 2
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 2
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 2
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ      ระดับ 2
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 2
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 2
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 2
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 2
 -------------------------------------------------------------------------------------------------------------
 ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน วิชาการสุขาภิบาล
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักวิชาการสุขาภิบาล
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญการพิเศษ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในด้านวิชาการสุขาภิบาล ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจ หรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในด้านวิชาการสุขาภิบาล ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 วางแนวทางการศึกษาศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย รวบรวมข้อมูล เรื่องที่ยาก และมีความซับซ้อน ต้องอาศัยความรู้ทางวิชาการด้านสุขาภิบาล หรือประสบการณ์สูง เช่น สถานการณ์ สิ่งแวดล้อม การเกิดโรคและการแพร่กระจาย การจัดการน้ำเสีย ขยะมูลฝอย ของเสียอันตราย สิ่งปฏิกูล มลพิษ ทางอากาศและเสียง การจัดการสุขาภิบาลอาหาร การจัดการกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและอาชีวอนามัย และความปลอดภัย การจัดอาคารสถานที่และปรับปรุงแก้ไขสิ่งแวดล้อมทั่วไป เหตุรำคาญอื่นๆ ที่มีผลต่อ สุขภาพอนามัยและการดำรงชีวิตของประชาชน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและ พัฒนาระบบสุขาภิบาลให้ดี
1.2 วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน รวมทั้งวิเคราะห์รายงาน เกี่ยวกับการดำเนินงาน หรือรายงานการรวบรวมข้อมูลทางวิชาการด้านสุขาภิบาลและเสนอแนะ เพื่อวาง แนวทางในการจัดทำมาตรฐานงานด้านสุขาภิบาล และปรับปรุงระบบงานสุขาภิบาลให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
1.3 วางแนวทางการประเมินผลการดำเนินงานในโครงการต่างๆ เพื่อให้ทราบผลการ ดำเนินการและนำมาปรับปรุงระบบงานให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
1.4 วางแนวทางการพัฒนาเนื้อหาองค์ความรู้ คุณภาพมาตรฐานเกี่ยวกับงานด้าน สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญา เกี่ยวกับงานด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และจัดทำ คู่มือ แนวทางปฏิบัติ เอกสารวิชาการ วิ่งพิมพ์ และอุปกรณ์ต่างๆ ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และ มีส่วนร่วมในการรักษาและจัดการสภาพแวดล้อมอันมีผลกระทบต่อสุขภาพ
1.5 ตรวจสอบการปฏิบัติการในการแก้ไข ฟื้นฟู รักษาคุณ ภาพสิ่งแวดล้อม การตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพ ดูแลบำรุงรักษา เครื่องมือและอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน เพื่อประกอบการวางมาตรการและมาตรฐานงานด้านสุขาภิบาล และ ปรับปรุงวิธีการดำเนินการและจัดหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการด้านสุขาภิ บาลสิ่งแวดล้อมให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น
1.6 พัฒนาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสุขาภิบาล เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพน้ำ อากาศและเสียง พื้นที่เสี่ยง ประชากร ปริมาณขยะมูลฝอย สถานที่ประกอบกิจการตามกฎหมายว่าด้วยการ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพที่ดี เป็นต้นเพื่อนำไปวิเคราะห์ในการปรับปรุงระบบงานสุ ขาภิบาล สิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
1.7 กำกับ ดูแล ให้คำปรึกษา แนะนำ ประเมินสิ่งแวดล้อมการทำงาน ประเมินสถาน ประกอบการ สถานบริการสาธารณะ สถานที่สาธารณะทางด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันควบคุม ตัดวงจรการระบาดของโรค ทำลายเหล่งแพร่เชื้อ และพาหะนำโรคอันเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อย่างมี ประสิทธิภาพ
1.8 วางระบบและกำหนดแนวทางการส่งเสริม ควบคุม กำกับ พัฒนามาตรฐาน การ บังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข และกฎหมายเกี่ยวกับสุขาภิบาล และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อการ คุ้มครองป้องกันโรคและภัยสุขภาพของประชาชน
2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนงาน โครงการของหน่วยงานหรือองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นมอบหมายงาน แก้ปัญหาในการปฏิบัติงานและติดตามประเมินผล เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและ ผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
1.1 ประสานการทำงานร่วมกันในทีมงาน โดยมีบทบาทในการชี้แนะ จูงใจ ทีมงาน หรือหน่วยงานหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
1.2 ชี้แจง ให้ข้อคิดเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการหรือคณะทำงานต่างๆ เพื่อให้เกิด ประโยชน์และความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำปรึกษาแนะนำปัญหสำคัญทงสุขาภิบลแก่ประชาชน และ ผู้ประกอบการต่างๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสุขาภิบาล ตลอดจนการจัดทำรายงานเสนอต่อผู้บังคับบัญชา
4.2 ให้คำปรึกษาและอำนวยการในการถ่ายทอดความรู้ในงานด้านวิชาการและการ ปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา และบุคลากรด้านสุขาภิบาลภายในหน่วยงาหรือองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น เพื่อสร้างความรู้ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 กำกับ ดูแล ในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร และองค์กร เพื่อให้เป็นบุคลากร ที่มีความชำนาญ และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.4 นิเทศงานด้านสุขาภิบาล เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และปฏิบัติงาน ด้านวิชาการสุขาภิบาล หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงาน ด้านวิชาการสุขาภิบาล หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ค วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 3
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 3
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 2
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯ ระดับ 3
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 3
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 3
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 3
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 3
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 3
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 3
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 3
2.7 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 3
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 3
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 3
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 3
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 3
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 3
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ      ระดับ 3
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 3
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 3
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 3
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 3
 --------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน วิชาการสุขาภิบาล
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักวิชาการสุขาภิบาล
ระดับตำแหน่ง ระดับเชี่ยวชาญ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในด้านวิชาการสุขาภิบาล ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหา ในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการ ซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการสุขาภิบาล ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทาง วิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย รวบรวมข้อมูล เรื่องที่ยากและมีความซับซ้อน ต้องอาศัยความรู้ทางวิชาการด้านสุขาภิบาล หรือประสบการณ์สูง เช่น สถานการณ์สิ่ งแวดล้อม การเกิดโรค และการแพร่กระจาย การจัดการน้ำเสีย ขยะมูลฝอย ของเสียอันตราย สิ่งปฏิกูล มลพิษทางอากาศและเสียง การจัดการสุขาภิบาลอาหาร การจัดการกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การจัดอาคารสถานที่และปรับปรุงแก้ไขสิ่งแวดล้อมทั่วไป เหตุรำคาญอื่นๆ ที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยและการ ดำรงชีวิตของประชาชน เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดเป็นนโยบาย แผนงานแนวทางปฏิบัติ รวมทั้ง ปรับปรุงระบบงานและวิธีการดำเนินด้านสุขาภิบาล
1.2 ตรวจสอบ วินิจฉัย ให้คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาสำคัญเกี่ยวกับงานสุขาภิบาล ตลอดจนการดำเนินงานด้านสุขาภิบาล เพื่อให้การดำเนินงานถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาล
1.3 พัฒนาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสุขาภิบาล เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพน้ำ อากาศและเสียง พื้นที่เสี่ยง ประชากร ปริมาณขยะมูลฝอย สถานที่ประกอบกิจการตามกฎหมายว่าด้วยการ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพที่ดี เป็นต้นเพื่อนำไปปรับปรุงระบบงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น
1.4 กำกับ ดูแล แนะนำ ประเมินสิ่งแวดล้อมการทำงาน ประเมินสถานประกอบการ สถานบริการสาธารณะ สถานที่สาธารณะทางด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันควบคุม ตัดวงจรการ ระบาดของโรค ทำลายเหล่งแพร่เชื้อ และพาหะนำโรคอันเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อย่างมีประสิทธิภาพ
1.5 วางแนวทางการส่งเสริม ควบคุม กำกับ พัฒนามาตรฐาน การบังคับใช้กฎหมาย ว่าด้วยการสาธารณสุข และกฎหมายเกี่ยวกับสุขาภิบาล และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อการคุ้มครองป้องกัน โรคและภัยสุขภาพของประชาชน
2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผน โดยเชื่อมโยงหรือบูรณาการแผนงาน โครงการในระดับกล ยุทธ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับกรม มอบหมายงานแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานติดตาม ประเมินผล เพื่อให้ บรรลุตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานโครงการต่างๆกับบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรอื่น โดยมีบทบาทใน การจูงใจ โน้มน้าวเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ให้ข้อคิดเห็น และคำแนะนำแก่หน่วยงานระดับกอง หรือสำนักรวมทั้งที่ประชุมทั้งใน และต่างประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้ความรู้ในงานด้านวิชาการเกี่ยวกับสุขาภิบาล แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา และ บุคลากรด้านสุขาภิบาลภายในหน่วยงานหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างความรู้ให้สามารถ ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 ให้คำปรึกษา แนะนำ เกี่ยวกับงานสุขาภิบาลแก่บุคคลหรือหน่วยงานทั้งภายในและ ภายนอก เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ และ ปฏิบัติงานด้านวิชาการสุขาภิบาล หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อย กว่า 2 ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต.กำหนด โดยจะต้อง ปฏิบัติงานด้านวิชาการสุขาภิบาล หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1      ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 4
1.2      ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ)   ระดับ 3
1.3      ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว      ระดับ 3
1.4      ความรู้เรื่องการจัดการความรู้       ระดับ 3
1.5      ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร          ระดับ 2
1.6      ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ    ระดับ 2
1.7      ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน    ระดับ 2
1.8      ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯระดับ 4
1.9ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ    ระดับ 3
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 3
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 3
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 3
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 3
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 3
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 3
2.7 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 4
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 4
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 4
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 3
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 4
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 4
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ      ระดับ 4
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 4
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 4
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 4
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 4


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สันทนาการ

เจ้าพนักงานทะเบียน

เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว