นักวิทยาศาสตร์การแพทย์



มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 3610
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
สายงาน วิทยาศาสตร์การแพทย์
ลักษณะงาน โดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานวิชาการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจชันสูตรโรค พิสูจน์ยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการในสาขาต่าง ๆ เช่น บัคเตรีวิทยาไวรัสวิทยา พาราสิตวิทยา โลหิตวิทยา ฯลฯ การเพาะเลี้ยงเชื้อ แยกเชื้อ ทั้งเชื้อบัคเตรีและไวรัส ผลิตแอนติเจน แอนติเซรุ่ม วัคซีน ท๊อกซอยด์ ฯลฯ และสารมาตรฐานอื่น ๆ ศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการ ระบาดของโรค การสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน เพื่อสนับสนุนการป้องกันรักษาโรค ตรวจวิเคราะห์เพื่อควบคุม คุณภาพมาตรฐานยา ชีววัตถุ อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง การจัดทำตารางยาแห่งประเทศไทย การตรวจ วิเคราะห์วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท สารเสพติด การตรวจวิเคราะห์สารพิษชนิดต่าง ๆ จากเ ลือด ปัสสาวะ อวัยวะผู้ป่วย ผู้ตาย และสิ่งแวดล้อม เพื่อสุขอนามัยและความปลอดภัยของประชาชน ตลอดจนเป็นหลักฐาน ประกอบการพิจารณาคดี ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยสมุนไพร ทางพฤกษศาสตร์ เภสัชเวท พฤกษเคมี เภสัช วิทยา ฯลฯ เพื่อหาสารสำคัญ และทดลองผลิตเป็นยารักษาโรค สอบเทียบวิธีตรวจวิเคราะห์ ตรวจชันสูตร รวมทั้งห้องปฏิบัติการ และพัฒนาให้มีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่เชื่อถือ ตรวจซ่อม จัดหา บำรุงรักษา เครื่องมือ วิทยาศาสตร์ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในงานวิเคราะห์ วิจัยปฏิบัติงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตลอดจนการสอน ฝึกอบรม นิเทศงาน และปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ชื่อตำแหน่งในสายงาน และระดับตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้
นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระดับปฏิบัติการ
นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระดับชำนาญการ
นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระดับชำนาญการพิเศษ
นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระดับเชี่ยวชาญ


ก.จ. กำหนดเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558
-------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน วิทยาศาสตร์การแพทย์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักวิทยาศาสตร์การแพทย์
ระดับตำแหน่ง ระดับปฏิบัติการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่ใช้วิธีการ เครื่องมือ เทคโนโลยี พื้นฐาน โดยการประกันคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล การบังคับใช้กฎหมายด้าน สาธารณสุข และเป็นข้อมูลในการป้องกัน วินิจฉัย รักษา พยากรณ์โรค สอบสวนและเฝ้าระวังการระบาดของ โรค การประเมินภาวะสุขภาพ คัดกรองสุขภาพ หรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต่อสุขภาพ ตลอดจน ประกอบการพิจารณาทางอรรถคดี เพื่อสนับสนุนการคุ้มครองผู้บริโภคและสุขภาพของประชาชน
1.2 ร่วมวิจัยทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ให้ได้องค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ทางด้านสุขภาพและวิทยาศาสตร์การแพทย์ การประเมินความเสี่ยง เตือนภัยสุขภาพ และการป้องกัน วินิจฉัย รักษา พยากรณ์โรค สอบสวนโรคเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและสนับสนุนสุขภาวะของ ประชาชน
1.3 ร่วมดำเนินการประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยพัฒนา ประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ และรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล เพื่อสนับสนุน คุ้มครองสุขภาวะของประชาชน
1.4 ศึกษา ค้นคว้า เก็บตัวอย่าง ตรวจวิเคราะห์สารต่างๆ และวิจัยทางชีวเคมีจาก ชิ้นส่วนหรือสารที่ได้จากร่างกายของผู้ป่วย เพื่อหาสาเหตุความผิดปกติของร่างกาย และสาเหตุของการเกิดโรค อันเป็นการสนับสนุนให้การวินิจฉัยโรค และอาการเกิดความถูกต้องมากที่สุด
1.5 ศึกษา ค้นคว้า และทดลองการใช้สารต่างๆ ความไวต่อสารปฏิชีวนะ ผลกระทบ ข้างเคียงจากการใช้ยา โดยอาศัยสัตว์ทดลอง และการเพาะเชื้อชนิดต่างๆ เพื่อใช้ในการสร้างเซรุ่ม และวัคซีน แอนติเจนที่ใช้เป็นภูมิคุ้มกันโรค หรือยารักษาโรค
1.6 ศึกษา ค้นคว้า และทดลองเกี่ยวกับการเจริญเติบโตและอันตรายของจุลชีววิทยา เพื่อให้มีข้อมูลในการป้องกัน และรักษาโรคหรืออาการผิดปกติต่างๆ ที่เกิดจากแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต หรือ จุลชีพอื่นๆ
1.7 ศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยา จำแนกชนิดและหมวดหมู่ สำรวจความชุกชุม ความสามารถในการนำโรคของพาหะนำโรคชนิดต่างๆ รวมทั้งค้นคว้าหาวิธีป้องกัน และกำจัดทั้งทางเคมี ชีววิธี เพื่อเป็นการช่วยในการป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรคติดต่อต่างๆ
1.8 ศึกษา ค้นคว้า และติดตามเทคโนโลยีด้านเวชศาสตร์ธนาคารเลือด เพื่อพัฒนา และปรับปรุงงานด้านเวชศาสตร์ธนาคารเลือดให้มีมาตรฐาน สามารถบริการผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว และมี ประสิทธิภาพ
1.9 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และจัดทำข้อมูล เอกสาร และรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อให้มีข้อมูล เอกสาร และรายงานที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน และ เป็นประโยชน์ในการปรับปรุง และพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้ เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
3.3 ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้านการควบคุมสารเคมี การป้องกัน โรคติดต่อ และการทดลองด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่าง สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
4. ด้านการบริการ
4.1 สนับสนุนการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการหรือเทคโนโลยีแก่บุคคลภายในหน่วยงาน
4.2 ให้บริการทางวิชาการ เช่น การจัดทำเอกสาร ตำรา คู่มือ เอกสารสื่อเผยแพร่ใน
รูปแบบต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้และความเข้าใจในระดับต่าง ๆ ในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์
4.3 ร่วมปฏิบัติการในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร และองค์กรเพื่อให้เป็น บุคลากรที่มีความชำนาญและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.4 นิเทศงาน ให้คำปรึกษา และคำแนะนำด้านการควบคุม และการป้องกันสารเคมี ที่มากับอาหารและวัตถุต่างๆ ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งพาหะหรือสาเหตุของการเกิดโรคหรือโรคติดต่อให้แก่ หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนผู้สนใจทั่วไป เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถ ป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง เทคนิคการแพทย์ เคมี เคมีวิเคราะห์ เคมีการอาหาร วิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาศาสตร์การอาหาร วิทยาศาสตร์ทั่วไป พฤกษศาสตร์ ชีววิทยา ชีวเคมี จุลชีววิทยา ฟิสิกส์ ฟิสิกส์การแพทย์ เภสัชศาสตร์ เภสัช วิเคราะห์ เภสัชวิทยา เภสัชกรรม เภสัชเคมี พิษวิทยา ฟิสิกส์เคมี วิทยาศาสตร์การอาหาร จุลชีววิทยาการ อาหาร พยาธิวิทยาคลีนิค พยาธิชีววิทยา พาราสิตวิทยา อิมมูโนวิทยา สัตววิทยา วิทยาศาสตร์สาขากีฏวิทยา วิทยาศาสตร์สาขาชีววิทยา วิทยาศาสตร์สาขาการจัดการศัตรูพืช การเกษตร คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์รังสี อาชีวอนามัย วิศวกรรมสุขาภิบาล รังสีเทคนิค อายุรศาสตร์เขตร้อน สรีรวิทยา นิติวิทยาศาสตร์ พันธุศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ สัตววิทยา กีฏวิทยาการเกษตร วิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการเกษตร วิทยาศาสตร์สาขาชีววิทยา ฟิสิกส์รังสี ฟิสิกส์สุขภาพ นิวเคลียร์ฟิสิกส์ นิวเคลียร์เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์กายภาพ พยาธิวิทยา พยาธิชีวภาพทางสัตวแพทย์ เทคโนโลยีทางการเกษตร วิศวกรรมสุขาภิบาล หรือในสาขาวิชาหรืออื่นที่ ก.จ., ก.ท .และ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
2. ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง เทคนิคการแพทย์ เคมี เคมีวิเคราะห์ เคมีการอาหาร วิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาศาสตร์การอาหาร วิทยาศาสตร์ทั่วไป พฤกษศาสตร์ ชีววิทยา ชีวเคมี จุลชีววิทยา ฟิสิกส์ ฟิสิกส์การแพทย์ เภสัชศาสตร์ เภสัช วิเคราะห์ เภสัชวิทยา เภสัชกรรม เภสัชเคมี พิษวิทยา ฟิสิกส์เคมี วิทยาศาสตร์การอาหาร จุลชีววิทยาการ อาหาร พยาธิวิทยาคลีนิค พยาธิชีววิทยา พาราสิตวิทยา อิมมูโนวิทยา สัตววิทยา วิทยาศาสตร์สาขากีฏวิทยา วิทยาศาสตร์สาขาชีววิทยา วิทยาศาสตร์สาขาการจัดการศัตรูพืช การเกษตร คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์รังสี อาชีวอนามัย วิศวกรรมสุขาภิบาล รังสีเทคนิค อายุรศาสตร์เขตร้อน สรีรวิทยา นิติวิทยาศาสตร์ พันธุศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ สัตววิทยา กีฏวิทยาการเกษตร วิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการเกษตร วิทยาศาสตร์สาขาชีววิทยา ฟิสิกส์รังสี ฟิสิกส์สุขภาพ นิวเคลียร์ฟิสิกส์ นิวเคลียร์เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์กายภาพ พยาธิวิทยา พยาธิชีวภาพทางสัตวแพทย์ เทคโนโลยีทางการเกษตร วิศวกรรมสุขาภิบาล หรือในสาขาวิชาหรืออื่นที่ ก.จ., ก.ท .และ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
3. ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง เทคนิคการแพทย์ เคมี เคมีวิเคราะห์ เคมีการอาหาร วิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาศาสตร์การอาหาร วิทยาศาสตร์ทั่วไป พฤกษศาสตร์ ชีววิทยา ชีวเคมี จุลชีววิทยา ฟิสิกส์ ฟิสิกส์การแพทย์ เภสัชศาสตร์ เภสัช วิเคราะห์ เภสัชวิทยา เภสัชกรรม เภสัชเคมี พิษวิทยา ฟิสิกส์เคมี วิทยาศาสตร์การอาหาร จุลชีววิทยาการ อาหาร พยาธิวิทยาคลีนิค พยาธิชีววิทยา พาราสิตวิทยา อิมมูโนวิทยา สัตววิทยา วิทยาศาสตร์สาขากีฏวิทยา วิทยาศาสตร์สาขาชีววิทยา วิทยาศาสตร์สาขาการจัดการศัตรูพืช การเกษตร คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์รังสี อาชีวอนามัย วิศวกรรมสุขาภิบาล รังสีเทคนิค อายุรศาสตร์เขตร้อน สรีรวิทยา นิติวิทยาศาสตร์ พันธุศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ สัตววิทยา กีฏวิทยาการเกษตร วิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการเกษตร วิทยาศาสตร์สาขาชีววิทยา ฟิสิกส์รังสี ฟิสิกส์สุขภาพ นิวเคลียร์ฟิสิกส์ นิวเคลียร์เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์กายภาพ พยาธิวิทยา พยาธิชีวภาพทางสัตวแพทย์ เทคโนโลยีทางการเกษตร วิศวกรรมสุขาภิบาล หรือในสาขาวิชาหรืออื่นที่ ก.จ., ก.ท .และ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 1
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 1
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 1
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 1
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 1
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯ ระดับ 1
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 1
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 1
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 1
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 1
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 1
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 1
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 1
2.7 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 1
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 1
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 1
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 1
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 1
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 1
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ      ระดับ 1
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 1
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 1
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 1
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 1
 ----------------------------------------------------------------------------------------------------------


ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน วิทยาศาสตร์การแพทย์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักวิทยาศาสตร์การแพทย์
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูงในงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูงในงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ควบคุมการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ใช้วิธีการ เครื่องมือ เทคโนโลยีพื้นฐาน และตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ใช้วิธีการ เครื่องมือ เทคโนโลยีที่ยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้น และช่วยแก้ไขปัญหา โดยการประกันคุณภาพให้เป็นไปตาม มาตรฐานสากล การบังคับใช้กฎหมายด้านสาธารณสุข และเป็นข้อมูลในการป้องกัน วินิจฉัย รักษา พยากรณ์ โรค สอบสวนและเฝ้าระวังการระบาดของโรค การประเมินภาวะสุขภาพ คัดกรองสุขภาพ หรือผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม ต่อสุขภาพ ตลอดจนประกอบการพิจารณาทางอรรถคดี เพื่อสนับสนุนการคุ้มครองผู้บริโภคและ สุขภาพของประชาชน
1.2 วิจัยทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ให้ได้องค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ทางด้านสุขภาพและวิทยาศาสตร์การแพทย์ การประเมินความเสี่ยง เตือนภัยสุขภาพ การตั้ งเกณฑ์ หรือปรับเปลี่ยนค่ามาตรฐานต่าง ๆ ของประเทศ และการป้องกัน วินิจฉัย รักษา พยากรณ์โรค สอบสวนโรค เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและสนับสนุนสุขภาวะของประชาชน
1.3 ดำเนินการประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยพัฒนา ประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ และรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล เพื่อสนับสนุน คุ้มครองสุขภาวะของประชาชน
1.4 ควบคุม และดูแลการศึกษา การค้นคว้า การเก็บตัวอย่าง การตรวจวิเคราะห์สารต่างๆ และการวิจัยทางชีวเคมีจากชิ้นส่วนหรือสารที่ได้จากร่างกายของผู้ป่วย เพื่อหาสาเหตุความผิดปกติของร่างกาย และ สาเหตุของการเกิดโรค อันเป็นการสนับสนุนให้การวินิจฉัยโรค และอาการเกิดความถูกต้องมากที่สุด
1.5 ควบคุม และดูแลการศึกษา การค้นคว้า และการทดลองการใช้สารต่างๆ ความไว ต่อสารปฏิชีวนะ ผลกระทบข้างเคียงจากการใช้ยา โดยอาศัยสัตว์ทดลอง และการเพาะเชื้อชนิดต่างๆ เพื่อใช้ใน การสร้างเซรุ่ม และวัคซีนแอนติเจนที่ใช้เป็นภูมิคุ้มกันโรค หรือยารักษาโรค
1.6 ควบคุม และดูแลการศึกษา การค้นคว้า การเพาะเชื้อ และการทดลองเกี่ยวกับ การเจริญเติบโตและอันตรายของจุลชีววิทยา เพื่อให้มีข้อมูลในการป้องกัน และการรักษาโรคหรืออาการ ผิดปกติต่างๆ ที่เกิดจากแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต หรือจุลชีพอื่นๆ
1.7 ควบคุม และดูแลการศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยา การจำแนกชนิดและหมวดหมู่ การสำรวจความชุกชุม และความสามารถในการนำโรคของพาหะนำโรคชนิดต่างๆ รวมทั้งการค้นคว้าหาวิธี ป้องกัน และการกำจัดทั้งทางเคมี ชีววิธี เพื่อเป็นการช่วยในการป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรคติดต่อต่างๆ
1.8 ควบคุม และดูแลการศึกษา การค้นคว้า และการติดตามเทคโนโลยีด้านเวชศาสตร์ ธนาคารเลือด เพื่อพัฒนาและปรับปรุงงานด้านเวชศาสตร์ธนาคารเลือดให้มีมาตรฐาน สามารถบริการผู้ป่วยได้ อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
1.9 ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน และแก้ไขปัญหา ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแก่บุคลากรในระดับรองลงมาในสายงาน ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การ ดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด
2. ด้านการวางแผน
2.1 วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานตามแผนงานหรือโครงการของ หน่วยงานระดับสำนักหรือกองและแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
2.2 วางแผนการใช้งบประมาณ ทรัพยากร และบุคลากรที่อยู่ในความรับผิดชอบ เพื่อให้สามารถใช้งบประมาณ ทรัพยากร และบุคลากรได้อย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันโดยมีบทบาทในการให้ความเห็นและคำแนะนำ เบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือหน่วยงานอื่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ให้ข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำเบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือบุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
3.3 ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้านการควบคุมสารเคมี การป้องกัน โรคติดต่อ และการทดลองด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่าง สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
4. ด้านการบริการ
4.1 ดำเนินการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการหรือเทคโนโลยีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา และ บุคคลภายในหน่วยงาน เพื่อให้มีความรู้และให้สามารถดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
4.2 ดำเนินการจัดทำเอกสาร ตำรา คู่มือ เอกสารสื่ อเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้และความเข้าใจในระดับต่าง ๆ รวมทั้งการพัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์ วิธีการหรื อประยุกต์ เทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์
4.3 ปฏิบัติการในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กรเพื่อให้เป็นบุคลากรที่มี ความชำนาญและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.4 นิเทศงาน ให้คำปรึกษาและ คำแนะนำด้านการควบคุม การป้องกันสารเคมีที่มา กับอาหารและวัตถุต่างๆ ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งพาหะหรือสาเหตุของการเกิดโรคหรือโรคติดต่อให้แก่ หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนผู้สนใจทั่วไป เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถ ป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และปฏิบัติงาน ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี กำหนดเวลา 6 ปี ให้ลดเป็น 4 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระดับปฏิบัติการ ข้อ 2 และให้ลดเป็น 2 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ระดับปฏิบัติการ ข้อ 3 หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่ กำหนดด้วย
ค วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 2
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 2
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 2
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม(EIA) ,กาประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯ ระดับ 2
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 2
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 2
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 2
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 2
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 2
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 2
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 2
2.7 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 2
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 2
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 2
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 2
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 2
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 2
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ      ระดับ 2
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 2
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 2
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 2
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 2
 -----------------------------------------------------------------------------------------------------------
 
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน วิทยาศาสตร์การแพทย์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักวิทยาศาสตร์การแพทย์
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญการพิเศษ
หน้า ที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในงำนวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญในงานสูงมากในงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก มาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 กำกับ ติดตาม หรือตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ใช้ วิธีการ เครื่องมือ เทคโนโลยี ที่ยากเป็นพิเศษ และมีความซับซ้อน หรือวิธีการใหม่ ๆโดยการประกันคุณภาพให้ เป็นไปตามมาตรฐานสากล การบังคับใช้กฎหมายด้านสาธารณสุข และเป็นข้อมูลในการป้องกัน วินิจฉัย รักษา พยากรณ์โรค สอบสวนและเฝ้าระวังการระบาดของโรค การประเมินภาวะสุขภาพ คัดกรองสุขภาพ หรือ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ ตลอดจนประกอบการพิจารณาทางอรรถคดีเพื่อสนับสนุนการคุ้มครอง ผู้บริโภคและสุขภาพของประชาชน
1.2 กำกับ ดูแล และวิจัยทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขในเรื่องที่ยาก ต้องอาศัย ความรู้ทางวิชาการหรือการสั่งสมประสบการณ์ให้ได้องค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ทางด้าน สุขภาพและวิทยาศาสตร์การแพทย์ การประเมินความเสี่ยง เตือนภัยสุขภาพ การตั้งเกณฑ์หรือปรับเปลี่ยนค่า มาตรฐานต่าง ๆ ของประเทศ และการป้องกัน วินิจฉัย รักษา พยากรณ์โรค สอบสวนโรค เพื่อความปลอดภัย ในชีวิตและสนับสนุนสุขภาวะของประชาชน และนำไปใช้บูรณาการในระดับสูงขึ้นไปได้
1.3 กำกับ ดูแล ติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และสาธารณสุข โดยพัฒนาประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ และรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการตาม มาตรฐานสากล เพื่อสนับสนุน คุ้มครองสุขภาวะของประชาชน
1.4 ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการศึกษา การค้นคว้า การเก็บ ตัวอย่าง การตรวจวิเคราะห์สารต่างๆ และการวิจัยทางชีวเคมีจากชิ้นส่วนหรือสารที่ได้จากร่างกายของผู้ป่วย เพื่อหาสาเหตุความผิดปกติของร่างกาย และสาเหตุของการเกิดโรค อันเป็นการสนับสนุนให้การวินิจฉัยโรค และอาการเกิดความถูกต้องมากที่สุด
1.5 ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการศึกษา การค้นคว้า และการ ทดลองการใช้สารต่างๆ ความไวต่อสารปฏิชีวนะ ผลกระทบข้างเคียงจากการใช้ยา โดยอาศัยสัตว์ทดลอง และ การเพาะเชื้อชนิดต่างๆ เพื่อใช้ในการสร้างเซรุ่ม และวัคซีนแอนติเจนที่ใช้เป็นภูมิคุ้มกันโรค หรือยารักษาโรค
1.6 ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการศึกษา การค้นคว้า การเพาะเชื้อ และการทดลองเกี่ยวกับการเจริญเติบโตและอันตรายของจุลชีววิทยา เพื่อให้มีข้อมูลในการป้องกัน และการ รักษาโรคหรืออาการผิดปกติต่างๆ ที่เกิดจากแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต หรือจุลชีพอื่นๆ
1.7 ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยา การจำแนกชนิดและหมวดหมู่ การสำรวจความชุกชุม และความสามารถในการนำโรคของพาหะนำโรคชนิด ต่างๆ รวมทั้งการค้นคว้าหาวิธีป้องกัน และการกำจัดทั้งทางเคมี ชีววิธี เพื่อเป็นการช่วยในการป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรคติดต่อต่างๆ
1.8 ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการศึกษา การค้นคว้า และการ ติดตามเทคโนโลยีด้านเวชศาสตร์ธนาคารเลือด เพื่อพัฒนาและปรับปรุงงานด้านเวชศาสตร์ธนาคารเลือดให้มี มาตรฐาน สามารถบริการผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
1.9 ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการศึกษา การวิเคราะห์ การวิจั ย และการจัดทำข้อมูล เอกสาร และรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อให้มีข้อมูล เอกสาร และรายงานที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นประโยชน์ในการปรับปรุง และพัฒนา งานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
1.10 พัฒนาและปรับปรุงระบบงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิด ความมั่นใจว่าระบบงานที่ตั้งไว้สามารถสนับสนุนส่วนงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความ ต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสภาวการณ์ปัจจุบัน
2. ด้านการวางแผน
2.1 วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนงาน โครงการของหน่วยงานระดับสำนักหรือ กอง มอบหมายงาน แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานและติดตามประเมินผลเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ ที่กำหนด
2.2 วางแผนการใช้งบประมาณ ทรัพยากร และบุคลากรที่อยู่ในความรับผิดชอบ เพื่อให้สามารถใช้งบประมาณ ทรัพยากร และบุคลากรได้อย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
2.3 วางแผนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภายในหน่วยงาน เพื่อให้บุคลากรเกิดการ พัฒนาและมีความชำนาญงานมากขึ้นอันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น
2.4 วางแผนและพัฒนารูปแบบการวิจัยต่างๆ ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อคิดค้น วิธีการใหม่ๆ อันจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิผลมากขึ้น
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานสัมพันธ์กับสมาชิกในทีมงานโดยมีบทบาทในการชี้แนะ จูงใจ ทีมงานหรือ หน่วยงานอื่นในระดับกองหรือสำนักเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ชี้แจง ให้ข้อคิดเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการหรือคณะทำงานต่างๆเพื่อเป็น ประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
3.3 ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้านการควบคุมสารเคมี การป้องกัน โรคติดต่อ และการทดลองด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่าง สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำปรึกษา และอำนวยการในการถ่ายทอดความรู้ ในงานด้านวิชาการและการ ปฏิบัติ แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมาและบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ภายในหน่วยงาน เพื่อให้มีความรู้ และให้สามารถดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
4.2 กำกับ ดูแล ในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กรเพื่อให้เป็นบุคลากรที่ มีความชำนาญและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 นิเทศงาน และให้คำปรึกษา คำแนะนำด้านการควบคุม การป้องกันสารเคมีที่มา กับอาหารและวัตถุต่างๆ ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งพาหะหรือสาเหตุของการเกิดโรคหรือโรคติดต่อให้แก่ หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนผู้สนใจทั่วไป เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถ ป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
4.4 ส่งเสริมให้องค์กรเห็นความสำคัญของการควบคุมภายในและให้คำแนะนำตอบ ปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ แก่หน่วยงานที่รับผิดชอบหรือหน่วยงานภายนอก เพื่อให้ การปฏิบัติงานดำเนินการอย่างถูกต้องและเป็นแนวทางการปฏิบัติเดียวกัน
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และปฏิบัติงาน ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้อง ปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1      ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.2      ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ)   ระดับ 3
1.3      ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระดับ 3
1.4      ความรู้เรื่องการจัดการความรู้       ระดับ 3
1.5      ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร          ระดับ 2
1.6      ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ    ระดับ 2
1.7      ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน    ระดับ 2
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯระดับ 3
1.9ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ    ระดับ 3
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 3
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 3
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 3
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 3
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 3
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 3
2.7 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 3
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 3
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 3
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 3
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 3
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 3
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ      ระดับ 3
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 3
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 3
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 3
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 3
 -------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน วิทยาศาสตร์การแพทย์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักวิทยาศาสตร์การแพทย์
ระดับตำแหน่ง ระดับเชี่ยวชาญ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงานโดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหา ในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการ ซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหา ในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 พัฒนา หรือ ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับวิธีการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างทาง การแพทย์และสาธารณสุข โดยการประกันคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล การบังคับใช้กฎหมายด้าน สาธารณสุข และเป็นข้อมูลในการป้องกัน วินิจฉัย รักษา พยากรณ์โรค สอบสวนและเฝ้าระวังการระบาดของ โรค การประเมินภาวะสุขภาพ คัดกรองสุขภาพ หรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต่อสุขภาพ ตลอดจน ประกอบการพิจารณาทางอรรถคดีเพื่อสนับสนุนการคุ้มครองผู้บริโภคและสุขภาพของประชาชน
1.2 พัฒนา หรือบูรณาการการวิจัยทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข (ในเรื่องที่ยาก หรือมีความซับซ้อนเป็นพิเศษ หรือที่ไม่เคยมีมาก่อน ) ต้องอาศัย ความรู้ทางวิชำการหรือการสั่งสม ประสบการณ์ให้ได้องค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ทางด้านสุขภาพและวิทยาศาสตร์การแพทย์ การประเมินความเสี่ยง เตือนภัยสุขภาพ การตั้งเกณฑ์หรือปรับเปลี่ยนค่ามาตรฐานต่าง ๆ ของประเทศและการ ป้องกัน วินิจฉัย รักษา พยากรณ์โรค สอบสวนโรค เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและสนับสนุนสุขภาวะของ ประชาชน
1.3 ให้คำปรึกษา เสนอแนะ และพัฒนางานประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการทาง การแพทย์และสาธารณสุข โดยพัฒนาประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ และรับรองความสามารถ ห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล เพื่อสนับสนุน คุ้มครองสุขภาวะของประชาชน
1.4 บริหารงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญ หรือเทียบเท่า ซึ่งมีหน้าที่และรับผิดชอบในการ ควบคุมและบริหารงานทุกด้านของงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่รับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินงานของ หน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองกับนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.5 วางแผนงาน กำหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และแนวทางการปฏิบัติงานด้าน วิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อสร้างมาตรฐานในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปและ เสนอแนะแนวทางการปรับปรุง แก้ไขปัญหาข้อขัดข้อง อุปสรรค และความผิดพลาดต่างๆ รวมทั้งแนวทางใน การป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการดำเนินงานของหน่วยงานให้มากขึ้นและสอดคล้องกับเป้าหมาย และนโยบายที่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดไว้
1.6 กำหนดผลสัมฤทธิ์ทั้งด้านผลผลิต และผลลัพธ์ที่จะได้จากการดำเนินงานด้าน วิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างตรงตาม วัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.7 กำหนดขอบเขต และหลักเกณฑ์การตรวจสอบ การประเมินผล การประเมิน ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงสุด และมี ประโยชน์อย่างสูงสุดให้แก่ประชาชน และสังคม
1.8 วางแผน และจัดอัตรากำลังของหน่วยงาน รวมทั้งมอบหมายหน้าที่ความ รับผิดชอบให้เหมาะสมกับบุคลากรทั้งหมดภายในหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้บุคลากรแต่ละคนได้รับลักษณะ งานและปริมาณงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ และศักยภาพ และเกิดความเป็นธรรมในการ ปฏิบัติงาน
2. ด้านการวางแผน
2.1 วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผน โดยเชื่อมโยงหรือบูรณาการแผนงาน โครงการในระดับกลยุทธ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มอบหมายงานแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานติดตาม ประเมินผล เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
2.2 วางแผนการใช้งบประมาณ ทรัพยากร และบุคลากรที่อยู่ในความรับผิดชอบ เพื่อให้สามารถใช้งบประมาณ ทรัพยากร และบุคลกรได้อย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
2.3 วางแผนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภายในหน่วยงาน เพื่อให้บุคลากรเกิดการ พัฒนาและมีความชำนาญงานมากขึ้นอันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น
2.4 วางแผนและพัฒนารูปแบบการวิจัยต่างๆ ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อคิดค้น วิธีการใหม่ๆ อันจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิผลมากขึ้น
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานโครงการต่างๆกับบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรอื่น โดยมี บทบาทในการจูงใจ โน้มน้าวเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ให้ข้อคิดเห็น และคำแนะนำแก่หน่วยงานระดับกอง หรือสำนักรวมทั้งที่ประชุมทั้ง ในและต่างประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
4. ด้านการบริการ
4.1 เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ เป็นวิทยากรอบรม ให้คำปรึกษาแนะนำ ในงาน ด้านวิชาการและการปฏิบัติแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา และบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ภายในและ ภายนอกหน่วยงาน เพื่อให้มีความรู้และสามารถดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
4.2 วางแนวทาง ในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กรเพื่อให้เป็นบุคลากรที่ มีความชำนาญและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 นิเทศงาน ให้คำปรึกษา และคำแนะนำด้านการควบคุม การป้องกันสารเคมีที่มา กับอาหารและวัตถุต่างๆ ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งพาหะหรือสาเหตุของการเกิดโรคหรือโรคติดต่อให้ แก่ หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนผู้สนใจทั่วไป เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถ ป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
4.4 ส่งเสริม และสนับสนุนการผลิตคู่มือ หรือเอกสารเกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ตลอดจนสนับสนุนการจัดอบรม หรือสัมมนาเกี่ยวกับงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อช่วยให้การ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้ลุล่วงไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้อย่าง สมบูรณ์
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ และ ปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1      ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 4
1.2      ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ)   ระดับ 3
1.3      ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 3
1.4      ความรู้เรื่องการจัดการความรู้       ระดับ 3
1.5      ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร          ระดับ 2
1.6      ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ    ระดับ 2
1.7      ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน    ระดับ 2
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯระดับ 3
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ   ระดับ 3
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1      ทักษะการบริหารข้อมูล   ระดับ 3
2.2      ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์  ระดับ 3
2.3      ทักษะการประสานงาน    ระดับ 3
2.4      ทักษะการบริหารโครงการ          ระดับ 3
2.5      ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้        ระดับ 3
2.6      ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน    ระดับ 3
2.7      ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์  ระดับ 4
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 4
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 4
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 3
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 4
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 4
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ      ระดับ 4
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 4
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 4
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 4
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 4

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สันทนาการ

เจ้าพนักงานทะเบียน

เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว