วิศวกรรมไฟฟ้า



มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 3705
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
สายงาน วิศวกรรมไฟฟ้า
ลักษณะงาน โดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่างๆ ที่ปฏิบัติงานทางวิศวกรรมไฟฟ้า ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ เกี่ยวกับการออกแบบและคำนวณ อุปกรณ์ ไฟฟ้า การควบคุมการก่อสร้างในสาขาวิศวกรรมไฟ ฟ้า การค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย ทดสอบ หาข้อมูลและสถิติต่างๆ เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ประกอบการตรวจสอบวินิจฉัย งานวิศวกรรมไฟฟ้า การวางโครงการสร้างหรือประกอบสิ่งต่างๆ ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า การให้คำปรึกษา แนะนำหรือตรวจสอบที่เกี่ยวกับงานในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า การอำนวยการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าการอำนวยการ ซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า การอำนวยการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า การให้คำปรึกษาแนะนำหรือตรวจสอบที่เกี่ยวกับงานใน สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ซึ่งงานดังกล่าวข้างต้นนี้ ต้องมีลักษณะ ขนาด หรืออยู่ในประเภทตามที่กำหนดไว้สำหรับ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

ชื่อตำแหน่งในสายงานและระดับตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้
วิศวกรรมไฟฟ้า ระดับปฏิบัติการ
วิศวกรรมไฟฟ้า ระดับชำนาญการ
วิศวกรรมไฟฟ้า ระดับชำนาญการพิเศษ
วิศวกรรมไฟฟ้า ระดับเชี่ยวชาญ


ก.จ. กำหนดเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน วิศวกรรมไฟฟ้า
ชื่อตำแหน่งในสายงาน วิศวกรไฟฟ้า
ระดับตำแหน่ง ระดับปฏิบัติการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิศวกรรมเครื่องกล ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1สำรวจข้อมูลเพื่อออกแบบระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร ระบบป้องกันฟ้าผ่า ระบบ สัญญาณเตือนอัคคีภัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า
1.2ศึกษาและกำหนดรูปแบบรายการเพื่อให้ได้มาซึ่งรายละเอียดในการก่อสร้างการ ผลิต การควบคุม การติดตั้ง และการประมาณราคาในงานวิศวกรรมไฟฟ้า
1.3 ควบคุมการก่อสร้าง ติดตั้ง บำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร ระบบป้องกัน ฟ้าผ่า ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้ระบบมีความถูกต้อง ปลอดภัย ใช้งานได้มีประสิทธิภาพ
1.4 ตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อพัฒนางานวิศวกรรมไฟฟ้าให้มีความถูกต้อง ปลอดภัยและประหยัดพลังงาน
1.5จัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อประโยชน์ สูงสุดในการใช้งานของหน่วยงาน
1.6 จัดทำข้อกำหนด รายละเอียด และคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องมือ และอุปกรณ์ ไฟฟ้าต่างๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้เครื่องมือ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และ ถูกต้องเหมาะสมกับการใช้งานอย่างสูงสุด
1.7 จัดทำข้อมูล เอกสาร และสรุปรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้านวิศวกรรมไฟฟ้า รวมทั้งฐานข้อมูลด้านวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุง และพัฒนางานด้าน วิศวกรรมไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
1.8ให้ความรู้ด้านงานเครื่องมือ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ และด้านวิศวกรรมไฟฟ้าแก่ บุคลากร ประชาชน และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง และสามารถ นำไปปฏิบัติประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
1.9 ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.10 ซ่อมแซม และบำรุงรักษาเครื่องมือ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ให้มีความพร้อม สมบูรณ์ในการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งาน และให้สามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือ และ อุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่

1.11 ควบคุม และดูแลการปฏิบัติงานของเครื่องมือ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ในแต่ละ โครงการที่รับผิดชอบ เพื่อให้แน่ใจว่าการปฏิบัติงานของเครื่องมือ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม และตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
1.12 สำรวจ วิเคราะห์ และคำนวณการปฏิบัติงานต่างๆ ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้สามารถกำหนดคุณลักษณะของเครื่องมือ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ถูกต้อง ตรงมาตรฐาน และ เหมาะสมกับแต่ละงาน
1.13 ศึกษา วิเคราะห์ และออกแบบเครื่องมือ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เพื่อส่งเสริมและ พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องมือ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดในการ ปฏิบัติงาน
1.14 คิดค้น ออกแบบ และพัฒนาระบบติดตั้ง ระบบซ่อมบำรุง และระบบต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้การดำเนินงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้ามีมาตรฐาน ประสิทธิภาพ และ ถูกต้องตามหลักวิชาการ
1.15 ดำเนินการ และจัดทำโครงการ และกิจกรรมด้านวิศวกรรมไฟฟ้าตามที่ได้รับ มอบหมาย เพื่อส่งเสริมและสนับสนับสนุนการดำเนินงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเกิด ประโยชน์แก่ประชาชน ชุมชน และสังคม
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าตามที่ได้รับมอบหมาย หรือร่วมดำเนินการวาง แผนการทำงานของหน่วยงาน โครงการ หรือกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานด้าน วิศวกรรมไฟฟ้าเป็นไปตามเป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ที่กำหนดไว้
3. ด้านการประสานงาน
3.1ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้ เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือ หน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายชี้แจงและให้ รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความ ร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
3.3ประสานงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้ากับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการ ดำเนินงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าให้มีความสะดวก เรียบร้อย และราบรื่น
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้ข้อมูล ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจง เกี่ยวกับงานวิศวกรรมไฟฟ้าที่ตนมี ความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้นให้กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
4.2จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบ สารสนเทศ ที่เกี่ยวกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง วิศวกรรมไฟฟ้า และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามที่กฎหมายกำหนด หรือใน สาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
2. ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง วิศวกรรมไฟฟ้า และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามที่กฎหมายกำหนด หรือใน สาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
3. ได้รับปริญญาเอกหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทาง วิศวกรรมไฟฟ้า และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามที่กฎหมายกำหนด หรือใน สาขาวิชาหรือทางอื่นที่ ก.จ., ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
ค วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงานประกอบด้วย
1.1      ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 1
1.2      ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ)   ระดับ 1
1.3      ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระดับ 1
1.4      ความรู้เรื่องการจัดการความรู้       ระดับ 1
1.5      ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร          ระดับ 1
1.6      ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ    ระดับ 1
1.7      ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน    ระดับ 1
1.8      ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์     ระดับ 1
1.9 ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA),การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA)ฯลฯ ระดับ 1
1.10ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 1
2.ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย      
2.1      ทักษะการบริหารข้อมูล   ระดับ 1
2.2      ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์  ระดับ 1
2.3      ทักษะการประสานงาน    ระดับ 1
2.4      ทักษะการสืบสวน         ระดับ 1
2.5      ทักษะการบริหารโครงการ          ระดับ 1
2.6      ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้        ระดับ 1
2.7      ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน    ระดับ 1
2.8      ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์  ระดับ 1
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 1
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 1
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 1
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 1
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 1
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 1
3.2.2    การมุ่งความปลอดภัยและระวังภัย ระดับ 1
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 1
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 1
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 1
 ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน วิศวกรรมไฟฟ้า
ชื่อตำแหน่งในสายงาน วิศวกรไฟฟ้า
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญการ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูงในงานวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้า ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูงในงานวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้า ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1สำรวจข้อมูลเพื่อออกแบบระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร ระบบป้องกันฟ้าผ่า ระบบ สัญญาณเตือนอัคคีภัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า
1.2ศึกษาและกำหนดรูปแบบรายการเพื่อให้ได้มาซึ่งรายละเอียดในการก่อสร้างการ ผลิต การควบคุม การติดตั้ง และการประมาณราคาในงานวิศวกรรมไฟฟ้า
1.3 วางโครงการ ควบคุมการก่อสร้าง ติดตั้ง บำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร ระบบป้องกันฟ้าผ่า ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้ระบบ มีความถูกต้อง ปลอดภัย ใช้งานได้มีประสิทธิภาพ
1.4 ตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อพัฒนางานวิศวกรรมไฟฟ้าให้มีความถูกต้อง ปลอดภัยและประหยัดพลังงาน
1.5 จัดทำ และตรวจสอบรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อประโยชน์สูงสุดในการใช้งานของหน่วยงาน
1.6 ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.7 ควบคุม และดูแลการซ่อมแซม และการบำรุงรักษาเครื่องมือ และอุปกรณ์ไฟฟ้า ต่างๆ ให้มีความพร้อมสมบูรณ์ในการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งาน และให้สามารถใช้ประโยชน์จาก เครื่องมือ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ได้อย่างเต็มที่
1.8 ควบคุม ติดตาม และดูแลการปฏิบัติงานของเครื่องมือ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ในแต่ละโครงการที่รับผิดชอบ เพื่อให้แน่ใจว่าการปฏิบัติงานของเครื่องมือ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆเป็นไปอย่าง ถูกต้อง เหมาะสม และตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
1.9 ควบคุม และดูแลการสำรวจ การวิเคราะห์ และการคำนวณการปฏิบัติงานต่างๆ ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้สามารถกำหนดคุณลักษณะของเครื่องมือ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ถูกต้อง ตรงมาตรฐาน และเหมาะสมกับแต่ละงาน

1.10 ควบคุม และดูแลการศึกษา การวิเคราะห์ และการออกแบบเครื่องมือ และ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องมือ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ให้ เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดในการปฏิบัติงาน
1.11 ควบคุม และดูแลการคิดค้น การออกแบบ และการพัฒนาระบบติดตั้ง ระบบซ่อม บำรุง และระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้การดำเนินงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้ามีมาตรฐาน ประสิทธิภาพ และถูกต้องตามหลักวิชาการ
1.12 ควบคุม และดูแลการจัดทำข้อกำหนด รายละเอียด และคุณลักษณะเฉพาะของ เครื่องมือ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้เครื่องมือ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่มี คุณภาพ มาตรฐาน และถูกต้องเหมาะสมกับการใช้งานอย่างสูงสุด
1.13 ควบคุม และดูแลการจัดทำข้อมูล เอกสาร และสรุปรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้าน วิศวกรรมไฟฟ้า รวมทั้งฐานข้อมูลด้านวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุง และ พัฒนางานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
1.14 ควบคุม และดูแลการดำเนินการ และการจัดทำโครงการ และกิจกรรมด้าน วิศวกรรมไฟฟ้าตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อส่งเสริมและสนุนการดำเนินงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น และเกิดประโยชน์แก่ประชาชน ชุมชน และสังคม
1.15ให้ความรู้ด้านงานเครื่องมือ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ และด้านวิศวกรรมไฟฟ้าแก่ บุคลากร ประชาชน และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง และสามารถ นำไปปฏิบัติประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
1.16 ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน และแก้ไขปัญหา ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแก่บุคลากรในระดับรองลงมาในสายงาน ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การ ดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนงานหรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานตามแผนงาน โครงการ และกิจกรรม ต่างๆ ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าของหน่วยงาน และแก้ไขปัญหาต่างๆ ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานด้าน วิศวกรรมไฟฟ้าเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1ประสานการทำงานร่วมกันโดยมีบทบาทในการให้ความเห็นและคำแนะนำ เบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือหน่วยงานอื่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2ประสานงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้ากับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการ ดำเนินงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าให้มีความสะดวก เรียบร้อย และราบรื่น
3.3ให้ข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำด้านวิศวกรรมไฟฟ้าแก่สมาชิกในทีมงาน บุคคล หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้ข้อมูล คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเกี่ยวกับงานวิศวกรรมไฟฟ้าในระดับสูง หรืออำนวยการถ่ายทอดฝึกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้ให้กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4.2 จัดเก็บข้อมูล ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่ เกี่ยวกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณา กำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้า ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และปฏิบัติงานวิศวกรรมไฟฟ้า หรืองาน อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ ก.จ. ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนดมาแล้วไม่น้อยกว่า 6ปี กำหนดเวลา 6 ปี ให้ลดเป็น 4 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้า ระดับปฏิบัติการ ข้อ 2 และให้ลดเป็น 2 ปี สำหรับผู้มี คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้า ระดับปฏิบัติการ ข้อ 3 หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่ ก.จ. ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ โดยจะต้องปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตาม ระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ค วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงานประกอบด้วย
1.1ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 2
1.3ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 2
1.4ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 2
1.5ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
1.6ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.7ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 2
1.8ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ ระดับ 2
1.9ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม(EIA),การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA)ฯลฯ ระดับ 2
1.10ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 2
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 2
2.2ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 2
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 2
2.4 ทักษะการสืบสวน ระดับ 2
2.5ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 2
2.6 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 2
2.7ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 2
2.8ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 2
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 2
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 2
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 2
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 2
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 2
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 2
3.2.2    การมุ่งความปลอดภัยและระวังภัย ระดับ 2
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 2
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 2
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 2
 --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน วิศวกรรมไฟฟ้า
ชื่อตำแหน่งในสายงาน วิศวกรไฟฟ้า
ระดับตำแหน่ง ระดับชำนาญการพิเศษ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วม ปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในงานวิชาการ วิศวกรรมไฟฟ้า ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญในงานสูงมากในงานวิชาการ วิศวกรรมไฟฟ้า ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ควบคุม วางแผนโครงการ และอำนวยการทดสอบรูปแบบและขั้นตอนการ ก่อสร้าง การผลิต การติดตั้งและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร ระบบป้องกันฟ้าผ่า ระบบสัญญาณเตือน อัคคีภัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อความถูกต้อง ปลอดภัยต่อการใช้งาน
1.2วิจัยและพัฒนาระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร ระบบป้องกันฟ้าผ่า ระบบสัญญาณ เตือนอัคคีภัยและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของงาน
1.3 พิจารณาข้อมูล ออกแบบ ตรวจสอบ กำกับดูแลการออกแบบระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร ระบบป้องกันฟ้าผ่า ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย ความถูกต้องและประหยัดพลังงาน
1.4 กำกับดูแลการจัดทำ และตรวจสอบรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับงาน วิศวกรรมไฟฟ้าเพื่อประโยชน์สูงสุดในการใช้งานของหน่วยงาน
1.5ให้ความรู้ด้านงานเครื่องมือ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ และด้านวิศวกรรมไฟฟ้าแก่ บุคลากร ประชาชน และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง และสามารถ นำไปปฏิบัติประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
1.6พัฒนาและปรับปรุงระบบงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความ มั่นใจว่าระบบงานที่ตั้งไว้สามารถสนับสนุนส่วนงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความ ต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสภาวการณ์ปัจจุบัน
1.7 ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน และแก้ไขปัญหา ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแก่บุคลากรในระดับรองลงมาในสายงาน ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การ ดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด
1.8 สอนงาน ถ่ายทอดความรู้ หรือถ่ายทอดฝึกอบรมแก่บุคลากรในระดับรองลงมา ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และถ่ายทอดหลักการทำงานภายในหน่วยงาน และสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
1.9 ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.10 ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการซ่อมแซม และการบำรุงรักษา เครื่องมือ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ให้มีความพร้อมสมบูรณ์ในการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งาน และให้สามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ได้อย่างเต็มที่
1.11 ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานของเครื่องมือ และ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ในแต่ละโครงการที่รับผิดชอบ เพื่อให้แน่ใจว่าการปฏิบัติงานของเครื่องมือ และอุปกรณ์ ไฟฟ้าต่างๆ เป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม และตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
1.12 ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการสำรวจ การวิเคราะห์ และการ คำนวณการปฏิบัติงานต่างๆ ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้สามารถกำหนดคุณลักษณะของเครื่องมือ และ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ถูกต้อง ตรงมาตรฐาน และเหมาะสมกับแต่ละงาน
1.13 ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการศึกษา การวิเคราะห์ และการ ออกแบบเครื่องมือ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องมือ และ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดในการปฏิบัติงาน
1.14 ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการคิดค้น การออกแบบ และการ พัฒนาระบบติดตั้ง ระบบซ่อมบำรุง และระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้การดำเนินงาน ด้านวิศวกรรมไฟฟ้ามีมาตรฐาน ประสิทธิภาพ และถูกต้องตามหลักวิชาการ
1.15บริหารจัดการโครงการ และกิจกรรมด้านวิศวกรรมไฟฟ้าตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อส่งเสริมและสนุนการดำเนินงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเกิดประโยชน์แก่ ประชาชน ชุมชน และสังคม
2. ด้านการวางแผน
วางระบบและแผนการปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าของหน่วยงาน รวมทั้งประเมินผล และแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
3. ด้านการประสานงาน
3.1ประสานงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้ากับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการ ดำเนินงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าให้มีความสะดวก เรียบร้อย และราบรื่น
3.2ให้ข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำด้านวิศวกรรมไฟฟ้าแก่สมาชิกในทีมงาน บุคคล หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
3.3 ชี้แจง ให้ข้อคิดเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการหรือคณะทำงานต่างเพื่อเป็น ประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจง เกี่ยวกับงานวิศวกรรมไฟฟ้าในระดับที่สูงมาก หรืออำนวยการถ่ายทอดฝึกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้ให้กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4.2 กำกับ ดู แ ล การจัด ทำฐาน ข้อ มู ล ห รือระบ บ สำรส น เท ศ ที่ เกี่ย วกับ งาน วิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนด นโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ
4.3 จัดทำเอกสารวิชาการ ตำรา และคู่มือทางวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อประกอบการเรียน การสอน และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งวิศวกรเครื่องไฟฟ้า ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และปฏิบัติงานวิศวกรรมไฟฟ้า หรือ งานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ ก.จ. ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่ ก.จ. ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ โดยจะต้องปฏิบัติงานวิศวกรรมเครื่องกล หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงานประกอบด้วย
1.1ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.3 ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 3
1.4ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 3
1.5ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
1.6ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.7ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 3
1.8ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ ระดับ 2
1.9ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA),การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA)ฯลฯ 1.10 ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ
2.ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย       ระดับ 3
ระดับ 3
2.1      ทักษะการบริหารข้อมูล   ระดับ 3
2.2      ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์  ระดับ 3
2.3      ทักษะการประสานงาน    ระดับ 3
2.4      ทักษะการสืบสวน         ระดับ 3
2.5      ทักษะการบริหารโครงการ          ระดับ 3
2.6      ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้        ระดับ 3
2.7      ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน    ระดับ 3
2.8      ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์  ระดับ 3
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 3
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 3
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 3
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 3
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 3
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 3
3.2.2    การมุ่งความปลอดภัยและระวังภัย ระดับ 3
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 3
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 3
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 3
 -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน วิศวกรรมไฟฟ้า
ชื่อตำแหน่งในสายงาน วิศวกรเครื่องไฟฟ้า
ระดับตำแหน่ง ระดับเชี่ยวชาญ
หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการ วิศวกรรมไฟฟ้า ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหา ในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการ ซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการ วิศวกรรมไฟฟ้า ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหา ในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ควบคุม กำกับดูแลหรือกำหนดแนวทางงานด้านวางโครงการ ออกแบบและ คำนวณ การสร้าง การผลิต อำนวยการใช้ การกำหนดมาตรฐาน ติดตั้ง ทดสอบ หรือซ่อมบำรุง เกี่ยวกับงาน วิศวกรรมไฟฟ้าในระดับสูง เพื่อให้งานมีคุณภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานสูงสุด
1.2บริหารงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญ หรือเทียบเท่า ซึ่งมีหน้าที่และรับผิดชอบในการ ควบคุมและบริหารงานทุกด้านของงานวิศวกรรมไฟฟ้าที่รับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองกับนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.3วางแนวทางการออกแบบและพัฒนา ระบบงานไฟฟ้า ระบบสื่อสาร ระบบป้องกัน ฟ้าผ่า ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน ความปลอดภัย ความถูกต้องและประหยัดพลังงาน
1.4 กำหนดมาตรฐานงาน พัฒนา และปรับปรุงการดำเนินงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้การปฏิบัติงานวิศวกรรมไฟฟ้ามีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด
1.5กำหนดผลสัมฤทธิ์ทั้งด้านผลผลิต และผลลัพธ์ที่จะได้จากการดำเนินงานด้าน วิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานของหน่ วยงานให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างตรงตาม วัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.6 กำหนดเครื่องมือ แนวทาง คู่มือ กลไก กระบวนการ หรือมาตรฐานในการ ปฏิบัติงานด้าน วิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้การทำงานของหน่วยงานเป็นไปอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเกิด ประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ชุมชน และสังคม
1.7 เสนอแนะ พัฒนาระบบ และวิธีการติดตามประเมินผลการวางแผนงาน นโยบาย โครงการ และกิจกรรมต่างๆ ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถให้บริการด้านวิศวกรรมไฟฟ้าแก่ประชาชน และผู้รับบริการได้อย่างสอดคล้องกับค วามต้องการ และปัญหาอย่างแท้จริง
1.8 เสนอแนะ ให้แนวทาง ประยุกต์ และพัฒนาองค์ความรู้ วิชาการ และเทคโนโลยี ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าให้มี ประสิทธิภาพ คุณภาพ และมาตรฐานที่สูงขึ้น
1.9 ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน และแก้ไขปัญหา ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแก่บุคลากรในระดับรองลงมาในสายงาน ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การ ดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด
1.10 ให้คำปรึกษา คำแนะนำ แก้ไขปัญหาที่สำคัญทางวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้เป็นไป ตามมาตรฐาน ข้อกำหนด และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
1.11 กลั่นกรอง และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ ของงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อประโยชน์สูงสุดในการใช้งานของหน่วยงาน
1.12 สอนงาน ถ่ายทอดความรู้ หรือถ่ายทอดฝึกอบรมแก่บุคลากรในระดับรองลงมา ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และถ่ายทอดหลักการทำงานภายในหน่วยงาน และสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
1.13ศึกษาความรู้เทคนิคใหม่ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในงานและวิเคราะห์ถึงปัญหา และข้อบกพร่องในการดำเนินการเพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาและวางกลยุทธ์การปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ ทัน กับสถานการณ์ในปัจจุบัน และสามารถรองรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
2. ด้านการวางแผน
วางแผน บริหารจัดการ และบูรณาการแผนงาน การดำเนินงาน โครงการ และกิจกรรม ต่างๆ ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า รวมทั้งมอบหมายงาน แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน และติดตามประเมินผล เพื่อให้ การดำเนินงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าบรรลุตามเป้าหมาย นโยบาย และผลสัมฤทธิ์ที่กำหนดไว้
3. ด้านการประสานงาน
3.1ประสานการทำงานโครงการต่างๆกับบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรอื่น โดยมี บทบาทในการจูงใจ โน้มน้าวเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
3.2ประสานงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้ากับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการ ดำเนินงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าให้มีความสะดวก เรียบร้อย และราบรื่น
3.3 ให้ข้อคิดเห็น และคำแนะนำแก่หน่วยงานระดับกอง หรือสำนัก รวมทั้งที่ประชุม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์และเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
3.4ให้ข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำด้านวิศวกรรมไฟฟ้าแก่สมาชิกในทีมงาน บุคคล หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำปรึกษาแนะนำ วินิจฉัย ชี้แจง และตอบปัญหาที่สำคัญทางวิศวกรรมไฟฟ้า หรืออำนวยการถ่ายทอดฝึกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้ให้กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4.2กำหนดแนวทางการจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศในงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ
4.3 จัดทำเอกสารวิชาการ ตำรา และคู่มือทางวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อประกอบการเรียน การสอน และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้า ระดับปฏิบัติการ และ
2. เคยดำรงตำแห น่งประเภ ทวิชาการ ระดับชำนาญ การพิเศษ และปฏิบัติงาน วิศวกรรมไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ ก.จ. ก.ท. หรือ ก.อบต. กำหนด มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ ดำรงตำแหน่งอย่างอื่นที่ ก.จ. ก.ท. หรือ ก.อบต. เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ โดยจะต้องปฏิบัติงานวิศวกรรม ไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ค วามรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ความรู้ที่จำเป็นประจำสายงานประกอบด้วย
1.1ความรู้ที่จำเป็นในงาน (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 4
1.2 ความรู้เรื่องกฎหมาย (ความรู้เฉพาะทางในงานที่รับผิดชอบ) ระดับ 3
1.3ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 3
1.4ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ระดับ 3
1.5ความรู้เรื่องระบบการจัดการองค์กร ระดับ 2
1.6ความรู้เรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ ระดับ 2
1.7ความรู้ทั่วไปเรื่องชุมชน ระดับ 3
1.8ความรู้เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสตร์ ระดับ 2
1.9ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ เช่น การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม(EIA),การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA)ฯลฯ ระดับ 3
1.10ความรู้เรื่องสื่อสารสาธารณะ ระดับ 3
2. ทักษะที่จำเป็นประจำสายงาน ประกอบด้วย
2.1ทักษะการบริหารข้อมูล ระดับ 3
2.2 ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับ 3
2.3 ทักษะการประสานงาน ระดับ 3
2.4 ทักษะการสืบสวน ระดับ 3
2.5ทักษะการบริหารโครงการ ระดับ 4
2.6 ทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ระดับ 3
2.7ทักษะการเขียนรายงานและสรุปรายงาน ระดับ 3
2.8ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับ 4
3. สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประกอบด้วย
3.1 สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
3.1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับ 4
3.1.2    การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม     ระดับ 4
3.1.3    ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน          ระดับ 4
3.1.4    การบริการเป็นเลิศ        ระดับ 4
3.1.5    การทำงานเป็นทีม         ระดับ 4
3.2 สมรรถนะประจำสายงาน
3.2.1    การคิดวิเคราะห์  ระดับ 4
3.2.2    การมุ่งความปลอดภัยและระวังภัย ระดับ 4
3.2.3    การสั่งสมความรู้และความเชียวชาญในสายอาชีพ     ระดับ 4
3.2.4    ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน      ระดับ 4
3.2.5    จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม       ระดับ 4

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สันทนาการ

ช่างศิลป์

เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว