นายแพทย์



มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 3615
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
สายงาน แพทย์
ลักษณะงาน โดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติการหรือให้บริการทางการแพทย์ ซึ่งเกี่ยวข้อง โดยตรงต่อชีวิต สุขภาพและอนามัยของประชาชน หรือปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่ประชาชน งานวิเคราะห์ วิจัยและชันสูตรโรค งานวางแผนทางวิชาการแพทย์ งานตรวจแนะนำให้คำปรึกษาในวิชาการ แพทย์ งานให้การศึกษาและฝึกอบรมด้านการแพทย์หรือการสาธารณสุขแก่แพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทางการ สาธารณ สุข หรือเจ้าหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง หรือบริหารงานในฐานะผู้ อำนวยการโรงพยาบาล หรือ สถานพยาบาล ซึ่งตำแหน่งต่าง ๆ เหล่านี้มีลักษณะที่จำเป็นต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในทางวิชาการหรือ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน และระดับตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับตำแหน่งดังนี้
นายแพทย์ ระดับปฏิบัติการ
นายแพทย์ ระดับชำนาญการ
นายแพทย์ ระดับชำนาญการพิเศษ
นายแพทย์ ระดับเชี่ยวชาญ

ก.จ. กำหนดเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน แพทย์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นายแพทย์
ระดับตำแหน่ง ระดับปฏิบัติการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการปฏิบัติหรือให้บริการทางการแพทย์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
           1.1 ตรวจ วินิจฉัย รักษาโรค ฟื้นฟู ส่งเสริมสุขภาพ ควบคุม ป้องกันโรคและภัยสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี และสามารถป้องกันตนเองหรือบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้พ้นจาก โรคภัยไข้เจ็บ
          1.2 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยด้านวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เบื้องต้น เพื่อประกอบการพัฒนาแนวทางการตรวจ ชันสูตร วินิจฉัย บำบัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ ส่งเสริม ควบคุม ป้องกัน เพื่อให้ได้องค์ความรู้ทางวิชาการแพทย์และสาธารณสุข ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมกับ ภารกิจของส่วนราชการ
1.3 รวบรวมข้อมูลและศึกษาสภาวะสุขภาพของประชาชนในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อวางแผนการดำเนินงานตรวจ วินิจฉัย รักษา ควบคุม ป้องกัน เฝ้าระวัง รักษาโรค และฟื้นฟู ส่งเสริมสุขภาพทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เหมาะสมกับ บริบทของพื้นที่
1.4 ตรวจชันสูตรทางนิติเวชศาสตร์และเหตุตายทางนิติเวชศาสตร์ ให้เป็นไปตาม มาตรฐานทางนิติเวชศาสตร์ เพื่อให้ทราบสาเหตุของการเสียชีวิต
1.5 ถ่ายทอดความรู้ทางการแพทย์แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา นักศึกษา และ บุคลากรสาธารณสุข เช่น ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการ กำหนดหลักสูตรและฝึกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็น ประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด
1.6 สอบประวัติคนไข้ ตรวจรักษาโรค วินิจฉัย วิเคราะห์ ชันสูตรโรค ควบคุมการ เคลื่อนย้ายผู้ป่วย ตามหลักวิชา พิจารณาการใช้ยา ให้ยา ผ่าตัดทั่วไป ทำคลอด ฟื้นฟูบำบัดทั้งกายและจิต ออก ใบรับรองแพทย์และแนะนำส่งเสริมสุขภาพ และจิตให้ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไปมีสุขภาพสมบูรณ์ ปฏิบัติการ ควบคุมป้องกันโรคการติดต่อและการระบาดของโรค แนะนำและส่งเสริมงานวางแผนครอบครัว
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้ เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจง เกี่ยวกับงานการแพทย์ การควบคุมป้องกัน โรค การฟื้นฟูสภาพและการส่งเสริมสุขภาพ ที่ตนมีความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้น แก่ผู้ป่วยและญาติ หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆที่เป็นประโยชน์ และสามารถนำไปปฏิบัติให้มีสุขภาพที่ดี
4.2 จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบ สารสนเทศที่เกี่ยวกับงานการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน
4.3 ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข แก่บุคลากร สาธารณสุข นักศึกษาและประชาชน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมี ประสิทธิภาพ
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ได้รับปริญญาในสาขาวิชาแพทยศาสตร์ หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้และ ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสาขาเวชกรรม จากแพทยสภา หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
2. ได้รับปริญญาแพทยศาสตร์ หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้และได้รับ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสาขาเวชกรรม จากแพทยสภา และได้รับวุฒิบัตรแสดงความความรู้ความชำนาญใน การประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา หรือหนังสืออนุมัติบัตรแสดงความรู้ หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่น ที่ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1      ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.2      ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ)   ระดับ 1
1.3      ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว      ระดับ 1
1.4      ความรู้เรื่องการจัดการความรู้       ระดับ 1
1.5      ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร          ระดับ 1
1.6      ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ    ระดับ 1
1.7      ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน    ระดับ 1
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯ ระดับ 1
1.9ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 1
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1      ทักษะการบริหารข้อมูล   ระดับ 1
2.2      ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์  ระดับ 1
2.3      ทักษะการประสานงาน    ระดับ 1
2.4      ทักษะการบริหารโครงการ          ระดับ 1
2.5      ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้        ระดับ 1
2.6      ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน    ระดับ 1
2.7      ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์  ระดับ 1

3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 1
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 1
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 1
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 1
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 1
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ      ระดับ 1
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 1
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 1
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 1
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 1
 ---------------------------------------------------------------------------------------------------


ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน แพทย์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นายแพทย์
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูงในงานวิชาการเกี่ยวกับการปฏิบัติ หรือให้บริการทางการแพทย์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูงในงานวิชาการเกี่ยวกับการปฏิบัติหรือให้บริการทางการแพทย์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจ หรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ตรวจ วินิจฉัย รักษาโรค ฟื้นฟู ส่งเสริมสุขภาพ ควบคุม ป้องกันโรค และภัยสุขภาพ โรคเฉพาะทางหรือโรคที่ยุ่งยาก ซับซ้อน เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี และสามารถป้องกันตนเองหรือบุ คคล อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ
1.2 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยด้านวิชาการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อพัฒนาแนวทางการ ตรวจ ชันสูตรวินิจฉัย การรักษาโรครวม การควบคุม ป้องกัน เฝ้าระวังโรค ฟื้นฟูสภาพ และส่งเสริมสุขภาพให้ เหมาะสมกับภารกิจของส่วนราชการ
1.3 ตรวจชันสูตรทางนิติเวชศาสตร์และเหตุตายทางนิติเวชศาสตร์ที่ยุ่งยาก ซับซ้อนให้ เป็นไปตามมาตรฐานทางนิติเวชศาสตร์ เพื่อให้ทราบสาเหตุของการเสียชีวิต
1.4 เสนอแนะแนวทางตรวจ วินิจฉัย บำบัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ ส่งเสริม ควบคุม ป้องกัน เพื่อให้ได้องค์ความรู้ทางวิชาการแพทย์และสาธารณสุขที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมกับ ภารกิจของส่วนราชการ
1.5 วิเคราะห์ปัญหา ศึกษาสภาวะสุขภาพของประชาชนในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ และ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อวางแผนการดำเนินงานตรวจ วินิจฉัย บำบัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ ส่งเสริม ควบคุม ป้องกันทางการแพทย์และสาธารณสุขให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่
1.6 เสนอแนะแนวทางใหม่ในการปรับปรุงการดำเนินงาน หรือเสนอรวบรวมข้อมูล และศึกษาด้านวิชาการแพทย์ในประเด็นต่างๆ เพื่อพัฒนาแนวทางการตรวจ การวินิจฉัย และการรักษาโรค รวมถึงการป้องกัน ฟื้นฟูและส่งเสริมสุขภาพให้เหมาะสมกับสภาวการณ์
1.7 ถ่ายทอดความรู้ทางการแพทย์แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา นักศึกษา และ บุคลากรสาธารณสุข เช่น ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการ กำหนดหลักสูตรและฝึกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็น ประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด
1.8 สอบประวัติคนไข้ ตรวจรักษาโรคทั่วไปหรือเฉพาะทาง ทำคลอด ฟื้นฟูบำบัดทั้ง กายและจิต วางแผนการควบคุมป้องกันโรค หรือการส่งเสริมสุขภาพ วิจัยทางการแพทย์และการสำธารณสุข รับผิดชอบในโครงการต่าง ๆ เกี่ยวกับการศึกษาฝึกอบรมเพื่อผลิตเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ทางการ แพทย์และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานตามแผนงานหรือโครงการของหน่วยงาน ระดับสำนักหรือกอง และแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่ กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันโดยมีบทบาทในการให้ความเห็นและคำแนะนำ เบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือหน่วยงานอื่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ให้ข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำเบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือบุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
4.1 พัฒนา ปรับปรุงจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานการแพทย์ และสาธารณสุข เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน
4.2 อำนวยการพัฒนาในการถ่ายทอด หรือถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีทาง การแพทย์ และสาธารณสุขแก่บุคลากรสาธารณสุข และนักศึกษา เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถ ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
4.3 จัดทำเอกสารวิชากร ตำรา คู่มือทางวิชาการแพ ท ย์และสาธารณสุข เพื่อประกอบการเรียนการสอน และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
4.4 ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเกี่ยวกับงานการแพทย์และสาธารณสุข ที่ตน มีความรับผิดชอบแก่ผู้ป่วยและญาติ หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบ ข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ และสามารถนำไปปฏิบัติให้มีสุขภาพที่ดี
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนายแพทย์ ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และปฏิบัติงาน ด้านการแพทย์หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี กำหนดเวลา 4 ปี ให้ลดเป็น 2 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนายแพทย์ ระดับปฏิบัติการ ข้อ 2 หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้อง ปฏิบัติงานด้านนายแพทย์หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ค วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 2
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 2
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 2
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯ ระดับ 2
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 2
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 2
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 2
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 2
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 2
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 2
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 2
2.7 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 2
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 2
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 2
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 2
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 2
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 2
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ      ระดับ 2
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 2
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 2
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 2
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 2
 --------------------------------------------------------------------------------------------------

ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน แพทย์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นายแพทย์
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญการพิเศษ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในงานวิชาการการปฏิบัติ หรือให้บริการทางการแพทย์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญในงานสูงมากในงานวิชาการการปฏิบัติหรือให้บริการทางการแพทย์ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจ หรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ตรวจ วินิจฉัย รักษาโรค ฟื้นฟู ส่งเสริมสุขภาพ ควบคุม ป้องกันโรค และภัย สุขภาพ โรคเฉพาะทางหรือโรคที่ยุ่งยาก ซับซ้อน และมีการค้นคว้าอ้างอิงหรือใช้ข้อมูลจากภายนอกเพื่อให้ ประชาชนมีสุขภาพที่ดี และสามารถป้องกันตนเองหรือบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.2 วางแนวทางศึกษา วิเคราะห์ วิจัยด้านวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อพัฒนา แนวทางการตรวจ ชันสูตร วินิจฉัยบำบัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ ส่งเสริม ควบคุม ป้องกันทางการแพทย์และ สาธารณสุข ให้เหมาะสมกับภารกิจของส่วนราชการและบริบทของพื้นที่รับผิดชอบ
1.3 ตรวจชันสูตรทางนิติเวชศาสตร์และเหตุตายทางนิติเวชศาสตร์ที่ยุ่งยาก ซับซ้อน และมีการค้นคว้าอ้างอิงหรือใช้ข้อมูลจากภายนอก ให้เป็นไปตามมาตรฐานทางนิติเวชศาสตร์ เพื่อให้ทราบ สาเหตุของการเสียชีวิต
1.4 เสนอแนะแนวทางตรวจ วินิจฉัย บำบัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ ส่งเสริม ควบคุม ป้องกัน ปัญหาสุขภาพที่ยากเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการแพทย์และสาธารณสุขที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ อย่างเหมาะสมกับภารกิจของส่วนราชการ
1.5 วิเคราะห์ปัญหา ศึกษาสภาวะสุขภาพของประชาชนในเขตพื้นที่ที่รับผิ ดชอบ และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อวางแผนการดำเนินงานตรวจ วินิจฉัย บำบัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ ส่งเสริม ควบคุม ป้องกันทางการแพทย์และสาธารณสุขให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่
1.6 ประเมินผลการดำเนินงานในโครงการต่าง ๆ หรือการดำเนินการค้นคว้าทาง วิชาการของกอง/สำนัก เพื่อให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย เป็นแนวทางพัฒนาการดำเนินงาน และประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร
1.7 ศึกษา วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีและแนวทางเสริมสร้างสุขภาพและป้องกัน รักษาโรค เพื่อให้ได้องค์ความรู้ทางวิชาการแพทย์ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมกับสภาวการณ์
1.8 วิเคราะห์และสรุปผลการศึกษาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการส่งเสริมสุขภาพต่างๆ เพื่อกำหนดมาตรฐานในการป้องกันโรคและให้เกิดความปลอดภัยแก่ประชาชน
1.9 ศึกษาและวิเคราะห์สภาวะสุขภาพของประชาชนในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ และ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อวางแผนการดำเนินงานทางการแพทย์และ สาธารณสุขที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ รวมถึงจัดทำแผนปฏิบัติงานและโครงการศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนา รูปแบบกลวิธีการดำเนินงานป้องกันโรคและภาวะผิดปกติของร่างกายและจิตใจ รวมทั้งส่งเสริมสุขภาพของ ประชาชน
1.10 สอบประวัติคนไข้ ตรวจรักษาโรคทั่วไปหรือเฉพาะทาง วินิจฉัย วิเคราะห์ ชันสูตร พิจารณาใช้ยา ให้ยาผ่าตัดทั่วไปหรือเฉพาะทาง ทำคลอด ฟื้นฟูบำบัดทั้งกายและจิต วางแผนการควบคุม ป้องกันโรค หรือการส่งเสริมสุขภาพ วิจัยทางการแพทย์และการสาธารณสุข
2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนงาน โครงการของหน่วยงานระดับสำนักหรือกอง มอบหมายงาน แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานและติดตามประเมินผลเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่ กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานสัมพันธ์กับสมาชิกในทีมงานโดยมีบทบาทในการชี้แนะ จูงใจ ทีมงานหรือ หน่วยงานอื่นในระดับกองหรือสำนักงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ชี้แจง ให้ข้อคิดเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการหรือคณะทำงานต่างเพื่อเป็น ประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
3.3 ประสานงานการปฏิบัติงานทางวิชาการของหน่วยงานสาธารณสุขให้เป็นไปตาม นโยบายและแผนงานที่กำหนดไว้ เสนอแนะข้อควรปรับปรุงแก้ไขและแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการ ให้บริการสาธารณสุข เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดเป็นนโยบายและแผนงานขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำปรึกษาอำนวยการพัฒนาในการถ่ายทอด หรือถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข แก่บุคลากรสาธารณสุขและนักศึกษา เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
4.2 กำหนดแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่ เกี่ยวกับงานการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน
4.3 ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจง เกี่ยวกับงานการแพทย์และสาธารณสุข ภายใต้ความรับผิดชอบในระดับที่ซับซ้อน เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ และสามารถนำไปปฏิบัติให้มีสุขภาพที่ดี
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนายแพทย์ ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และปฏิบัติงาน ด้านการแพทย์หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือ ดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงานด้าน นายแพทย์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 3
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 3
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 2
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯ ระดับ 3
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 3
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 3
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 3
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 3
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 3
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 3
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 3
2.7 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 3
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 3
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 3
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 3
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 3
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 3
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ      ระดับ 3
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 3
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 3
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 3
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 3
 -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน แพทย์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นายแพทย์
ระดับตำแหน่ง ระดับเชี่ยวชาญ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการเกี่ยวกับการปฏิบัติหรือให้บริการทางการแพทย์ ปฏิบัติงานที่ ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้างและปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการ ซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางเกี่ยวกับการปฏิบัติหรือให้บริการทางการแพทย์ ปฏิบัติงานที่ต้อง ตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ตรวจ วินิจฉัย รักษาโรค ฟื้นฟู ส่งเสริมสุขภาพ ควบคุม ป้องกันโรคและภัยสุขภาพ โรคเฉพาะทางที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญสูง และมีการค้นคว้าอ้างอิงหรือใช้ข้อมูลจากภายนอก เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี และสามารถป้องกันตนเองหรือบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.2 พัฒนาแนวทางและประยุกต์ใช้แนวทางปฏิบัติด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่ ได้รับการยอมรับในระดับสากล เพื่อรักษา ฟื้นฟู ส่งเสริมสุขภาพ ควบคุม ป้องกันโรค และภัยสุขภาพให้ เหมาะสมกับสภาวะของประเทศ
1.3 ควบคุม ตรวจสอบ กำกับดูแลโครงการ งานวิจัย มาตรฐานคุณภาพการตรวจ การให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้การปฏิบัติการและบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขแก่ ประชาชน ได้อย่างมีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับภารกิจและนโยบายในภาพรวมขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น
1.4 ตรวจชันสูตรทางนิติเวชศาสตร์และเหตุตายทางนิติเวชศาสตร์ที่ยุ่งยาก ซับซ้อนที่ ต้องใช้ความเชี่ยวชาญสูง และมีการค้นคว้าอ้างอิงหรือใช้ข้อมูลจากภายนอกให้เป็นไปตามมาตรฐานทางนิติเวช ศาสตร์เพื่อให้ทราบสาเหตุของการเสียชีวิต
1.5 เสนอแนะแนวทางตรวจ วินิจฉัยบำบัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ ส่งเสริม ควบคุม ป้องกันปัญหาสุขภาพที่ยากเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการแพทย์และสาธารณสุข ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ อย่างเหมาะสมกับภารกิจของส่วนราชการ
1.6 วิเคราะห์ปัญหา ศึกษาสภาวะสุขภาพของประชาชนในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อวางแผนการดำเนินงานตรวจ วินิจฉัย บำบัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ ส่งเสริม ควบคุม ป้องกันทางการแพทย์และสาธารณสุขให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่
1.7 ตรวจ แนะนำ ให้คำปรึกษาทางวิชาการสาธารณสุขเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การป้องกันโรค การสาธารณสุขอนามัยแก่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอื่นที่เกี่ยวข้อง
1.8 ควบคุมดูแลและส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและแนวทางเสริมสร้างสุขภาพ และป้องกันรักษาโรค เพื่อให้ได้องค์ความรู้ทางวิชาการแพทย์ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมกับ สภาวการณ์
1.9 ประเมินและสรุปผลสภาวะสุขภาพของประชาชนในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อวางแผนการดำเนินงานทางการแพทย์และ สาธารณสุขที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่
1.10 กำกับดูแลโครงการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน เพื่อให้ผลการดำเนินงานเป็นไป ตามเป้าหมายและเป็นแนวทางพัฒนาการดำเนินงานครั้งต่อไป
1.11 วางกรอบการจัดทำเอกสารวิชาการ ตำรา และข้อสอบทางวิชาการแพทย์ เพื่อ ประกอบการเรียนการสอนทางการแพทย์
1.12 ถ่ายทอดความรู้ทางการแพทย์แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา นักศึกษาแพทย์และ บุคลากรสาธารณสุข เช่น ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการ กำหนดหลักสูตรและฝึกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็น ประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผน โดยเชื่อมโยงหรือบูรณาการแผนงาน โครงการใน ระดับกลยุทธ์ของส่วนราชการระดับกรม มอบหมายงานแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานติดตาม ประเมินผล เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานโครงการต่างๆกับบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรอื่น โดยมี บทบาทในการจูงใจ โน้มน้าวเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ให้ข้อคิดเห็น และคำแนะนำแก่หน่วยงานระดับกอง หรือสำนักรวมทั้งที่ประชุมทั้ง ในและต่างประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
3.3 ประสานงานการปฏิบัติงานทางวิชาการของหน่วยงานสาธารณสุขให้เป็นไปตาม นโยบายและแผนงานที่กำหนดไว้ และเสนอแนะข้อควรปรับปรุงแก้ไขรวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการให้บริการสาธารณสุข เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดเป็นนโยบายและแผนงานขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น
4. ด้านการบริการ
4.1 เป็นที่ปรึกษาระดับกรมในการปฏิบัติการ ถ่ายทอดความรู้ เพื่อให้มีความรู้ความ เข้าใจและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
4.2 กำหนดแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่ เกี่ยวกับงานการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน
4.3 ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้บริหาร วินิจฉัย ชี้แจง และ ตอบปัญหาสำคัญ ในงาน การแพทย์และสาธารณสุข แก่หน่วยงานราชการเอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทรำบข้อมูล ความรู้ต่างๆ และนำไปปฏิบัติให้มีสุขภาพที่ดี
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนายแพทย์ ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ และปฏิบัติงานด้าน การแพทย์หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือดำรง ตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงานด้าน นายแพทย์หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 4
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 3
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 3
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 2
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯ ระดับ 3
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 3
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 3
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 3
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 3
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 3
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 3
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 3
2.7 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 4
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 4
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 4
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 3
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 4
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 4
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ      ระดับ 4
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 4
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 4
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 4
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 4

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สันทนาการ

ช่างศิลป์

เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว