เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์



มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 4501
ตำแหน่งประเภท ทั่วไป
สายงาน ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์
ลักษณะงาน โดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่างๆ ที่ปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์โดยทั่วไป ซึ่งมีลักษณะงานที่ ปฏิบัติเกี่ยวกับการช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ วิจัย ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวบรวมข้อมูลและ จัดทำรายงานผลการวิเคราะห์ การทดสอบ ช่วยนักวิทยาศาสตร์ระดับสูงปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย และ ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

ชื่อและระดับของตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้ คือ
เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์ ระดับปฏิบัติงาน
เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์ ระดับชำนาญงาน

ก.จ. กำหนดเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558

----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท ทั่วไป
ชื่อสายงาน ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์
ระดับตำแหน่ง ระดับปฏิบัติงาน
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 จัดเตรียม ดูแลรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งจัดทำทะเบียน การเบิกจ่ายวัสดุ และเคมีภัณฑ์ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม
1.2 ช่วยปฏิบัติงานวิเคราะห์ทดสอบ สอบเทียบ วิจัยเบื้องต้น และช่วยรวบรวมข้อมูล เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว
1.3 ช่วยปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากนักวิทยาศาสตร์ เพื่อให้การปฏิบัติงาน ดังกล่าวถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
1.4 วิเคราะห์ทดสอบทางกายภาพ ทางเคมี และทางจุลชีวิทยาของตัวอย่างอาหาร น้ำ สารอินทรีย์  สารอนินทรีย์ และวัตถุตัวอย่างอื่นๆ เพื่อหาองค์ประกอบหรือคุณสมบัติทางวิทยาศาสตร์
1.5 เก็บรักษาตัวอย่าง วัตถุดิบ เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ และเครื่องมือ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรักษาคุณภาพของเคมีภัณฑ์และให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงาน
1.6 ปรับตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีความเที่ยงตรง แม่นยำ และถูกต้องตามหลักการทางวิทยาศาสตร์
1.7 ชั่ง และตวง อัตราส่วนสารเคมีที่ใช้ในการปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิด ความถูกต้องและเป็นไปตามหลักการทางวิทยาศาสตร์
1.8 ให้คำแนะนำในการใช้สารเคมีกับน้ำบริโภค เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ประชาชน
1.9 รวบรวมข้อมูลและจัดทำรายงานผลการวิเคราะห์ การทดสอบการปฏิบัติการทาง
วิทยาศาสตร์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินงานอื่นต่อไป
1.10 ช่วยนักวิทยาศาสตร์ในการศึกษา วิจัย ในเรื่องต่างๆ ตามที่ ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
1.11 ติดต่อ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อให้ได้ข้อมูล วิธีดำเนินการ และเทคโนโลยี
1.12 ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับงานวิทยาศาสตร์ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.13 ปฏิบัติงาน และสนับสนุนงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อสนับสนุนให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นที่สังกัดบรรลุภารกิจที่กำหนดไว้
2. ด้านการบริการ
ให้คำแนะนำ และคำปรึกษาแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบ ทาง วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ได้รับประกาศนียบัตรเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือซึ่งมีระยะเวลาการศึกษาต่อ จากประโยคมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญ หรือได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ใน สาขาวิชาหรือทางเทคนิคการเคมี เคมี สิ่งทอ ทางเคมีปฏิบัติ หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ. , ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันใน สาขาวิชาหรือทางเทคนิคการเคมี เคมีสิ่งทอ ทางเคมีปฏิบัติ หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ. , ก.ท.หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
3. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรืออนุปริญญาหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ใน ระดับเดียวกันในสาขาวิชาหรือทางเทคนิค การเคมี เคมีสิ่งทอ ทางเคมีปฏิบัติ หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ. , ก.ท. หรือ ก.อบต.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้
4. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประกาศนียบัตรวิชาพนักงาน วิทยาศาสตร์การแพทย์เซลล์วิทยา ประกาศนียบัตรเซลล์วิทยา ประกาศนียบัตรเซลล์วิทยาซึ่งมีหลักสูตร กำหนดเวลาศึกษาต่อจากประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.2 ความรู้เรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
2. ทักษะที่จเป็นสาหรับการปฏิบัติงานในตแหน่ง ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 1
2.2 ทักษะการประสานงาน ระดับ 1
2.3 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 1
2.4 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 1
2.5 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 1
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 1
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 1
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 1
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 1
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 1
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การวิเคราะห์และบูรณาการ        ระดับ 1
3.2.2    การสั่งสมความรู้และความเชี่ยวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 1
3.2.3    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 1
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท ทั่วไป
ชื่อสายงาน ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญงาน
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา โดยต้อง กำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และ ความชำนาญงานด้านวิทยาศาสตร์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ค่อนข้างยาก และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญา โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานด้านวิทยาศาสตร์ ปฏิบัติงานที่ต้อง ตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหาที่ค่อนข้างยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือช่วยนักวิทยาศาสตร์ในการวิเคราะห์ทดสอบ สอบเทียบ วิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ต้องใช้ความรู้ และประสบการณ์ เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์สามารถทำงาน ได้สะดวกและรวดเร็ว
1.2 ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากนักวิทยาศาสตร์ เพื่อให้การปฏิบัติงาน ดังกล่าวถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
1.3 ควบคุม ตรวจสอบ และวิเคราะห์ทดสอบทางกายภาพ ทางเคมี และทางจุลชี วิทยาของตัวอย่างอาหาร น้ำ สารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ และวัตถุตัวอย่างอื่นๆ เพื่อหาองค์ประกอบหรือ คุณสมบัติทางวิทยาศาสตร์
1.4 ควบคุมและเก็บรักษาตัวอย่าง วัตถุดิบ เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ และ เครื่องมืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรักษาคุณภาพของเคมีภัณฑ์และให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงาน
1.5 ควบคุมและปรับตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีความ เที่ยงตรง แม่นยำและถูกต้องตามหลักการทางวิทยาศาสตร์
1.6 ควบคุมและชั่ง และตวง อัตราส่วนสารเคมีที่ใช้ในการปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดความถูกต้องและเป็นไปตามหลักการทางวิทยาศาสตร์
1.7 ให้คำแนะนำในการใช้สารเคมีกับน้ำบริโภค เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ประชาชน
1.8 ตรวจสอบและจัดทำรายงานผลการวิเคราะห์ การทดสอบการปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินงานอื่นต่อไป
1.9 ช่วยนักวิทยาศาสตร์ในการศึกษา วิจัย ในเรื่องต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
1.10 ให้คำแนะนำ ปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมาในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อช่วยให้ การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
1.11 ติดต่อ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อให้ได้ข้อมูล วิธีดำเนินการ และเทคโนโลยี
1.12 ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับงานวิทยาศาสตร์ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.13 ปฏิบัติงาน และสนับสนุนงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อสนับสนุนให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นที่สังกัดบรรลุภารกิจที่กำหนดไว้
2. ด้านการกำกับดูแล
ควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เพื่อให้การปฏิบัติงาน เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
3. ด้านการบริการ
ให้คำแนะนำ และคำปรึกษาแก่ประชาชนทั่วไปในเรื่องเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบทาง วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์ ระดับปฏิบัติงาน และ
2. ดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์ ระดับปฏิบัติงาน และปฏิบัติ เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี กำหนดเวลา 6 ปี ให้ลดเป็น 5 ปีสำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์ ระดับปฏิบัติงาน ข้อ 2 และให้ลดเป็น 4 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์ ระดับปฏิบัติงาน ข้อ 3 หรือข้อ 4 หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบได้ไม่ต่ำ กว่านี้ โดยจะต้องปฏิบัติงานเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.2 ความรู้เรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ระดับ 2
2. ทักษะที่จเป็นสาหรับการปฏิบัติงานในตแหน่ง ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 2
2.2 ทักษะการประสานงาน ระดับ 2
2.3 ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 2
2.4 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 2
2.5 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 2
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 2
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 2
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 2
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 2
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 2
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การวิเคราะห์และบูรณาการ        ระดับ 2
3.2.2    การสั่งสมความรู้และความเชี่ยวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 2
3.2.3    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 2

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สันทนาการ

ช่างศิลป์

เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว