นักบริหารงานการเกษตร
มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 2109
ตำแหน่งประเภท อำนวยการท้องถิ่น
สายงาน บริหารงานการเกษตร
ลักษณะงานโดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง
ๆ ที่ปฏิบัติงานทางการเกษตรและทางสัตวแพทย์
ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และวิเคราะห์วิจัยทางการเกษตร
เช่น การเพาะปลูก การปรับปรุงพันธ์ การขยายพันธ์ การคิดพันธ์ต้านทานโรคและศัตรูพืช
การวิเคราะห์ดิน และการจัดและรักษามาตรฐานพันธุ์พืช การศึกษา
วิเคราะห์วิจัยเพื่อควบคุมพันธ์พืช วัตถุมีพิษ และปุ๋ยเคมี
การให้คำปรึกษาแนะนำและสาธิตงานการเกษตร การฉีดวัคซีน การตรวจและรักษาพยาบาล
การกักสัตว์ การให้คำแนะนำปรึกษาในด้านการเลี้ยงและรักษาสัตว์ การเพาะเลี้ยงเชื้อ
ตลอดจนช่วยดูแลอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้และการปฏิบัติการในห้องทดลอง เป็นต้น
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งการดำเนินการด้านพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์
การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรต่างๆ
ชื่อตำแหน่งในสายงานและระดับตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้
นักบริหารงานการเกษตร ระดับต้น
นักบริหารงานการเกษตร ระดับกลาง
นักบริหารงานการเกษตร ระดับสูง
ก.จ. กำหนดเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท อำนวยการท้องถิ่น
ชื่อสายงาน บริหารงานการเกษตร
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักบริหารงานการเกษตร
ระดับตำแหน่ง ระดับต้น
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับกองหรือตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย
ที่มีลักษณะงานเกี่ยวกับการวางแผน บริหารจัดการจัดระบบงาน อำนวยการ สั่งราชการ
มอบหมาย กำกับ แนะนำ ตรวจสอบ ประเมินผลงาน
ตัดสินใจแก้ปัญหาในงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ซึ่งมีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูง
และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆดังนี้
1. ด้านแผนงาน
1.1
ร่วมวางแผนงาน โครงการ หรือแผนการปฏิบัติงาน
รวมทั้งเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานด้านงานวิชาการเกษตรหรือสัตว์แพทย์ที่สังกัด
เพื่อเป็นแบบแผนในการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.2
ร่วมวางแนวทางการศึกษา วิเคราะห์
และเสนอแนวทางพัฒนาการปฏิบัติงานหรือระบบงานของหน่วยงานด้านงานวิชาการเกษตรหรือสัตว์แพทย์ที่สังกัด
เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ภายใต้ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ บุคลากร และเวลา
1.3
บูรณาการแผนงาน โครงการ กิจกรรม
เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กำหนด
1.4
ร่วมและติดตาม เร่งรัด การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ
หรือแผนการปฏิบัติงาน
ตลอดจนประเมินผลและรายงานการดำเนินงาน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กำหนดไว้
1.5
ค้นคว้าประยุกต์เทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ใหม่ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับงานในภารกิจของหน่วยงานในภาพรวมเพื่อนำมาปรับปรุงให้การปฏิบัติงาน
ระบบงาน หรือกระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ด้านบริหารงาน
2.1
จัดระบบงาน และวิธีการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน
เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
2.2
มอบหมาย กำกับดูแล ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ในเรื่องต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน
เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
2.3
ควบคุมดูแล ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ
และปรับปรุงแก้ไขการปรับปรุงบำรุงพันธุ์
การคัดพันธุ์ ขยายพันธุ์ การปรับปรุงวิธีการผลิต การใช้ปุ๋ย
การเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตร เพื่อช่วยเกษตรกรหรือประชาชนผู้รับบริการได้ผลผลิตทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ
2.4
ควบคุมหรือดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
สรุปรายงานและเสนอแนะงานที่อาศัยความชำนาญเกี่ยวกับวิชาการเกษตร และสัตว์แพทย์
เพื่อให้ได้ผลการวิจัยหรือข้อเสนอแนะที่เกิดประโยชน์ต่อการทำเกษตรกรรมของพื้นที่ที่รับผิดชอบ
2.5
ตรวจสอบ ควบคุมและดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องการกักพืช พันธุ์พืช
วัตถุมีพิษและปุ๋ยเคมี เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและเป็นไปตามกฎหมาย
2.6
ให้คำแนะนำปรึกษาในด้านการเลี้ยง การรักษาสัตว์และการเพาะเลี้ยงเชื้อ
เพื่อช่วยเกษตรกรหรือประชาชนผู้รับบริการมีกระบวนการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
2.7
ควบคุมดูแล ตรวจสอบ ติดตามการดูแลอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้และการปฏิบัติการในห้องทดลองหน่วยงาน
เพื่อให้สามารถใช้งานตามความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตามหลักวิชาการ
2.8
พิจารณาอนุมัติ อนุญาตการดำเนินการต่างๆ
ตามภารกิจที่หน่วยงานรับผิดชอบเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
2.9
ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐ เอกชน
และบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความร่วมมือ
หรือบูรณาการงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้รับบริการ
2.10
ชี้แจงข้อเท็จจริง พิจารณาให้ความเห็น
ข้อเสนอแนะในที่ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานต่าง ๆ ที่ได้รับแต่งตั้ง หรือเวทีเจรจาต่าง
ๆ ในระดับหน่วยงานหรือองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ในฐานะผู้แทนหน่วยงานหรือส่วนราชการ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของราชการและประเทศชาติ
3. ด้านการบริหารงานทรัพยากรบุคคล
3.1
จัดระบบงานและอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานให้สอดคล้องกับภารกิจ เพื่อให้การปฏิบัติราชการเกิดประสิทธิภาพ
และความคุ้มค่า
3.2
ติดตามและประเมินผลงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับบัญชา
เพื่อให้การปฏิบัติงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงานและบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
3.3
ให้คำปรึกษาแนะนำ
ปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับบัญชาเพื่อให้เกิดความสามารถและสมรรถนะที่เหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติ
4. ด้านบริหารทรัพยากรและงบประมาณ
4.1
ร่วมวางแผนการใช้ทรัพยากรและงบประมาณของหน่วยงาน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย พันธกิจ
และเป็นไปตามเป้าหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.2
ร่วมหรือวางแผนและประสานกิจกรรมให้มีการใช้ทรัพยากรของหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ทั้งด้านงบประมาณ อาคารสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน
เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพคุ้มค่า และบรรลุเป้าหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สังกัด
โดยอาจพิจารณานำงบประมาณที่ได้รับจัดสรรมาดำเนินการและใช้จ่ายร่วมกัน
4.3
ติดตาม ตรวจสอบการใช้ทรัพยากรและงบประมาณ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า
และเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. ได้รับคุณวุฒิการศึกษา ดังนี้
1.1
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นเทียบได้ในระดับเดียวกัน
ในสาขาวิชาหรือทางการเกษตร สัตว์แพทย์ การประมง หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ.
ก.ท. และ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
1.2 ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นเทียบได้ในระดับเดียวกัน
ในสาขาวิชาหรือทางการเกษตร สัตว์แพทย์
การประมง หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต.
กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
1.3
ได้รับปริญญาเอกหรือคุณวุฒิอย่างอื่นเทียบได้ในระดับเดียวกัน
ในสาขาวิชาหรือทางการเกษตร สัตว์แพทย์
การประมง หรือในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต.
กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
2. คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในฐานะผู้อำนวยการกอง
(นักบริหารงานการเกษตร ระดับต้น)
2.1
มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักบริหารงานการเกษตร ระดับต้น ข้อ 1
2.2
ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย (นักบริหารงานการเกษตร ระดับต้น) ตามข้อ
3 หรือที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต.
เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านการเกษตร หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
3. คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในฐานะหัวหน้าฝ่าย
(นักบริหารงานการเกษตร ระดับต้น)
3.1
มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักบริหารงานการเกษตรระดับต้น ข้อ 1
3.2
ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1)
ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ
มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี
(2) ประเภททั่วไป ระดับอาวุโส
มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี
(3) ประเภททั่วไป
ไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญงาน มาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี
3.3
ปฏิบัติงานด้านการเกษตร หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1. ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 2
1.2. ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ ระดับ 2
1.3. ความรู้เรื่องการติดตามและประเมินผล ระดับ 2
1.4. ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
1.5. ความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยง ระดับ 1
1.6. ความรู้เรื่องการพัฒนาบุคลากร
ระดับ 2
1.7. ความรู้เรื่องสถานการณ์ภายนอกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมพื้นที่ ระดับ 1
1.8. ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 2
1.9. ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 2
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1
ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 1
2.2
ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 1
2.3
ทักษะการประสานงาน ระดับ 2
2.4
ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 2
2.5
ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้
ระดับ 1
2.6
ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 1
2.7
ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 2
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1
สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 1
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม
ระดับ 1
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน
ระดับ 1
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 1
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 1
3.2
สมรรถนะประจำผู้บริหาร 4 สมรรถนะ
3.2.1 การเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง
ระดับ 1
3.2.2 ความสามารถในการเป็นผู้นำ
ระดับ 1
3.2.3 ความสามารถในการพัฒนาคน ระดับ 1
3.2.4 การคิดเชิงกลยุทธ์ ระดับ 1
3.3
สมรรถนะประจำสายงาน
3.3.1 การแก้ไชปัญหาและดำเนินการเชิงรุก
ระดับ 2
3.3.2 การวางแผนและการจัดการ ระดับ 2
3.3.3 การสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
ระดับ 2
3.3.4 ความเข้าใจพื้นที่และการเมืองท้องถิ่น
ระดับ 2
3.3.5 สร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น
ระดับ 2
----------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท อำนวยการท้องถิ่น
ชื่อสายงาน บริหารงานการเกษตร
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักบริหารงานการเกษตร
ระดับตำแหน่ง ระดับกลาง
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับกอง
หรือตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานอื่นที่เทียบเท่ากอง ที่มีลักษณะงานเกี่ยวกับการวางแผน
บริหารจัดการจัดระบบงาน อำนวยการ สั่งราชการ มอบหมาย กำกับ แนะนำ ตรวจสอบ ประเมินผลงาน
ตัดสินใจแก้ปัญหาในงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ซึ่งมีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมาก
และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆดังนี้
1. ด้านแผนงาน
1.1
วางแผนงาน โครงการ หรือแผนการปฏิบัติงาน
รวมทั้งเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานด้านงานวิชาการเกษตรหรือสัตว์แพทย์ที่สังกัด
เพื่อเป็นแบบแผนในการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.2
วางแนวทางการศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนวทางพัฒนาการปฏิบัติงานหรือระบบงานของหน่วยงานด้านงานวิชาการเกษตรหรือสัตว์แพทย์ที่สังกัด
เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ภายใต้ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ บุคลากร และเวลา
1.3
บูรณาการแผนงาน โครงการ กิจกรรม เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลสมฤทธิ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนด
1.4
ติดตาม เร่งรัด การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ
หรือแผนการปฏิบัติงาน
ตลอดจนประเมินผลและรายงานการดำเนินงาน
เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กำหนดไว้
1.5 ค้นคว้าประยุกต์เทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ใหม่ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับงานในภารกิจของหน่วยงานในภาพรวมเพื่อนำมาปรับปรุงให้การปฏิบัติงาน
ระบบงาน หรือกระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ด้านบริหารงาน
2.1
จัดระบบงาน และวิธีการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
2.2
มอบหมาย กำกับดูแล ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ในเรื่องต่าง
ๆที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน
เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
2.3
ควบคุมดูแล ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ
และปรับปรุงแก้ไขการปรับปรุงบำรุงพันธุ์
การคัดพันธุ์ ขยายพันธุ์ การปรับปรุงวิธีการผลิต การใช้ปุ๋ย
การเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตร
เพื่อช่วยเกษตรกรหรือประชาชนผู้รับบริการได้ผลผลิตทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ
2.4
ควบคุมหรือดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
สรุปรายงานและเสนอแนะงานที่อาศัยความชำนาญเกี่ยวกับวิชาการเกษตร และสัตว์แพทย์
เพื่อให้ได้ผลการวิจัยหรือข้อเสนอแนะที่เกิดประโยชน์ต่อการทำเกษตรกรรมของพื้นที่ที่รับผิดชอบ
2.5
ตรวจสอบ ควบคุมและดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องการกักพืช พันธุ์พืช
วัตถุมีพิษและปุ๋ยเคมี เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและเป็นไปตามกฎหมาย
2.6
ให้คำแนะนำปรึกษาในด้านการเลี้ยง การรักษาสัตว์และการเพาะเลี้ยงเชื้อ
เพื่อช่วยเกษตรกรหรือประชาชนผู้รับบริการมีกระบวนการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
2.7
ควบคุมดูแล ตรวจสอบ
ติดตามการดูแลอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้และการปฏิบัติการในห้องทดลองหน่วยงาน
เพื่อให้สามารถใช้งานตามความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตามหลักวิชาการ
2.8
พิจารณาอนุมัติ อนุญาตการดำเนินการต่างๆ ตามภารกิจที่หน่วยงานรับผิดชอบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
2.9
กำหนด พัฒนา ปรับปรุง หรือแก้ไขแนวทาง คู่มือ กลไก กระบวนการ
หรือมาตรฐานในการปฏิบัติงานด้านงานเกษตรและงานด้านสัตวแพทย์
เพื่อให้การทำงานในงานที่รับผิดชอบเป็นไปอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ
และเกิดประโยชน์สูงสุด
2.10
ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐ เอกชน
และบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความร่วมมือ
หรือบูรณาการงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้รับบริการ
2.11
ชี้แจงข้อเท็จจริง พิจารณาให้ความเห็น ข้อเสนอแนะในที่ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานต่าง
ๆ ที่ได้รับแต่งตั้ง หรือเวทีเจรจาต่าง ๆ
ในระดับหน่วยงานหรือองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ในฐานะผู้แทนหน่วยงานหรือส่วนราชการ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของราชการและประเทศชาติ
3. ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
3.1
จัดระบบงานและอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานให้สอดคล้องกับภารกิจ เพื่อให้ การปฏิบัติราชการเกิดประสิทธิภาพ
และความคุ้มค่า
3.2
ติดตามและประเมินผลงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับบัญชา
เพื่อให้การปฏิบัติงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงานและบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
3.3
ให้คำปรึกษาแนะนำ
ปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับบัญชาเพื่อให้เกิดความสามารถและสมรรถนะที่เหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติ
3.4
สอนงาน พัฒนาการปฏิบัติงาน
ฝึกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่กำกับให้มีความเชี่ยวชาญและสามารถปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงานอย่างยั่งยืน
4. ด้านการบริหารทรัพยากรและงบประมาณ
4.1
วางแผนและประสานกิจกรรมให้มีการใช้ทรัพยากรของสำนัก กองหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ทั้งด้านงบประมาณ อาคารสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพคุ้มค่า
และบรรลุเป้าหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สังกัด
โดยอาจพิจารณานำงบประมาณที่ได้รับจัดสรรมาดำเนินการและใช้จ่ายร่วมกัน
4.2
ติดตาม ตรวจสอบการใช้ทรัพยากรและงบประมาณ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า
และเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในฐานะผู้อำนวยการกองหรือผู้อำนวยการส่วน
(นักบริหารงานการเกษตร ระดับกลาง)
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักบริหารงานการเกษตร
ระดับต้น ข้อ 1
2. ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งมาแล้วดังต่อไปนี้
โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านการเกษตร
หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
2.1
ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง (นักบริหารงานการเกษตร ระดับต้น)
หรือที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ
2.2
ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าหัวหน้าฝ่าย (นักบริหารงานการเกษตร
ระดับต้น) หรือที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า
4 ปี กำหนดเวลา 4 ปี ให้ลดเป็น 3 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพะสำหรับตำแหน่งนักบริหารงานการเกษตร ระดับต้น
ข้อ 1.2 และข้อ 1.3
2.3
ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ หรือที่ ก.จ., ก.ท.
หรือ ก.อบต. เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า
6 ปี
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1. ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 3
1.2. ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ ระดับ 3
1.3. ความรู้เรื่องการติดตามและประเมินผล ระดับ 3
1.4. ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 3
1.5. ความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยง ระดับ 2
1.6. ความรู้เรื่องการพัฒนาบุคลากร ระดับ 3
1.7. ความรู้เรื่องสถานการณ์ภายนอกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมพื้นที่ ระดับ 2
1.8. ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 3
1.9. ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 3
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1
ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 2
2.2
ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 2
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 3
2.4
ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 3
2.5
ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้
ระดับ 2
2.6
ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ
2
2.7
ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 3
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1
สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 2
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม
ระดับ 2
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน
ระดับ 2
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 2
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 2
3.2
สมรรถนะประจำผู้บริหาร 4 สมรรถนะ
3.2.1 การเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง
ระดับ 2
3.2.2 ความสามารถในการเป็นผู้นำ
ระดับ 2
3.2.3
ความสามารถในการพัฒนาคน ระดับ 2
3.2.4 การคิดเชิงกลยุทธ์ ระดับ 2
3.3
สมรรถนะประจำสายงาน
3.3.1 การแก้ไชปัญหาและดำเนินการเชิงรุก
ระดับ 3
3.3.2 การวางแผนและการจัดการ ระดับ 3
3.3.3 การสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
ระดับ 3
3.3.4 ความเข้าใจพื้นที่และการเมืองท้องถิ่น
ระดับ 3
3.3.5 สร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น
ระดับ 3
--------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท อำนวยการท้องถิ่น
ชื่อสายงาน บริหารงานการเกษตร
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักบริหารงานการเกษตร
ระดับตำแหน่ง ระดับสูง
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับสำนัก
ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขนาดใหญ่
ที่มีลักษณะงานเกี่ยวกับการวางแผน บริหารจัดการ จัดระบบงาน อำนวยการ
สั่งราชการ มอบหมาย กำกับ แนะนำ ตรวจสอบ ประเมินผลงานตัดสินใจ แก้ปัญหาเกี่ยวกับงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ซึ่งมีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษ
และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆดังนี้
1. ด้านแผนงาน
1.1
วางแผนงาน โครงการ หรือแผนการปฏิบัติงาน รวมทั้งเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานด้านงานเกษตร
ให้สอดคล้องนโยบายและแผนกลยุทธ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.2
บริหารโครงการขนาดใหญ่ โดยมีการบูรณาการแผนงาน กิจกรรม ขั้นตอนสำคัญ
เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานเกษตร ที่มีความหลากหลาย
ความยุ่งยากและต้องการคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษ
1.3
ติดตาม เร่งรัด การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่มีความหลากหลาย และความยุ่งยากซับซ้อนมาก
ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ หรือแผนการปฏิบัติงาน
ตลอดจนประเมินผลและรายงานการดำเนินงาน
เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานตามที่กำหนดไว้
2. ด้านบริหารงาน
2.1
กำหนดกลยุทธ์ ระบบงาน
และวิธีการปฏิบัติราชการของหน่วยงานและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาพรวม
เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
2.2
มอบหมาย ควบคุมดูแล ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำและปรับปรุงแก้ไขการบำรุงพันธุ์
การคัดพันธุ์ การขยายพันธุ์ การปรับปรุงวิธีการผลิต การใช้ปุ๋ย
และการเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตร
เพื่อช่วยเกษตรกรหรือประชาชนผู้รับบริการได้ผลผลิตทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ
2.3
วินิจฉัย สั่งการ เรื่องที่มีขอบเขตผลกระทบในวงกว้าง หรือมีความซับซ้อนของประเด็นปัญหา
ซึ่งต้องพิจารณาอนุมัติ อนุญาต การดำเนินการต่าง ๆ ตามภารกิจที่หน่วยงานรับผิดชอบ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
2.4 วางแผนทางและอำนวยการศึกษา
วิเคราะห์ วิจัย
สรุปรายงานและเสนอแนะงานที่อาศัยความชำนาญอย่างสูงเกี่ยวกับวิชาการเกษตรและสัตว์แพทย์
เพื่อให้ได้ผลการวิจัยหรือข้อเสนอแนะที่เกิดประโยชน์ต่อการทำเกษตรกรรมของพื้นที่ที่รับผิดชอบอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.5
กำหนด พัฒนา ปรับปรุง หรือแก้ไขแนวทาง คู่มือ กลไก กระบวนการ
หรือมาตรฐานในการปฏิบัติงานด้านงานเกษตรและงานด้านสัตวแพทย์ที่รับผิดชอบ
เพื่อให้การทำงานในงานที่รับผิดชอบเป็นไปอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ
และเกิดประโยชน์สูงสุด
2.6
พิจารณาอนุมัติ อนุญาตการดำเนินการต่างๆ ตามภารกิจที่หน่วยงานรับผิดชอบ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
2.7
ตรวจสอบ ควบคุมและดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องการกักพืช พันธุ์พืช
วัตถุมีพิษและปุ๋ยเคมี เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและเป็นไปตามกฎหมาย
2.8
ตรวจสอบและควบคุมดูลการให้คำปรึกษาในด้านการเลี้ยงสัตว์
การรักษาสัตว์และการเพาะเลี้ยงเชื้อ เพื่อให้การช่วยเกษตรกรหรือประชาชนผู้รับบริการมีความถูกต้องตามหลักวิชาการและได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
2.9
มอบหมาย ควบคุมดูแล ตรวจสอบ ติดตาม
ให้คำแนะนำในการดูแลอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้และการปฏิบัติการในห้องทดลองหน่วยงาน
เพื่อให้สามารถใช้งานตามความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตามหลักวิชาการ
2.10
ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐ เอกชน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความร่วมมือหรือบูรณาการงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นประโยชน์ต่อประชาชน
2.11
ชี้แจงข้อเท็จจริง พิจารณาให้ความเห็น ข้อเสนอแนะในที่ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานต่าง
ๆ ที่ได้รับแต่งตั้ง หรือเวทีเจรจาต่าง ๆ
ในระดับหน่วยงานหรือองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในฐานะเป็นผู้มีบทบาทหลัก
เพื่อรักษาผลประโยชน์ของราชการและประเทศชาติ
3. ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
3.1
จัดระบบงานและอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่มีความหลากหลายทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพให้สอดคล้องกับภารกิจ
เพื่อให้การปฏิบัติราชการเกิดประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า
3.2
ติดตามและประเมินผลงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับบัญชา
เพื่อให้การปฏิบัติงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงานและบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
3.3
ให้คำปรึกษาแนะนำ
ปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับบัญชาเพื่อให้เกิดความสามารถ
ประสิทธิภาพและสมรรถนะที่เหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติ
3.4 ปรับปรุงหรือหาแนวทางวิธีการใหม่
ๆ หรือกลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติในการผลิตผลงาน
การบริการ หรือผลการดำเนินงานที่มีคุณภาพที่ดีขึ้น
4. ด้านการบริหารทรัพยากรและงบประมาณ
4.1
วางแผนการใช้ทรัพยากรและงบประมาณของหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบสูง
เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย พันธกิจ และเป็นไปตามเป้าหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.2
วางแผนและประสานกิจกรรมให้มีการใช้ทรัพยากรของสำนัก กองหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ทั้งด้านงบประมาณ อาคารสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน
เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพคุ้มค่า
และบรรลุเป้าหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สังกัด โดยอาจพิจารณานำงบประมาณที่ได้รับจัดสรรมาดำเนินการและใช้จ่ายร่วมกัน
4.3
ติดตาม ตรวจสอบการใช้ทรัพยากรและงบประมาณจำนวนมาก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
ความคุ้มค่า และเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในฐานะผู้อำนวยการสำนัก (นักบริหารงานการเกษตร
ระดับสูง)
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักบริหารงานการเกษตร
ระดับต้น ข้อ 1
2. ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง
ดังต่อไปนี้ โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านการเกษตร หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง
มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
2.1
ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง (นักบริหารงานการเกษตร ระดับกลาง)
หรือที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต.เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือ
2.2
ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ หรือที่ ก.จ., ก.ท.
หรือ ก.อบต. เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า 8 ปี
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
1.1. ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 4
1.2. ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ ระดับ 3
1.3. ความรู้เรื่องการติดตามและประเมินผล ระดับ 3
1.4. ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 3
1.5. ความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยง ระดับ 3
1.6. ความรู้เรื่องการพัฒนาบุคลากร
ระดับ 3
1.7. ความรู้เรื่องสถานการณ์ภายนอกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมพื้นที่ ระดับ 2
1.8. ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 3
1.9. ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 3
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1
ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 2
2.2
ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 2
2.3
ทักษะการประสานงาน ระดับ 4
2.4
ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 4
2.5
ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้
ระดับ 3
2.6
ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ
3
2.7
ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ระดับ 3
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1
สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 3
3.1.2 การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม
ระดับ 3
3.1.3 ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน
ระดับ 3
3.1.4 การบริการเป็นเลิศ ระดับ 3
3.1.5 การทำงานเป็นทีม ระดับ 3
3.2
สมรรถนะประจำผู้บริหาร 4 สมรรถนะ
3.2.1 การเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง
ระดับ 3
3.2.2 ความสามารถในการเป็นผู้นำ
ระดับ 3
3.2.3 ความสามารถในการพัฒนาคน ระดับ 3
3.2.4 การคิดเชิงกลยุทธ์ ระดับ 3
3.3
สมรรถนะประจำสายงาน
3.3.1 การแก้ไชปัญหาและดำเนินการเชิงรุก
ระดับ 4
3.3.2 การวางแผนและการจัดการ ระดับ 4
3.3.3 การสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
ระดับ 4
3.3.4 ความเข้าใจพื้นที่และการเมืองท้องถิ่น
ระดับ 4
3.3.5 สร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น
ระดับ 4
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น