นักผังเมือง



มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 3703
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
สายงาน ผังเมือง
ลักษณะงาน ทั่วไ ป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่างๆ ที่ปฏิบัติงานด้านผังเมือง ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับ การวางแผนและวางโครงการผังเมือง การวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่างๆ โดยเฉพาะด้านการวาง แผนผัง การใช้ประโยชน์ที่ดินทุกประเภท วางแผนผังระบบเส้นทางคมนาคมและขนส่ง วางแผนผังระบบกิจการ สาธารณูปโภคสาธารณูปการ บริการชุมชนและแผนผังอื่นๆตามที่กำหนดในกางวางผังเมือ การออกแบบวาง แผนผังโครงการและจัดทำรายละเอียดในการดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงหรือสงวนพื้นที่หรือวัตถุสถานเพื่อ การผังเมือง การเสนอมาตรการ การป้องกันและการแก้ไขปัญหาด้านผังเมือง การตอบปัญหาและชี้แจงเรื่อง ต่างๆเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เป็นไปตามผังเมือง และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ชื่อตำแหน่งในสายงานและระดับตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้
นักผังเมือง ระดับปฏิบัติการ
นักผังเมือง ระดับชำนาญการ
นักผังเมือง ระดับชำนาญการพิเศษ
นักผังเมือง ระดับเชี่ยวชาญ
 ก.จ. กำหนดเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งป ะเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน ผังเมือง
ชื่อตำแหน่ง นักผังเมือง
ระดับตำแหน่ง ระดับปฏิบัติการ
หน้าที่ความรับผิด ชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการใน การทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานด้านผังเมือง ภายใต้การกำกับ แนะนำตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 จัดเก็บ รวบรวม วิเคราะห์ และบูรณาการข้อมูล เพื่อการวางและจัดทำผังเมือง ประเภทต่างๆ ตามขั้นตอนของกฎหมาย
1.2 ศึกษา จัดการ ประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ เพื่อประยุกต์ใช้กับงานผังเมืองประเภทต่างๆ
1.3 ค้นคว้า พิจารณาตรวจสอบ รับรองแบบ เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบผังเมือง ให้เป็นไปตามความเหมาะสมกับสภาพการณ์และวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการวางผังเมือง
1.4ร่วมกำหนดมาตรการในการป้องกันปัญหาทางผังเมือง หรือดำเนินการแก้ปัญหา ผังเมืองหรือการสงวนพื้นที่หรือรักษาวัตถุสถาน เพื่อให้การจัดผังเมืองเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสมและเกิด ประโยชน์สูงสุด
1.5ตรวจสอบและดูแลที่สาธารณะ รวมถึงการกันแนวเขตที่สาธารณะ เพื่อป้องกัน การบุกรุกที่ดินสาธารณะ
1.6วางและจัดทำผังเมืองประเภทต่างๆ กำหนดนโยบายการพัฒนาพื้นที่ ระบบเมือง และการตั้งถิ่นฐาน แผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการสังคม ตลอดจนแผนผังอื่นๆ ตามที่กำหนดในการวางผังเมือง เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่ เมืองและชนบทเป็นไปอย่าง สมดุล มีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อมที่ดี
1.7วางและพัฒนาตามโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาพื้นที่ ตลอดจนสนับสนุน ภาคเอกชนในการดำเนินการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
1.8 วางและจัดทำแผนผัง โครงการต่างๆ และจัดทำรายละเอียดในการดำเนินการ พัฒนา ปรับปรุง และดำรงรักษาพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินโครงการผังเมืองเป็นไปตามเป้าหมายที่วาง
1.9 จัดทำข้อกำหนด มาตรการ แนวทางด้านผังเมือง เพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ใน ทิศทางที่เหมาะสม ตลอดจนป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกี่ยวกับการผังเมือง
1.10 ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดทำคู่มือ เกณฑ์ มาตรฐาน แนวทาง และงาน วิชาการทางด้านผังเมือง
1.11 ส่งเสริม สนับสนุน จัดทำกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนภาคส่วน ต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และให้ความร่วมมือในการวางและจัดทำผังเมืองและการพัฒนาพื้นที่
1.12 ติดตาม ตรวจสอบ และให้ความเห็นด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผังเมือง เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายผังเมืองหรือหลักวิชาการผังเมือง
1.13กำกับดูแลการดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่าง ๆ ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การวางผังเป็นไปตามหลักวิชาการและมาตรฐานการผังเมือง
1.14 ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานผังเมือง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
ให้คำแนะนำ ชี้แจง และเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ในระดับเบื้องต้น แก่ภาคส่วน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน หรือภายใต้การควบคุมดูแลของ ผู้บังคับบัญชา เพื่อสนับสนุนการจัดทำโครงการ แผนงาน การประสานงาน การประเมินผล และ การประชาสัมพันธ์เผยแพร่การดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับผังเมือง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง การจัดการผังเมือง ผังเมือง วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสุขาภิบาล วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ศิลปกรรม วิจิตรศิลป์ สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมผังเมือง หรือสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็น คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
2. ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง การจัดการผังเมือง ผังเมือง วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสุขาภิบาล วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ศิลปกรรม วิจิตรศิลป์ สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมผังเมือง หรือสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็น คุณสมบัติ เฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
3. ได้รับปริญญาเอกหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือ ทางการจัดการผังเมือง ผังเมือง วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสุขาภิบาล วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ศิลปกรรม วิจิตร ศิลป์ สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมผังเมือง หรือสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็น คุณสมบัติ เฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้

ค วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.3ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 1
1.4ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 1
1.5ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 1
1.6ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 1
1.7ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 1
1.8ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ ระดับ 1
1.9ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม(EIA),การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA)ฯลฯ ระดับ 1
1.10ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 1
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 1
2.2ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 1
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 1
2.4 ทักษะการสืบสวน ระดับ 1
2.5ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 1
2.6 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 1
2.7ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 1
2.8ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 1
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 1
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 1
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 1
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 1
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 1
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    รคิดวิเคราะห์  ระดับ 1
3.2.2    การมุ่งความปลอดภัยและระวังภัย ระดับ 1
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 1
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 1
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 1
 --------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน ผังเมือง
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักผังเมือง
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญการ
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูงในงานวิชาการด้านผังเมือง ปฏิบัติงาน ที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูงในงานวิชาการ ด้านผังเมือง ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงาน อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ควบคุม ติดตามและดูแลการรวบรวม วิเคราะห์ และบูรณาการข้อมูล เพื่อการวาง และจัดทำผังเมืองประเภทต่างๆ ตามขั้นตอนของกฎหมาย
1.2 ศึกษา จัดการ ประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ด้วยระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ เพื่อประยุกต์ใช้กับงานผังเมืองประเภทต่างๆ
1.3 ควบคุม ติดตามและดูแลการค้นคว้า พิจารณาตรวจสอบ รับรองแบบ เพื่อเป็น แนวทางในการออกแบบผังเมืองให้เป็นไปตามความเหมาะสมกับสภาพการณ์และวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการวาง ผังเมือง
1.4กำหนดมาตรการในการป้องกันปัญหาทางผังเมือง หรือดำเนินการแก้ปัญหาผัง เมืองหรือการสงวนพื้นที่หรือรักษาวัตถุสถาน เพื่อให้การจัดผังเมืองเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสมและเกิด ประโยชน์สูงสุด
1.5 ควบคุม ติดตามและดูแลการตรวจสอบและดูแลที่สาธารณะ รวมถึงการกันแนว เขตที่สาธารณะ เพื่อป้องกันการบุกรุกที่ดินสาธารณะ
1.6 ควบคุม ติดตามและดูแลการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่างๆ กำหนดนโยบาย การพัฒนาพื้นที่ ระบบเมืองและการตั้งถิ่นฐาน แผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน แนวทางการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานและบริการสังคม ตลอดจนแผนผังอื่นๆ ตามที่กำหนดในการวางผังเมือง เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่ เมืองและชนบทเป็นไปอย่างสมดุล มีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมเศรษฐกิจ สัง คม และ สภาพแวดล้อมที่ดี
1.7วางและพัฒนาตามโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาพื้นที่ ตลอดจนสนับสนุน ภาคเอกชนในการดำเนินการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
1.8 วางและจัดทำแผนผัง โครงการต่างๆ และจัดทำรายละเอียดในการดำเนินการ พัฒนา ปรับปรุง และดำรงรักษาพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินโครงการผังเมืองเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
1.9 จัดทำข้อกำหนด มาตรการ แนวทางด้านผังเมือง เพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ใน ทิศทางที่เหมาะสม ตลอดจนป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับการผังเมือง
1.10 ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำคู่มือ เกณฑ์ มาตรฐาน แนวทาง และงาน วิชาการทางด้านผังเมือง เพื่อพัฒนามาตรฐานด้านการผังเมือง
1.11 ส่งเสริม สนับสนุน จัดทำกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนภาคส่วน ต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และให้ความร่วมมือในการวางและจัดทำผังเมืองและการพัฒนาพื้นที่
1.12 ติดตาม ตรวจสอบ และให้ความเห็นด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผังเมือง เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายผังเมืองหรือหลักวิชาการผังเมือง
1.13กำกับดูแลการดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่าง ๆ ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การวางผังเป็นไปตามหลักวิชาการและมาตรฐานการผังเมือง
1.14 ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน และแก้ไขปัญหา ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแก่เจ้าหน้าที่ในระดับรองลงมาในสายงาน ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด
1.15 ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานผังเมือง เพื่อมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานตามแผนงานหรือโครงการของหน่วยงาน ระดับสำนักหรือกอง และแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่ กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1ประสานการทำงานร่วมกันโดยมีบทบาทในการให้ความเห็นและคำแนะนำเบื้องต้น แก่สมาชิกในทีมงานหรือหน่วยงานอื่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2ให้ข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำเบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือบุคคลหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำแนะนำ ชี้แจง และเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ในระดับที่มีความ ยุ่งยาก แก่ภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน หรือภายใต้การ ควบคุมดูแลของผู้บังคับบัญชา เพื่อสนับสนุนการจัดทำโครงการ แผนงาน การประสานงาน การประเมินผล และการประชาสัมพันธ์เผยแพร่การดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับผังเมือง
4.2 ให้คำปรึกษา ตอบปัญหา ด้านวิชาการผังเมืองและการปฏิบัติให้เป็นไปตาม กฎหมายผังเมือง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญของงานผังเมือง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักผังเมือง ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และปฏิบัติงานงานวางและจัดทำผังเมือง หรืองานอื่นที่ เกี่ยวข้องตามที่ ก.จ. ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี กำหนดเวลา 6 ปี ให้ลดเป็น 4 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักผังเมือง ระดับปฏิบัติการ ข้อ 2 และ ให้ลดเป็น
2 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักผังเมือง ระดับปฏิบัติการ ข้อ 3 หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่ ก.จ. ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านการวางผังเมือง การวางแผนภาคและเมือง การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ค วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงานประกอบด้วย
1.1ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.3ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 2
1.4ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 2
1.5ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
1.6ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.7ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 2
1.8ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ ระดับ 2
1.9ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม(EIA),การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA)ฯลฯ ระดับ 2
1.10ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 2
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 2
2.2ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 2
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 2
2.4 ทักษะการสืบสวน ระดับ 2
2.5ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 2
2.6ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 2
2.7 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 2
2.8 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 2
2.9ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 2
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 2
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 2
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 2
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 2
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 2
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 2
3.2.2    การมุ่งความปลอดภัยและระวังภัย ระดับ 2
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 2
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 2
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 2
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
 
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน ผังเมือง
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักผังเมือง
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญการพิเศษ
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในงานวิชาการ ด้านผังเมือง ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญในงานสูงมากในงานวิชาการ ด้านผังเมือง ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ให้คำปรึกษา กำหนดแนวทางรวมถึงควบคุม และดูแลการปฏิบัติงาน และการ รับผิดชอบงานในภาพรวมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานผังเมือง เพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานเป็นไป อย่างถูกต้อง และแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.2 กำกับดูแลการศึกษา จัดการ ประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ด้วยระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อประยุกต์ใช้กับงานผังเมืองประเภทต่างๆ
1.3 ให้คำปรึกษา กำหนดแนวทาง และควบคุมดูแลการวางและจัดทำผังเมืองประเภท ต่างๆ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
1.4 ให้คำปรึกษา กำหนดแนวทาง และควบคุมดูแลการสำรวจ จัดการ ประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อประยุกต์ใช้กับงานผังเมืองประเภทต่างๆ ให้มัประ สิทธิภาพสูงสุด
1.5 ให้คำปรึกษา กำหนดแนวทาง และควบคุมดูแลการจัดทำผังเมืองประเภทต่างๆ รวมถึงกำหนดนโยบายการพัฒนาพื้นที่ ระบบเมืองและการตั้งถิ่นฐาน แผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน แผนผัง ระบบคมนาคมและการขนส่ง แผนผังระบบกิจการสาธารณูปโภคสาธารณูปการ แนวทางการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานและบริการสังคม ตลอดจนแผนผังอื่นๆ ตามที่กำหนดในการวางผังเมือง เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่ เมืองและชนบทเป็นไปอย่างสมดุล มีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมเศรษฐกิจ สังคม และ สภาพแวดล้อมที่ดี
1.6 ให้คำปรึกษา กำหนดแนวทาง และควบคุมดูแลการวางและพัฒนาตามโครงการ จัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาพื้นที่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
1.7 กำหนดมาตรการในการป้องกันปัญหาทางผังเมือง หรือดำเนินการแก้ปัญหาผัง เมืองหรือการสงวนพื้นที่หรือรักษาวัตถุสถาน เพื่อให้การจัดผังเมืองเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสมและเกิด ประโยชน์สูงสุด
1.8 ควบคุม ติดตามและดูแลการตรวจสอบและดูแลที่สาธารณะ รวมถึงการกันแนว เขตที่สาธารณะ เพื่อป้องกันการบุกรุกที่ดินสาธารณะ
1.9 ควบคุม ติดตาม และดูแลการส่งเสริม สนับสนุน และจัดทำกระบวนการมีส่วน ร่วมของประชาชน ตลอดจนภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และให้ความร่วมมือในการวางและ จัดทำผังเมืองและการพัฒนาพื้นที่
1.10 ให้คำปรึกษา กำหนดแนวทาง และควบคุมดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดิน และด้าน อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผังเมือง เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายผังเมืองหรือหลักวิชาการผังเมือง
1.11 ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำคู่มือ เกณฑ์ มาตรฐาน แนวทาง และงาน วิชาการทางด้านผังเมือง เพื่อพัฒนามาตรฐานด้านการผังเมือง
1.12 ให้คำปรึกษา และกำหนดทางในการจัดทำข้อกำหนด มาตรการ แนวทางด้านผัง เมือง เพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ในทิศทางที่เหมาะสม ตลอดจนป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับการ ผังเมือง
1.13กำหนดแนวทางการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำคู่มือ เกณฑ์ มาตรฐาน แนวทาง และงานวิชาการทางด้านผังเมือง เพื่อพัฒนามาตรฐานด้านการผังเมือง
1.14 ส่งเสริม สนับสนุน จัดทำกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และให้ความร่วมมือในการวางและจัดทำผังเมืองและการพัฒนาพื้นที่
1.15 พัฒนาและปรับปรุงระบบงานผังเมือง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าระบบงานที่ตั้งไว้สามารถ สนับสนุนส่วนงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นและสภาวการณ์ปัจจุบัน
1.16 สอนงาน ถ่ายทอดความรู้ หรือถ่ายทอดฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ในระดับรองลงมา ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และถ่ายทอดหลักการทำงานภายในองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
1.17 ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน และแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นแก่เจ้าหน้าที่ในระดับรองลงมาในสายงาน ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไปอย่างราบรื่นและแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด
1.18 ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับงานผังเมือง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนงาน โครงการของหน่วยงานระดับสำนักหรือกอง มอบหมายงาน แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานและติดตามประเมินผลเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่ กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1ประสานสัมพันธ์กับสมาชิกในทีมงานโดยมีบทบาทในการชี้แนะ จูงใจ ทีมงานหรือ หน่วยงานอื่นในระดับกองหรือสำนักเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ชี้แจง ให้ข้อคิดเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการหรือคณะทำงานต่างๆเพื่อเป็น ประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำแนะนำ ชี้แจง และเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ในระดับที่มีความ ยุ่งยากซับซ้อน แก่ภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องภายใต้กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน หรือ ภายใต้การควบคุมดูแลของผู้บังคับบัญชา เพื่อสนับสนุนการจัดทำโครงการ แผนงาน การประสานงาน การ ประเมินผล และการประชาสัมพันธ์เผยแพร่การดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับผังเมือง
4.2 ให้คำปรึกษา ตอบปัญหา ที่มีความยุ่งยากซับซ้อน ด้านวิชาการผังเมืองและการ ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายผังเมือง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไป เจ้าหน้าที่ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตลอดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญของงานผังเมือง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักผังเมือง ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และปฏิบัติงานงานวางและจัดทำผังเมือง หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ ก.จ. ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่น ที่ ก.จ. ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านการวางผังเมือง การวางแผนภาคและ เมือง การวางแผนชุมชนเมืองและหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1      ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.2      ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ)   ระดับ 3
1.3      ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระดับ 3
1.4      ความรู้เรื่องการจัดการความรู้       ระดับ 3
1.5      ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร          ระดับ 2
1.6      ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ    ระดับ 2
1.7      ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน    ระดับ 3
1.8      ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์     ระดับ 2
1.9ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA),การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA)ฯลฯระดับ 3
1.10ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะระดับ 3
2.ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย      
2.1      ทักษะการบริหารข้อมูล   ระดับ 3
2.2      ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์  ระดับ 3
2.3      ทักษะการประสานงาน    ระดับ 3
2.4      ทักษะการสืบสวน         ระดับ 3
2.5      ทักษะการบริหารโครงการ          ระดับ 3
2.6      ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้        ระดับ 3
2.7      ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน    ระดับ 3
2.8      ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์  ระดับ 3
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 3
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 3
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 3
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 3
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 3
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 3
3.2.2    การมุ่งความปลอดภัยและระวังภัย ระดับ 3
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 3
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 3
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 3
 -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสาย งานผังเมือง
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักผังเมือง
ระดับตำแหน่ง ระดับเชี่ยวชาญ
หน้า ที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการด้านผังเมือง ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทาง วิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการ ซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการด้านผังเมือง ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทาง วิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา กำหนดแนวทาง พัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจนเทคนิค ด้านการวิเคราะห์และบูรณาการข้อมูล เพื่อการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่างๆ
1.2 กำหนดนโยบาย แนวทางการ พัฒนากระบวนการวางและจัดทำผังเมืองประเภท ต่างๆ กำหนดนโยบายการพัฒนาพื้นที่ ระบบเมืองและการตั้งถิ่นฐาน แผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการสังคม ตลอดจนแผนผังอื่นๆ ตามที่กำหนดในการวางผังเมือง เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่ เมืองและชนบทเป็นไปอย่างสมดุล มีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริม เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อมที่ดี
1.3กำหนดนโยบายและแนวทางการวางและพัฒนาตามโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนา พื้นที่ ตลอดจนสนับสนุนภาคเอกชนในการดำเนินการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
1.4กำหนดนโยบายและแนวทางการวางและจัดทำแผนผัง โครงการต่างๆ และจัดทำ รายละเอียดในการดำเนินการพัฒนา ปรับปรุง และดำรงรักษาพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินโครงการผังเมืองเป็นไป ตามเป้าหมายที่วางไว้
1.5กำหนดนโยบายและแนวทางการจัดทำข้อกำหนด มาตรการ แนวทางด้านผังเมือง เพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ในทิศทางที่เหมาะสม ตลอดจนป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับการผังเมือง
1.6วิจัยหรือจัดทำผลงานด้านวิชาการผังเมือง เพื่อให้นวัตกรรมที่ได้รับการยอมรับใน
ระดับประเทศหรือระดับนานาชาติ
1.7 ประยุกต์ใช้แนวทางปฏิบัติที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล (Best Practices) ใน การกำหนดกลไก กระบวนการ หรือมาตรการการปฏิบัติงานผังเมือง เพื่อมาปรับใช้ในการพัฒนางานตาม ภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบ
1.8 ให้คำปรึกษา แนะนำ ในการจัดทำคู่มือ เกณฑ์ มาตรฐาน แนวทาง ตลอดจน พัฒนาองค์ความรู้และสร้างนวัตกรรมด้านการผังเมือง เพื่อพัฒนามาตรฐานการวางและจัดทำผังเมือง

2. ด้านการวางแผน
2.1วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผน โดยเชื่อมโยงหรือบูรณาการแผนงาน โครงการในระดับกลยุทธ์ของส่วนราชการ มอบหมายงานแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานติดตาม ประเมินผล เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
2.2สร้างสรรค์และบริหารโครงการทางวิชาการที่มีความซับซ้อนและส่งผลกระทบต่อการวาง นโยบายผังเมืองในระดับท้องถิ่นขนาดใหญ่ เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่ทันสมัยและ น่าเชื่อถือไปกำหนดนโยบาย มาตรการ ข้อบังคับ มาตรฐานหรือแนวทางต่างๆ ที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.3ทำหน้าที่เป็นตัวแทนขององค์กรในการประชุม เจรจาและการสัมมนาต่างๆ ที่จัด ขึ้นในระดับประเทศและระหว่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นร่วมกัน
3. ด้านการประสานงาน
3.1ประสานการทำงานโครงการต่างๆกับบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรอื่น โดยมี บทบาทในการจูงใจ โน้มน้าวเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ให้ข้อคิดเห็น และคำแนะนำแก่หน่วยงานระดับกอง หรือสำนักรวมทั้งที่ประชุมทั้ง ในและต่างประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
3.3ทำหน้าที่เป็นตัวแทนขององค์กรในการประชุม เจรจาและการสัมมนาต่างๆ ที่จัด ขึ้นในระดับประเทศและระหว่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นร่วมกัน
4. ด้านการบริการ
4.1อำนวยการถ่ายทอดความรู้ ให้คำแนะนำ ชี้แจง และเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ในระดับที่มีความยุ่งยากซับซ้อนมากแก่ภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการจัดทำโครงการ แผนงาน การประสานงาน การประเมินผล และการประชาสัมพันธ์เผยแพร่การดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ ผังเมือง
4.2 ให้คำปรึกษา ตอบปัญหา ที่มีความยุ่งยากซับซ้อนมาก ด้านวิชาการผังเมืองและ การปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายผังเมือง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตระหนักถึง ความสำคัญของงานผังเมือง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักผังเมือง ระดับปฏิบัติการ และ
2. เคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ และปฏิบัติงานงานวางและ จัดทำผังเมือง หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ ก.จ. ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือดำรง ตำแหน่งอย่างอื่นที่ ก.จ. ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านการวางผังเมือง การวางแผนภาคและเมือง การวางแผนชุมชนเมืองและหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย

ค วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงานประกอบด้วย
1.1ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 4
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.3ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 3
1.4ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 3
1.5ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
1.6ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.7ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 3
1.8ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ ระดับ 2
1.9ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม(EIA),การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA)ฯลฯ ระดับ 3
1.10ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 3
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 3
2.2ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 3
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 3
2.4 ทักษะการสืบสวน ระดับ 3
2.5ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 4
2.6 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 3
2.7ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 3
2.8ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 4
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 4
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 4
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 4
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 4
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 4
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 4
3.2.2    การมุ่งความปลอดภัยและระวังภัย ระดับ 4
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 4
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 4
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 4

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สันทนาการ

เจ้าพนักงานทะเบียน

เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว