เภสัชกร



มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 3612
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
สายงาน เภสัชกรรม
ลักษณะงาน โดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานด้านเภสัชกรรมซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ เกี่ยวกับการผสมและปรุงยาและเวชภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ การจ่ายยาให้คนไข้ตามคำสั่งแพทย์ในโรงพยาบาล หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตำแหน่งต่าง ๆ เหล่านี้ มีลักษณะที่จำเป็นต้องใช้ผู้มีความรู้ความชำนาญในวิชาการเภสัชศาสตร์
ชื่อตำแหน่งในสายงาน และระดับตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้
เภสัชกร ระดับปฏิบัติการ
เภสัชกร ระดับชำนาญการ
เภสัชกร ระดับชำนาญการพิเศษ
เภสัชกร ระดับเชี่ยวชาญ
 ก.จ. กำหนดเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน เภสัชกรรม
ชื่อตำแหน่งในสายงาน เภสัชกร
ระดับตำแหน่ง ระดับปฏิบัติการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานเภสัชกรรม ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ทำหน้าที่ผสมและปรุงยาและเวชภัณฑ์ทั่วไปทั้งที่เป็นยารับประทานและยาใช้ ภายนอก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยารับประทานและยาใช้ภายนอกที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับโรค
1.2 จ่ายยา จัดยา บรรจุยา และให้คำแนะนำวิธีการใช้ยาที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วย เพื่อให้ ผู้ป่วยใช้ยาได้อย่างถูกต้อง และครบถ้วน
1.3 จัดระบบ ดูแล และเก็บรักษายา เวชภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์ต่างๆ ในสถานที่และ อุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพของยา
1.4 ดำเนินการจัดซื้อ จัดหา และให้บริการเบิกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้มี ปริมาณยาที่เพียงพอ ครบถ้วน และมีคุณภาพในการรักษาแก่ผู้ป่วย
1.5 บริการทางเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุขเบื้องต้น เพื่อบรรลุผลการรักษา ป้องกัน ควบคุมโรค และประชาชนเกิดความปลอดภัยในการใช้ยา สมุนไพร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
1.6 คุ้มครองผู้บริโภค ตรวจวิเคราะห์ ประกันคุณภาพทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น ด้าน ยา สมุนไพร ผลิตภัณฑ์และบริการสุขภพ เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการได้มาตรฐาน เป็นธรรมและปลอดภัย
1.7 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย กำหนดแนวทาง ติดตาม ประเมินผลทางวิชาการเบื้องต้น เพื่อพัฒนางานเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภค และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานเภสัชกรรม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพสูงสุดา
1.8 จัดทำ พัฒนามาตรฐาน แนวทาง คู่มือเบื้องต้นทางเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภค สมุนไพร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของงาน
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบและร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้ เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจง เกี่ยวกับงานเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุข การ คุ้มครองผู้บริโภคในระดับเบื้องต้นแก่ผู้ป่วย ญาติ หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ ผู้สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์
4.2 จัดเก็บข้อมูล ให้บริการข้อมูลเบื้องต้นทางเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุข การ คุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้สอดคล้อง สนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนด แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ
4.3 สอน นิเทศ ฝึกอบรม ถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีทางเภสัชกรรม เภสัช สาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภคแก่นักศึกษา บุคลากรสาธารณสุข เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถ ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง เภสัชศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาเภสัชกรรมชั้นหนึ่ง หรือในสาขาวิชาหรือทาง อื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
2. ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง เภสัชศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาเภสัชกรรมชั้นหนึ่ง หรือในสาขาวิชาหรือทาง อื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
3. ได้รับปริญญาเอกหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง เภสัชศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาเภสัชกรรมชั้นหนึ่ง หรือในสาขาวิชาหรือทาง อื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
ค วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดาริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 1
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 1
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 1
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 1
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 1
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯ ระดับ 1
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 1
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 1
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 1
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 1
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 1
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 1
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 1
2.7 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 1
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 1
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 1
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 1
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 1
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 1
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ      ระดับ 1
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 1
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 1
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 1
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 1
 ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน เภสัชกรรม
ชื่อตำแหน่งในสายงาน เภสัชกร
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูงในงานวิชาการเภสัชกรรม ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูงในงานวิชาการเภสัชกรรม ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ควบคุม และดูแลการผสมและการปรุงยาและเวชภัณฑ์ทั่วไปทั้งที่ เป็นยา รับประทานและยาใช้ภายนอก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยารับประทานและยาใช้ภายนอกที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับ โรค รวมถึงควบคุม และดูแลการจ่ายยา การจัดยา การบรรจุยา และการให้คำแนะนำวิธีการใช้ยาที่ถูกต้องแก่ ผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ยาได้อย่างถูกต้อง และครบถ้วน
1.2 ควบคุม และดูแลการจัดระบบ และการเก็บรักษายา เวชภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์ ต่างๆ ในสถานที่และอุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพของยา
1.3 ควบคุม และดูแลการดำเนินการจัดซื้อ การจัดหา และการให้บริการเบิกจ่ายยา และเวชภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้มีปริมาณยาที่เพียงพอ ครบถ้วน และมีคุณภาพในการรักษาแก่ผู้ป่วย
1.4 บริการทางเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุขที่ยากและซับซ้อน เพื่อบรรลุผลการรักษา ป้องกันควบคุมโรค และประชาชนเกิดความปลอดภัยในการใช้ยา สมุนไพร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
1.5 คุ้มครองผู้บริโภค ตรวจวิเคราะห์ ประกันคุณภาพทางห้องปฏิบัติการ ด้านยา สมุนไพร ผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพที่ยากและซับซ้อน เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการ ได้มาตรฐาน เป็น ธรรมและปลอดภัย
1.6 ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา กำหนดแนวทาง ติดตาม ประเมินผลทาง วิชาการที่ยากและซับซ้อน ต้องอาศัยความรู้ทางวิชาการระดับสูง เพื่อพัฒนางานเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุข การ คุ้มครองผู้บริโภค
1.7 เสนอแนะแนวทาง หลักเกณฑ์ หรือข้อเสนอต่าง ๆ ตามหลักวิชาชีพ เพื่อพัฒนา มาตรฐานการปฏิบัติงาน
2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานตามแผนงานหรือโครงการของหน่วยงานระดับ สำนักหรือกอง และแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันโดยมีบทบาทในการให้ความเห็นและคำแนะนำ เบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือหน่วยงานอื่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ให้ข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำเบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือบุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจง เกี่ยวกับงานเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุข การ คุ้มครองผู้บริโภค ที่ยากและซับซ้อนแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไปเพื่อให้ผู้สนใจได้ทราบ ข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์
4.2 พัฒนา ปรับปรุง ฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานเภสัชกรรม เภสัช สาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการ พิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์และมาตรต่างๆ
4.3 สอน พัฒนาระบบการสอน นิเทศ ฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีทางเภสัช กรรม เภสัชสาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภคแก่นักศึกษา บุคลากรสาธารณสุข เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเภสัชกร ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และปฏิบัติงาน ด้านเภสัชกรรมหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี กำหนดเวลา 6 ปี ให้ลดเป็น 4 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเภสัชกร ระดับปฏิบัติการ ข้อ 2 และให้ลดเป็น 2 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเภสัชกร ระดับปฏิบัติการ ข้อ 3 หรือดำรง ตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงานด้าน เภสัชกรรมหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย


      1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
      1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
      1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดาริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 2
      1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 2
      1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
      1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
      1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 2  
      1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯ ระดับ 2
      1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 2
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 2
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 2
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 2
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 2
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 2
2.7 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 2
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 2
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 2
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 2
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 2
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 2
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ      ระดับ 2
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 2
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 2
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 2
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 2
 -----------------------------------------------------------------------------------------------------

ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน เภสัชกรรม
ชื่อตำแหน่งในสายงาน เภสัชกร
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญการพิเศษ
หน้ที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในงานวิชาการเภสัชกรรม ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญในงานสูงมากในงานวิชาการเภสัชกรรม ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการผสมและการปรุงยาและเวชภัณฑ์ ทั่วไปทั้งที่เป็นยารับประทานและยาใช้ภายนอก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยารับประทานและยาใช้ภายนอกที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับโรค รวมถึงควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจ่ายยา การจัดยา การบรรจุยา และการให้คำแนะนำวิธีการใช้ยาที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ยาได้อย่างถูกต้อง และครบถ้วน
1.2 ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดระบบ และการเก็บรักษายา เวชภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์ต่างๆ ในสถานที่และอุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพของยา
1.3 ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดซื้อ การจัดหา และการ ให้บริการเบิกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้มีปริมาณยาที่เพียงพอ ครบถ้วน และมีคุณภาพในการรักษาแก่ ผู้ป่วย รวมถึงการคำนวณราคายาต้นทุน และการกำหนดราคายา เพื่อให้มีราคายาที่ถูกต้อง เหมาะสม และเป็น มาตรฐานเดียวกัน
1.4 บริการทางเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุขที่ยากเป็นพิเศษ ต้องมีการค้นคว้าอ้างอิง หรือใช้ข้อมูลจากภายนอก เพื่อบรรลุผลการรักษา ป้องกันควบคุมโรค และประชาชนเกิดความปลอดภัยในการ ใช้ยา สมุนไพร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
1.5 คุ้มครองผู้บริโภค ตรวจวิเคราะห์ ประกันคุณภาพทางห้องปฏิบัติการ ด้านยา สมุนไพร ผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพที่ยากเป็นพิเศษ เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการ ได้มาตรฐาน เป็นธรรมและปลอดภัย
1.6 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยทางเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภค ที่ยากเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมกับภารกิจของส่วนราชการ และบริบทของพื้นที่ และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน เภสัชกรรม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.7 วางแนวทาง ทิศทางการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยของหน่วยงาน เพื่อพัฒนางาน เภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภค ให้เหมาะสมกับภารกิจของส่วนราชการและบริบทของพื้นที่ รับผิดชอบ
1.8 ติดตาม กำกับ ประเมินผลงานบริการ โครงการ การดำเนินการทางวิชาการของ หน่วยงาน เพื่อให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย เป็นแนวทางพัฒนาการดำเนินงาน และประกอบการ ตัดสินใจของผู้บริหาร
2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนงาน โครงการของหน่วยงานระดับสำนักหรือกอง มอบหมายงาน แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานและติดตามประเมินผลเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่ กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานสัมพันธ์กับสมาชิกในทีมงานโดยมีบทบาทในการชี้แนะ จูงใจ ทีมงานหรือ หน่วยงานอื่นในระดับกองหรือสำนักงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ชี้แจง ให้ข้อคิดเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการหรือคณะทำงานต่างๆ สมาชิกใน ทีมงาน บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจง เกี่ยวกับงานเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภคที่ยากเป็นพิเศษต้องมีการค้นคว้าอ้างอิงหรือใช้ข้อมูลจากภายนอกแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
4.2 สอน พัฒนา ให้คำปรึกษาการถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีทางเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภคแก่นักศึกษา บุคลากรสาธารณสุข เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถ ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
4.3 จัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเภสัชกร ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และปฏิบัติงาน ด้านเภสัชกรรมหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือ ดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้องปฏิบัติงานด้าน เภสัชกรรมหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1 ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 3
1.4 ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 3
1.5 ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
1.6 ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.7 ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 2
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯ ระดับ 3
1.9 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 3
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 3
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 3
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 3
2.4 ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 3
2.5 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 3
2.6 ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 3
2.7 ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 3
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 3
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 3
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 3
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 3
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 3
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ      ระดับ 3
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 3
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 3
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 3
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 3
 ----------------------------------------------------------------------------------------------------

ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน เภสัชกรรม
ชื่อตำแหน่งในสายงาน เภสัชกร
ระดับตำแหน่ง ระดับเชี่ยวชาญ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการเภสัชกรรม ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทาง วิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการ ซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการเภสัชกรรม ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทาง วิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 บริหารงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญ หรือเทียบเท่า ซึ่งมีหน้าที่และรับผิดชอบในการ ควบคุมและบริหารงานทุกด้านของงานเภสัชกรรมที่รับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองกับนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.2 กำหนดบัญชี/รายการยา และเวชภัณฑ์ต่างๆ ภายในโรงพยาบาลหรือหน่วยงานที่ รับผิดชอบ เพื่อให้มียาที่มีคุณภาพ มาตรฐาน เหมาะสม และสอดคล้องกับความจำเป็นของผู้ป่วยอย่างแท้จริง
1.3 กำหนดมาตรฐานงาน พัฒนา และปรับปรุงการดำเนินงานด้านเภสัชกรรม เพื่อให้ การปฏิบัติงานเภสัชกรรมมีประสิทธิภาพ และสามารถให้บริการแก่ผู้ป่วย และประชาชนได้อย่างสอดคล้องกับ ความต้องการอย่างแท้จริง
1.4 กำหนดผลสัมฤทธิ์ทั้งด้านผลผลิต และผลลัพธ์ที่จะได้จากการดำเนินงานด้าน เภสัชกรรม เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างตรงตามวัตถุประสงค์ อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.5 บริการทางเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุขที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ต้องใช้ความเชี่ยวชาญสูง เพื่อบรรลุผลการรักษา ป้องกันควบคุมโรค ประชาชนเกิดความปลอดภัย ในการใช้ยา สมุนไพร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
1.6 คุ้มครองผู้บริโภค ตรวจวิเคราะห์ ประกันคุณภาพทางห้องปฏิบัติการ ด้านยา สมุนไพร ผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพที่ยุ่งยากซับซ้อน ต้องใช้ความเชี่ยวชาญสูง เพื่อให้ประชาชนได้รับการ บริการ ได้มาตรฐาน เป็นธรรมและปลอดภัย
1.7 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาแนวทาง กลวิธี มาตรการ และประยุกต์ใช้แนวทาง ปฏิบัติที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เพื่อให้การดำเนินงานทางเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุข การคุ้มครอง ผู้บริโภคเหมาะสมกับสภาวะประเทศ
1.8 ควบคุม กำกับ ตรวจสอบ การดำเนินการ มาตรฐาน คุณภาพของแผนงาน นโยบายทางเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภคของหน่วยงาน เพื่อให้สามารถ ประชาชนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ และสอดคล้องกับภารกิจนโยบายในภาพรวมของกรม

2 ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผน บริหารจัดการ โดยเชื่อมโยงหรือบูรณาการ แผนงาน โครงการในระดับกลยุทธ์ของส่วนราชการระดับกรม มอบหมายงานแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน ติดตาม ประเมินผล เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3 ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานโครงการต่างๆกับบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรอื่น โดยมี บทบาทในการจูงใจ โน้มน้าวเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2 ให้ข้อคิดเห็น และคำแนะนำแก่หน่วยงานระดับกอง หรือสำนักรวมทั้งที่ประชุมทั้ง ในและต่างประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
4 ด้านการบริการ
4.1 เป็นที่ปรึกษาระดับกรมในการปฏิบัติงานถ่ายทอดความรู้ ด้านเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและ มีประสิทธิภาพ
4.2 ให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารในการแนะนำ ชี้แจง ตอบปัญหาที่สำคัญในเรื่องเกี่ยวกับ งานเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ทราบข้อมูล นำไปใช้ประกอบการตัดสินใจ
4.3 ให้คำแนะนำ วินิจฉัย ชี้แจง และตอบปัญหาที่สำคัญเกี่ยวกับงานเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภค แก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้สนใจได้ ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
4.4 สอน พัฒนา อำนวยการ ถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีทางเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภค แก่นักศึกษา บุคลากรสาธารณสุข เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติงานได้อย่าง ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
4.5 กำหนดแนวทางการจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงาน เภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเภสัชกร ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ และ ปฏิบัติงานด้านเภสัชกรรมหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตามที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด โดยจะต้อง ปฏิบัติงานด้านเภสัชกรรมหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1      ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 4
1.2      ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ)   ระดับ 3
1.3      ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ    ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 3
1.4      ความรู้เรื่องการจัดการความรู้       ระดับ 3
1.5      ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร          ระดับ 2
1.6      ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ    ระดับ 2
1.7      ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน    ระดับ 2
1.8 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ,การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ฯลฯระดับ 3
1.9ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ    ระดับ 3
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1      ทักษะการบริหารข้อมูล   ระดับ 3
2.2      ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์  ระดับ 3
2.3      ทักษะการประสานงาน    ระดับ 3
2.4      ทักษะการบริหารโครงการ          ระดับ 3
2.5      ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้        ระดับ 3
2.6      ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน    ระดับ 3
2.7      ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์  ระดับ 4
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 4
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 4
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 3
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 4
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 4
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ      ระดับ 4
3.2.2    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 4
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 4
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 4
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 4


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สันทนาการ

เจ้าพนักงานทะเบียน

เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว