นักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม



มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง   2104
ตำแหน่งประเภท อำนวยการท้องถิ่น
สายงาน บริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
ลักษณะงาน โดยทั่วไป

สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมี ลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการวางแผนงาน การประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับการสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม การวางแผนการให้บริการในด้านต่างๆ เช่น การเฝ้าระวังโรค การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุม โรค การรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสุขภาพ การสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม การควบคุมโรคสัตว์สู่คน การ ควบคุมสถานประกอบการ การระงับเหตุรำคาญ การคุ้มครองผู้บริโภค การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม การส่งเสริม บำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน การ จัดการภาวะมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน เช่น การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การจัดกา ร คุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศ ฯลฯ การฝึกอบรม การสุขศึกษา การประสานงานและสนับสนุนการวางแผนทุก ระดับ การวางแผน นิเทศงาน ติดตามและประเมินผลงาน การจัดรูปปรับปรุงองค์การ วางแผนกำลังคน และ จัดทำงบประมาณในการดำเนินงาน และการบริหารทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงาน การรวบรวมแผน หน่วยงานย่อย และการกระจายแผนงานสำหรับหน่วยปฏิบัติต่าง ๆ การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แผนงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ตลอดจนการจัดให้มีและสนับสนุนการกำหนดนโยบาย และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ซึ่งตำแหน่งต่าง ๆ เหล่านี้ มีลักษณะที่ จำเป็นต้องใช้ผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ในด้านการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมอย่างสูง
ชื่อตำแหน่งในสายงาน และระดับตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้
นักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ระดับต้น
นักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ระดับกลาง
นักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ระดับสูง

ก.จ. กำหนดเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท อำนวยการท้องถิ่น
ชื่อสายงาน บริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
ระดับตำแหน่ง ระดับต้น
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับกองหรือหัวหน้าฝ่าย ซึ่งมีลักษณะงานที่เกี่ยวกับ การวางแผน การบริหารจัดการ จัดระบบงาน อำนวยการ สั่งราชการ มอบหมาย กำกับ แนะนำ ตรวจสอบ ประเมินผลงาน ตัดสินใจ แก้ปัญหาในงานที่ต้องใช้ความรู้ ความชำนาญงานเฉพาะด้าน ซึ่งลักษณะหน้าที่ รับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.จ., ก.ท.และ ก.อบต.กำหนดและ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านแผนงาน
๑.๑ ร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์และเป้าหมายแนวทางด้านสาธารณสุขและ สิ่งแวดล้อม เพื่อวางแผนและจัดทำแผนงานโครงการในการพัฒนาหน่วยงาน
๑.๒ ร่วมวางแผนงาน/โครงการ หรือแผนการปฏิบัติงาน รวมทั้งเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ ของ หน่วยงานด้านงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมที่สังกัด เพื่อเป็นแบบแผนในการปฏิบัติงานของหน่วยงานเพื่อให้ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและสอดคล้องนโยบายและแผนกลยุทธ์ของส่วนราชการที่สังกัด
๑.๓ ติดตาม เร่งรัด การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้เป็นไปตามแผนงาน/โครงการ หรือแผน การปฏิบัติงาน ตลอดจนประเมินผลและรายงานการดำเนินงาน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของ หน่วยงานตามที่กำหนดไว้
๑.๔ ร่วมวางแผนและกำหนดนโยบายสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เพื่อควบคุมดูแล ให้ประชาชนในท้องถิ่นมีคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี สุขภาพอนามัยที่ดี และปราศจากโรคระบาดต่างๆ
๑.๕ ร่วมวางแผนแนวทางการศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนวทางกำหนดและพัฒนา มาตรฐานและกลวิธีการดำเนินงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ภายใต้ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ บุคลากร และเวลา
๑.๖ ค้นคว้าประยุกต์เทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานในภารกิจของ หน่วยงานในภาพรวมเพื่อนำมาปรับปรุงให้การปฏิบัติงาน ระบบงาน หรือกระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
๑.๗ วางแผนการให้บริการด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เช่น การส่งเสริมสุขภาพ การ
เฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสุขภาพ การควบคุมโรคสัตว์สู่คน การ คุ้มครองผู้บริโภค การส่งเสริม บำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม การควบคุมมลพิษ การอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การจัดการคุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศ ฯลฯ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูล ทางสถิติที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้สามารถวางแผนให้สอดคล้องกับปัญหาด้าน สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น
๑.๘ ติดตามการใช้ทรัพยากรและงบประมาณ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า โปร่งใสและเกิดผล สัมฤทธิ์ของหน่วยงาน
๒. ด้านบริหารงาน
๒.๑ จัดระบบงาน และวิธีการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติ ราชการของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
๒.๒ มอบหมาย กำกับดูแล ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
๒.๓ พิจารณาอนุมัติ อนุญาตการดำเนินการต่างๆ ตามภารกิจที่หน่วยงานรับผิดชอบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
๒.๔ ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐ เอกชน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อเกิดความร่วมมือหรือบูรณาการงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้รับบริการ
๒.๕ ชี้แจงข้อเท็จจริง พิจารณาให้ความเห็น ข้อเสนอแนะในที่ประชุมคณะกรรมการและ คณะทำงานต่างๆ ที่ได้รับแต่งตั้ง หรือเวทีเจรจาต่างๆ ในฐานะผู้แทนหน่วยงานหรือส่วนราชการ เพื่อรักษา ผลประโยชน์ของราชการและประเทศชาติ
๒.๖ มอบหมาย ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข และควบคุมดูแลการ ให้บริการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมหลายๆ ด้าน ได้แก่ การรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุม โรค การสุขศึกษา การสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองผู้บริโภค การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การส่งเสริม บำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม การจัดการมลพิษ การจัดการ สิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การจัดการคุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศ ฯลฯ เพื่ออำนวยการให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี มีอนามัย และได้รับบริการที่รวดเร็ว ถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด
๒.๗ มอบหมาย ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข และควบคุมดูแลการ ตรวจควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ในท้องถิ่นที่รับผิดชอบ เพื่อให้เป็นไปตามกฎและระเบียบที่ กำหนดไว้ ควบคุมดูแลการสุขาภิบาลหรือการเฝ้าระวังโรคเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรค และให้ประชาชนมี สุขภาพอนามัยที่ดี
๒.๘ ตอบปัญหา ชี้แจงและดำเนินการเป็นกรรมการหรือผู้บริหารงานตามภารกิจที่ได้รับ มอบหมาย เช่น เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ เป็นต้น เพื่อควบคุมให้ภารกิจดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
๒.๙ ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐ เอกชน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความร่วมมือหรือบูรณาการงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและอำนวยการ ปฏิบัติงานและสนับสนุนงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สังกัด บรรลุภารกิจที่กำหนดไว้
๒.๑๐ กำหนดนโยบายด้านการบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการ ดำเนินงานในการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนามาตรฐานและใช้ในการดำเนินงาน การเสนอแนวทางและกำหนดการ พัฒนามาตรฐานงานและวิธีการดำเนินงานการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพ โดยยึดหลักการบริหาร จัดการที่ดี เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
๒.๑๑ จัดระบบการติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงาน ตลอดจนวิเคราะห์ผลดี ผลกระทบ ปัญหา อุปสรรค เพื่อให้การสนับสนุนหรือทำการปรับปรุงแก้ไข
๒.๑๒ อำนวยการ ปฏิบัติงานและสนับสนุนงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อสนับสนุน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สังกัดบรรลุภารกิจที่กำหนดไว้
๓. ด้านการบริหารงานทรัพยากรบุคคล
๓.๑ จัดระบบงานและอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานให้สอดคล้องกับภารกิจ ปริมาณ งานและงบประมาณเพื่อให้ปฏิบัติราชการเกิดประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า
๓.๒ ติดตามและประเมินผลงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับบัญชา เพื่อให้การปฏิบัติงาน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงานและบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
๓.๓ ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับบัญชา ให้มีความสามารถและสมรรถนะที่เหมาะสมงานที่ปฏิบัติ
๓.๔ จัดรูปแบบและวางแนวทางการปฏิบัติราชการของบุคลากรในองค์กรให้มีความ เหมาะสมและมีความยืดหยุ่นต่อการปฏิบัติงาน โดยกำหนดหรือมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ที่มีลักษณะงาน สอดคล้องหรือเกื้อกูลกัน สามารถปฏิบัติงานแทนกันได้ทุกตำแหน่ง เพื่อให้การดำเนินงานเกิดความคล่องตัว และมีความต่อเนื่อง
๓.๕ สอนงาน พัฒนาการปฏิบัติงาน ฝึกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่กำกับให้มีความเชี่ยวชาญและสามารถปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์แก่ หน่วยงานอย่างยั่งยืน
๔. ด้านบริหารทรัพยากรและงบประมาณ
๔.๑ กำหนดนโยบายและวางแผนการใช้ทรัพยากรและงบประมาณของหน่วยงาน เพื่อให้ สอดคล้องกับนโยบาย พันธกิจ และเป็นไปตามเป้าหมายของส่วนราชการ
๔.๒ ติดตาม ตรวจสอบการใช้ทรัพยากรและงบประมาณ ให้เกิดประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
๔.๓ ควบคุม กำกับ ตรวจสอบ การจัดหาพัสดุให้เกิดความโปร่งใสและถูกต้องตามระเบียบ เพื่อให้การใช้งบประมาณเกิดความคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุดและริเริ่ม คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้เกิดความ เหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อการปฏิบัติงาน
๔.๔ ร่วมหรือวางแผนและประสานกิจกรรมให้มีการใช้ทรัพยากรของหน่วยงานที่ รับผิดชอบ ทั้งด้านงบประมาณ อาคารสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพ คุ้มค่า และบรรลุเป้าหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สังกัด โดยอาจพิจารณานำงบประมาณที่ได้รับ จัดสรรมาดำเนินการและใช้จ่ายร่วมกัน
๔.๕ ร่วมหรือบริหารและกำหนดแนวทางการจัดสรรและการใช้ทรัพยากร หรืองบประมาณ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
๑. ได้รับคุณวุฒิการศึกษา ดังนี้
๑.๑ ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นเทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือ ทางพยาบาลศาสตร์ แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ สาธารณสุขมูลฐาน เทคนิคการแพทย์ วิทยาศาสตร์ (ทางด้านสุขศึกษา สุขภาพ สิ่งแวดล้อม สาธารณสุขความ ปลอดภัย อนามัยสิ่งแวดล้อม การพยาบาล สุขาภิบาล อาชีวอนามัย และสาธารณสุขมูลฐาน) หรือในสาขาหรือ ทางอื่นที่ ก.จ. ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
๑.๒ ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นเทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือ ทางพยาบาลศาสตร์ แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ สาธารณสุขมูลฐาน เทคนิคการแพทย์ วิทยาศาสตร์ (ทางด้านสุขศึกษา สุขภาพ สิ่งแวดล้อม สาธารณสุขความ ปลอดภัย อนามัยสิ่งแวดล้อม การพยาบาล สุขาภิบาล อาชีวอนามัย และสาธารณสุขมูลฐาน) หรือในสาขาหรือ ทางอื่นที่ ก.จ. ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
๑.๓ ได้รับปริญญาเอกหรือคุณวุฒิอย่างอื่นเทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือ ทางพยาบาลศาสตร์ แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ สาธารณสุขมูลฐาน เทคนิคการแพทย์ วิทยาศาสตร์ (ทางด้านสุขศึกษา สุขภาพ สิ่งแวดล้อม สาธารณสุขความ ปลอดภัย อนามัยสิ่งแวดล้อม การพยาบาล สุขาภิบาล อาชีวอนามัย และสาธารณสุขมูลฐาน) หรือในสาขาหรือ ทางอื่นที่ ก.จ. ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
๒. คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในฐานะผู้อำนวยการกอง (นักบริหารงานสาธารณสุขและ สิ่งแวดล้อม ระดับต้น)
๒.๑ มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ระดับต้น ข้อ ๑

๒.๒ ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย (นักบริหารงานสาธารณสุขและ
สิ่งแวดล้อม ระดับต้น) ตามข้อ 3 หรือที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี โดยจะต้อง ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม หรืองานที่เกี่ยวข้อง มาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๓. คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในฐานะหัวหน้าฝ่าย (นักบริหารงานสาธารณสุขและ สิ่งแวดล้อม ระดับต้น)
๓.๑ มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ระดับต้น ข้อ ๑
ไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๓.๒ ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๔ ปี
(๒) ประเภททั่วไป ระดับอาวุโส มาแล้วไม่น้อยกว่า ๔ ปี หรือ
(๓) ประเภททั่วไป ไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญงาน มาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี
๓.๓ ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง มาแล้ว
ความรู้ความสามารถที่ต้องก
๑. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
๑.๑ ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริขอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ ๑
๑.๒ ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ ระดับ ๒
๑.๓ ความรู้เรื่องการติดตามและประเมินผล ระดับ ๒
๑.๔ ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ ๒
๑.๕ ความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยง ระดับ ๒
๑.๖ ความรู้เรื่องการพัฒนาบุคลากร ระดับ ๒
๑.๗ ความรู้เรื่องสถานการณ์ภายนอกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมพื้นที่ ระดับ ๒
๑.๘ ความรู้เรื่องกฎหมาย(ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ ๒
๑.๙ ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ ๑
๑.๑๐ ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่นการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA),ประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA)ฯลฯ ระดับ ๑
๑.๑๑ ความรู้เรื่องจัดซื้อจัดจ้างและกฎระเบียบพัสดุ ระดับ ๑
๒. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
๒.๑ ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ ๑
๒.๒ ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ ๑
๒.๓ ทักษะการประสานงาน ระดับ ๒
๒.๔ ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ ๒
๒.๕ ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ ๑
๒.๖ ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ ๑
๒.๗ ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ ๒
๓. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
๓.๑ สมรรถนะหลัก ๕ สมรรถนะ
๓.๑.๑ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ ๑
๓.๑.๒ การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ ๑
๓.๑.๓ ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ ๑
๓.๑.๔ การบริการเป็นเลิศ ระดับ ๑
๓.๑.๕ การทำงานเป็นทีม ระดับ ๑
๓.๒ สมรรถนะประจำผู้บริหาร ๔ สมรรถนะ
๓.๒.๑ การเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง ระดับ ๑
๓.๒.๒ ความสามารถในการเป็นผู้นำ ระดับ ๑
๓.๒.๓ ความสามารถในการพัฒนาคน ระดับ ๑
๓.๒.๔ การคิดเชิงกลยุทธ์ ระดับ ๑
๓.๓ สมรรถนะประจำสายงาน
๓.๓.๑ การแก้ไขปัญหาและดำเนินการเชิงรุก ระดับ ๒
๓.๓.๒ การวางแผนและการจัดการ ระดับ ๒
๓.๓.๓ การสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ระดับ ๒
๓.๓.๔ ความเข้าใจพื้นที่และการเมืองท้องถิ่น ระดับ ๒
๓.๓.๕ สร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น ระดับ ๒
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท อำนวยการท้องถิ่น
ชื่อสาย งาน บริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
ระดับตำแหน่ง ระดับกลาง
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับกองในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือตำแหน่ง หัวหน้าหน่วยงานอื่นที่มีลักษณะงานเกี่ยวกับการวางแผน บริหารจัดการ จัดระบบงาน อำนวยการ สั่งราชการ มอบหมาย กำกับ แนะนำ ตรวจสอบ ประเมินผลงาน ตัดสินใจ แก้ปัญหาในงานที่ต้องใช้ความรู้ความชำนาญ เฉพาะด้าน ซึ่งลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ที่กำหนด และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
๑. ด้านแผนงาน
๑.๑ วางแผนงาน/โครงการ หรือแผนการปฏิบัติงาน รวมทั้งเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ ของหน่วยงาน ให้สอดคล้องนโยบายและแผนกลยุทธ์ของส่วนราชการที่สังกัด
๑.๒ ติดตาม เร่งรัด การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่มีความหลากหลาย และความยุ่งยาก ซับซ้อนมาก ให้เป็นไปตามแผนงาน/โครงการ หรือแผนการปฏิบัติงาน ตลอดจนประเมินผลและรายงานการ ดำเนินงาน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานตามที่กำหนดไว้
๑.๓ วางแผนนิเทศ ติดตามและประเมินผลงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม บริหาร ทรัพยากรด้านต่างๆ เพื่อควบคุมให้การดำเนินงานของผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
๑.๔ บริหารโครงการขนาดใหญ่ โดยมีการบูรณาการแผนงาน กิจกรรม ขั้นตอนสำคัญ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานตามที่กำหนดไว้
๑.๕ กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์และเป้าหมายในการดำเนินงานด้าน สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ที่มีความยุ่งยากและซับซ้อน เพื่อวางแผนและจัดทำแผนงาน/โครงการในการ พัฒนาหน่วยงานให้มีคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษ
๑.๖ วางแผนและกำหนดนโยบายด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เพื่อดำเนินการด้าน สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เช่น การส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพ การควบคุมโรคสัตว์สู่คน การส่งเสริม บำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพ สิ่งแวดล้อม การควบคุมมลพิษ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการมูลฝอยและสิ่ง ปฏิกูล การจัดการคุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศ การสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อ เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ อนามัยที่ดีของประชาชน
๑.๗ วางแผนแนวทางการศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนวทางกำหนดและพัฒนา มาตรฐานและกลวิธีการดำเนินงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ภายใต้ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ บุคลากร และเวลา
๑.๘ ค้นคว้าประยุกต์เทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานในภารกิจ ของหน่วยงานในภาพรวมเพื่อนำมาปรับปรุงให้การปฏิบัติงาน ระบบงาน หรือกระบวนการทำงานมี ประสิทธิภาพมากขึ้น
๒. ด้านบริหารงาน
๒.๑ กำหนดกลยุทธ์ ระบบงาน และวิธีการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน เพื่อเป็นแนว ทางการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
๒.๒ มอบหมาย กำกับดูแล ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ในเรื่อง ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจที่หลากหลายและเบ็ดเสร็จของหน่วยงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
๒.๓ วินิจฉัย สั่งการเรื่องที่มีขอบเขตผลกระทบในวงกว้าง หรือมีความซับซ้อนของ ประเด็นปัญหา ซึ่งต้องพิจารณาอนุมัติ อนุญาตการดำเนินการต่างๆ ตามภารกิจที่หน่วยงานรับผิดชอบ เพื่อให้ บรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
๒.๔ ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐ เอกชน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อเกิดความร่วมมือหรือบูรณาการงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้รับบริการ
๒.๕ ชี้แจงข้อเท็จจริง พิจารณาให้ความเห็น ข้อเสนอแนะในที่ประชุมคณะกรรมการ และคณะทำงานต่างๆ ที่ได้รับแต่งตั้ง หรือเวทีเจรจาต่างๆ ในฐานะเป็นผู้มีบทบาทหลัก เพื่อรักษาผลประโยชน์ ของราชการและประเทศชาติ
๒.๖ อำนวยการปฏิบัติงานพร้อมให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะรวมถึงการตัดสินใจวินิจฉัย สั่งการในภารกิจรับผิดชอบของหน่วยงานให้ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการศึกษาวิจัย เพื่อ พัฒนามาตรฐานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมและนวัตกรรมในการดำเนินงาน
๒.๗ ปรับปรุงและกำหนดกลยุทธ์ การปฏิบัติงานให้มีความสะดวก รวดเร็ว รวมถึงการ ลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพและสร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการและเสนอแนวทาง
กำหนดการพัฒนามาตรฐานงานและวิธีการดำเนินงานการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพ โดยยึด หลักการบริหารจัดการที่ดี เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
๒.๘ มอบหมาย ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข และควบคุมดูแลการ ให้บริการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมหลายๆ ด้าน ได้แก่ การรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุม โรค การสุขศึกษา การสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองผู้บริโภค การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การส่งเสริม บำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม การจัดการมลพิษ การจัดการสิ่ง ปฏิกูลและมูลฝอย การจัดการคุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศ ฯลฯ เพื่ออำนวยการให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี มี อนามัย และได้รับบริการที่รวดเร็ว ถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด
๒.๙ มอบหมาย ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข และควบคุมดูแลการ ตรวจควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ในท้องถิ่นที่รับผิดชอบ เพื่อให้เป็นไปตามกฎและระเบียบที่ กำหนดไว้ ควบคุมดูแลการสุขาภิบาลหรือการเฝ้าระวังโรคเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรค และให้ประชาชนมี สุขภาพอนามัยที่ดี
๒.๑๐ มอบหมาย ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข และควบคุมดูแล การเผยแพร่และฝึกอบรมและการสุขศึกษา เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและรักษา ตนเอง ครอบครัวและบุคคลรอบข้างอย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์สูงสุด
๒.๑๑ ศึกษา วิเคราะห์ ทำความเห็น สรุปรายงานและให้แนวทางงานวิจัยเกี่ยวกับด้าน สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนารูปแบบ กระบวนการหรือวิธีการเชิงวิชาการที่เหมาะสมและ เป็นประโยชน์ต่อพื้นที่ที่รับผิดชอบ
๒.๑๒ ตอบปัญหา ชี้แจงและดำเนินการเป็นกรรมการหรือผู้บริหารงานตามภารกิจที่
ได้รับมอบหมาย เช่น เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ เป็นต้น เพื่อควบคุมให้ภารกิจดังกล่าวเป็นไปตาม วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
๓. ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
๓.๑ จัดระบบงานและอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่มีความหลากหลายทั้งในเชิง ปริมาณและคุณภาพให้สอดคล้องกับภารกิจ เพื่อให้ปฏิบัติราชการเกิดประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า
๓.๒ ติดตามและประเมินผลงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับบัญชา เพื่อให้การปฏิบัติงาน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงานและบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
๓.๓ ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับ บัญชา ให้มีความสามารถและสมรรถนะที่เหมาะสมงานที่ปฏิบัติ
๓.๔ ปรับปรุงหรือหาแนวทางวิธีการใหม่ๆ หรือกลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากรบุคคล ในการพัฒนา กระตุ้น เร่งเร้าเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติในการผลิตผลงาน การบริการ หรือผลการดำเนินงานที่มี คุณภาพที่ดีขึ้น
๓.๕ สอนงาน พัฒนาการปฏิบัติงาน ฝึกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่กำกับให้มีความเชี่ยวชาญและสามารถปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์แก่ หน่วยงานอย่างยั่งยืน
๓.๖ จัดรูปแบบและวางแนวทางการปฏิบัติราชการของบุคลากรในองค์กรให้มีความ เหมาะสมและมีความยืดหยุ่นต่อการปฏิบัติงาน โดยกำหนดหรือมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ที่มีลักษณะงาน สอดคล้องหรือเกื้อกูลกัน สามารถปฏิบัติงานแทนกันได้ทุกตำแหน่งเพื่อให้การดำเนินงานเกิดความคล่องตัวและ มีความต่อเนื่อง
๓.๗ ส่งเสริมพัฒนาให้บุคลากรในหน่วยงานได้รับการศึกษา อบรม เพิ่มพูนความรู้และ ทักษะการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาสมรรถนะและยกระดับมาตรฐานในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อให้สามารถ ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่ารวมทั้งสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
๔. ด้านการบริหารทรัพยากรและงบประมาณ
๔.๑ วางแผนการใช้ทรัพยากรและงบประมาณของหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบสูง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย พันธกิจ และเป็นไปตามเป้าหมายของส่วนราชการ
๔.๒ ติดตาม ตรวจสอบการใช้ทรัพยากรและงบประมาณในจำนวนที่สูงมาก ให้เกิด ประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
๔.๓ ร่วมหรือวางแผนและประสานกิจกรรมให้มีการใช้ทรัพยากรของสำนัก กองหรือ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ทั้งด้านงบประมาณ อาคารสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน เพื่อให้การทำงานเกิด ประสิทธิภาพคุ้มค่า และบรรลุเป้าหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สังกัด โดยอาจพิจารณานำ งบประมาณที่ได้รับจัดสรรมาดำเนินการและใช้จ่ายร่วมกัน
๔.๔ ร่วมหรือบริหารและกำหนดแนวทางการจัดสรรและการใช้ทรัพยากร หรืองบประมาณ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
๔.๕ ควบคุม ตรวจสอบ การใช้งบประมาณและทรัพยากรของหน่วยงานให้เป็นไปตาม ระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
๔.๖ ควบคุม กำกับ ตรวจสอบ การจัดหาพัสดุให้เกิดความโปร่งใสและถูกต้องตาม ระเบียบ เพื่อให้การใช้งบประมาณเกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในฐานะผู้อำนวยการกองหรือผู้อำนวยการส่วน (นักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ระดับกลาง)
๑. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ระดับต้น ข้อ ๑
และ
๒. ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งมาแล้วดังต่อไปนี้ โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขและ
สิ่งแวดล้อม หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๒.๑ ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง (นักบริหารงานสาธารณสุขและ สิ่งแวดล้อม ระดับต้น) หรือที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี หรือ
๒.๒ ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าหัวหน้าฝ่าย (นักบริหารงานสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม ระดับต้น) หรือที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า ๔ ปี กำหนดเวลา ๔ ปี ให้ลดเป็น ๓ ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ระดับต้น ข้อ ๑.๒ และข้อ ๑.๓
๒.๓ ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ หรือที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ ปี
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
๑. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
๑.๑ ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ ๒
๑.๒ ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ ระดับ ๓
๑.๓ ความรู้เรื่องการติดตามและประเมินผล ระดับ ๓
๑.๔ ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ ๓
๑.๕ ความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยง ระดับ ๓
๑.๖ ความรู้เรื่องการพัฒนาบุคลากร ระดับ ๓
๑.๗ ความรู้เรื่องสถานการณ์ภายนอกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมพื้นที่ ระดับ ๓
๑.๘ ความรู้เรื่องกฎหมาย(ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ ๓
๑.๙ ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ ๒
๑.๑๐ ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่นการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อม(EIA),ประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA)ฯลฯ ระดับ ๒
๑.๑๑ ความรู้เรื่องจัดซื้อจัดจ้างและกฎระเบียบพัสดุ ระดับ ๒
๒. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
๒.๑ ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ ๒
๒.๒ ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ ๒
๒.๓ ทักษะการประสานงาน ระดับ ๓
๒.๔ ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ ๓
๒.๕ ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ ๒
๒.๖ ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ ๒
๒.๗ ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ ๓
๓. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
๓.๑ สมรรถนะหลัก ๕ สมรรถนะ
๓.๑. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ ๒
๓.๑.๒ การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ ๒
๓.๑.๓ ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ ๒
๓.๑.๔ การบริการเป็นเลิศ ระดับ ๒
๓.๑.๕ การทำงานเป็นทีม ระดับ ๒
๓.๒ สมรรถนะประจำผู้บริหาร ๔ สมรรถนะ
๓.๒.๑ การเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง ระดับ ๒
๓.๒.๒ ความสามารถในการเป็นผู้นำ ระดับ ๒
๓.๒.๓ ความสามารถในการพัฒนาคน ระดับ ๒
๓.๒.๔ การคิดเชิงกลยุทธ์ ระดับ ๒
๓.๓ สมรรถนะประจำสายงาน
๓.๓.๑ การแก้ไขปัญหาและดำเนินการเชิงรุก ระดับ ๓
๓.๓.๒ การวางแผนและการจัดการ ระดับ ๓
๓.๓.๓ การสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ระดับ ๓
๓.๓.๔ ความเข้าใจพื้นที่และการเมืองท้องถิ่น ระดับ ๓
๓.๓.๕ สร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น ระดับ ๓

ตำแหน่งประเภท อำนวยการท้องถิ่น
ชื่อสายงาน บริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
ระดับตำแหน่ง ระดับสูง
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับสำนักในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขนาดใหญ่ ที่มีลักษณะงานที่เกี่ยวกับการวางแผน การบริหารจัดการ จัดระบบงาน อำนวยการ สั่งราชการ มอบหมาย กำกับ แนะนำ ตรวจสอบ ประเมินผลงาน ตัดสินใจ แก้ปัญหาในงานที่ต้องใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ ซึ่งลักษณะหน้าที่รับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมาก โดยปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาจำนวนมาก และ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านแผนงาน
๑.๑ วางแผนงาน/โครงการ หรือแผนการปฏิบัติงาน รวมทั้งเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ ของหน่วยงาน ให้สอดคล้องนโยบายและแผนกลยุทธ์ของส่วนราชการที่สังกัด
๑.๒ ติดตาม เร่งรัด การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่มีความหลากหลาย และความยุ่งยาก ซับซ้อนมาก ให้เป็นไปตามแผนงาน/โครงการ หรือแผนการปฏิบัติงาน ตลอดจนประเมินผลและรายงาน การดำเนินงาน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานตามที่กำหนดไว้
๑.๓ บริหารโครงการขนาดใหญ่ โดยมีการบูรณาการแผนงาน กิจกรรม ขั้นตอนสำคัญ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานตามที่กำหนดไว้ที่ต้องการคุณภาพของงานสูงเป็นพิเศษ
๑.๔ วางแผนและกำหนดนโยบายสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เพื่อให้ท้องถิ่นมี คุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ได้มาตรฐาน และประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดี
๑.๕ วางแผนแนวทางการศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนวทางกำหนดและพัฒนา มาตรฐานและกลวิธีการดำเนินงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ภายใต้ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ บุคลากร และเวลา
๑.๖ วางแผนนิเทศ ติดตามและประเมินผลงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และ บริหารทรัพยากรด้านต่างๆ เพื่อควบคุมให้การดำเนินงานของผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
๑.๗ ประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุขและ สิ่งแวดล้อมที่มีความยุ่งยากของงานเป็นพิเศษ เพื่อให้สามารถวางแผนให้สอดคล้องกับปัญหาท้องถิ่น
๑.๘ กำกับ อำนวยการ ประสานงาน สนับสนุนการวางแผนงานทุกระดับ ตลอดจนการ แก้ไขปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนและต้องใช้ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ เพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์ที่วางไว้
๒. ด้านบริหารงาน
๒.๑ กำหนดกลยุทธ์ ระบบงาน และวิธีการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน เพื่อเป็นแนว ทางการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
๒.๒ มอบหมาย กำกับดูแล ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ในเรื่อง ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจที่หลากหลายและเบ็ดเสร็จของหน่วยงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
๒.๓ ควบคุมดูแลการให้บริการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมหลายๆ ด้านในท้องถิ่นขนาด ใหญ่และมีความซับซ้อนมากทั้งเชิงความหลากหลายและจำนวนประชากร ได้แก่ การรักษาพยาบาล การ ส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมโรค ฯลฯ รวมทั้งให้มีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ได้มาตรฐาน เช่น การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การจัดการคุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศ เป็นต้น เพื่อบริการให้ท้องถิ่นมี สภาพแวดล้อมที่ดีและให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี มีอนามัย และได้รับบริการที่รวดเร็ว ถูกต้องและมี ประสิทธิภาพสูงสุด
๒.๔ วินิจฉัย สั่งการเรื่องที่มีขอบเขตผลกระทบในวงกว้าง หรือมีความซับซ้อนของ ประเด็นปัญหา ซึ่งต้องพิจารณาอนุมัติ อนุญาตการดำเนินการต่างๆ ตามภารกิจที่หน่วยงานรับผิดชอบ เพื่อให้ บรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
๒.๕ ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐ เอกชน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อเกิดความร่วมมือหรือบูรณาการงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้รับบริการ
๒.๖ ชี้แจงข้อเท็จจริง พิจารณาให้ความเห็น ข้อเสนอแนะในที่ประชุมคณะกรรมการและ คณะทำงานต่างๆ ที่ได้รับแต่งตั้ง หรือเวทีเจรจาต่างๆ ในฐานะเป็นผู้มีบทบาทหลัก เพื่อรักษาผลประโยชน์ ของราชการและประเทศชาติ
๒.๗ มอบหมาย ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข และควบคุมดูแลการ ตรวจควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ในท้องถิ่นขนาดใหญ่ที่รับผิดชอบ เพื่อให้เป็นไปตามกฎและ ระเบียบที่กำหนดไว้ และควบคุมดูแลการสุขาภิบาลหรือการเฝ้าระวังโรคในท้องถิ่นขนาดใหญ่และมีความ ซับซ้อนมากทั้งเชิงความหลากหลายและจำนวนประชากร เพื่อตัดวงจรการระบาดของโรค และให้ประชาชนมี สุขภาพอนามัยที่ดี
๒.๘ ศึกษา วิเคราะห์ ทำความเห็น สรุปรายงานและให้แนวทางงานวิจัยเกี่ยวกับด้าน สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความยากและต้องการความเชี่ยวชาญสูงมาก เพื่อให้เกิดการพัฒนารูปแบบ กระบวนการหรือวิธีการเชิงวิชาการที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่ที่รับผิดชอบ
๒.๙ กำหนด พัฒนา ปรับปรุง หรือแก้ไขแนวทาง คู่มือ กลไก กระบวนการ หรือ มาตรฐานในการปฏิบัติงานด้านงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การทำงานในงานที่รับผิดชอบเป็นไป อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด
๓. ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
๓.๑ จัดระบบงานและอัตรากำลัง้าหนำที่ในหน่วยงานที่มีความหลากหลายทั้งในชิง ปริมาณและคุณภาพให สอดคลองกับภารกิจ พื่อใหปฏิบัติราชการเกิดประสิทธิภาพ และความคุมค่า
๓.๒ ติดตามและประมินผลงานของ้าหน้าที่ในบังคับบัญชา พื่อให การปฏิบัติงาน สอดคลองกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงานและบรรลุป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
๓.๓ ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับ บัญชา ให้มีความสามารถและสมรรถนะที่เหมาะสมงานที่ปฏิบัติ
๓.๔ ปรับปรุงหรือหาแนวทางวิธีการใหม่ๆ หรือกลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากรบุคคล ในการพัฒนา กระตุ้น เร่งเร้าเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติในการผลิตผลงาน การบริการ หรือผลการดำเนินงานที่มี คุณภาพที่ดีขึ้น
๓.๕ สอนงาน พัฒนาการปฏิบัติงาน ฝึกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่กำกับให้มีความเชี่ยวชาญและสามารถปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์แก่ หน่วยงานอย่างยั่งยืน
๓.๖ ปรับปรุงหรือหาแนวทางวิธีการใหม่ๆ หรือกลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากรบุคคล ในการพัฒนา กระตุ้น เร่งเร้าเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติในการผลิตผลงาน การบริการ หรือผลการดำเนินงานที่มี คุณภาพที่ดีขึ้น
๔. ด้านการบริหารทรัพยากรและงบประมาณ
๔.๑ กำหนดนโยบายและวางแผนการใช้ทรัพยากรและงบประมาณของหน่วยงานที่ ต้องรับผิดชอบสูง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย พันธกิจ และเป็นไปตามเป้าหมายของส่วนราชการ
๔.๒ ติดตาม ตรวจสอบการใช้ทรัพยากรและงบประมาณในจำนวนที่สูงมาก ให้เกิด ประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
๔.๓ วางแผนและประสานกิจกรรมให้มีการใช้ทรัพยากรของสำนัก กองหรือหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ ทั้งด้านงบประมาณ อาคารสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพ คุ้มค่า และบรรลุเป้าหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สังกัด โดยอาจพิจารณานำงบประมาณที่ได้รับ จัดสรรมาดำเนินการและใช้จ่ายร่วมกัน
๔.๔ ควบคุม กำกับ ตรวจสอบ การจัดหาพัสดุให้เกิดความโปร่งใสและถูกต้องตาม ระเบียบ เพื่อให้การใช้งบประมาณเกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในฐานะผู้อำนวยการสำนัก (นักบริหารงานสาธารณสุขและ สิ่งแวดล้อม ระดับสูง )
๑. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ระดับต้น
ข้อ ๑ และ
๒. ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ดังต่อไปนี้ โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุขและ
สิ่งแวดล้อม หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง มาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๒.๑ ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองหรือผู้อำนวยการส่วน (นักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ระดับกลาง) หรือที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต.เทียบเท่า มาแล้ว ไม่น้อยกว่า ๔ ปี หรือ
๒.๒ ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ หรือที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า ๘ ปี
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
๑. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
๑.๑ ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ ๓
๑.๒ ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ ระดับ ๓
๑.๓ ความรู้เรื่องการติดตามและประเมินผล ระดับ ๓
๑.๔ ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ ๓
๑.๕ ความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยง ระดับ ๔
๑.๖ ความรู้เรื่องการพัฒนาบุคลากร ระดับ ๓
๑.๗ ความรู้เรื่องสถานการณ์ภายนอกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมพื้นที่ ระดับ ๓
๑.๘ ความรู้เรื่องกฎหมาย(ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ ๓
๑.๙ ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ ๓
๑.๑๐ ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่นการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อม(EIA),ประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA)ฯลฯ ระดับ ๓
๑.๑๑ ความรู้เรื่องจัดซื้อจัดจ้างและกฎระเบียบพัสดุ ระดับ ๒
๒. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
๒.๑ ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ ๒
๒.๒ ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ ๒
๒.๓ ทักษะการประสานงาน ระดับ ๔
๒.๔ ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ ๔
๒.๕ ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ ๓
๒.๖ ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ ๓
๒.๗ ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ ๓
๓. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
๓.๑ สมรรถนะหลัก ๕ สมรรถนะ
๓.๑.๑ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ ๓
๓.๑.๒ การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ระดับ ๓
๓.๑.๓ ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ระดับ ๓
๓.๑.๔ การบริการเป็นเลิศ ระดับ ๓
๓.๑.๕ การทำงานเป็นทีม ระดับ ๓
๓.๒ สมรรถนะประจำผู้บริหาร ๔ สมรรถนะ
๓.๒.๑ การเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง ระดับ ๓
๓.๒.๒ ความสามารถในการเป็นผู้นำ ระดับ ๓
๓.๒.๓ ความสามารถในการพัฒนาคน ระดับ ๓
๓.๒.๔ การคิดเชิงกลยุทธ์ ระดับ ๓
๓.๓ สมรรถนะประจำสายงาน
๓.๓.๑ การแก้ไขปัญหาและดำเนินการเชิงรุก ระดับ ๔
๓.๓.๒ การวางแผนและการจัดการ ระดับ ๔
๓.๓.๓ การสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ระดับ ๔
๓.๓.๔ ความเข้าใจพื้นที่และการเมืองท้องถิ่น ระดับ ๔
๓.๓.๕ สร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น ระดับ ๔

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สันทนาการ

เจ้าพนักงานทะเบียน

เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว